อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ ในสถานการณ์ที่ทุกคนมุ่งเรียนภาษาอังกฤษเพื่อให้ผ่านการทดสอบ มีโอกาสได้งานและเงินเดือนที่ดี ประเด็นในด้านมายาคติ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจและการครอบงำทางภาษาจึงไม่ได้รับการหยิบยกมาพูดถึงในแวดวงการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ทั้ง ๆ ที่ประเด็นเหล่านี้ไม่ได้ถูกปิดบังอำพรางและปรากฏต่อสังคมอย่างเปิดเผย แต่หลายคนกลับรู้สึกคุ้นเคยเสียจนคิดว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา นักวิชาการทางภาษาอังกฤษจำนวนหนึ่งได้พยายามหยิบยกประเด็นเหล่านี้มากล่าวถึงให้มากขึ้น เพื่อให้สังคมเข้าใจสถานการณ์ความเป็นไปของภาษาอังกฤษในฐานะภาษานานาชาติ แล้วนำไปพิจารณาความเชื่อ ค่านิยมและคุณค่าที่ยึดถืออยู่ให้รอบด้านมากขึ้น

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ

หนังสือ ภาษาอังกฤษในฐานะภาษานานาชาติ: มายา อํานาจ และการครอบงํา แบ่งออกเป็น 5 บท เพื่อให้ผู้อ่านตระหนักถึงประเด็นสําคัญที่อาจจะไม่ค่อยได้หยิบยกขึ้น มากล่าวถึงในแวดวงการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพราะมุ่งเป้าไปที่การทําคะแนนให้ ผ่านในการทดสอบต่าง ๆ หรือมุ่งเน้นฝึกทักษะทางภาษาให้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษามากที่สุด

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ

บทที่ 1 ภาษาอังกฤษในฐานะภาษานานาชาติ

ปัจจุบันหลายประเทศต่างยอมรับว่า “ภาษาอังกฤษคือภาษานานาชาติ” หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษกันติดปากว่า “English as an International Language” และในยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ใช้ภาษาเพื่อสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (Intercultural communication) จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะขับเคลื่อนการเรียนการสอนไปด้วยกระบวนทัศน์การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษานานาชาติ (English as an International Language หรือ EIL) แทนที่จะเป็นกระบวนทัศน์การสอนภาษาอังกฤษในฐานะ ภาษาต่างประเทศ (English as a Foreign Language หรือ EFL) แบบเดิมที่คุ้นเคยและปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่ดูเหมือนว่าหลายคนในแวดวงการเรียนการสอนภาษายังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าอะไรคือความหมายที่แท้จริงของ “ภาษานานาชาติ” ซึ่งความไม่เข้าใจนี้อาจทําให้เกิดความสุ่มเสี่ยงในการดําเนินการเรียนการสอนภาษาอังกฤษไปในทิศทางไม่เหมาะสม

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ

บทที่ 2 การแพร่ขยายของภาษาอังกฤษไปทั่วโลก

หนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ได้รายงานข่าว การจัดลําดับประเทศที่มีทักษะทางภาษาอังกฤษที่ดีที่สุดในโลกประจําปี พ.ศ. 2558 (James, B., 2015) ของ Education First English Proficiency Index ทักษะทางภาษาของคนไทยถูกจัดให้อยู่ในสามลําดับรั้งท้ายของทวีปเอเชีย โดยคนไทยมีความสามารถเหนือกว่าชาวมองโกเลียและชาวกัมพูชาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อทราบข้อมูลดังกล่าวและอ่านเนื้อข่าวเพิ่มเติมหลายคนอาจจะเริ่มกังวลใจกับความสามารถทางภาษาของคนไทยอาจเริ่มรู้สึกละอายใจปนแปลกใจกับความจริง ที่หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ได้รายงานว่า รัฐบาลไทยได้ทุ่มงบประมาณด้านการศึกษา ถึงร้อยละ 31.1 ของงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนการจัดสรรงบประมาณที่สูงมากเมื่อเทียบกับบรรดาประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชียที่ได้รับการสํารวจในครั้งนี้ แต่เหตุใดผลลัพธ์ทางด้านการศึกษาอย่างเช่นความสามารถทางภาษาของคนไทยกลับดูไม่คุ้มค่ากับจํานวนเงินที่ทุ่มลงไป อีกหลายคนอาจจะไม่ได้รู้สึกอะไรเพราะได้พิจารณาเนื้อหาข่าวโดยใช้อีกชุดความคิดหนึ่งที่คล้ายเป็นดัง “ยากล่อมประสาท” หรือ “ยาสมานแผล” ที่ช่วยให้คลายกังวลและบรรเทาความเจ็บปวดต่อสถานการณ์ความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษของคนไทย ชุดความคิดนี้อาจเป็น “มายาคติ” ที่คนไทยสร้างขึ้น

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ-05

บทที่ 3 การครอบงําเชิงภาษาและวัฒนธรรมผ่านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

คนส่วนใหญ่รวมทั้งครูสอนภาษาอังกฤษชาวไทยหลายคนมองว่า การที่ภาษาอังกฤษแพร่ขยายไปทั่วโลกมีความเป็นกลางและโปร่งใส ไม่ได้มีนัยยะ ทางการเมืองแอบแฝงซึ่งอาจส่งผลเสียหรือมีพิษภัยเจือปนต่อผู้ใดหรือประเทศใด ภาษาอังกฤษยังคงมีภาพลักษณ์ที่ดีมาโดยตลอด ใครที่รู้ภาษาอังกฤษจะมีภาษีดีกว่าคนอื่น ภาษาอังกฤษมีประโยชน์ไว้ใช้ติดต่อสื่อสารกับคนต่างชาติ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม อีกทั้ง เป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้วิทยาการและในการประกอบอาชีพ แม้ว่าทุกคน จะทราบเป็นอย่างดีว่าการแพร่ขยายของภาษาอังกฤษมาพร้อมกับการแพร่ขยายจักรวรรดิ อังกฤษและอเมริกันโดยมีจุดประสงค์หลักในการสร้างความสัมพันธ์เชิงอํานาจ การบังคับ แย่งชิงดินแดน การสร้างความได้เปรียบด้านการค้า การตักตวงผลประโยชน์และทรัพยากรจากประเทศที่ตกเป็นเมืองขึ้นหรือแม้แต่ประเทศที่เป็นอิสระ เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่าคนทั่วไปกลับไม่เคยฉุกคิดว่าความสัมพันธ์เชิงอํานาจและผลประโยชน์อาจจะแฝงตัวมากับภาษาอังกฤษก็เป็นได้ หลายคนมองว่าลัทธิจักรวรรดินิยมต้องขับเคลื่อนด้วยกองกําลังทหารและนโยบายทางการเมืองและไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวภาษา

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ-06

บทที่ 4 ประวัติการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย

แม้ว่าการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยจะเกิดขึ้นมายาวนานกว่า 100 ปี แต่ก็ต้องยอมรับว่าคนไทยจํานวนมากยังไม่สามารถนําภาษาอังกฤษไปใช้สื่อสารในชีวิตประจําวันได้ดีนัก คงเป็นเรื่องน่าประหลาดใจของใครหลายคนเมื่อได้รู้ว่าคนไทยจํานวนไม่น้อยเคยเรียนภาษาอังกฤษในระบบการศึกษาภาคบังคับมาหลายปี ใครเรียนจบระดับประถมศึกษาก็น่าที่จะได้เรียนภาษาอังกฤษมาไม่ต่ํากว่า 2 ปี ส่วนใครที่เรียนต่อถึง ระดับมัธยมศึกษาที่ 6 คงได้เรียนมาไม่ต่ํากว่า 8 ปี ยิ่งถ้าได้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาด้วยแล้วประสบการณ์การเรียนยิ่งมีมากกว่า 10 ปี ความแปลกใจปนความสงสัยก่อให้เกิดการตั้งคําถามและพยายามหาคําตอบว่าทําไมคนไทยจึงไม่เก่งภาษาอังกฤษ ทั้งที่ใช้เวลาเล่าเรียนมาหลายปี คําตอบของแต่ละคนคงแตกต่างกันออกไป บ้างก็ว่าคนไทยไม่ค่อยรู้คําศัพท์ บ้างว่าไม่เก่งไวยากรณ์ บ้างว่าไม่ค่อยได้มีโอกาสฝึกฝน หรือบางคนคิดว่าเพราะไม่เคยไปต่างประเทศ แต่มีหนึ่งในหลายเหตุผลที่คนไทยมักได้ยินหรือใช้กันจนชาชินก็คือ “คนไทยไม่เก่งภาษาอังกฤษ เพราะไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้น” ยิ่งถ้ามีประเด็นการเปรียบเทียบความสามารถทางภาษาอังกฤษของคนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนด้วยแล้ว เหตุผลที่ว่านี้ยิ่งใช้แก้ต่างได้เป็นอย่างดีและคงทําให้ใครหลายคนเผลอคิดว่าเป็นเหตุผลที่ “ฟังขึ้น” และ “ดูดี” เพราะช่วยเชิดชูความเป็นเอกราชของชาติไทย และ เกิดความภาคภูมิใจแทนที่จะเป็นปมด้อย ในสถานการณ์ที่ประเทศชาติต้องการผู้มีความรู้ ความสามารถทางภาษาต่างประเทศ

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ-07

บทที่ 5 ภาษาอังกฤษที่แปรเปลี่ยนในประชาคมอาเซียน

ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 21 แวดวงการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยยังคงยึดมโนทัศน์หรือแนวคิดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในฐานะที่เป็นภาษาต่างประเทศ (English as a Foreign Language หรือ EFL) ไว้อย่างเหนียวแน่นแม้หลายปีที่ผ่านมาจะมีกระแสที่จะปรับเปลี่ยนให้ภาษาอังกฤษมีฐานะเป็นภาษาที่สอง (English as a Second Language หรือ ESL) ของประเทศก็ตาม แต่กลับไม่ประสบผลสําเร็จ ด้วยเพราะความหมายและค่านิยมของคําว่า ESL นั้นไปผูกติดกับประวัติศาสตร์ของเหล่าประเทศและดินแดนที่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ประเด็นเช่นนี้เป็นเรื่องที่เปราะบางเกินกว่าที่คนไทยหลายคนจะยอมรับได้

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ-08

รองศาสตราจารย์ ดร.พงศกร เมธีธรรม

ภาควิชาภาษาอังกฤษ
คณะมนุษยศาสตร์

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน