วิจัยสาธารณสุข

4 หนังสือ วิจัยสาธารณสุข

4 หนังสือ วิจัยสาธารณสุข เซตหนังสือวิจัยสาธารณสุข การวิจัยเป็นการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งในสิบของการบริการสาธารณสุขที่จำเป็น ปัจจุบันนักสาธารณสุขปฏิบัติงานในระบบบริการสุขภาพที่ซับซ้อนและมีความเป็นพลวัตร การวิจัยมีความจำเป็นในการสร้างหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายหรือการปรับปรุงและพัฒนางานด้านสาธารณสุข เซตหนังสือวิจัยสาธารณสุขจะประกอบไปด้วย สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยด้านสาธารณสุขซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการวิจัย การวิจัยทางสาธารณสุข: จากหลักการสู่การปฏิบัตินำเสนอลำดับขั้นของกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณโดยนำเสนอทั้งในส่วนของภาคทฤษฎีและตัวอย่างการวิจัยทางสาธารณสุข พฤติกรรมสุขภาพ: แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้กล่าวถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ทำให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และวิจัยเชิงปฏิบัติการ แก้ไขปัญหาสาธารณสุขในชุมชนซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในชุมชนได้ใช้ศักยภาพที่มีอย่างสูงสุด

วิจัยสาธารณสุข_1

หนังสือในเซต วิจัยสาธารณสุข


1.สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยด้านสาธารณสุข

วิจัยสาธารณสุข_2

หนังสือสถิติประยุกต์สําหรับงานวิจัยด้านสาธารณสุขเล่มนี้ จัดทําขึ้นเพื่อเป็นคู่มือสําหรับนิสิต นักศึกษา ตลอดจนผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับการนําสถิติมาประยุกต์ใช้ในงานวิจัย หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมหลักการ แนวคิด การเลือกใช้สถิติ ข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติ เทคนิควิธีเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรมสําเร็จรูป SPSS โดยผู้เขียนได้นําเสนอภาพประกอบการอธิบายเทคนิควิธีการใช้โปรแกรมสําเร็จรูป SPSS ในทุกขั้นตอนไว้อย่างละเอียด องค์ความรู้ที่นําเสนอในหนังสือเล่มนี้ มีจํานวน 10 บท ประกอบด้วย ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติ สถิติเชิงพรรณนา ความรู้พื้นฐานการใช้โปรแกรมสําเร็จรูป SPSS สมมติฐาน และการทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรเชิงปริมาณ การเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยประชากร การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณเชิงเส้น ในทุกตัวอย่าง ที่นําเสนอผู้เขียนได้อธิบายวิธีการอ่าน การแปลความหมายผลการวิเคราะห์ และวิธีการนําเสนอตาราง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลไว้อย่างครบถ้วน

วิจัยสาธารณสุข_3

เนื้อหาภายในเล่มประกอบไปด้วยเนื้อหา 10 บท

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติ
บทที่ 2 สถิติเชิงพรรณนา
บทที่ 3 ความรู้พื้นฐานการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
บทที่ 4 สมมติฐาน และ การทดสอบสมมติฐาน
บทที่ 5 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงคุณภาพ
บทที่ 6 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงปริมาณ
บทที่ 7 การเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยประชากร
บทที่ 8 การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
บทที่ 9 การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย
บทที่ 10 การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณเชิงเส้น


2.การวิจัยทางสาธารณสุข: จากหลักการสู่การปฏิบัติ Public Health Research: From Principle to Practice

วิจัยสาธารณสุข_4

จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม และโครงสร้าง ประชากร ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ จําเป็นอย่างยิ่งในการออกแบบการแก้ปัญหาสุขภาพ ของบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม อย่างเป็นระบบ ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สอดคล้อง กับการศึกษาในทุกระดับที่มีการฝึกฝนให้ผู้เรียนแก้ปัญหาในชีวิตประจําวันอย่างเป็นเหตุเป็นผล การศึกษาในระดับอุดมศึกษา ที่มุ่งผลิตบัณฑิต ออกไปปฏิบัติงานรับใช้สังคมและประเทศชาติ มีการปรับการเรียนการสอนให้เชื่อมระหว่างระบบการศึกษากับระบบการปฏิบัติงานในพื้นที่ ให้ความสําคัญกับการคิดเป็นระบบเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ที่เกิดขึ้นจริง ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยจึงได้รับ การบรรจุในระดับอุดมศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยมุ่งหวังว่า ผู้ที่สําเร็จการศึกษาจะมีความรู้ ทักษะ การปฏิบัติ รวมถึงมีกระบวนการเรียนรู้ และสามารถนําความรู้ ที่เรียนไปใช้ประโยชน์ในการค้นหาคําตอบอย่างเป็นระบบในการปฏิบัติงาน

การวิจัยทางสาธารณสุข: จากหลักการสู่การปฏิบัติจะประกอบไปด้วยเนื้อหา 15 บท

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการวิจัย
บทที่ 2 จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัย
บทที่ 3 การกําหนดปัญหาการวิจัย
บทที่ 4 การทบทวนวรรณกรรม
บทที่ 5 วัตถุประสงค์การวิจัย
บทที่ 6 สมมติฐาน
บทที่ 7 การกําหนดตัวแปร
บทที่ 8 การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย
บทที่ 9 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
บทที่ 10 การวิจัยแบบไม้ทดลอง
บทที่ 11 การวิจัยแบบทดลอง
บทที่ 12 การพัฒนาเครื่องมือและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัย
บทที่ 13 การเก็บรวบรวมข้อมูล
บทที่ 14 การวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 15 การเขียนรายงานการวิจัย


3.พฤติกรรมสุขภาพ: แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้

วิจัยสาธารณสุข_5

พฤติกรรมสุขภาพ: แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ เป็นหนังสืออีกเล่มที่เป็น ความพยายามอันหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีทางด้าน พฤติกรรมสุขภาพให้กับนักสาธารณสุขในระดับพื้นที่ ให้เป็นอิสระจากความกลัวจนก่อเกิดเป็นความ เชื่อมั่นกระทั่งสามารถประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีในการจัดการและแก้ไขปัญหาสุขภาพของ ประชาชนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ยังมุ่งหวังอีกว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจ และเชื้อเชิญให้นักสาธารณสุขยุคใหม่หันมาให้ความสําคัญกับการปฏิบัติงานในชีวิตประจําวัน ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการ จนสามารถสังเคราะห์เป็นปัญญาใหม่ เป็น “ปัญญาปฏิบัติ” ที่เกิดจากการหลอมรวมระหว่างความรู้ที่ได้จาก 3 ส่วน คือความรู้เชิงทฤษฎี ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติจริง และความรู้ที่เป็นผลมาจากการปฏิบัติ หรือตามที่ภาษาพระท่าน เรียกว่า ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ซึ่งผู้เขียนเชื่อมั่นว่าปัญญาปฏิบัตินี้เองที่จะสามารถปฏิรูปให้เกิด การเปลี่ยนแปลงในการทํางานและเป็นกุญแจดอกสําคัญในการสร้าง สุขภาวะและคุณภาพชีวิต ของประชาชน รวมทั้งยังสามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของนักสาธารณสุข ที่ทํางานในระดับชุมชนได้อย่างแท้จริง

เนื้อหาภายในเล่มประกอบไปด้วยเนื้อหา 7 บท

บทที่ 1 พัฒนาการของพฤติกรรมศาสตร์
บทที่ 2 พฤติกรรมสุขภาพ
บทที่ 3 ความรู้พื้นฐาน: ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพ
บทที่ 4 ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพระดับบุคคล
บทที่ 5 ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพระดับระหว่างบุคคล
บทที่ 6 ทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพระดับกลุ่มหรือชุมชน
บทที่ 7 มุมมองเชิงระบบ: ความเข้าใจพฤติกรรมอย่างองค์รวม


4. วิจัยเชิงปฏิบัติการ แก้ไขปัญหาสาธารณสุขในชุมชน

การวิจัยเชิงปฏิบัติการถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำหรับใช้แก้ไข ปัญหาสังคมสมัยใหม่ที่เกิดจากพหุปัจจัยอันซับซ้อน ด้วยการเหนี่ยวนำผู้คนที่เป็นเจ้าของ ปัญหาตัวจริงให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหา ตั้งแต่รับรู้ปัญหา วางแผนแก้ไขปัญหา ลงมือแก้ไขปัญหา และสะท้อนย้อนกลับเพื่อนำไปปรับปรุง แผนงานและวิธีแก้ไขปัญหาซ้ำ ๆ จนกว่าจะได้ผลตามที่ปรารถนา ซึ่งความรู้ ความคิด รวบยอด และบทเรียนที่เกิดขึ้นระหว่างเข้าร่วมกระบวนการวิจัยนี้เองที่จะเสริมพลัง อำนาจให้กับผู้คนในสังคมได้มองเห็นโอกาส และทางเลือกใหม่ ๆ ที่จะนำพาตนเอง ไปสู่สิ่งที่ดีกว่าได้ด้วยตนเอง
ท่ามกลางภาระหนักอึ้งที่มีปลายทางยังคลุมเครือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในชุมชนได้ใช้ศักยภาพที่มี อย่างสูงสุด ทั้งต้นทุนภูมิปัญญาในการจัดการและแก้ไขปัญหาในชุมชน และต้นทุน ความสัมพันธ์ทั้งในแนวราบและแนวลึก ในขณะเดียวกันก็เป็นจุดเปลี่ยน ทำให้เจ้าหน้าที่ สาธารณสุขในชุมชนได้ทำงานในที่ทางที่เหมาะสม คือ อยู่ในจุดที่สามารถเป็นได้ทั้ง นักปฏิบัติงาน นักวิชาการ และนักปฏิบัติการทางสังคม เพื่อออกไปเปลี่ยนแปลงสังคม สู่สิ่งที่ดีกว่า ด้วยกระบวนการวิจัยที่มีชีวิตชีวา เสริมสร้างพลังอำนาจประชาชนให้เข้ามา มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของตนเอง และร่วม ไตร่ตรองสะท้อนคิดจนเกิดปัญญา จากการปฏิบัติจริง เป็นภาวนามยปัญญา ที่เป็นปัญญาขั้นสูงสุดที่ช่วยปรับเปลี่ยน การให้ความหมายกับทุก ๆ ปัญหาสังคมที่รุมเร้า ให้กลายเป็นเรื่องท้าทายและสร้างสรรค์ ได้ด้วยความเปี่ยมหวัง นี่เองที่ถือว่าเป็นหัวใจของการวิจัยเชิงปฏิบัติการในงาน สาธารณสุข และเป็นหัวใจดวงเดียวกับการพัฒนาสุขภาพชุมชนอย่างยั่งยืน

วิจัยสาธารณสุข_9


เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนนำแนวคิดเรื่อง คุณงามความดีทางปัญญา ของ Aristotle ที่เชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดแนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการมาใช้เป็นโครงร่าง ดำเนินเรื่อง เนื้อหามี 3 ส่วน รวม 9 บท

บทที่ 1 วิวัฒนาการของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
บทที่ 2 กระบวนทัศน์การวิจัยเชิงปฏิบัติการเส้นทางสายปรัชญา
บทที่ 3 ความหมาย ธรรมชาติ และความสำคัญของการวิจัย เชิงปฏิบัติการในงานสาธารณสุข
บทที่ 4 หลักการ กระบวนการ และรูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
บทที่ 5 การออกแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
บทที่ 6 การวางแผน และการปฏิบัติการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
บทที่ 7 การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 8 การสะท้อนกลับ และประเมินผลการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
บทที่ 9 ปัญญาแห่งการปฏิบัติ

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน