การวิจัยทางสาธารณสุข

การวิจัยทางสาธารณสุข เป็นการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัย มีเนื้อหาที่เรียบเรียงขึ้น ตามลำดับขั้นของกระบวนการวิจัย โดยนำเสนอทั้งในส่วนของภาคทฤษฎีและตัวอย่างการวิจัย ทางสาธารณสุข

การวิจัย คือ การแสวงหาความรู้โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีลักษณะเด่น คือ การวิจัย เป็นกระบวนการที่เป็นระบบ เป็นการแสดงข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ กระทำซ้ำ และสามารถถ่ายทอด ความรู้ได้ ผู้ปฏิบัติงานทางด้านสาธารณสุขมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการวิจัย ในการเป็นหัวหน้า โครงการวิจัย ผู้ร่วมวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย ผู้ให้ข้อมูลการวิจัย เป็นผู้ทบทวนงานวิจัย หรือเป็นผู้ใช้ ผลงานวิจัย ทั้งในด้านการศึกษาและ/หรือการปฏิบัติงานทางด้านบริการสุขภาพให้เกิดคุณภาพ

ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานทางด้านสาธารณสุข จึงมีความจำเป็นต้องตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัย และสามารถสร้างองค์ความรู้ทางด้านสาธารณสุข เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ให้สอดคล้องกับความจำเป็น ทางด้านสุขภาพของประชาชนและประเทศ ในบทนี้จะกล่าวถึง ความหมายและความสำคัญของ การวิจัย การวิจัยทางสาธารณสุข กระบวนทัศน์การวิจัย กระบวนการวิจัย และประเภทของการวิจัย

การวิจัยทางสาธารณสุข

ภายในเล่มประกอบไปด้วยเนื้อหา 15 บท ที่จะแนะนำตั้งความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการวิจัย รวมถึงวิะีการเขียนรายงานวิจัย


1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการวิจัย

ความหมายและความสำคัญของการวิจัย

ความหมายของการวิจัย (Definition of Research) การวิจัยตรงกับภาหค้นหา ค้นคว้า ดังนั้น การวิจัย (Research) คำการวิจัย หมายถึง การศึกษาปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ในทุกขั้นตอนของกระบวนการวิจัย มีการทดสอบสมมติฐาน และมีแนวคิด หรือทฤษฎีสนับสนุนสมมติฐานที่ทดสอบ (Kerlinger, 1986)

เห็นได้ว่า การให้คำนิยามของคำว่า “การวิจัย” มีความหมายที่สอดคล้องกัน ซึ่งสรุปได้ว่า การวิจัยเป็นการศึกษาค้นคว้าหาคำตอบ แก้ปัญหา โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีแนวคิด หรือทฤษฎีมาสนับสนุนสมมติฐานหรือคำ ถามการวิจัย ในทุกขั้นตอนของกระบวนการวิจัย อย่างเป็นระบบ เป็นการค้นคว้า ทดสอบทฤษฎี และ/หรือสร้างองค์ความรู้ที่มีความน่าเชื่อถือ


2. จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัย

ปัจจุบันมีการนํางานวิจัยไปใช้ประโยชน์และส่งผลให้เกิดการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่า จะเป็นการวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานหรือการวิจัยทางสาธารณสุข ซึ่งในการทําวิจัยนั้น นักวิจัย จะต้องออกแบบโดยคํานึงถึงประโยชน์ที่ได้จากการศึกษามากกว่าความเสี่ยงที่จะทําให้ผู้เข้าร่วมวิจัย ได้รับอันตราย ซึ่งจะต้องมีการออกแบบวิธีการป้องกันสิทธิและสวัสดิภาพของผู้เข้าร่วมวิจัย ในบทนี้ จะกล่าวถึงความหมายของจริยธรรมและจรรยาบรรณ สิทธิของกลุ่มตัวอย่าง หลักการทําวิจัยในมนุษย์ จริยธรรมในการจัดการกับข้อมูล จริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัย ประเด็นการพิจารณา จริยธรรมและจรรยาบรรณนักวิจัย

การวิจัยทางสาธารณสุข

วามหมายของจริยธรรมและจรรยาบรรณ จริยศาสตร์ (Ethics) เป็นปรัชญาสาขาหนึ่ง มีความหมายใกล้เคียงกับศาสตร์อื่น เช่น ปรัชญา กฎหมาย จิตวิทยา หรือสังคมวิทยา ตัวอย่างเช่น นักจริยธรรมทางการแพทย์ (Medical ethicist) คือคนที่ศึกษามาตรฐานทางจริยศาสตร์ในการแพทย์ สอดคล้องกับ วิจิตร ศรีสุพรรณ (2547) ที่กล่าวว่าจริยศาสตร์ หมายถึง ปรัชญาสาขาหนึ่งที่กล่าวถึงความประพฤติและการครองชีวิตว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรควรทํา และอะไรไม่ควรทํา ความแตกต่างของสาขาวิชาสถาบันการศึกษา และอาชีพ จึงมีบรรทัดฐาน (Norms) สําหรับพฤติกรรมที่เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายเฉพาะของแต่ละกลุ่ม บรรทัดฐานเหล่านี้จะช่วยให้สมาชิกของสาขาวิชานั้น มีการประสานงานการดําเนินกิจกรรมของพวก เขาและการสร้างความไว้วางใจของประชาชน (Public’s trust) ในสาขานั้น

3. การกําหนดปัญหาการวิจัย

การกำหนดปัญหาวิจัยและวัตถุประสงค์การวิจัย เป็นขั้นตอนสำคัญในระยะเริ่มต้นของการทำวิจัย หากนักวิจัยสามารถกำหนดปัญหาการวิจัยได้อย่างชัดเจน รอบด้าน จะทำให้เกิดคำถาม วิจัยที่ชัดเจน นำไปสู่การกำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษา ที่ถูกต้งแม่ยำ ส่งผลให้งานวิจัย เกิดประโยชน์และมีคุณค่าต่อการสาธารณสุข

การกําหนดปัญหาการวิจัย ปัญหาการวิจัย (Research problem) หมายถึง ประเด็นที่ยังไม่กระจ่าง มีความสงสัย และยังไม่มีการค้นพบคําตอบ โดยผู้วิจัยต้องการรู้คําตอบ ซึ่งการค้นหาคําตอบของปัญหาการวิจัย จําเป็นต้องใช้กระบวนการวิจัยที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อให้ผลการวิจัยที่ค้นพบมีความกระจ่าง ถูกต้อง และตรงตามข้อเท็จจริง (Kumar, 2007) เมื่อทราบปัญหาการวิจัยแล้วจึงทําการกําหนดปัญหาการวิจัย

การวิจัยทางสาธารณสุข

การกําหนดปัญหาการวิจัย หมายถึง การที่ผู้วิจัยระบุประเด็นสําคัญบางประการ เพื่อสร้าง ความชัดเจนให้แก่ผู้วิจัย ตลอดจนผู้สนใจได้เข้าใจตรงกันว่างานวิจัยเรื่องนี้ทําอะไร ทําไมต้องทํา และมีคุณค่าอะไร ซึ่งหากมีการกําหนดปัญหาการวิจัยที่ชัดเจนแล้วจะดําเนินการสื่อถึงผู้สนใจด้วย การเขียนความสําคัญของปัญหาการวิจัย

4. การทบทวนวรรณกรรม

การทบทวนวรรณกรรมมีความหมายในการใช้ทั้งเป็นกระบวนการ การอ่านทบทวนและ การเขียนเนื้อหาทบทวนวรรณกรรม มักปรากฏในบทที่ 2 ของรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ วิทยานิพนธ์ การทบทวนวรรณกรรมนี้ จะเริ่มไปพร้อม ๆ กับขั้นตอนการคิดกําหนดปัญหาการวิจัย และใช้เพื่อ การอภิปรายผลการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ประการหนึ่งเพื่อรวบรวมแนวคิด ทฤษฎี มาสนับสนุนปัญหา สมมติฐาน และกรอบแนวคิดในการทําวิจัย โดยขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรมประกอบด้วย 3 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ 1) การวางแผนการทบทวนวรรณกรรม 2) การค้นคว้าและจดบันทึก และ 3) การเสนอผลการค้นคว้า

ความหมายและความสําคัญของการทบทวนวรรณกรรม

วรรณกรรม คือ งานที่เกิดขึ้นด้วยฝีมือมนุษย์ผ่านการคิด การสังเกตและจินตนาการ แล้วเรียบเรียงก่อนการถ่ายทอดด้วยการบอกเล่า จดบันทึก หรือสือแสดงออกมาด้วยวิธีต่างๆ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน และภาษากาย แม้ว่างานวรรณกรรมจะมีความหมายค่อนข้างกว้าง ทั้งนี้ วรรณกรรม สําหรับงานวิจัย หมายถึง ข้อมูล รายงาน เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่างๆ สะท้อน องค์ความรู้ที่ผ่านมาในอดีตมีทฤษฎีอะไรบ้าง อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ โดยทําการรวบรวม และประมวลข้อมูล เอกสาร ตํารา และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึงสถานภาพ และพัฒนาการขององค์ความรู้ แนวคิด ทฤษฎีและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องการทบทวนวรรณกรรม เป็นการวิพากษ์เอกสารและงานวิจัยที่มีอยู่หรือที่สามารถค้นคว้าได้ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง งานวิจัยเรื่องต่าง ๆ และความเกี่ยวข้องของงานนั้นกับงานวิจัยที่จะทํา โดยผ่านกระบวนการค้นหา การอ่าน การสังเคราะห์ และการเขียน (Galvan, 2004)

5. วัตถุประสงค์การวิจัย

วัตถุประสงค์ คือ การระบุถึงองค์ประกอบในการค้นหาคําตอบของคําถามการวิจัย โดยวัตถุประสงค์จะเชื่อมกับคําถามการวิจัย เพื่อที่จะให้ได้คําตอบในการศึกษา ดังนั้นวัตถุประสงค์ การวิจัยจึงเป็นข้อความที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงให้ทราบว่าการศึกษาเรื่องนี้ต้องการทําอะไร สอดคล้อง กับคําถามการวิจัย ดังนั้นการเขียนวัตถุประสงค์จะทําให้ประเด็นการศึกษามีความชัดเจนทราบ ตัวแปร กําหนดรูปแบบของการวิจัย และขอบเขตของการวิจัย เช่น ประชากร ระยะเวลา หรือสถานที่ได้

ความสําคัญของวัตถุประสงค์

การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นการขยายรายละเอียดของปัญหาวิจัยที่กําหนด กรอบไว้แล้วตั้งแต่ตอนต้น ให้ชัดเจนขึ้นในลักษณะของภาษาเขียน การที่จะเขียนวัตถุประสงค์ ให้มีความชัดเจน จะต้องเป็นการเขียนหลังจากที่กําหนดปัญหาวิจัย คําถามการวิจัยได้แล้ว จะเห็นได้ว่า การกําหนดปัญหาวิจัยหรือคําถามการวิจัยเป็นการกลั่นกรองแนวความคิดของผู้วิจัยที่จะเจาะปัญหา ในแต่ละประเด็นออกมาให้เห็นเป็นจริงขึ้นมาสําหรับการปฏิบัติ ดังนั้น คําถามส่วนใหญ่ที่จะถามนักวิจัย ในเรื่องใด ๆ คือ “การวิจัยนี้ มีคําถามการวิจัยอะไร” ซึ่งหากคําถามการวิจัยชัดเจน จะส่งผลให้ การเขียนวัตถุประสงค์มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

6. สมมติฐาน

การตั้งสมมติฐานการวิจัย เป็นขั้นตอนของการคาดคะเนหรือคาดเดาคำตอบของปัญหา การวิจัย การคาดเดาคำตอบมีประโยชน์ในการกำหนดทิศทางการหาข้อมูล เพื่อตรวจสอบปัญหา การวิจัย ซึ่งเป็นการคาดเดาคำตอบอย่างมีเหตุมีผล สมมติฐานการวิจัยมีความเชื่อมโยงกับคำถาม การวิจัย ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของการศึกษา ผู้วิจัยควรตั้งสมมติฐานการวิจัยหลังจากที่ได้ศึกษา ทฤษฎี เอกสารต่าง ๆ ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเมื่อผู้วิจัยมีแนวความคิดเพียงพอที่จะคาดเดา โดยอาศัยเหตุผลเหล่านั้นเพื่อสนับสนุนสมมติฐานการวิจัยอย่างสมเหตุสมผล

7. การกําหนดตัวแปร

เมื่อผู้วิจัยเลือกหัวข้อปัญหาในการวิจัย กำหนด วัตถุประสงค์ สมมติฐานการวิจัย และกรอบแนวคิดได้แล้ว ต่อมาผู้วิจัยต้องทราบว่าต้องการจะศึกษาตัวแปรอะไร อะไรเป็นตัวแปรอิสระ ตัวแปตาม ทำความเข้าใจประเภท ระดับการวัดตัวแปร หลักการเขียนนิยามเชิงปฏิบัติการของตัวแปร ให้ชัดเจน นำไปสู่การตั้งสมมติฐานเพื่อเป็นแนวทางในการหาข้อสรุปของปัญหานั้น ๆ

การวิจัยทางสาธารณสุข

8. การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย

การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย เป็นขั้นตอนของการนำเอาตัวแปรและประเด็นที่ต้องการ ทำวิจัยมาเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้องในรูปของคำบรรยาย แบบจำลองแผนภาพหรือ แบบผสม การวางกรอบแนวคิดในการวิจัยที่ดีจะต้องชัดเจน แสดงทิศทางของความสัมพันธ์ของสิ่งที่ ต้องการศึกษาหรือตัวแปรที่จะศึกษา สามารถใช้เป็นกรอบในการกำหนดขอบเขตของการวิจัย การพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย รูปแบบการวิจัย ตลอดจนวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล

ในการศึกษาเชิงปริมาณนั้น กรอบแนวคิดในการวิจัยจะทำให้ผู้วิจัยและผู้อ่านงานวิจัย เข้าใจภาพรวมของงานวิจัยได้ชัดเจนขึ้น มองเห็นความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาอย่างเป็น ระบบ สำหรับงานวิจัยเชิงคุณภาพนั้น เนื่องจากเป็นการศึกษาในปรากฏการณ์ที่ยังไม่ชัดเจน ยังไม่มี ทฤษฎีหรืองานวิจัยรองรับมากนัก และต้องการได้ข้อมูลจากผู้ตอบที่เป็นความคิดเห็นหรือความรู้สึก หรือประสบการณ์ที่บุคคลมีต่อปรากฏการณ์อย่างแท้จริง จึงนิยมกำหนดกรอบเบื้องต้น โดยใช้โลกทัศน์ (Worldview) เป็นฐานของการพัฒนาความคิดและผลลัพธ์ของการวิจัยนำไปสู่การพัฒนาทฤษฎี

9. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ในการศึกษาเชิงป ริมาณ นักวิจัย จะทำ การศึกษาด้วยการเก็บ รวบรวม ข้อมูล และทำการอนุมานผลการศึกษาสู่ประชากร อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดของเวลา งบประมาณ การป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นจากการศึกษา นักวิจัยต้องทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง ที่เหมาะสมด้วยการกำหนดขนาดตัวอย่างและสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม ลดความคลาดเคลื่อนที่ อาจจะเกิดขึ้น ในแต่ละขั้นตอนให้น้อยที่สุด เพื่อทำ การตรวจสอบสมมติฐานจากข้อสังเกต (Observation) และสรุปผลการศึกษาอ้างอิงไปสู่ภาพรวมของประชากรได้

10. การวิจัยแบบไม้ทดลอง

การวิจัยแบบไม่ทดลอง ไม่มีการจัดกระทำปรากฏการณ์หรือสถานการณ์ให้กับกลุ่มตัวอย่าง ด้วยเหตุผลของข้อจำกัดด้านเวลา จริยธรรม นอกจากนี้เมื่อทบทวนวรรณกรรมแล้วพบว่าประเด็นการ วิจัย ยังมีการศึกษาที่ยังจำกัด ก่อนทำการศึกษาแบบทดลอง นักวิจัยจะเริ่มจากการศึกษาความ เกี่ยวข้องของตัวแปรก่อน นำไปสู่การศึกษาในรูปแบบอื่นต่อไป ในบทนี้จะกล่าวถึงการวิจัยแบบไม่ ทดลอง 5 ประเภท ได้แก่ 1) การศึกษาย้อนหลัง (Retrospective study) 2) การศึกษาติดตามไป ข้างหน้า (Prospective study) 3) การศึกษาเชิงสำรวจ (Survey research) 3) การศึกษาความสัมพันธ์ (Correlation study) และ 5) การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย (Prediction correlation study)

11. การวิจัยแบบทดลอง

การวิจัยทางสาธารณสุข

การวิจัยแบบทดลองต่างจากการวิจัยแบบไม่ทดลองโดยมีการจัดกระทำ ควบคุมตัวแปร ที่เกี่ยวข้อง เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของเหตุการณ์เชิงเหตุและผล ด้วยการทดสอบสมมติฐานที่ตั้งขึ้น ทั้งนี้รูปแบบของการวิจัยทางสาธารณสุขมีหลากหลาย แต่ละรูปแบบต่างก็มีข้อเด่นและข้อด้อย เฉพาะตัว ทำให้การวิจัยแต่ละรูปแบบมีความเหมาะสมสำหรับการค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ต่างกัน การวิจัยแบบทดลอง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ คือ การวิจัยแบบทดลองที่แท้จริง (True experimental) และการวิจัยแบบกึ่งทดลอง โดยการวิจัยแบบทดลองที่แท้จริงมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ 1) มีการสุ่ม (Randomization) 2) มีการควบคุม (Control) และ 3) มีการจัดกระทำ หรือกิจกรรม แทรกแซง หรือการรักษาวิธีต่าง ๆ (Intervention) เพื่อนำไปสู่การควบคุมและขจัดอิทธิพลของตัวแปร ภายนอกให้ได้มากที่สุด ในการที่จะสรุปว่าผลการวิจัยที่เกิดขึ้นกับตัวแปรตามมาจากตัวแปรต้น หรือการรัๆ (Intervention) นำเกิดจากตัวแปรต้น
บทที่ 13 การเก็บรวบรวมข้อมูล

12. การพัฒนาเครื่องมือและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัย

ในการทำวิจัย เมื่อได้ออกแบบการวิจัย ทำการกำหนดขนาดตัวอย่าง และสุ่มตัวอย่างแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การสร้างหรือพัฒนาเครื่องมือ ตลอดจนตรวจสอบเครื่องมือให้เหมาะสม น่าเชื่อถือ และหลังจากนั้นจึงนำเครื่องมืไปเก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป ซึ่งคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลมีความสำคัญยิ่งต่อความถูกต้องน่าเชื่ถือของผลการศึกษา เครื่องมือที่มีคุณภาพ จะทำให้ค่าตัวแปรที่ศึกษาที่วัดได้มีคลาดเคลื่อนน้อย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลอาจจำแนกได้ เป็น 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องมือที่สร้างไว้แล้ว อาจเป็นเครื่องมือมาตฐานหรือไม่ก็ได้ ผู้วิจัยควร เลือกใช้ให้เหมาะสม หรือเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างหรือพัฒนาขึ้นเองสำหรับใช้ในการศึกษาครั้งนี้ การนำเครื่องมือการวิจัยไปใช้ จึงต้องมีการตรวจสอบคุณภาพก่อนนำไปเก็บข้อมูล

13. การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง กระบวนการเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ตอบสนอง วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อนำมาวิเคราะห์ ซึ่งการเก็บข้อมูลมีได้ทั้งการเก็บข้อมูลใหม่เรียกว่า ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) และการเก็บรวบรวมมาแล้วและได้รายงานหรือมาทำการศึกษา วิเคราะห์ต่อ เรียกว่า ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) ทั้งนี้การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนหนึ่ง ของกระบวนการวิจัยที่ต้องเชื่อมโยงสอดคล้องกับขั้นตอนอื่นๆ อย่างเหมาะสม กล่าวคือ ต้องสอดคล้อง กับวัตถุประสงค์ สมมติฐาน กรอบแนวความคิด รูปแบบการวิจัย รวมถึงวิธีการที่จะใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล

เมื่อได้เก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปนักวิจัยจะต้องเตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ ในขั้นตอนนี้ มีความสำคัญที่จะลดความคลาดเคลื่อนในการวิจัย ด้วยการเตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ ประกอบด้วย 1) การตรวจสอบข้อมูลดิบ 2) การให้รหัสข้อมูลและการทำคู่มือลงรหัส 3) การบันทึกข้อมูล และ 4) การตรวจสอบข้อมูลที่บันทึก

14. การวิเคราะห์ข้อมูล

หลังจากที่ผู้วิจัยบันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูลเรียบร้อย ขั้นตอนต่อไป คือ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยทั่วไปผู้วิจัยจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในขั้นตอนนี้ผู้วิจัยควรมีการเตรียม ตารางจำลอง ที่ตอบวัตถุประสงค์ สมมติฐาน สอดคล้องกับตัวแปรที่ปรากฏในแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนำตัวเลขจากการวิเคราะห์ข้อมูลมาใส่ลงในตารางจำลองที่เตรียมไว้ ซึ่งอาจจะมีการแก้ไขเพิ่มเติม ปรับปรุงบางตาราง ให้เหมาะสมกับลักษณะของข้อมูลที่เก็บมาได้ อันจะทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลมีทิศทางและประหยัดเวลา

ในขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น จะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และสมมติฐานในการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมในการศึกษา เช่น สถิติพรรณาเพื่อการวิเคราะห์ภาพรวมของข้อมูลสถิติ เพื่อการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย และสถิติเพื่อการวิเคราะห์ควาและการพยากรณ์

15. การเขียนรายงานการวิจัย

เมื่อผู้วิจัยดำเนินการวิจัยเสร็จสิ้น จะต้องมีการเผยแพร่ขั้นตอนการทำงาน ผลการศึกษา และองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษา ซึ่งจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย การปฏิบัติ และการศึกษาในศาสตร์นั้นๆ ต่อไป ทั้งนี้รูปแบบการเขียนรายงานการวิจัยมี 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) การเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ 2) การเขียนบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ในวารสาร ทั้งสองรูปแบบ มีหลักการเขียนที่คล้ายคลึงกัน แต่มีความแตกต่างกันที่วัตถุประสงค์ของการเผยแพร่ ดังนั้น ผู้วิจัยจะต้องเขียนรายงานการวิจัยให้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของการเผยแพร่

หนังสือเล่มนี้ ได้นำเสนอลำดับขั้นของกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณโดยนำเสนอทั้งในส่วนของภาคทฤษฎีและตัวอย่างการวิจัยทางสาธารณสุขเพื่อให้นิสิตนักศึกษา นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป มีความเข้าใจในการวิจัยทางสาธารณสุขและใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการบริการสาธารณสุขให้กับประชาชน

เอกสารอ้างอิง

วิจิตร ศรีสุพรรณ. (2547). การวิจัยทางการพยาบาล: หลักการและแนวปฏิบัติ. เชียงใหม่: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Galvan, J. L. (2004). Writing literature reviews: a guide for students of the social and behavioral sciences (2nd ed). Glendale: Pyrczak Publishing

Kerlinger, F.N. (1986). Foundations of Behavioral Research. Forth Worth, TX Holt: Rinehart and Winston.

Kumar, R. (2007). Research Methodology: A Step-by-Step Guide for Beginners. Western Australia: Sage Publications.

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน