อักษรอินเดีย

วิวัฒนาการของอักษรอินเดียในประเทศไทย ก่อนพุทธศตวรรษที่ 18

ตำราเรื่อง วิวัฒนาการของอักษรอินเดีย ในประเทศไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ 18 มีเนื้อหาเกี่ยวกับ อักษรโบราณจากจารึกที่พบในประเทศไทยในสมัยพุุทธศตวรรษที่ 9 ถึงพุุทธศตวรรษที่ 18 อันเป็นช่วงระหว่าง อักษรอินเดียที่เข้ามาในเอเชียอาคเนย์รุ่นแรกและอักษรที่ได้รับวิวัฒนาการจากเขมร คือ อักษรอินเดีย กลายรุ่นหนึ่งและอักษรอินเดียกลายรุ่นที่สอง ซึ่งจะแสดงวิวัฒนาการของตัวอักษรได้เป็นอย่างดีก่อนจะมา เป็นอักษรเขมร อักษรมอญ อักษรไทย เป็นต้น ที่พบในปัจจุุบัน นอกจากนี้แล้วในการเขียนตำราเล่มนี้ เพื่อเป็นการบููชาคุุณของครููอาจารย์ที่ได้พร่ำสอนและประสิทธิ์ประสาทองค์ความรู้เกี่ยวกับอักษรโบราณนี้ ให้แก่ข้าพเจ้าซึ่งความรู้เหล่านี้นับวันก็จะมีผู้รู้น้อยลง หากในวันข้างหน้ามีผู้สนใจเกี่ยวกับอักษรโบราณ ตำราเล่มนี้คงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

อักษรอินเดีย ในประเทศไทย

1. ประวัติตัวอักษร

ตามคำกล่าวที่เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม หมายถึง มนุษย์ชอบอยู่รวมกัน เป็นกลุ่ม ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมนุษย์มิได้มีเขี้ยวเล็บไว้ป้องกันตนเองอย่างสัตว์โลกทั่ว ๆ ไป หากแต่ มนุษย์มีมันสมองซึ่งเป็นอาวุธที่ประเสริฐที่สุด ดังนั้น มนุษย์จึงเป็นสัตว์โลกที่ได้ครอบครองโลกในยุค ปัจจุบันต่อจากยุคไดโนเสาร์ จากสังคมถ้ำกลายเป็นชุมชนเมือง จากชุมชนเมืองกลายเป็นประเทศ และเมื่อชุมชนใหญ่ขึ้นมนุษย์จึงต้องมีพัฒนาการทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง โดยเฉพาะ ทางด้านเศรษฐกิจการค้าเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับตนเองและพวกพ้องจึงเกิดขึ้น ดังจะเห็นได้ว่ามนุษย์ มีการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ สิ่งที่ เป็นปัจจัยในการติดต่อสื่อสารของมนุษย์ในอันดับแรก คือ ภาษา และถ้ามนุษย์ต้องการที่จะเก็บ เสียงพูดไว้ให้ยาวนานในสิ่งที่มนุษย์คิดขึ้นได้ คือ ตัวอักษร ซึ่งภาษาพูดมีมาก่อนภาษาเขียนโดยใช้ ตัวอักษร ดังนั้นมนุษย์จึงรู้จักการพูดก่อนการเขียน ในบรรดาภาษาทั่วโลก ภาษาที่มีเฉพาะภาษาพูดมี มากที่สุด รองลงมาคือ ภาษาที่มีภาษาพูดพร้อมกับมีตัวอักษรที่ใช้ในภาษาเขียน อันดับสุดท้ายคือ ภาษาที่มีทั้งภาษาพูด ตัวอักษร และตัวเลขเป็นของตนเองซึ่งพบน้อยที่สุด ดังนั้น การเขียนโดยใช้ ตัวอักษรรวมทั้งตัวเลขจึงเป็นเครื่องแสดงความเจริญของมนุษย์อย่างสูงสุด

2. ตำนานอักษรอินเดียที่มีอิทธิพลในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อักษรอินเดีย ในประเทศไทย

มหาสมุทรอินเดียเชื่อมต่อซีกโลกตะวันตกและซีกโลกตะวันออกเข้าด้วยกัน ยุคที่มี การเดินเรือผ่านเข้าสู่มหาสมุทรอินเดียเป็นการเปิดเผยความลี้ลับของมนุษยชาติซีกโลกตะวันออก และตะวันตก สิ่งที่กระตุ้นให้มนุษย์มาติดต่อสัมพันธ์กัน คือ การค้า กลุ่มคนอินเดียที่สำคัญ คือ ชาวทมิฬ ซึ่งเป็นชนดั้งเดิมของอนุทวีปอินเดีย ในบรรดาภาษาตระกูลทราวิท อาทิ ภาษาเตลุคุ ภาษาทมิฬ ภาษามาลายาพัม และภาษากานนาทะ (กานนารีส) ภาษาทมิฬเป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุด เครือข่าย การค้าของพ่อค้าทางทะเลในสมัยโบราณนอานาบริเวณกว้างขวางมาก คือ จากอ่าวเปอร์เซีย ทะเลอาระเบียน และฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ทั้งซีกตะวันตกและตะวันออก จากข้อสรุปของเกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช (2553, หน้า 60-61) ที่ระบุว่า การค้าทางทะเลประเภทนี้นำไปสู่ มหาสมุทรที่เป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน (single ocean) หมายถึง การเชื่อมโยงกันได้โดยตลอดของน่านน้ำที่ขยายตัว ออกไปตามชายฝั่งต่าง ๆ ของอาฟริกาตะวันออก เอเชียตะวันตก สู่แนวชายฝั่งที่ยาวเหยียดมหึมาของ อนุทวีปอินเดีย ผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาสู่ประเทศจีน มหาสมุทรอันหนึ่งอันเดียวกันดังกล่าวมา ข้างต้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคต้น เพราะไม่เพียงแต่นำความมั่งคั่ง จากแดนไกลมาให้เท่านั้นแต่ได้นำสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งมาให้ด้วย คือ เขตน่านน้ำที่เป็นกลางซึ่งผู้ปกครองทั้ง ในและนอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องการที่จะปกป้องสภาพเช่นนี้เอาไว้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแสวงหา ผลประโยชน์ได้โดยอิสระเสรี ความเป็นอิสระเสรีทางท้องทะเลดังกล่าวก่อให้เกิดผลที่ตามมา คือ จารีตประเพณีของความมีไมตรีจิตต่อพ่อค้าชาวต่างประเทศ เครื่องอำนวยความสะดวก ท่าเรือที่ เหมาะสม การค้าที่ปฏิบัติต่อกันอย่างยุติธรรมและการช่วยกันป้องกันโจรสลัดที่ออกปล้นอยู่ในน่านน้ำ ท้องถิ่นนั้น ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เกิดเมืองท่าสำคัญทางการค้ามากมายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

3. อาณาจักรโบราณในเอเชียอาคเนย์

ดินแดนแถบเอเชียอาคเนย์หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งที่มีมนุษย์อาศัยอยู่แต่ โบราณกาล ภูมิภาคแถบนี้เป็นที่ตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ดั้งเดิมโดยมีความหลากหลายทั้งทางด้านประชากร อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และมีชื่อเสียงทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ทองคำ และแร่ธาตุที่มีค่า มากมาย สิ่งเหล่านี้ได้ยั่วยุให้พ่อค้าชาวอินเดียเดินทางไปสำรวจดินแดนที่ยังไม่มีใครรู้จัก ซึ่งชาวอินเดีย รู้จักดินแดนเหล่านี้ว่า สุวรรณภูมิ หรือ สุวรรณทวีป ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ สุวรรณภูมิ-อุษาคเนย์ มีร่องรอยของมนุษย์ที่มีวัฒนธรรมมาตั้งแต่สมัยยุคโบราณมา ตั้งแต่สมัยหินใหม่ จนถึงยุคโลหะ จึงเห็นได้ว่าเมื่อดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มรับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียนั้น ดินแดนนี้มีความเจริญมาแล้วทางด้านวัตถุ คือ รู้จักปลูกข้าวโดยการทดน้ำเข้านา รู้จักเอาวัวควายมา เลี้ยงเป็นสัตว์บ้าน มีความรู้ในการใช้โลหะขั้นต้น มีความชำนาญในการเดินเรือ ส่วนทางด้านสังคม ได้แก่ สตรีจะมีความสำคัญในสังคมและการสืบตระกูลทางมารดา มีระบบการดำเนินงานหรือ การปกครองที่มีระเบียบอันเกิดจากการรู้จักเพาะปลูกที่ใช้การทดน้ำ ในด้านศาสนา คนในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้นับถือผีวิญญาณ บูชาบรรพบุรุษ และเทพเจ้าแห่งแผ่นดิน สร้างศาลเทพเจ้าตามที่สูง และฝังศพในไห โอ่งหรือหีบหิน ดินแดนนี้มิได้เป็นส่วนหนึ่งของอินเดียหรือจีน แต่เป็นดินิแดนิที่มีลักษณะเฉพาะของตนเองที่เห็นได้อย่างชัดเจน ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมที่เจริญงอกงามเป็นที่ อัศจรรย์ ดังเช่น ในบริเวณเมืองพระนคร พุกาม ชวากลาง

4. วิวัฒนาการอักษรอินเดียที่ปรากฏในจารึกที่พบในประเทศไทยก่อน
ถึงพุุทธศตวรรษที่ 14

อักษรอินเดีย ในประเทศไทย

ตัวอักษรที่ปรากฏในจารึกที่พบในประเทศไทยก่อนถึงพุทธศตวรรษที่ 14 มีวิวัฒนาการ มาจากตอนใต้ของประเทศอินเดีย จากข้อสันนิษฐานที่สรุปว่า ตัวอักษรเหล่านั้นน่าจะมีจุดเริ่มต้น ในสมัยราชวงศ์ปัลลวะซึ่งมีภูมิภาคอยู่ทางภาคใต้ของประเทศอินเดียมีอาณาเขตตั้งแต่แม่น้ำกฤษณา ถึงภาคใต้สุดที่เป็นดินแดนของพวกดราวิเดียนมาแต่ก่อน ราชวงศ์ที่สำคัญที่สุดซึ่งปกครองทางภาคใต้ ของอินเดียประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-14 คือ ราชวงศ์ปัลลวะ ส่วนในเรื่องที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ของพวกปัลลวะยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ แต่ก็ยอมรับว่าราชวงศ์นี้ได้รับการสถาปนาเมื่อปี พ.ศ. 893 มีเมืองหลวงชื่อ กาญจี กษัตริย์ในราชวงศ์ปัลลวะเริ่มใช้ภาษาสันสกฤตในการจารึกเรื่องราวต่าง ๆ แทนภาษาปรากฤตที่เคยใช้มาแต่ก่อน อาณาจักรปัลลวะมีความเจริญรุ่งเรืองมากและถึงกาลอวสาน เมื่อ ปี พ.ศ. 1421 ในสมัยราชวงศ์ปัลลวะได้มีการติดต่อกับดินแดนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ จากจารึกต่าง ๆ ที่ค้นพบในดินแดนแถบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาสันสกฤตและภาษาทมิฬ อักษรที่ใช้ก็ เป็นอักษรปัลลวะและเมื่อดูระยะเวลาของจารึกในประเทศไทยสมัยนี้ก็ตรงกับในสมัยราชวงศ์ปัลลวะ ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า อักษรเหล่านี้น่าจะมาจากอักษรปัลลวะที่อยู่ทางภาคใต้ของประเทศอินเดีย

5. ตัวอักษรอินเดียกลาย รุ่นพุุทธศตวรรษที่ 15-18

ตัวอักษรอินเดียเปลี่ยนแปลงไปเพราะได้รับอิทธิพลเขมรมีอายุประมาณหลังพุทธศตวรรษ ที่ 14 แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ อักษรอินเดียกลายรุ่นแรก และอักษรอินเดียกลายรุ่นที่ 2 ตัวอักษรอินเดียกลายรุ่นแรกมีการประดับตกแต่งที่หัวตัวอักษร ถ้าตัดหัวตัวอักษรทิ้ง ก็จะไม่ประสบความยุ่งยากในการอ่าน นอกจากนี้ยังมีการใช้ตัวสะกดซ้อนไว้ข้างใต้ จารึกแบบอินเดีย กลายรุ่นแรกนี้ปรากฎใช้ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 15 และ 16

เอกสารอ้างอิง

เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช. (2553). ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคโบราณ: จากมุมมองของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต. เชียงใหม่: สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์.

ธิดา สาระยา. (2555). ประวัติศาสตร์มหาสมุทรอินเดีย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.

จุฑารัตน์ เหลือนาค. (2521). รวบรวมตัวอักษรที่พบในประเทศไทยก่อนหน้าพุทธศตวรรษที่ 18:
รายงานในวิชาจารึกและอักขรวิธีโบราณ 3. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน