กฎหมายสื่อสารมวลชน การคุ้มครอง สิทธิส่วนบุคคล และชื่อเสียงเกียรติคุณ

สิทธิส่วนบุคคล เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่ได้รับการยอมรับ และคุ้มครองตาม กฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภายในของประเทศต่างๆ การปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนใน การนำเสนอข้อมูลข่าวสาร และค้นคว้าหาข้อเท็จจริง อาจมีความเสี่ยงที่จะไปกระทบต่อการดำเนินชีวิต ส่วนตัวของบุคคลอื่น อันนำไปสู่การต่อสู้ทางคดีระหว่างสื่อมวลชนกับผู้ถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ข้อต่อสู้ อันเป็นสากลที่สื่อมวลชนสามารถยกขึ้นกล่าวอ้างได้เมื่อถูกฟ้องคดีก็คือสื่อมวลชนจะต้องมีเสรีภาพใน การนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมประชาธิปไตยซึ่งประชาชนมี ความจำเป็นที่จะต้องได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเพื่อประกอบการตัดสินใจทางการเมือง ดังนั้นการศึกษา เรื่องการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลจะต้องดำเนินไปควบคู่กับการศึกษาถึงการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดง ความคิดเห็น และเสรีภาพของสื่อ เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญของสื่อในสังคมประชาธิปไตย และเพื่อเชื่อมโยง ไปสู่แนวคิดในการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการคุ้มครองเสรีภาพของสื่อ

หนังสือ กฎหมายสื่อสารมวลชน : การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล และชื่อเสียง เกียรติคุณ เป็น หนังสือที่ผู้เขียนได้ค้นคว้าจากกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภายในของประเทศต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ การคุ้มคร้องสิทธิส่วนบุคคล

หนังสือกฎหมายสื่อสารมวลชน : การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล และชื่อเสียง เกียรติคุณ

1. เสรีภาพของสื่อ

แนวคิดเรื่องเสรีภาพของสื่อ คำว่า “เสรีภาพ” เป็นคำที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ทุกคน เป็นสิ่งที่ติดมากับธรรมชาติของ ความเป็นมนุษย์ ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่งของมนุษย์ซึ่งยอมรับกัน เป็นสากล โดยในเวทีระหว่างประเทศนั้นได้มีการบัญญัติคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานในกฎหมายระหว่างประเทศ หลายฉบับ เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights)

โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ทุกคนย่อมต้องการมีเสรีภาพโดยปราศจากการแทรกแซงจาก บุคคลอื่น โดยเฉพาะการแทรกแซงจากผู้มีอำนาจ และมักจะจินตนาการคำว่า “เสรีภาพ” กันไปต่างๆ นาๆ ตามความคิดและความต้องการของตน ซึ่งในบางสถานการณ์มนุษย์อาจมีจินตนาการถึงเสรีภาพไกล เกินขอบเขตแห่งความถูกต้องและเหมาะสมจนอาจก่อให้เกิดการใช้เสรีภาพของตนเองในลักษณะที่ก่อให้เกิด ความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ในความเป็นจริงของการด ารงชีวิตของคนในสังคมนั้น การมีเสรีภาพอย่างไร้ขอบเขต เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ การอยู่รวมกันของมนุษย์ในสังคมจะต้องมีกฎเกณฑ์ กติกา กฎศีลธรรม

หนังสือกฎหมายสื่อสารมวลชน : การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล และชื่อเสียง เกียรติคุณ

2. สิทธิส่วนบุคคล

สิทธิส่วนบุคคล (Right to privacy) เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เนื่องจากโดย ธรรมชาติแล้วมนุษย์ย่อมมีสิทธิที่จะใช้ชีวิตตามลำพัง รวมทั้งทำกิจกรรมส่วนตัวโดยปราศจากการรบกวนจาก ผู้อื่น อีกทั้งมีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้อื่นนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ หรือเผยแพร่ข้อมูลใดๆ ที่ส่งผลกระทบต่อ ชื่อเสียงเกียรติคุณของตน สิทธิส่วนบุคคลนี้จะรวมถึงความเป็นส่วนตัวทางกายภาพในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นการดำเนินชีวิตในเคหสถานโดยปราศจากการรบกวนจากผู้อื่น และสิทธิในชื่อเสียงเกียรติยศอันเป็น นามธรรมที่บุคคลทุกคนมีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้ใดมาทำละเมิด การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลมีวิวัฒนาการมา ยาวนาน จนได้รับการคุ้มครองจากระบบกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของประเทศต่างๆ ใน ปัจจุบันการเจริญเติบโตของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดปัญหาการล่วงละเมิดความเป็นส่วนตัว และข้อมูลส่วนบุคคลของคนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การสื่อสารโดยใช้ระบบอินเทอร์เน็ตส่งผลให้ข้อมูลส่วนบุคคล ได้รับการรวบรวม จัดเก็บ ได้ง่ายในรูปของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้การเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวเป็นไป โดยง่าย และสะดวกรวดเร็วมากขึ้น จนบางครั้งนำไปสู่การเผยแพร่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้สิทธิ ส่วนบุคคล อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนถูกละเมิดได้ง่ายขึ้น และมีความเสียหายเกิดในวงกว้าง ตัวอย่างเช่นกรณีสื่อออนไลน์ได้เผยแพร่ หรือแชร์คลิปภาพ คลิปเสียงของดาราที่มีการโต้เถียงกันเรื่องชู้สาว หรือเผยแพร่ภาพถ่าย หรือบัตรประชาชน ของบุคคลต่างๆ อันถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต เหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในสังคมออนไลน์ปัจจุบัน แต่การกระทำทั้งหลายที่กล่าวมานี้อาจก่อให้เกิด ความเสียหายกับเจ้าของข้อมูล ในฐานที่ถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และข้อมูลส่วนบุคคล

สิทธิส่วนบุคคล

3. Data Protection Act 1998.

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มประเทศในยุโรปจะเป็นไปตามระเบียบรัฐสภาและ คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปว่ำาด้วยการคุ้มครองการประมวลผลและการส่งข้อมูลส่วนบุคคล (Directive 95/46/EC) (ต่อไปนี้เรียกว่า “Directive”) ซึ่งเป็นระเบียบที่ออกมาเพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศสมาชิก นำไปปฏิบัติโดยบัญญัติกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับหลักการตามบทบัญญัติดังกล่ าว วัตถุประสงค์ที่ สำคัญของ Directive คือต้องการคุ้มครองการส่งผ่านข้อมูลส่วนบุคคลในระหว่างประเทศสมาชิก รวมทั้ง คุ้มครองสิทธิสิทธิส่วนบุคคลของปัจเจกชนอันถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน 10 ในส่วนของประเทศอังกฤษนั้น รัฐสภาได้ออก Data Protection Act 1998 เพื่ออนุวัติการให้เป็นไปตาม Directive ซึ่งมีผลใช้บังคับ เมื่อ 1 มีนาคม ค.ศ .2000 กฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อนำหลักการ และบทบัญญัติตาม Directive มาบังคับใช้เป็นกฎหมายภายในอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่หลักการเคารพสิทธิส่วนบุคคลในฐานะที่เป็นสิทธิ ขั้นฟื้นฐานของมนุษย์ รวมทั้งการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลอย่างถูกต้องเป็นธรรม ด้วยเหตุนี้หลักการของ Directive และบทบัญญัติของ Data Protection Act 1998 ส่งผลให้สื่อมวลชนจะต้องมีความระมัดระวังใน การเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล ของผู้ใดผู้หนึ่งหรือภาพถ่ายของบุคคลที่ถ่ายขึ้นเป็นการส่วนตัว

หนังสือกฎหมายสื่อสารมวลชน : การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล และชื่อเสียง เกียรติคุณ

4. การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในประเทศไทย

ในส่วนของประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่ระบุรายละเอียดของการคุ้มครองสิทธิ นบุคคลโดยตรง การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของประเทศไทย จะถูกบัญญัติเป็นแนวคิดกว้างๆ อยู่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และจะคุ้มครองโดยกระจายอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมลกฎหมายอาญา และกฎหมายเฉพาะอื่นๆ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ในความผิด ฐานหมิ่นประมาท (ดูรายละเอียดในบทที่ 6) ประมาลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 423 ในความผิดฐานละเมิดชื่อเสียงเกียรติคุณ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 322-323 ในความผิดฐาน เปิดเผยความลับ ประมลกฎหมายอาญา มาตรา 362 -366 ในความผิดฐานบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ หรือ เคหสถานของผู้อื่น เป็นต้น

สิทธิส่วนบุคคล

5. สิทธิส่วนบุคคลกับทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของ การสร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออก ทรัพย์สินทางปัญญาอาจแสดงออกในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่างๆ หรือในรูปของสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ แนวคิดในการดำเนินธุรกิจ กรรมวิธีการผลิตทาง อุตสาหกรรม เป็นต้น19 ในปัจจุบันจะมีกฎหมายเฉพาะที่คุ้มครองงานสร้างสรรค์เหล่านี้อย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ดีจริงๆ แล้วการคุ้มครองสิ่งที่เกิดจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์มีแนวคิดพื้นฐานมาจาก การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลเช่นกัน กล่าวคืองานสร้างสรรค์ทุกชนิดจะต้องเกิดจากความคิดของผู้สร้างสรรค์ ก่อน ที่จะแสดงผลงานให้ปรากฏออกมาอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ของปัจเจกชนก็ถือเป็น สิทธิส่วนบุคคล ที่ผู้สร้างสรรค์สมควรได้รับความคุ้มครองตามธรรมชาติ เนื่องจากผู้สร้างสรรค์จะต้องใช้ ความวิริยะ อุตสาหะ รวมทั้งเวลาในการคิดสร้างสรรค์ผลงาน ดังนั้นการนำความคิด หรือผลงานที่ สร้างสรรค์ไปลอกเลียนหรือใช้ประโยชน์ดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้สร้างสรรค์ก็ย่อมจะถือว่าไม่เป็นธรรมกับ ผู้สร้างสรรค์

สิทธิส่วนบุคคล

6. ความผิดฐานหมิ่นประมาท

ความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายลักษณะหมิ่นประมาทเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองชื่อเสียงเกียรติคุณ ของบุคคลอันถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลอย่างหนึ่งที่ผู้ใดจะมาล่วงละเมิดมิได้ การปฏิบัติงานของสื่อมวลชนใน การนำเสนอข้อมูลข่าวสาร และติชมแสดงความคิดเห็น ในเหตุการณ์หรือกิจกรรมที่อยู่ในความสนใจของ ประชาชน จะมีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องในข้อหาหมิ่นประมาทมากที่สุด ดังนั้นความผิดฐานหมิ่นประมาทจึง เป็นสิ่งที่มักจะอยู่คู่กับการทำงานของสื่อมวลชนในทุกๆ ประเทศมาหลายยุคหลายสมัย ความผิดฐานหมิ่น ประมาทนี้จะก่อให้บุคคลผู้กระทำความผิดเกิดความรับผิดได้ทั้งทางแพ่งและอาญา กล่าวคือกล่าวคือหมิ่น ประมาทตามกฎหมายแพ่งจะเป็นการชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้เสียหาย แต่หมิ่นประมาทตามกฎหมายอาญา จะเป็นการลงโทษโดยอาศัยอำนาจของรัฐเข้าจัดการนำผู้กระทำความผิดจำคุก หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แล้วแต่กรณี

สิทธิส่วนบุคคล

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน