แมลงวัน

แมลงวัน-นิติเวชกีฏวิทยานี้แสดงให้เห็นบทบาทของแมลงวันในการนำไปใช้ประโยชน์ในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนิติเวชกีฏวิทยา หนังสือเล่มนี้จะเปิดมุมมองและประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้อ่าน ให้เห็นประโยชน์ของแมลงวันที่สามารถนำมาใช้ในงานนิติเวชกีฏวิทยา ที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่รู้จักแมลงวันในเชิงลบ เป็นสัญลักษณ์ของความสกปรก เป็นพาหะเชิงกลนาเชื้อโรค ทำให้คนส่วนใหญ่รังเกียจและมองแมลงวันในแง่ลบเพียงอย่างเดียว แต่แท้จริงแล้วแมลงวันสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม การแพทย์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานด้านนิติเวชกีฏวิทยา ซึ่งในต่างประเทศ อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีการนำไปใช้ประโยชน์ในชั้นศาล สำหรับการใช้ประโยชน์แมลงวันในงานด้านนิติเวชกีฏวิทยาในราชอาณาจักรไทยนั้น ยังไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม และการศึกษาวิจัยยังอยู่ในวงจำกัด

บทบาทแมลงวันในงานนิติเวชกีฏวิทยา

โดยเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ได้เรียบเรียงจากประสบการณ์วิจัยของผู้นิพนธ์ รวบรวมข้อมูลและสังเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัย บทความ หนังสือ ตำรา เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับแมลงวันและนิติเวชกีฏวิทยา เรียบเรียงให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ เน้นการนาเสนอโดยใช้ภาพกราฟิก (infographics) มาช่วยในการสื่อสารให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย สามารถนำไปปฏิบัติตามได้ ถึงแม้ผู้อ่านไม่มีความเชี่ยวชาญทางด้านกีฏวิทยา

นอกจากนี้ หนังสือบทบาทของแมลงวันในงานนิติเวชกีฏวิทยานี้ ได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (augmented reality technology: AR) มาประกอบในหนังสือ เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพเคลื่อนไหวประกอบเสมือนจริงประกอบการอ่านหนังสือ สามารถเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น

บทบาทแมลงวันในงานนิติเวชกีฏวิทยา

1. ประวัติของนิติเวชกีฏวิทยา

บทบาทแมลงวันในงานนิติเวชกีฏวิทยา

นิติกีฏวิทยา (Forensic Entomology) เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องระหว่างความรู้ ทางด้านชีววิทยาของสัตว์ขาปล้องและกระบวนการยุติธรรมทางกฎหมาย เป็นการนำความรู้ทางชีววิทยาของสัตว์ขาปล้องชนิดต่าง ๆ ซึ่งเป็น สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) มาประยุกต์ใช้ในงาน ชันสูตรทางนิติวิทยาศาสตร์และนำไปใช้อ้างอิงในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งนิติกีฏ วิทยาเป็นแขนงหนึ่งของนิติวิทยาศาสตร์ สำหรับนิติเวชกีฏวิทยา (Medicolegal Entomology หรือ Forensic Medicolegal Entomology) นั้นเป็นศาสตร์แขนงย่อยของ นิติกีฏวิทยา ซึ่งส่วนใหญ่จะมีความเกี่ยวข้องกับคดีที่ เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพของมนุษย์ หรือคดีอาชญากรรม ซึ่งในยุคแรกของการศึกษา ในศาสตร์นี้ ยังไม่ได้แยกนิติเวชกีฏวิทยาออกจากนิติกีฏวิทยาอย่างชัดเจน

2. บทบาทของแมลงวันในงานนิติเวชกีฏวิทยา

แมลงวันที่พบในสถานที่เกิดเหตุ จากตัวผู้เสียหายหรือตัวผู้กระทำความผิด จัดว่าเป็นวัตถุพยานทางชีววิทยา (biological evidence) เช่นเดียวกับ คราบเลือด คราบอสุจิ ฟัน ขน นำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ เนื้อเยื่อ และลายนิวมือ เป็นหลักฐาน ในการติดตามตัวผู้กระทำความผิดที่น่าเชื่อถือ นอกเหนือไปจากประจักษ์พยาน หรือ พยานบุคคล ที่รู้เห็นการกระทำความผิด ปัจจุบันบทบาทของแมลงวันในงานนิติเวช กีฏวิทยานั้นมีทั้งบทบาทเชิงบวก มีการนำความรู้เกี่ยวกับแมลงวันไปใช้ประโยชน์ใน ด้านนิติเวชกีฏวิทยาหลายกรณี และแมลงวันยังมีบทบาทเชิงลบ ที่อาจเป็นสาเหตุให้ เกิดความผิดพลาดในการคลี่คลายคดีได้เช่นเดียวกัน บทบาทเชิงบวกของแมลงวันต่องานนิติเวชกีฎวิทยา แมลงวันเป็นสัตว์ขาปล้องที่มีบทบาทอย่างมากในงานด้านนิติเวชกีฎวิทยา เนื่องจากแมลงวันมาที่ศพทันทีหลังจากที่มีการเสียชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม แมลงวันหัวเขียว จากงานวิจัยพบว่า ในพื้นที่เปิดโล่ง แมลงวันหัวเขียวสามารถมายัง ศพภายในเวลาไม่เกิน 5 นาที การเข้าถึงศพของแมลงวันมีรูปแบบที่คาดการณ์ได้ โดยต่างไปตามชนิดของแมลงวันและชีวนิสัย การเจริญเติบโตของแมลงวันสามารถ คาดการณ์ได้เช่นเดียวกัน

3. ลำดับการเข้าถึงของสัตว์ขาปล้องกับการเสื่อมสลายของศพ

สัตว์ขาปล้อง เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเกี่ยวข้องกับศพ เนื่องจากสัตว์ขาปล้อง หลายชนิดอาศัยศพเป็นแหล่งอาหาร และเป็นที่อาศัย จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ลำดับการเข้าถึงศพของสัตว์ขาปล้องมีความสัมพันธ์กับในแต่ละระยะการเสื่อม สลายของศพ และมีรูปแบบที่คาดการณ์ได้ ซึ่งต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ชีววิทยาทั่วไปของสัตว์ขาปล้อง เช่น วงจรชีวิต การเจริญเติบโต และพฤติกรรม ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสัตว์ขาปล้อง สัตว์ขาปล้อง เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก พบมากกว่า 80% ของสัตว์ทั้งหมดในอาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) สัตว์ขาปล้องจัดอยู่ไฟลัม อาร์โทโพดา (Phylum Arthropoda) ชื่อของไฟลัมนี้มาจากรากศัพท์ภาษากรีก ซึ่ง ประกอบด้วย 2 คำ ประกอบด้วย arthro ซึ่งแปลว่า joint และ pod แปลว่า foot เมื่อ ประกอบกันจึงหมายถึงสัตว์ที่มีขาต่อกันเป็นข้อ เป็นปล้อง สัตว์ขาปล้องเป็นสัตว์ที่ ไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวมีสมมาตรแบบผ่าซีก (bilateral symmetry) มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น มีช่องว่างภายในตัวแบบแท้จริง (true coelom) ลำตัวมีลักษณะเป็นปล้อง และ แบ่งออกเป็นส่วน ๆ โดยทั่วไปประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนหัว (head) ส่วนอก (thorax) และส่วนท้อง (abdomen) ซึ่งพบลักษณะดังกล่าวในสัตว์ขาปล้อง เช่น แมลง แต่ในสัตว์ขาปล้องบางชนิด เช่น กุ้ง และปู มีส่วนหัวและส่วนอกรวมกัน เป็นต้น

4. แมลงวันที่มีความสาคัญทางนิติวิทยาศาสตร์

แมลงวัน เป็นแมลงที่มีความสำคัญทางนิติเวชกีฏวิทยามากที่สุด เนื่องจาก เป็นแมลงกลุ่มแรกที่มายังศพ แมลงวันจัดกลุ่มตามหลักอนุกรมวิธานได้ ดังนี้ Phylum : Arthropoda, Class : Insecta ,Order : Diptera, Suborder : Brachycera การเจริญเติบโตของแมลงวัน ในวงจรชีวิต ประกอบด้วย 4 ระยะ ได้แก่ ระยะไข่ (egg) ระยะตัวอ่อน (larva) ระยะดักแด้ (pupa) และระยะตัวเต็มวัย (adult) มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ (complete metamorphosis) กล่าวคือ แมลงวันมีการถอดรูปเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ โดยในแต่ละระยะมีรูปร่าง ลักษณะที่ต่างกันอย่างชัดเจน

บทบาทแมลงวันในงานนิติเวชกีฏวิทยา

5. แนวปฏิบัติการเก็บรักษาตัวอย่างแมลงวันในสถานที่เกิดเหตุ

ตัวอย่างแมลงวันที่เก็บจากสถานที่เกิดเหตุ จัดเป็นวัตถุพยานที่สามารถเป็น พยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์ในการนำไปประกอบการพิจารณาคดี ซึ่ง พยานหลักฐานที่นำไปใช้ในการประกอบการพิจารณาคดีในกระบวนการยุติธรรม จะต้องเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการเก็บตัวอย่างมาอย่างถูกต้องได้มาตรฐาน มี ขั้นตอนการคุ้มครองหลักฐานไม่ให้เสื่อมสภาพ ถูกทำลาย สับเปลี่ยน มีการนำไป ทดสอบตรวจสอบตามมาตรฐาน มีการแปลผลการตรวจสอบที่ถูกต้อง และมีการ เก็บตัวอย่างไว้เป็นหลักฐาน สามารถตรวจสอบซ้ำเมื่อถูกร้องขอได้ ซึ่งเป็นไปตาม หลักลูกโซ่การครอบครองวัตถุพยาน (chain of custody) การจัดการ (taking) กระทำโดยผู้เก็บวัตถุพยาน จำแนกวัตถุพยานโดย การทำตำหนิ ระบุวันเดือนปีที่เก็บ และรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวข้องกับ วัตถุพยาน การเก็บ (keeping) การเก็บและครอบครองวัตถุพยานต้องกระทำอย่าง ถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการ การขนส่ง (transporting) การขนส่งวัตถุพยานต้องรัดกุม แสดงให้เห็น ว่าไม่เกิดการสับสนกับวัตถุพยานอื่น ถ้าจำเป็นต้องส่งทางไปรษณีย์ ต้องทำการส่งแบบลงทะเบียนการส่งมอบ (delivering) ต้องมีการส่งมอบวัตถุพยานให้กับผู้รับอย่าง ถูกต้องและเหมาะสม มีหลักฐานแสดงวันเดือนปีที่รับวัตถุพยาน และ ระบุรายชื่อผู้รับผิดชอบทุกครั้ง

6. การจำแนกชนิดแมลงวันโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยา

แมลงวันที่พบในศพและสถานที่เกิดเหตุ สามารถพบได้ทั้งในระยะไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ซึ่งระยะเวลาการเจริญเติบโตของแมลงวันแต่ละชนิดมีความ แตกต่างกัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องระบุชนิดของแมลงวันระยะต่าง ๆ ที่พบในศพหรือ จากสถานที่เกิดเหตุให้มีความถูกต้อง เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานในการประมาณ ระยะเวลาหลังการเสียชีวิตของศพ หรือเป็นหลักฐานในประเด็นอื่นได้อย่างถูกต้อง การระบุชนิดของแมลงวันในระยะต่าง ๆ โดยอาศัยความแตกต่างของลักษณะทาง สัณฐานวิทยา โดยเทียบกับกุญแจอนุกรมวิธาน (taxonomic key) ซึ่งกุญแจ อนุกรมวิธานที่กล่าวในหนังสือเล่มนี้เป็นแบบ ไดโคโตมัสคีย์ (dichotomus key) ที่เป็น เครื่องมืออย่างหนึ่งในการจำแนกชนิดออกเป็นกลุ่มย่อย โดยพิจารณาจาก โครงสร้างทีละลักษณะที่แตกต่างกันเป็นคู่ การจำแนกแมลงวันด้วยวิธีนี้ เป็นวิธีที่ รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อย แต่ต้องอาศัยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธาน ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนากุญแจอนุกรมวิธานแบบดิจิทัล ในรูปแบบแอปพลิเคชัน iParasites มาช่วยในการจำแนกชนิดแมลงวันได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

บทบาทแมลงวันในงานนิติเวชกีฏวิทยา

7. การประมาณระยะเวลาหลังการเสียชีวิตจากตัวอย่างแมลงวัน

ในทางการแพทย์ เมื่อแพทย์ผู้ทำหน้าที่ได้วินิจฉัยว่าสมองตาย หมายความ ว่า ผู้นั้นได้ตายแล้วตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้นับการเสียชีวิต ตั้งแต่แพทย์ อย่างน้อย 2 คนให้การวินิจฉัยว่าสมองตาย โดยคนหนึ่งเป็นผู้รักษา และอีกคนหนึ่ง เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาท ซึ่งในการประมาณระยะเวลาการเสียชีวิต กรณีที่เสียชีวิตในระยะแรกไม่เกิน 24 ชั่วโมงนั้นสามารถใช้ข้อมูลจากการ เปลี่ยนแปลงทางกายภาพของศพ เช่น การแข็งตัวของกล้ามเนื้อ (rigidity) การตกลง สู่เบื้องต่ำของเม็ดเลือดแดง (lividity) และอุณหภูมิร่างกายที่ลดลง ใช้ในการ ประมาณระยะเวลาหลังการเสียชีวิตได้ แต่ถ้าหากเกินระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ศพจะ เริ่มเน่าทำให้การประมาณระยะเวลาการเสียชีวิตมีความแม่นยำน้อยลง ดังนั้นการ ประมาณระยะเวลาหลังเสียชีวิตตามหลักทางนิติเวชต้องอาศัยศาสตร์ด้านอื่นร่วม ด้วย

8. เทคนิคปฏิบัติการเกี่ยวกับการเตรียมตัวอย่างแมลงวัน

การใช้ตัวอย่างแมลงวันเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ในงานนิติ วิทยาศาสตร์ จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวอย่างแมลงวันให้มีความถูกต้อง และ เหมาะสม ซึ่งเทคนิคปฏิบัติการเกี่ยวกับการเตรียมตัวอย่างแมลงวันที่สำคัญ ประกอบด้วย การเลี้ยงแมลงวันในห้องปฏิบัติการ การย้อมสีไข่แมลงวันด้วย สารละลายด่างทับทิม หรือ 1% โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (KMnO4) การทำให้ ตัวอย่างใสโดยใช้ 10% โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) ซึ่งเทคนิคดังกล่าวจะใช้กับ ตัวอย่างแมลงวันระยะตัวอ่อนและระยะดักแด้ และเทคนิคการผ่าอวัยวะสืบพันธุ์ของ แมลงวันตัวเต็มวัย สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ขาปล้องนั้นอยู่ ภายใต้พระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร จำเป็นต้องมีการศึกษาพระราชบัญญัติดังกล่าวและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

9. การจำแนกชนิดแมลงวันด้วยแอปพลิเคชัน iParasites

สมาร์ตโฟน เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในยุค ปัจจุบัน ผู้คนสามารถติดตั้งแอปพลิเคชันต่าง ๆ ในสมาร์ตโฟน เพื่อใช้อำนวยความ สะดวกในชีวิตประจำวัน หรือแม้กระทั่งในหน้าที่การงาน ได้มีการพัฒนาให้ แอปพลิเคชันเป็นเสมือนผู้ช่วยส่วนตัวที่ผู้ใช้สามารถเรียกใช้งานได้ตลอดเวลา แอปพลิเคชัน iParasites เป็นการพัฒนานวัตกรรมแอปพลิเคชัน เพื่อช่วยใน การจำแนกชนิดแมลงวัน โดยใช้ลักษณะทางสัญฐานวิทยาเป็นหลัก ซึ่งนำความรู้ ทางด้านนิติเวชกีฏวิทยา มาประยุกต์ใช้กับศาสตร์แห่งเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล ออกแบบมาเป็นสถาปัตยกรรมแอปพลิเคชัน (application architecture) เพื่ออำนวย ความสะดวก รวดเร็ว และแม่นยำให้แก่ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีความสนใจจะจำแนก ชนิดแมลงวันโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยา ปัจจุบันแอปพลิเคชัน iParasites ได้รับการรับรองการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ประเภทงานวรรณกรรม ลักษณะงาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภายใต้ชื่อ Parasites by Dr.Nop แอปพลิเคชันการเรียนรู้ทาง ปรสิตวิทยาบนระบบปฏิบัติการ OS และ Android ไว้ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ตามคำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ 366559 เมื่อวันที่ 18 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 เป็น ที่เรียบร้อยแล้ว

10. บทสรุปและแนวทางการวิจัยในอนาคต

การนำความรู้เกี่ยวกับแมลงวันไปใช้ประโยชน์ในงานด้านนิติเวชกีฏวิทยา จำเป็นต้องมีข้อมูลด้านชีววิทยา และนิเวศวิทยาของแมลงวันที่มีความสำคัญ ทางด้านนิติเวชกีฏวิทยาที่ครอบคลุมและถูกต้อง การศึกษาที่ดีที่สุดในการศึกษา ลำดับการเข้าถึงของสัตว์ขาปล้องในศพ คือ การศึกษาโดยใช้ศพมนุษย์ ซึ่งใน ต่างประเทศมีการศึกษาโดยใช้ศพมนุษย์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสัตว์ขาปล้อง กับการเสื่อมสลายศพในหลากหลายแง่มุม หรือเรียกสั้น ๆ ว่า body farm เช่น การศึกษาในมหาวิทยาลัย Tenesse ประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับราชอาณาจักร ไทยนั้น การศึกษาโดยใช้ศพมนุษย์ กระทำได้ยาก เนื่องจากปัจจัยหลายประการ อาทิ การไม่ยอมรับของสังคม ความเชื่อเรื่องวิญญาณ ดังนั้น จึงมีเฉพาะการศึกษา โดยใช้ซากสัตว์แทน เช่น ซากสุกรบ้าน และซากไก่ ซึ่งการนำข้อมูลจากการศึกษา โดยใช้ซากสัตว์นั้นจำเป็นต้องมีความรอบคอบและระมัดระวัง สามารถนำไปใช้ได้ เพียงบางประเด็นเท่านั้น ปัจจุบันผู้นิพนธ์และคณะวิจัย มีการพัฒนาแอปพลิเคชัน iParasites ขึ้นมา ซึ่งมีฟังก์ชันในการช่วยจำแนกชนิดแมลงวัน ทำให้ผู้ใช้มีความสะดวกสบายในการใช้ มากกว่าการจำแนกชนิดแมลงวันด้วยการเปิดกุญแจอนุกรมวิธานที่เป็นเอกสาร แต่ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ใช้แอปพลิเคชันยังคงต้องเป็นผู้มีความรู้ด้านกีฏวิทยา โดยเฉพาะ คำศัพท์ที่ใช้เรียกตำแหน่งหรือเส้นขนต่าง ๆ ดังนั้น ควรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน