แคลคูลัส

แคลคูลัส 3 (Calculus III)

แคลคูลัส 3 มีเนื้อหามุ่งเน้นไปยังความรู้เรื่องการเปลี่ยนพิกัด จากระบบพิกัดฉากเป็น ระบบพิกัดเชิงขั้ว พิกัดทรงกระบอก และพิกัดทรงกลม และการหาอนุพันธ์และปริพันธ์ของฟังก็ชัน หลายตัวแปร รวมทั้งการประยุกต์ของสมการเชิงอนุพันธ์และปริพันธ์ ซึ่งเป็นพื้นฐานต่อการศึกษา ขั้นสูงทางด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์และทางวิศวกรรมศาสตร์ รวมทั้งการประยุกต์ในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

แคลคูลัส 3

โดยตำราเล่มนี้ได้เน้นการแสดงตัวอย่างในหลายรูปแบบและประยุกต์การใช้โปรแกรม รหัสเปิดจีโอจีบา (Geogebra) ในการแสดงกราฟเพื่อง่ายต่อการเข้าใจ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ มองภาพได้ง่ายขึ้นและสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองเพิ่มเติมได้ ซึ่งผู้พัฒนาตำราเล่มนี้หวังไว้อย่างยิ่ง ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในรายวิชาแคลคูลัสส่วนที่ 3 และสำหรับผู้ที่สนใจ

แคลคูลัส 3

1. ระบบพิกัดเชิงขั้ว (Polar Coordinate System)

ในบางครั้งการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในระบบพิกัดฉากนั้นอาจมีความซับซ้อน และต้องใช้ วิธีการแก้ปัญหาหลายขั้นตอน ซึ่งในการแปลงพิกัดจากระบบพิกัดฉากเป็นระบบพิกัดเชิงขั้วนั้น อาจทำให้ปัญหาที่มีความซับซ้อน กลายเป็นปัญหาที่ง่ายกว่าได้ สังเกตจากการแปลงพิกัดดังนี้

ระบบพิกัดเชิงขั้ว (Polar Coordinate System)

ในระบบพิกัดฉาก จุด (x. y) ใด ๆ บนระบบพิกัดฉากนั้น สามารถแสดงได้ดังภาพ 1.1 โดยที่แกนนอน คือ แกน x และแกนตั้ง คือ แกน y

2. สมการเชิงอนุพันธ์อันดับหนึ่ง (First Order Differential Equations)

ในโลกของความเป็นจริงนั้นหลายสิ่งหลายอย่างมีความเชื่อมโยงกัน การเปลี่ยนแปลงของ บางสิ่งมีผลกระทบต่ออีกสิ่ง เช่น ผู้ล่ากับผู้ถูกล่า ประชากรของทั้งสองสิ่งนี้มีความเชื่อมโยงกัน ถ้าประชากรของผู้ถูกล่ามีปริมาณมาก ก็ถือว่าเป็นแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของผู้ล่า ซึ่งทำให้ปริมาณ ของผู้ล่าเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่เมื่อเวลาผ่านไปจำนวนของเหยื่อไม่สามารถเติบโตได้ทันกับจำนวน ของผู้ล่าที่เพิ่มขึ้นได้ จึงทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารในระบบ ดังนั้น ผลที่เกิดขึ้น คือ จำนวนผู้ล่าลดลง ด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น การฆ่ากันเองระหว่างผู้ล่า หรือขาดอาหารตาย คณิตศาสตร์สามารถอธิบาย ปรากฏการณ์นี้ได้ ซึ่งสมการอย่างง่ายที่คุ้นเคยกันก็คือ สมการเชิงอนุพันธ์ (differential equations) ในบทนี้จะศึกษา สมการเชิงอนุพันธ์อันดับหนึ่ง (fist order differential equations)

แคลคูลัส 3

3. สมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้นอันดับสูง (Higher Order LinearDifferential Equations)

ในเนื้อหาส่วนนี้จะพิจารณาการหาผลเฉลยของสมการเชิงอนุพันธ์อันดับที่มากกว่าสอง ที่เป็นเชิงเส้น ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการประยุกต์ใช้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ก่อนที่จะเข้าสู่การหา ผลเฉลยของสมการเชิงอนุพันธ์อันดับต่าง ๆ จะขอนำเสนอทฤษฎีบทที่สำคัญก่อน ดังนี้

ทฤษฎีบท 3.1 กำหนดให้ p(x). q(x) และ g(x) เป็นฟังก์ชันต่อเนื่องบนช่วง (a,b) และให้ x0 อยู่ในช่วง (a,b) แล้วปัญหาค่าเริ่มต้น

มีผลเฉลยเพียงหนึ่งเดียวบนช่วง (a, b)

ทฤษฎีบท 3.2 กำหนดให้ y1(x) และ y2(x) เป็นผลเฉลยของสมการ

ที่หาค่าได้บนช่วง a < x < b โดยที่ p(x) และ q(x) ต่อเนื่องบนช่วง (a,b) แล้วสำหรับ ค่าคงที่ c1 และ c2 ใด ๆ ผลรวมเชิงเส้น (linear combination)

เป็นผลเฉลยของสมการเชิงอนุพันธ์เช่นกัน

4. การแปลงลาปลาซและการแปลงลาปลาซผกผัน (Laplace Transform and Inverse Transform)

แคลคูลัส 3

ในเนื้อหาแคลคูลัสเบื้องต้นนั้น ได้มีการบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการหาอนุพันธ์และ การอินทิเกรตของฟังก์ชันไว้ ซึ่งทั้งสองกระบวนนี้เป็นการแปลงเบื้องต้น นั่นคือ แปลงจากฟังก์ชัน หนึ่งเป็นอีกฟังก์ชันหนึ่ง

5. ฟังก์ชันหลายตัวแปรและอนุพันธ์ย่อย (Functions of Several Variables and Partial Derivatives)

ฟังก์ชันหลายตัวแปร (Functions of Several Variables)

สำหรับฟังก์ชัน 2 ตัวแปร จะเขียนแทนด้วย f (x , y) ตัวอย่างเช่น

หรือแล้วแต่จะตั้งชื่อ เช่น z = x2 y + 2x + y เป็นต้น โดยที่ x, y คือ ตัวแปรต้น (independent variables) และ z คือ ตัวแปรตาม (dependent variable) สำหรับฟังก์ชัน 3 ตัวแปร จะเขียนแทนด้วย f(x, y, z) ในทำนองเดียวกัน ฟังก์ชัน n ตัวแปร จะเขียนแทนด้วย f(x1,x2,x3,…,xn)

อนุพันธ์ย่อย (Partial Derivatives)

แคลคูลัส

6. ปริพันธ์หลายชั้น (Multiple Integrals)

เนื้อหาในบทนี้จะเป็นการแนะนำการหาปริพันธ์ของฟังก์ชันหลายตัวแปร โดยจะเริ่มแนะนำปริพันธ์สองชั้นก่อน

1. ปริพันธ์สองชั้น

2. ปริพันธ์สามชั้น (Triple Integrals)

แคลคูลัส 3

7. แคลคูลัสของเวกเตอร์ (Vector Calculus)

เนื้อหาในส่วนนี้จะเกี่ยวกับการหาอนุพันธ์ ปริพันธ์และการประยุกต์ที่เกี่ยวข้องของ เวกเตอร์ สนามเวกเตอร์ และฟังก์ชันเวกเตอร์ต่าง ๆ

แคลคูลัส 3

ค่าเวกเตอร์และพีชคณิตของเวกเตอร์ (Calculus of Vector-Valued Functions)

สำหรับหัวข้อนี้จะพูดถึงเวกเตอร์และกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเวกเตอร์ โดยจะเริ่ม ด้วยการแนะนำนิยามพื้นฐานต่าง ๆ ของเวกเตอร์ดังต่อไปนี้

แคลคูลัส

แคลคูลัส 3 (Calculus III) เป็นเนื้อหาขั้นตอนสุดท้ายของแคลคูลัส หนังสือ เล่มนี้แบ่งเป็นสองส่วน ในส่วนแรกเป็นการหาผลเฉลยของสมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้นอันดับหนึ่งและอันดับสูง การใช้ผลการแปลงลาปลาซและลาปลาซผกผันสำหรับการหาผลเฉลยของสมการเชิงอนุพันธ์ สำหรับส่วนที่สองเป็นการหาอนุพันธ์และปริพันธ์ของฟังก์ชันหลายตัวแปรและแคลคูลัสของเวกเตอร์ เช่น ปริพันธ์ตามผิวและทฤษฎีบทของเกาส์และสโตกส์ เป็นต้น ทฤษฎีบทและตัวอย่างในหนังสือเล่มนี้ มีความละเอียดสูงและชัดเจน ซึ่งเหมาะสมกับผู้ที่มีความสนใจแคลคูลัสในทุกระดับ ทุกอาชีพ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการคำปรึกษา ทางด้านแคลคูลัสสามารถศึกษาและเข้าใจได้ด้วยตนเอง

แคลคูลัส 3

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน