เทคนิคการอ่านเชิงวิชาการ

เทคนิคการอ่านเชิงวิชาการ เล่มนี้นำเสนอความรู้ทางกว้าง-เพื่อให้ผู้อ่านที่ไม่เชี่ยวชาญการอ่านงานเขียนวิชาการได้รู้จักและสัมผัสงานเขียนวิชาการประเภทต่างๆ ที่สำคัญ โดยแนะแนวทางการอ่าน พร้อมทั้งเสนอตัวอย่างการอ่านไว้อย่างแน่ชัด คุณค่าที่แตกต่างของตำราเล่มนี้ คือความไม่หรูหรา ทว่าละเอียดถี่ถ้วนของคำอธิบาย-ที่แช่มช้าไม่เหมาะสำหรับผู้ที่สามารถอ่านงานเขียนวิชาการได้แคล่วคล่องแต่เหมาะสำหรับผู้ที่รู้จักงานเขียนวิชาการไม่แน่ชัดและต้องการเรียนรู้วิธีการอ่านในระยะเวลาจำกัด ผู้เขียนค่อนข้างเชื่อมั่นว่าตำราเล่มนี้จะช่วยให้ผู้อ่านที่ไม่ชำนาญการอ่าน-สามารถอ่านงานเขียนวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดีขึ้นเป็นลำดับ ตามปริมาณการอ่านและการฝึกฝน-โดยอาศัยเทคนิคการอ่านซึ่งผ่านการทดลองใช้ในชั้นเรียนรายวิชาการอ่านเชิงวิชาการแล้วประสบความสำเร็จ

เทคนิคการอ่านเชิงวิชาการ

อย่างไรก็ดีไม่มีตำราเล่มใดช่วยให้สามารถอ่านงานเขียนวิชาการได้ดีที่สุด-ถ้าไม่หมั่นฝึกฝนการอ่าน แม้แต่ตำราเล่มนี้ก็ทำได้เพียงช่วยร่นระยะเวลาการเรียนรู้วิธีการอ่าน-เพื่อให้คุณมีเวลาเหลือสำหรับฝึกฝนการอ่านด้วยเทคนิคที่แนะนำเท่านั้น

1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานเขียนทางวิชาการ

เพียงแต่อ่านงานเขียนทั่วไป ผู้อ่านก็จะได้รับอาหารสมอง ทว่าหากกล่าวเฉพาะการอ่าน งานเขียนทางวิชาการก็มีความสำคัญ ในแง่การให้ความรู้อันเป็นเครื่องมือสำคัญของการดำรงชีวิต หนังสือนี้ ถ้าดูในทางพัฒนาความก้าวหน้าของมนุษย์ เพื่อให้ชีวิตของตนสามารถ มีความมั่นคงนั้น จึงมีความสำคัญไมใช่น้อย เพราะว่าเป็นแหล่งของความรู้ที่จะค้ำจุนเราให้ได้ มีชีวิตได้ให้มีความสุขได้ อันนี้ก็พูดถึงหนังสือทั่วไปทุกอย่างทุกชนิด และโดยเฉพาะทาง วิชาการ แต่หนังสีอย่อมมีความสำคัญมากกว่าเป็นวิชาการที่จะสอนให้เรามีความรู้ และสามารถที่จะปฏิบัติตนดำรงชีวิตได้ เพราะว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่ไม่ใช่ต้องการเฉพาะอาหาร ใส่ปากและมีชีวิตอยู่ป้องกันตัวเท่านั้นเอง ต้องมีอาหารทางสมองด้วย

2. การอ่านตํารา

ตำราเป็นเอกสารทางวิชาการที่กลุ่มผู้อ่านในแวดวงวิชาการ อาทิ นิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ และนักวิชาการใช้กันอย่างกว้างขวาง ทั้งในแง่ประกอบการเรียนการสอนและการศึกษาค้นคว้า การอ่านตำรามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้อย่างจริงจัง ผู้อ่านจะอ่านอย่างฉาบฉวยไม่ได้ ต้องมีความสามารถทางการอ่านในระดับ “อ่านเป็น” จึงจะเกิดสัมฤทธิผล การจะสามารถอ่านตำราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้อ่านควรมีความเข้าใจข้อมูลความรู้ ในประเด็นต่างๆ ดังจะกล่าวต่อไป ความหมายของตำรา การจัดประเภทของเอกสารวิชาการเป็นตำรามีความหลากหลายตามระดับมาตรฐานของผู้จัด ดังคำกล่าวของ ปรีชา ช้างขวัญยืน (2556, หน้า 38) นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญการเขียนตำรากล่าวว่า “…การตัดสินว่าหนังสือเล่มใดเป็นตำรา มีทั้งที่มีมาตรฐานสูง คือ ถือว่าต้องเป็นหนังสือวิชาการ ในระดับลึกซึ้งเท่านั้น กับประเภทที่มีมาตรฐานไม่สูงถือว่าหนังสือที่เกี่ยวกับวิชาการเป็นตำราทั้งสิ้น…” ด้วยเหตุนี้นักวิชาการท่านนี้จึงจำแนกประเภทของตำราอย่างหลากหลาย ทั้งโดยเนื้อหา และวิธีการ เขียน

3. การอ่านรายงานการวิจัย

ในวงวิชาการปัจจุบันสนับสนุนให้มีการวิจัยอย่างแพร่หลาย เพราะการวิจัยเป็น กระบวนการ แสวงหาความรู้ใหม่ที่น่าเชื่อถือ ก่อนการวิจัย นักวิจัยจะคิดหัวข้อ ที่มา และความสำคัญ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ แผนการดำเนินงาน และงบประมาณของการวิจัยเป็นสำคัญ แล้วเขียนโครงร่างงานวิจัย หรือข้อเสนอโครงการวิจัย ซึ่งโดยมากจะนำไปเสนอต่อผู้พิจารณาทุนสนับสนุนการวิจัย เพื่อขออนุมัติ ทุนสำหรับการวิจัย เมื่อได้รับการอนุมัติ ผู้วิจัยจึงดำเนินการวิจัยตามแผนงานที่กำหนด แล้วรายงาน ความก้าวหน้าต่อแหล่งทุนเป็นระยะ เมื่อการวิจัยแล้วเสร็จ ผู้วิจัยจะเขียน “รายงานการวิจัย” เพื่อแจ้งให้ผู้อ่านทราบรายละเอียด ของการวิจัยทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสิ้นสุด จากนั้น ผู้วิจัยจะจัดพิมพ์รายงานการวิจัยเผยแพร่ ไปยังแหล่งสารสนเทศ อาทิ ห้องสมุดของมหาวิทยาลัย หรือพิมพ์จำหน่าย

4. การอ่านบทความวิชาการ

บทความวิชาการเป็นงานเขียนที่มีความสำคัญ มีขนาดสั้น ให้ข้อมูลทางวิชาการที่ทันสมัย และน่าสนใจ ทว่ามีผู้อ่านจำนวนมากไม่รู้จัก ไม่เคยอ่าน และไม่ทราบแหล่งตีพิมพ์ของงานเขียน ทางวิชาการชนิดนี้ โดยเฉพาะผู้เรียนระดับอุดมศึกษา เมื่อได้รับมอบหมายให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ก็มักสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่คุ้นเคย ได้แก่หนังสือ ตำรา รวมทั้งข้อเขียนที่นำเสนอทางเว็บไซต์ เป็นหลัก ซึ่งแม้ว่าจะอ้างอิงแหล่งข้อมูลเหล่านั้นมากพอสำหรับการประเมินผลการเรียนรู้ แต่เนื้อหา สาระที่ได้ก็ไม่กว้างขวางและน่าสนใจเท่ากับการที่มีข้อมูลจากบทความวิชาการสนับสนุน การอ่านบทความวิชาการจึงมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับนิสิตนักศึกษา ผู้อ่านกลุ่มนี้ควร อ่านบทความวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรับความรู้และนำสาระความรู้ไปประมวลเขียนเป็น งานเขียนทางวิชาการ อาทิ รายงานวิชาการและวิทยานิพนธ์ให้มีที่มีเนื้อหาสาระโดดเด่น อนึ่ง บทความวิชาการยังมีคุณค่าต่อผู้อ่านกลุ่มอื่นด้วย ในที่นี้จึงกล่าวถึงข้อมูลเกี่ยวกับ บทความวิชาการที่ผู้สนใจควรรู้อย่างครอบคลุม ตั้งแต่ความรู้เบื้องต้นไปจนกระทั่งถึงแนวทางการอ่าน

5. การอ่านจับใจความสําคัญงานเขียนทางวิชาการ

การอ่านจับใจความสำคัญเป็นกระบวนการสำคัญ ที่ผู้อ่านงานเขียนทางวิชาการหลีกเลี่ยง ไม่ได้ เมื่ออ่านงานเขียนทางวิชาการ ผู้อ่านต้องอ่านเรื่องทางวิซาการนั้นอย่างคร่าว ๆ อย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนที่จะอ่านอย่างละเอียดเพื่อทำความเข้าใจเรื่องนั้นให้ถ่องแท้ จนกระทั่งสามารถนำความรู้ ความคิด และทัศนะทางวิชาการที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้ เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้การเรียนเรื่องการอ่านจับใจความสำคัญมีอยู่ในหลักสูตรการศึกษา ตั้งแต่ระดับชั้นเยาว์วัย แต่ก็มีบุคคลจำนวนมากไม่สามารถจับใจความสำคัญของงานเขียนทางวิชาการได้ หรือจับใจความสำคัญได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ได้ใจความสำคัญคลาดเคลื่อนและ/หรือบกพร่อง ดังนั้น ในที่นี้จึงนำเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับการจับใจความสำคัญของงานเขียนทางวิซาการ เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพการอ่านจับใจความสำคัญ

6. การเขียนบันทึกสาระสําคัญจากการอ่าน

การบันทึกสาระสำคัญจากการอ่านเป็นกระบวนการสำคัญ เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้อ่านอ่านเรื่อง เข้าใจแล้ว และต้องการบันทึกสาระสำคัญของเรื่องไว้ใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ สาระสำคัญของเรื่องอาจ ได้แก่ แนวคิด ตลอดรวมถึงข้อมูลอื่น ๆ ที่ผู้อ่านต้องการนำไปใช้ เช่นเนื้อเรื่อง ความรู้ ข้อมูลที่น่าสนใจ ทัศนคติของผู้เขียน และจุดมุ่งหมายสำคัญของเรื่อง (พันธุ์ทิพา หลาบเลิตบุญ, มยุรี อนันตมงคล และสุปราณี ดาราฉาย (บรรณาธิการ), 2539, หน้า 52) แต่ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะการบันทึกสาระสำคัญ ของเรื่องในลักษณะที่เป็นแนวคิดและย่อเรื่อง เพราะเป็นความรู้พื้นฐานที่หากผู้อ่านเข้าใจหลักการ และนำไปปฏิบัติได้ ก็จะสามารถจดบันทึกหลากแง่มุมดังกล่าวแล้วได้โดยปริยาย ในบทนี้กล่าวถึงความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเขียนบันทึกสาระสำคัญจากการอ่านงานเขียน ทางวิชาการ เป็นลำดับต่อไป

7. การจัดทําบัตรบันทึกข้อมูลจากการอ่าน

การจัดทำบัตรบันทึกข้อมูลจากการอ่าน เป็นเทคนิคเบื้องหลังการเรียบเรียงงานเขียน ทางวิชาการ ซึ่งนักวิชาการและนักวิจัยส่วนใหญ่ตระหนักถึงความสำคัญและจัดทำเป็นปกติ แต่ผู้เรียบเรียงงานเขียนทางวิชาการบางส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิสิตและนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ชั้นปีต้น ๆ มักไม่คุ้นเคย ไม่เห็นคุณค่า และไม่ต้องการจัดทำ เพราะเห็นว่าเพิ่มความยุ่งยาก และมีรายละเอียดซับซ้อน ทั้งที่จริงแล้วการจัดทำบัตรบันทึกจากการอ่านมีส่วนช่วยอย่างสำคัญ ทำให้ การเรียบเรียงงานเขียนทางวิชาการสะดวกและมีคุณภาพดียิ่งขึ้นด้วย ในที่นี้จึงนำเสนอเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการจัดทำบัตรบันทึกข้อมูลจากการอ่าน เพื่อให้ นักวิชาการและนิสิตนักศึกษาผู้ไม่คุ้นเคยการจัดทำ รู้จัก เข้าใจ เล็งเห็นคุณค่า และสามารถจัดทำได้

เอกสารอ้างอิง

ปรีชา ช้างขวัญยืน (บรรณาธิการ). (2556). เทคนิคการเขียนและผลิตตํารา (พิมพ์ครั้งที่ 7).
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พันธุ์ทิพา หลาบเลิศบุญ, มยุรี อนันตมงคล และสุปราณี ดาราฉาย (บรรณาธิการ). (2539).
ภาษาไทย 3 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน