องค์ประกอบสถาปัตยกรรม

องค์ประกอบ สถาปัตยกรรม

องค์ประกอบ สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรม คือ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในการอยู่อาศัยและ ทํากิจกรรมต่าง ๆ ตลอดช่วงเวลาที่มนุษย์ดํารงชีวิตอยู่สถาปัตยกรรมจึงสะท้อนถึงอารยธรรม พฤติกรรม เทคนิค วิทยาการ ตลอดจนวัฒนธรรม จารีตประเพณี ความศรัทธาและความเชื่อกับหลากหลายตามแต่กลุ่มชนที่สร้างและใช้งานสถาปัตยกรรมนั้นในอีกด้านหนึ่งสถาปัตยกรรมยังสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของมนุษย์ที่พยายามดํารงไว้ซึ่งความสุข ความสะดวกสบายในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ภายใต้สภาวะแวดล้อมธรรมชาติที่ผันแปรอยู่ตลอดเวลา

สถาปัตยกรรม

องค์ประกอบสถาปัตยกรรมฉบับนี้ ได้พยายามรวบรวมหลักการทฤษฎีต่าง ๆ ที่เป็นความรู้พื้นฐานสําหรับการ ออกแบบสถาปัตยกรรม เพื่อเป็นเสมือนประตูบานแรกที่แนะนําสถาปัตยกรรมให้แก่ผู้ที่เริ่มต้นศึกษาได้รู้จัก และสร้างความเข้าใจถึงทักษะและทฤษฎีเบื้องต้น เพื่อให้สามารถนําไปใช้ในการพัฒนางานออกแบบสถาปัตยกรรม ให้ดีขึ้นต่อไป

สถาปัตยกรรม

1.องค์ประกอบพื้นฐานในงานสถาปัตยกรรม (Architectural Element)

องค์ประกอบพื้นฐานในงานสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรม (Architecture) เป็นผลงานศิลปะที่เป็นสิ่งก่อสร้างจากการออกแบบของมนุษย์ที่อาศัย ความรู้ด้านการจัดองค์ประกอบทัศนศิลป์การจัดวางที่ว่างโดยองค์ประกอบด้านทัศนศิลป์นั้น เป็นความรู้พื้นฐาน ในงานสถาปัตยกรรมและเป็นกระบวนวิธีออกแบบ สร้างแบบในงานสถาปัตยกรรมที่ประกอบด้วยองค์ประกอบ ศิลป์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน การศึกษาการออกแบบในระดับพื้นฐานจึงจำเป็นต้องศึกษาจากองค์ประกอบศิลป์ เพื่อให้ เกิดความเข้าใจถึงหน่วยองค์ประกอบศิลป์ต่างๆ เพื่อความเข้าใจและการนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม คำว่าองค์ประกอบศิลป์ได้ถูกนิยามไว้ดังนี้ “องค์ประกอบศิลป์ (Art Composition) หรือ ส่วนประกอบของการออกแบบ (Elements of Design) หมายถึงการนำสิ่งต่างๆ มาประกอบเข้าด้วยกันตามสัดส่วน ตรงตามความต้องการของผู้ออกแบบเพื่อให้เกิดผลงานที่มีความเหมาะสม เพื่อให้เกิดความงดงาม มีประโยชน์ใช้สอยที่ดีน่าสนใจ และมีคุณภาพ”

สถาปัตยกรรม

2.องค์ประกอบพื้นฐาน 3 มิติ

องค์ประกอบพื้นฐาน 3 มิติเป็นองค์ประกอบที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก จุดและเส้นโดยมีมิติ กว้าง ยาว และสูง องค์ประกอบ 3 มิตินี้เป็นพื้นฐานสำคัญในการใช้จัดวางและออกแบบเป็นอาคารหรือสถาปัตยกรรม โดยถูกพิจารณาคุณค่าความงามของสถาปัตยกรรมผ่านการจัดวางโดยใช้หลักการจัดองค์ประกอบพื้นฐานที่จะกล่าวในเนื้อหาต่อไป โดยองค์ประกอบพื้นฐาน 3 มิติ เริ่มศีกษารูปทรงและมวล รูปทรง หมายถึง การนําเส้นมาประกอบกันจนเกิดมิติทั้ง 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาว และความลึก โดยเมื่อพูดถึงรูปทรง จะเน้นการสื่อสารไปที่รูปทรงภายนอกเป็นหลักในขณะที่มวล (Mass) หมายถึง รูปทรงที่ มีลักษณะเป็นก้อนตัน ไม่สื่อถึงที่ว่างภายใน โดยเมื่อพูดถึงมวลในวงการสถาปัตยกรรมจะเน้นการสื่อสารไปใน ลักษณะก้อนที่ทึบตัน แม้ในความเป็นจริงมวลก่อนนั้นจะมีที่ว่างอยู่ภายในก็ตาม

3.องค์ประกอบด้านคุณลักษณะ

องค์ประกอบด้านคุณลักษณะ ผิววัสดุ (Texture) และ พื้นผิว (Surface) นั้นมีความหมายเหมือนกันในศาสตร์วิชาสถาปัตยกรรมโดยใน เอกสารนี้จะใช้คำว่าผิววัสดุ (Texture) เพียงคำเดียวเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนแต่ในเอกสารอื่นทั้งทางด้านศิลปะหรือทางสถาปัตยกรรมอาจพบได้ทั้งสองคำนี้โดยปกติผิววัสดุนั้นสร้างความรู้สึกถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับมวลทั้งก้อนที่มีผิววัสดุเดียวกันทำให้การรับรู้ถึงการซ้อนทับของมวลเกิดความชัดเจนและโดดเด่นขึ้นสถาปนิกมักใช้ผิววัสดุและ/หรือสีเพื่อให้สามารถจำแนกมวลที่เกาะเกี่ยวกันให้แตกต่างกันได้เป็นมวลต่างชนิดกันซึ่งเป็นไปตามผลการออกแบบโดยใช้วัสดุนี้

สถาปัตยกรรม

4.องค์ประกอบด้านขนาด

องค์ประกอบสถาปัตยกรรมด้านขนาด สัดส่วน (Proportion) คือ ความสัมพันธ์กันระหว่างขนาด รูปร่าง รูปทรง เนื้อที่ (ฉัตร์ชัย อรรถปักษ์, 2550, หน้า 57) เป็นการเปรียบเทียบของมิติ 2 แนว เช่น ความกว้างกับความยาวหรือมากกว่าสองมิติ เช่น ความกว้างความยาว และความลึกเกิดเป็นการประเมินรูปร่างและเนื้อที่ที่พิจารณานั้น ว่าเป็นสัดส่วนที่มีความ เหมาะสมสวยงามได้อย่างไร โดยปกติสัดส่วนของความสวยงามนั้นถูกพิจารณาจากความนิยมหรือยอมรับจากความคุ้นชิน และประสบการณ์ของคนส่วนใหญ่ ในบางกรณีอาจมีการอ้างอิงจากสัดส่วนตามธรรมชาติและสามารถถอดค่าของสัดส่วนเป็นจำนวนตัวเลขในทางคณิตศาสตร์ เช่น สัดส่วนของพีทาโกรัส สัดส่วนการ เจริญเติบโตของหอยนอติลุสหรือสัดส่วนของมนุษย์เป็นต้น ตัวอย่าง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส แสดงความสัมพันธ์ของสัดส่วนในเรขาคณิตแบบยุคลิด (Euclid) ระหว่างด้านทั้งสามของสามเหลี่ยมมุมฉาก กำลังสองของด้านตรงข้ามมุมฉากเท่ากับผลรวมของกำลังสองของอีกสองด้าน ที่เหลือ ในแง่ของพื้นที่มีคำกล่าวเป็นทฤษฎีไว้ดังนี้ “ในสามเหลี่ยมมุมฉากใดๆ พื้นที่ของสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีด้านเป็นด้านตรงข้ามมุมฉากเท่ากับผลรวมพื้นที่ ของสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีด้านเป็นด้านประชิดมุมฉากของสามเหลี่ยมมุมฉากนั้น”

5.องค์ประกอบด้านปัจจัยภายนอก

องค์ประกอบสถาปัตยกรรมด้านปัจจัยภายนอก แสงและเงา (Light & Shadow) เป็นองค์ประกอบด้านปัจจัยภายนอก ซึ่งตัวแสงและเงาไม่ได้เป็นตัวองค์ประกอบศิลป์ โดยตัวเองแต่เป็นสิ่งที่มีผลทำให้องค์ประกอบศิลป์นั้นถูกมองเห็นและรับรู้ไปตามมิติของแสงและเงาที่ตกกระทบ แสงและเงา (Light & Shadow) ถูกอธิบายไว้ว่า การที่มีแสงมากระทบองค์ประกอบอาคารหรือผิวของอาคารที่มี ระนาบ (Plane) ต่างกันหรือระนาบที่มีลักษณะผิวไม่สม่ำเสมอกันทำให้เกิดเงาขึ้นบนอาคารเกิดความเข้มของสีที่ต่างกันออกไปทำให้เกิดความรู้สึกถึงความหนักเบาบนผิวผนังและรูปทรงอาคารซึ่งส่งผลต่อการรับรู้ของมนุษย์ แสงและเงาที่ปรากฏบนอาคารเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้พื้นผิวของอาคารเกิดความน่าสนใจขึ้นได้ เพราะทำให้อาคารนี้มีความลึก มีมิติ มีความหนักเบาบนอาคารทำให้สามารถรับรู้ได้ว่าส่วนใดของอาคารอยู่ใกล้ ส่วนใดอยู่ไกล ส่วนใดยื่นออกมาหรือเว้าเข้าไป เป็นต้น การทำให้เกิดเงาและความหนักเบาที่เหมาะสมนั้นจำเป็นต้องศึกษาเรื่องมวล ปริมาณ กลุ่มก้อนของอาคาร รูปแบบลวดลายและสีที่ใช้กับพื้นผิวของอาคารประกอบกันด้วย (ผุสดีทิพทัส, 2530, หน้า 44) การให้ความสำคัญเรื่องแสงและเงา เป็นเรื่องที่ถูกเน้นและฝึกฝนอย่างมากในงานศิลปะประเภท 3 มิติ เช่น งานประติมากรรมซึ่งแสดงตัวตนผลงานกลางที่โล่งแจ้งและมักมีปฏิสัมพันธ์กับแสงและเงาอยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกับงานสถาปัตยกรรมที่ต้องอยู่ท่ามกลางที่ว่างและถูกแสงส่องกระทบทำให้เกิดการรับรู้ด้านมิติขนาด สัดส่วน พื้นผิว สีและอื่นๆ แสงและเงาจึงเป็นปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการรับรู้องค์ประกอบในทุกรายละเอียดที่สำคัญและมีผลต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สถาปัตยกรรม

6.องค์ประกอบด้านลักษณะภายในและประโยชน์ใช้สอย

องค์ประกอบสถาปัตยกรรมด้านลักษณะภายในและประโยชน์ใช้สอย ที่ว่าง (Space) เป็นองค์ประกอบลักษณะภายในที่มี 3 มิติ ซึ่งถูกห่อหุ้มหรือถูกห่อหุ้มด้วยองค์ประกอบอื่นๆ เช่น เส้น ระนาบ รูปทรง นอกจากที่ว่างถูกพิจารณาในเรื่ององค์ประกอบศิลปะแล้วที่ว่างยังถูกพิจารณาเป็นหลักในเรื่องของการใช้สอยที่ว่าง เพราะสถาปัตยกรรมเป็นอาคารที่ตอบสนองต่อการใช้ประโยชน์ใช้สอยจากที่ว่างของมนุษย์

7.หลักการจัดองค์ประกอบในงานสถาปัตยกรรม

การจัดองค์ประกอบในงานสถาปัตยกรรม หมายถึง กระบวนการพิจารณาถึงองค์ประกอบหน่วยย่อยเพื่อใช้ประกอบการจัดวางและออกแบบสถาปัตยกรรมให้มีความงาม มีสุนทรียะ และมีการตอบสนองประโยชน์ใช้สอยที่ดีมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมที่เหมาะสม มีคุณค่าในทางศิลปะสถาปัตยกรรม มีการนำองค์ประกอบพื้นฐานหน่วยย่อยมาใช้อย่างเหมาะสม โดยมีการออกแบบตามทฤษฎีและใช้หลักการต่างๆ อย่างสวยงาม มีอาคารมากมายที่ถูกออกแบบไว้ในอดีตและมีการนำองค์ประกอบพื้นฐานหน่วยย่อยมาใช้อย่างลงตัว มีเอกภาพและความน่าสนใจทำให้ได้รับการยอมรับและอนุรักษ์เป็นอาคารทรงคุณค่าในประเทศไทยมากมาย ยกตัวอย่างเช่น อาคารวชิรมงกุฎและอาคารหอประชุมในโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เป็นต้น

สถาปัตยกรรม

อาคารวชิรมงกุฎโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย

สถาปัตยกรรม

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน