เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (Business economics)

หนังสือ เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ซึ่งหนังสือเล่มนี้ เป็นการบูรณาการทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาใช้อธิบายภาคธุรกิจและทำให้ผู้ประกอบการได้เข้าใจและเป็นหลัก ในการตัดสินใจทางธุรกิจ หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ส่วนที่ 1 ว่าด้วยพฤติกรรมผู้บริโภค และพฤติกรรมของผู้ผลิต ในส่วนนี้ประกอบด้วย รูปแบบธุรกิจ ลักษณะธุรกิจ และขอบเขตของวิชาเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ ส่วนที่ 2 ว่าด้วย การวิเคราะห์จุดดุลยภาพในตลาด ได้แก่ อุปสงค์ การประมาณค่าอุปสงค์ การพยากรณ์ อุปสงค์ ส่วนที่ 3 ว่าด้วย การวิเคราะห์ การผลิต ต้นทุนการผลิตและการประมาณค่าของอุปทาน ส่วนที่ 4 ว่าด้วย การวิเคราะห์โครงสร้างของตลาดต่าง ๆ ได้แก่ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ตลาดผู้ขายน้อย ตลอดจนการกำหนด ราคาในแต่ละตลาด ส่วนที่ 5 ว่าด้วย ความเสี่ยงและการตัดสินใจลงทุนของภาคเอกชน

1. ธรรมชาติและขอบเขตของเศรษฐศาสตร์ธุุรกิจ

ในบทนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึงขอบเขต ความหมายของเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ความสัมพันธ์ ของเศรษฐศาสตร์ธุรกิจกับทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ศาสตร์แห่งการตัดสินใจ ตลอดจนศึกษาแนวคิด ทางเศรษฐศาสตร์ในการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากร และความสำคัญของผลตอบแทนของหน่วยธุรกิจ แนวคิดการวิเคราะห์หน่วยสุดท้ายในบริบทของหน่วยธุรกิจ และการตัดสินใจของผู้บริโภค แนวคิด เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันของหน่วยธุรกิจจะมีผลกระทบทางด้านราคาและกำไรในทาง ธุรกิจที่เกิดจากการตัดสินใจในการผลิต แนวคิดเกี่ยวกับมิติเวลาต่อการดำเนินธุรกิจทางเศรษฐศาสตร์ สภาพแวดล้อมภายนอก และความสามารถภายในของหน่วยธุรกิจ โดยใช้เทคนิคทางด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจและความเข้าใจที่ทำให้สภาพแวดล้อมของการแข่งขันในหน่วยธุรกิจเปลี่ยนไป

2. วัตถุุประสงค์การจัดการและหน่วยธุุรกิจ

ในบทนี้จะช่วยให้ผู้เรียน ได้เข้าใจถึง วัตถุประสงค์ของหน่วยธุรกิจที่มีความแตกต่างกันปัจจัย ที่กำหนดการเลือกตัดสินใจของหน่วยธุรกิจที่ทำการผลิต หรือ การกำหนดราคาที่แตกต่างกัน คืออะไร ความหมาย และความสำคัญของทฤษฎีตัวแทนหลัก คืออะไร และความสัมพันธ์ที่มีต่อวัตถุประสงค์ทาง ธุรกิจและการบริหารงานของบริษัท เป็นอย่างไร ลักษณะที่แตกต่างกันของทฤษฎีการจัดการของ หน่วยธุรกิจ เช่น รายรับจากยอดขายสูงสุด (Sales Revenue Maximization) ความพึงพอใจสูงสุด (Utility Maximization) และความเติบโตของบริษัทสูงสุด (Corporate Growth Maximization) เป็นอย่างไร ลักษณะเด่นของทฤษฎีการจัดการ และพฤติกรรมของหน่วยธุรกิจ และข้อขัดแย้งกัน ระหว่างกลยุทธ์สูงสุดและความพอใจเป็นอย่างไร เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมทางธุรกิจที่อยู่ ในกรอบของการตัดสินใจทางด้านการจัดการในสภาวะแวดล้อมในธุรกิจปัจจุบัน ว่าเป็นอย่างไร

3. การวิเคราะห์หาจุุดที่เหมาะสมในทางเศรษฐศาสตร์

ในบทนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึง เครื่องมือทางสถิติ และคณิตศาสตร์ที่นำมาใช้ในการ วิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ ที่แสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรทางเศรษฐกิจ โดยใช้การวิเคราะห์ในรูป สมการ เส้นกราฟและตาราง ที่นิยมใช้ในการอธิบายพื้นฐานทฤษฎีและแนวคิดของหน่วยผลิต ทฤษฎี การผลิต มูลค่าการผลิต ต้นทุนการผลิตของหน่วยธุรกิจว่าเป็นอย่างไร การใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์ ที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของตัวแปรในทางเศรษฐกิจในรูปของค่าเฉลี่ย ผลรวมและค่าของหน่วย สุดท้ายในการวิเคราะห์ การผลิต การบริโภค ต้นทุนของหน่วยธุรกิจว่าเป็นอย่างไร การวิเคราะห์โดยใช้ หลักการของจุดต่ำสุด-สูงสุด มาใช้ในการอธิบายเรื่องของ กำไร ขาดทุนและต้นทุนของหน่วยธุรกิจ การวิเคราะห์โดยใช้หลักของจุดที่เหมาะสมในการวิเคราะห์การผลิต การลงทุนของหน่วยธุรกิจว่าเป็น อย่างไร

4. วิเคราะห์อุปสงค์

ในบทนี้ต้องการอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจว่า ความหมายของอุปสงค์ และปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ คืออะไร ทำไมการเปลี่ยนแปลงในราคาสินค้าและบริการของหน่วยธุรกิจ จึงมีผลกระทบต่อความ ต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภคด้วย ทำไมเส้นอุปสงค์จึงเปลี่ยนแปลงไป เมื่อปัจจัยที่กำหนดความ ต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไป เงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอรรถประโยชน์หน่วยสุดท้ายและเส้นอุปสงค์สำหรับสินค้าและ บริการเป็นอย่างไร นอกจากนั้น จะอธิบายถึง ความหมายและความสำคัญของส่วนเกินของผู้บริโภค ในบริบทของกลยุทธ์การตั้งราคา คืออะไร ความสัมพันธ์ระหว่างผลของรายได้และผลของการทดแทน กันเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนไปเป็นอย่างไร สินค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับความต้องการซื้อของผู้บริโภค จะตอบสนองอย่างไร เมื่อราคาและรายได้เปลี่ยนไป ในกรณีของสินค้าธรรมดาและสินค้าเทียม ความ ยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้า ความยืดหยุ่นไขว้ และความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ และการ แสดงผลคืออะไร ความสัมพันธ์ระหว่างความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสินค้าและบริการ รายรับ หน่วยสุดท้ายและรายรับรวม รายรับเพิ่มจากการขายสินค้าและบริการเป็นอย่างไร

5. การประมาณค่าอุุปสงค์

วิเคราะห์อุปสงค์ ในบทนี้จะช่วยให้ผู้เรียน เข้าใจถึงวิธีการประมาณค่าอุปสงค์ของผู้บริโภค โดยพิจารณาว่า เมื่อราคาสินค้าได้เปลี่ยนไป ซึ่งราคาสินค้าอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้นั้น จะมีผลทำให้ผู้ซื้อเปลี่ยน พฤติกรรมการบริโภคไปอย่างไร ผู้บริโภคจะทำการซื้อสินค้านั้น น้อยลง หรือจะทำการซื้อสินค้านั้น มากขึ้นอย่างไร ถ้าหากรายได้ของผู้บริโภคได้เปลี่ยนไป (สูงขึ้นหรือต่ำลง) จะทำให้ผู้บริโภคทำการ บริโภคสินค้านั้น เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร มากขึ้นหรือลดลงอย่างไร ตลอดจน อธิบายถึงวิธีการ ประมาณค่าอุปสงค์สินค้าโดยใช้การวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติ หรือใช้สมการถถอยเป็นอย่างไร มีปัญหามีปัญหาคำนวณอะไรบ้าง

6. พยากรณ์ทางธุุรกิจ

ในบทนี้ จะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึง ความสำคัญของการพยากรณ์ทางธุรกิจในบริบทของการ วางแผนและการพัฒนากลยุทธ์ โดยเข้าใจการประมาณการความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหลักทาง เศรษฐกิจและการใช้ข้อมูลที่จะใช้พยากรณ์ธุรกิจและแนวโน้มทางการตลาด ตลอดจนสามารถเข้าใจ อุปสงค์ของสินค้าและบริการโดยสามารถประมาณการและใช้เทคนิคที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูล ภาคตัดขวาง (Cross-sectional) และอนุกรมเวลา (Time Series) พิจารณาการเลือกวิธีที่เหมาะสม สำหรับการเลือกข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสินค้าจากการประมาณค่า และการพยากรณ์อุปสงค์ พิจารณาถึงวิธีการต่างๆ ของการทดสอบตลาด (Market Experiments) รวมถึงการวิจัยทางตลาด (Sales-wave Research)กระตุ้นเทคนิคของร้านค้าและการทดสอบตลาด ตลอดจนศึกษาข้อที่ควรหลีกเลี่ยงในทางธุรกิจและการพยากรณ์ทางเศรษฐกิจกราฟแสดงเทคนิคในการ พยากรณ์ที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้ม (Trend Projection) และการใช้โมเดลทางเศรษฐมิติเป็นตัววัดที่สำคัญ (Econometric Model)

7. การผลิตและประมาณการการผลิต

ในบทนี้จะทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจถึง ความหมายของการผลิตว่า คืออะไร และอธิบายถึงฟังก์ชั่น การผลิต ทฤษฎีการผลิตว่าเป็นอย่างไร โดยแบ่งการพิจารณาฟังก์ชั่นการผลิตเป็น 2 อย่าง คือ ฟังก็ชั่น การผลิตที่ใช้ปัจจัยการผลิตชนิดเดียว เพื่อหาจุดที่เหมาะสมที่สุดในการผลิต และฟังก์ชั่นการผลิตที่ใช้ ปัจจัยการผลิตสองชนิด และอธิบายจุดที่เหมาะสมที่สุดในการผลิตที่ใช้ปัจจัยการผลิตสองชนิด โดยใช้ Activate Windows การวิเคราะห์เส้นผลผลิตเท่ากัน และเส้นต้นทุนเท่ากันการประมาณการและพยากรณ์ต้นทุน

8. ทฤษฎีต้นทุนและการประมาณค่าต้นทุน

ในบทนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึง ลักษณะและประเภทของต้นทุนในแบบต่างๆ ที่มักใช้ในการ ดำเนินธุรกิจ ฟังก์ชั่นของต้นทุนในระยะสั้น กำไรปกติ และกำไรทางเศรษฐศาสตร์ มีลักษณะเป็นอย่างไร ฟังก์ชั่นของต้นทุนในระยะยาว ประกอบด้วยอะไรบ้าง ตลอดจนเข้าใจถึง ขนาดของการผลิตและการ ประหยัดต่อขนาดการผลิต เป็นอย่างไร มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอย่างไร การวิเคราะห์ จุดคุ้มทุน การประมาณการของต้นทุนการผลิต และการพยากรณ์ต้นทุนในการผลิตเพื่อให้หน่วยธุรกิจได้ บริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

9. โครงสร้างตลาด

บทนี้จะอธิบายถึงลักษณะของตลาดในรูปแบบต่างๆ และโครงสร้างของตลาดสินค้าในระบบ เศรษฐกิจ เป็นอย่างไร ตลอดจน อธิบายให้เข้าใจถึงการตัดสินใจของผู้ผลิต การกำหนดราคาสินค้า และจำนวนผลผลิตของแต่ละหน่วยผลิตในตลาด เช่น ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ตลาดผู้ขายน้อยราย ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดและตลาดผูกขาดว่าเป็นอย่างไร ตลอดจนอธิบายถึง ผลกระทบของผู้เข้ามา แข่งขันใหม่ในตลาด เมื่อมีผู้เข้ามาแข่งขันในตลาดแล้ว จะมีผลกระทบต่อผู้ผลิตรายเดิมอย่างไร และผู้ผลิตรายเดิมควรทำอย่างไร เป็นต้น นอกจากนั้น ยังได้อธิบายถึง ลักษณะของตลาดเฉพาะ คือ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ และการกำหนดราคาขายในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ว่าเป็นอย่างไร ลักษณะของ ตลาดผูกขาด และการกำหนดราคาขายในตลาดผู้ขาดเป็นอย่างไร ลักษณะของตลาดผู้ขายมากหรือ กึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด และการกำหนดราคาขายในตลาดผู้ขายมากนั้นเป็นอย่างไร แต่ละตลาดมีความ แตกต่างกันอย่างไร

10. ตลาดผู้ขายน้อยราย

ในบทนี้จะช่วยให้ผู้ศึกษาทราบถึงลักษณะของตลาดผู้ขายน้อยรายว่าเป็นอย่างไร ตลอดจน ปฏิกิริยาโต้ตอบของหน่วยธุรกิจในตลาดผู้ขายน้อยราย วิธีการใช้กลยุทธ์ของตลาดผู้ขายน้อยรายเป็น อย่างไร การสร้างความแตกต่างกันให้กับสินค้าของผู้ขายน้อยราย อธิบายถึงพฤติกรรมในการแข่งขัน พฤติกรรมของหน่วยธุรกิจในตลาดผู้ขายน้อยรายที่ทำให้เกิดผล 2 ทาง คือ เส้นอุปสงค์ผู้ขายน้อยราย (Kinked Demand Curve) และทฤษฎีเกมส์ (Game Theory) นั้นเป็นอย่างไร อธิบายกลยุทธ์การ แข่งขันของหน่วยผลิตในตลาดผู้ขายน้อยราย เช่น กลยุทธ์ผู้นำราคา (Price-Leadership) และกลยุทธ์ การรวมหัวกันทางธุรกิจ (Collusion) ในรูปแบบต่างๆ

11. การตั้งราคาในทางปฏิบัต

ในบทนี้ จะอธิบายถึง ความเข้าใจในการตั้งราคาสินค้าในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งการตั้งราคา สินค้ามีหลายรูปแบบ ทั้งนี้ เพราะราคาเป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้เป็นตัวกำหนดรายได้ของหน่วยธุรกิจ นอกจากนั้น ราคายังเป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้เป็นตัวกำหนดเหตุผลในการแบ่งตลาด และราคายังเป็น ปัจจัยสำคัญที่ใช้เป็นสัญญาณที่ผู้ผลิตจะทำการเพิ่มการผลิตได้ เพื่อให้เข้าใจบทบาทของราคาสินค้าที่มี ต่อระบบเศรษฐกิจ ในบทนี้จะทำการอธิบายถึงการกำหนดราคาในตลาดที่มีความแตกต่างกันในระบบ เศรษฐกิจ ว่ามีการกำหนดราคาเหมือนหรือมีความแตกต่างกันอย่างไร เช่น ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ การกำหนดราคาจะพิจารณาจากอุปสงค์และอุปทานในตลาด ซึ่งต่างจากในตลาดผูกขาด การกำหนด ราคาสามารถกำหนดได้เองโดยผู้ผลิต เป็นต้น นอกจากนั้น การตั้งราคาสินค้าอาจขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการของหน่วยธุรกิจ เช่น หน่วยธุรกิจต้องการกำไรสูงสุด ต้องก2Svindows รายรับจากยอดขายสูงสุด เป็นต้น

12. รัฐบาลและธุรกิจ

กฎระเบียบ วิเคราะห์ความเสี่ยงและการลงทุนระยะยาว บทนี้จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจถึง ความสำคัญของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในภาพกว้าง และ ในบริบทของการพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจบนพื้นฐานของการวิเคราะห์ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม (PEST Analysis) ซึ่งได้กล่าวมาแล้วในบทที่ 2 ตลอดจนศึกษาถึง ความล้มเหลวของระบบตลาด และ การดำรงอยู่ของสินค้าสาธารณะ (Public Goods) และสินค้าเอกชน (Private Goods) ความสำคัญ และบทบาทของรัฐบาลในการเข้าไปแทรกแซงตลาด (Market Intervention) แรงขับเคลื่อนทาง เศรษฐกิจ และบทบาทของรัฐบาลที่มีอิทธิพลต่อระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจผ่านทางเลือกของนโยบาย ต่างๆ กัน ผลกระทบของนโยบายอุตสาหกรรม (Industrial Policy) ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเฉพาะ ภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจหรือหน่วยผลิต กราฟและหลักการพื้นฐานของกฎหมายการแข่งขัน (Competition Law) และเหตุผลของกฎระเบียบในการผูกขาดและข้อห้ามข้อจำกัดในทางปฏิบัติ บทบาทของนโยบายภูมิภาคในมุมกลับของการลดลงของภูมิภาคและในข้อจำกัดของการขยายตัวของwindows ภูมิภาค (Regional Policy)

13. การวิเคราะห์ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน

ในบทนี้จะช่วยให้เข้าใจถึง ความหมายของความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในการดำเนิน ธุรกิจ อธิบายเครื่องมือที่ใช้ในการวัดความเสี่ยงและความไม่แน่นอนภายใต้สภาวการณ์ที่แตกต่าง กัน การกระจายความเสี่ยง ทฤษฎีอรรถประโยชน์และการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงการตัดสินใจของ หน่วยผลิตภายใต้ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ

14. การตัดสินใจลงทุนระยะยาว

เมื่อศึกษาบทนี้ จะทำให้เข้าใจถึง พื้นฐานของการตัดสินใจในการลงทุนของหน่วยธุรกิจ และ ระดับของการลงทุนภายใต้กำไรสูงสุดของหน่วยธุรกิจว่าเป็นอย่างไร ความแตกต่างระหว่างทุนที่ ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ (Stock of capital) และทุนที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ (Flow of capital) ตลอดจน การลงทุนใน (Capital Stock) เป็นอย่างไร ขั้นตอนของการตัดสินใจลงทุน ความสำคัญ ในการคำนวณหากระแสงินสดจากโครงการลงทุน การประมาณค่าของโครงการลงทุน เช่น หาระยะ การคืนทุน (Payback Method) หาอัตราส่วนลดของกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow Method) และหาอัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return Method) เป็นอย่างไร บทบาทของต้นทุนของการตัดสินใจลงทุน เข้าใจหลักการและขั้นตอนของการวิเคราะห์ต้นทุนและผลได้ (Cost Benefit Analysis – CBA) นำไปสู่ผลตอบแทนทางการเงินจากเงินที่ได้ลงทุนและต้นทุนของ เงินทุนแต่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนในระบบเศรษฐกิจเป็นต้นทุน และกำไรทางสังคมและ ต้นทุนภายนอก

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน