อักษรเขมร

อักขรวิธีภาษาเขมร

ภาษาเขมร กับ ภาษาไทย มีความใกล้ชิดกันมาก นับเป็นเวลานานมาแล้ว ตั้งแต่ศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งเป็นศิลาจารึกหลักแรกที่จารึกด้วยภาษาไทยก็ปรากฏคำยืมจาก ภาษาเขมรเป็นจำนวนมาก แม้ว่าในปัจจุบันภาษาไทยจะไม่ได้ยืมคำศัพท์ในภาษาเขมรมาใช้มากเช่นเดิมก็ตาม

เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชามีความเกี่ยวข้องและใกล้ชิดกัน ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านภาษา ทั้งสองประเทศ ได้มีการถ่ายทอด หยิบยืม และร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานทางภาษาและวรรณกรรมต่าง ๆ อยู่เสมอ ดังนั้นการเรียนรู้ภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากจะทำให้เกิดประโยชน์ทางด้านวิชาการแล้ว ยังทำให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศอีกด้วย

ภาษาเขมร

“อักขรวิธีภาษาเขมร” เล่มนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอน รายวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับภาษาเขมรข้างต้น รวมทั้งเพื่อผู้สนใจได้ศึกษาด้วยตนเอง และใช้เป็นพื้นฐาน ในการเรียนรู้ภาษาเขมรซึ่งเป็นภาษาของประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทยได้อีกทางหนึ่ง ภายในเล่มประกอบไปด้วย 7 บท

1. วิวัฒนาการตัวอักษรเขมร

ภาษาเขมร

อารยธรรมจากอินเดียได้แพร่เข้ามายังดินแดนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอาจเริ่มจากการติดต่อค้าขาย ซึ่งปรากฏหลักฐานย้อนไปถึงสมัยราชวงศ์กุษาณะ (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 7) ดังปรากฏหลักฐานโบราณวัตถุศิลปะอินเดียตามเมืองท่าในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ทราบว่าบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้มีการติดต่อกับทางอินเดียมายาวนาน

ชาวอินเดียที่เข้ามาในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นระลอกๆ นอกจากเข้ามาทำการค้าขายแล้วก็ได้นำอารยธรรมต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ได้ผสมผสานกับวัฒนธรรมต่างชาติ เช่น กรีก โรมัน และเปอร์เซีย ก่อนเข้ามาสู่ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อารยธรรมสำคัญ เช่น ระบบการเมือง การปกครอง สถาบันกษัตริย์ ระบบสังคม ศาสนา ความเชื่อ ศิลปกรรม เทคโนโลยีและการผลิต วรรณกรรม และภาษาต่างๆ เช่น ภาษาสันสกฤตและภาษาบาลี โดยเฉพาะตัวอักษรสมัยราชวงศ์ ปัลลวะที่นิยมใช้ในอินเดียตอนใต้ ก็ได้แพร่กระจายเข้ามาสู่ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้พัฒนาเป็นรูปอักษรต่างๆ อีกจำนวนมาก (จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ, 2554, หน้า 16)

2. ระบบเสียงภาษาเขมร

ภาษาเขมร

ภาษาเขมรจัดอยู่ในกลุ่มภาษามอญ-เขมร เป็นกลุ่มของภาษาพื้นเมืองในแถบอินโดจีน อยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austro-Asiatic languages) ทั้งยังได้รับอิทธิพลจากภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต จากอิทธิพลของศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลจากภาษาอื่น ๆ เช่น ภาษาไทย ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเวียดนาม ฯลฯ ซึ่งเป็นผลมาจากการติดต่อกัน ความใกล้ชิด ทางภูมิศาสตร์ การค้าขาย การเมือง เป็นต้น

ภาษาเขมรมีการใช้ภาษาที่แตกต่างกันออกไปตามถิ่นต่างๆ สามารถแบ่งเป็นภาษาถิ่นได้ 5 สำเนียง คือ

  • สำเนียงเขมรต่ำ (เขมรกรอม) ใช้พูดในแถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงในประเทศเวียดนาม
  • สำเนียงเขมรสูง (เขมรเลอ) ใช้พูดในชาวไทยเชื้อสายเขมรในแถบอีสานใต้ โดยเฉพาะ ในจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ ฯลฯ
  • สำเนียงตะวันตก ใช้พูดทางภาคตะวันตกของประเทศกัมพูชาบริเวณทิวเขาบรรทัด และจังหวัดจันทบุรี ในไทย
  • สำเนียงพนมเปญ ใช้พูดในพนมเปญและจังหวัดโดยรอบ ถือเป็นสำเนียงกลางของกัมพูชา
  • สำเนียงพระตะบอง ใช้พูดทางแถบภาคเหนือของประเทศกัมพูชา

3. อักษร สระ และเครื่องหมายเขมร

ภาษาเขมร

อักษรเขมร (Khmer script) อักษรในภาษาเขมรมีสองแบบ คือ อักษรตัวเต็มและตัวเชิง อักษรตัวเต็ม เป็นอักษรที่ใช้โดยทั่วไปเขียนบนเส้นบรรทัด ใช้สำหรับเป็นพยัญชนะต้นในคำพยางค์เดียว หรือใช้เป็นตัวสะกดได้ เช่น ក ច ដ ប យ ส่วนอักษรตัวเชิง หรือ ជើង หมายความว่า เท้า, ตีน อักษรตัวเชิงใช้สำหรับเขียน เป็นพยัญชนะควบกล้ำ อักษรนำ ตัวสะกดซ้อน คำสองพยางค์แบบซ้อนพยัญชนะ หรือคำแผลง โดยเขียนใต้อักษรตัวเต็ม อักษรตัวเต็มในภาษาเขมรมีทั้งหมด 33 รูปตัวอักษร และอักษรตัวเชิงมี 32 รูป อักษรเขมรแบ่งเป็น สองกลุ่ม คือ กลุ่มเสียงไม่ก้อง (อโฆษะ) และกลุ่มเสียงก้อง (โฆษะ) หรือกลุ่มเสียง ออ /ɑɑ/ และกลุ่มเสียง โอ /ɔɔ/ และจัดตัวพยัญชนะตามกลุ่มพยัญชนะวรรค1 ดังนี้

1 อดุลย์ ตะพัง และพลอย แสงลอย (2559, หน้า 5) กล่าวว่า เนื่องจากตัวพยัญชนะเขมรเป็นตัวพยัญชนะที่สร้างขึ้นหรือได้ดัดแปลงมาจากตัวอักษรปัลลวะในประเทศอินเดียตอนใต้ดังได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้นการจัดตัวพยัญชนะหรือแบ่งกลุ่มตัวพยัญชนะหรือการเข้าวรรคของตัวพยัญชนะจึงเป็นแบบเดียวกันกับการจัดกลุ่มในตัวอักษรปัลลวะ

4. อักขรวิธีภาษาเขมร

ภาษาเขมร

อักขรวิธีภาษาเขมร หมายถึงวิธีการเขียนและอ่านให้ถูกต้องตามหลักภาษาของเขมร รวมทั้งลักษณะทางไวยากรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับตัวอักษร การอ่าน การเขียน และการใช้ตัวอักษร ซึ่งภาษาเขมรและภาษาไทยแม้ตัวอักษรจะมีความคล้ายคลึงกัน แต่มีรูปการสะกดคำ การอ่านออกเสียงที่แตกต่างกันซึ่งสามารถศึกษาได้ ดังต่อไปนี้ 1.พยัญชนะสะกด หรือในภาษาเขมรเรียกว่า พยัญชนะประกอบ (ព្យញ្ជនតួប្រកប /pyŭən cĕəq nĕəq tuə prɑɑ kɑɑp/) พยัญชนะสะกดในภาษาเขมรมี 13 หน่วยเสียง คือ /p t c k q h m n ñ ŋ l w y/ มีลักษณะการผสมกับพยัญชนะต้นและสระ

5. ลักษณะการสร้างคำในภาษาเขมร

อักษรเขมร

ภาษาเขมรมีการสร้างคำศัพท์หลายรูปแบบโดยเกิดจากการนำหน่วยคำมาประกอบกัน หน่วยคำในภาษาเขมรมีทั้งหน่วยคำอิสระ และหน่วยคำไม่อิสระ เช่น การประสมคำ การซ้อนคำ การซ้ำคำ การยืมคำศัพท์ เช่นเดียวกับภาษาไทย แต่ในภาษาเขมรมีอีกหนึ่งลักษณะการสร้างคำศัพท์ ที่โดดเด่นอีกวิธีการหนึ่ง คือ การแผลงคำ การแผลงคำศัพท์ในภาษาเขมร คือ การนำหน่วยคำไม่อิสระมาประกอบกับหน่วยคำอิสระ คำที่นำมาแผลงนั้นเรียกว่า “รากศัพท์” โดยมักเป็นคำพยางค์เดียว ซึ่งเมื่อแผลงแล้วได้คำศัพท์ใหม่ที่มีเค้าโครงของรากศัพท์ ทั้งเสียงและความหมาย ในภาษาเขมรมีการแผลงคำศัพท์อยู่ 2 วิธี คือ

  1. การเติมหน้า (prefix) คือ การเติมหน่วยคำไม่อิสระลงไปด้านหน้าของรากศัพท์โดยกลวิธี
  2. การเติมกลาง (infix) คือ การเติมหน่วยคำไม่อิสระลงระหว่างพยัญชนะต้นกับสระของรากศัพท์ โดยมีกล

6. หลักการปริวรรต

ภาษาเขมร

การปริวรรต คือ การเปลี่ยน หมุนเวียน หรือแปรไป อย่างเป็นระบบ การปริวรรตตัวอักษรจากอักษรเขมรมาเป็นอักษรไทย จะทำให้ผู้ศึกษาภาษาเขมรเข้าใจความหมายของคำได้ง่ายขึ้น เนื่องจากภาษาไทยและภาษาเขมรมีการรับอิทธิพลจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตเข้ามาใช้ อีกทั้งภาษาไทยและเขมรยังมีการยืมคำศัพท์ของกันและกัน คำศัพท์เขมรและไทยจึงมีความใกล้เคียงกันมาก

ประการหนึ่งรูปอักษรไทย และเขมรยังมีความใกล้เคียงกัน แต่อักขระวิธีการเขียนแตกต่างกันไปบ้าง ดังนั้นหากผู้ศึกษาสามารถนำอักษรไทยเข้าไปแทนอักษรเขมรหรือที่เรียกว่าการปริวรรตนั้น จะทำให้สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และอักขระวิธีของเขมรได้ง่ายขึ้น

7. ชนิดของคำและประโยค

อักษรเขมร

ชนิดของคำหรือในภาษาเขมรเรียกว่า ្បសភ្ទ្ោកយ /prɑ pheit piək/ หรือ ថានក់ោកយ /tnaq piək/ คือ การจำแนกคำตามลักษณะความหมาย หน้าที่ และตำแหน่งที่ปรากฏในโครงสร้างไวยากรณ์ โดยในการจำแนกชนิดของคำในที่นี้จะใช้ตามเกณฑ์การจำแนกชนิดของคำตามพจนานุกรมฉบับ พุทธศาสนบัณฑิต พ.ศ. 2512 เป็นเกณฑ์ ซึ่งจำแนกชนิดของคำในภาษาเขมรออกเป็น 13 ชนิด

1. คำนาม
1.1 ก. สามานยนาม ข. วิสามานยนาม

2. คำคุณศัพท์

3. คำกริยา
3.1 ก. อกรรมกริยา ข. สกรรมกริยา ค. กริยานุเคราะห์ ง. กริยาวิเศษณ์

4. คำสันธาน
4.1 ก คำสันธานที่เป็นเหตุเป็นผลคล้อยตามกัน ข. คำสันธานที่ขัดแย้งกัน ค. คำสันธานที่ให้เลือก

5. คำสรรพนาม
ก. บุรุษสรรพนาม ข. วิเศษณ์สรรพนาม

7. คำบริวารศัพท์

7. คำสังขยา
ก. ปกติสังขยา ข. ปูรณสังขยา

8. คำอุทาน

ชนิดของประโยค (Sentence Types) ประโยคในภาษาเขมรเรียกว่า ลฺบะ (លប /lbah/) ประกอบด้วยภาคประธานและภาคแสดง ที่เป็นวลีมารวมกันทำให้เนื้อความกระจ่างชัดขึ้น การจำแนกชนิดของประโยคมีเกณฑ์ต่าง ๆ กันใน การจำแนก โดยในที่นี้จะจำแนกชนิดของประโยคตามลักษณะของของประโยค ซึ่งแบ่งเป็น 4 ประเภท

  1. ประโยคบอกเล่า
  2. ประโยคปฏิเสธ
  3. ประโยคคำถาม
  4. ประโยคคำสั่ง

เอกสารอ้างอิง

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. (2554). จากลายสือไทยสู่อักษรไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.

อดุลย์ ตะพัง และพลอย แสงลอย. (2559). ภาษาเขมรพื้นฐาน 1 (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน