สังคมวิทยาสาธารณสุข

สังคมวิทยาสาธารณสุข

เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางสังคมวิทยา (Sociological Approach) ในการศึกษาสุขภาพในลักษณะ และความสัมพันธ์กับมิติต่าง ๆ ทางสังคม โดยสามารถอธิบายถึงบริบททางสังคมกับสุขภาพ รูปแบบ สังคมกับการเปลี่ยนแปลงแบบแผนความเจ็บป่วย และปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแบบแผน ความเจ็บป่วย การสาธารณสุขกับสาเหตุทางสังคมของความเจ็บป่วย การพัฒนาแนวคิดทางการแพทย์ ข้อจำกัดของกรอบคิดทางการแพทย์ในการแก้ไขปัญหาและการจัดการด้านสุขภาพ พัฒนาแนวคิด ทางสังคมในด้านสุขภาพ ลักษณะส าคัญของแนวคิดทางสังคมและประเด็นการศึกษา การใช้สังคมวิทยา ในลักษณะที่เป็นศาสตร์หนึ่งในการท าความเข้าใจปัญหาสุขภาพรวมถึงระเบียบวิธีการวิจัย ทางสังคมวิทยาในการศึกษารายละเอียดด้านสุขภาพ

สังคมวิทยาการ-สาธารณสุข

หนังสือสังคมวิทยาสาธารณสุข ความรู้เบื้องต้นเพื่อการสังเคราะห์ระบบสุขภาพไทย ฉบับนี้ ผู้เขียนได้รวบรวมประเด็นสาระที่สำคัญของทุกเรื่องไว้ เพื่อให้เป็นแนวทางที่ผู้ศึกษาสามารถทำ ความเข้าใจและสรุปภาพรวมได้ หนังสือนี้ได้เรียบเรียงเพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าด้วย ตนเอง

1. กระบวนทัศน์ทางเลือกในระบบสุขภาพในมิติสังคมวิทยา

สังคมวิทยาการ-สาธารณสุข

สังคมปัจจุบันดำเนินอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของวิทยาการอันซับซ้อน ในรูปลักษณ์ ที่แปลกแยกจากธรรมชาติมากขึ้นทุกเวลา ในอีกด้านหนึ่งเป็นกระบวนการใหม่ที่เน้น การเข้าหาธรรมชาติมากขึ้นและผสานพลังอันล้ำลึกจากธรรมชาติมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและสังคม ซึ่งได้กลายเป็นกระแสที่เข้ามาท้าทายต่อสถาบันที่ควบคุมวิทยาการอันซับซ้อน สถาบันทางสังคม อันทรงพลัง คือ สถาบันทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยในทศวรรษที่ 1970 การแพทย์กระแสหลัก ทำให้ผู้คนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าได้อย่างกว้างขวาง แต่การแพทย์กระแสหลักก็ไม่สามารถให้คำตอบ มากกว่าการเป็นวิธีการรักษาโรคด้วยทัศนะแบบกลไก ลดส่วนและแยกส่วนในการรักษา ผู้คนเริ่ม แสวงหาการมีวิถีชีวิตที่เชื่อมโยงและสัมพันธ์กับธรรมชาติหรือที่เรียกว่าแบบองค์รวม (Holistic) อันเป็นผลมาจากข้อจำกัดในระดับกระบวนทัศน์ของวิทยาศาสตร์ใหม่ ความรู้ที่เกี่ยวกับความเป็นศาสตร์เป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาสถานภาพในความ เป็นสังคมศาสตร์ในปัจจุบัน เนื่องด้วยสังคมศาสตร์ยอมรับในกระบวนทัศน์ของศาสตร์กระบวนทัศน์ ที่ตรงกันจึงเป็นการเปิดโอกาสให้สังคมศาสตร์สามารถใช้ความเป็นศาสตร์เพื่อพิสูจน์องค์ความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคม กระบวนทัศน์ของศาสตร์ มีหลักการที่พยายามเข้าสู่ธรรมชาติของ องค์ความรู้นั้นเพราะเชื่อว่า ธรรมชาติของสรรพสิ่งเป็นสิ่งที่สามารถรับรู้ได้

2. แนวคิดและทฤษฎีหลัก ทางสังคมวิทยาการสาธารณสุข

สังคมวิทยาการสาธารณสุขมีความเชื่อพื้นฐานในความสัมพันธ์ระหว่างสังคม และสุขภาพว่า สุขภาพมีรากฐานจากสังคม นักสังคมวิทยาสุขภาพอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพ และสังคมใน ลักษณะต่างๆ กัน ความแตกต่างในการอธิบายนั้นขึ้นอยู่กับแนวคิดและทฤษฎีที่นักสังคมวิทยาสุขภาพ แต่ละคนใช้เป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมและสุขภาพ เนื้อหาในบทนี้ มีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาท าความเข้าใจและคุ้นเคยกับแนวคิดที่หลากหลายทางสังคมวิทยาสุขภาพ โดยจะเป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดต่างๆ เช่น แนวคิดโครงสร้างหน้าที่นิยม แนวคิดของ มาร์ก และเวเบอร์ แนวคิดปฏิสัมพันธ์สัญลักษณ์แนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมือง (Political economy) และแนวคิดสตรีนิยม การเรียนรู้แนวคิดที่หลากหลายจะช่วยให้นิสิตสามารถเลือกใช้แนวคิดที่เหมาะสมในการ วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ เนื่องจากแนวคิดหนึ่งๆ นั้นมีความเหมาะสมในการอธิบายปรากฏการณ์ทาง สุขภาพต่างกัน ไม่มีแนวคิดทางสังคมใดเพียงแนวคิดเดียวที่สามารถใช้อธิบายปัญหาสุขภาพได้ ครอบคลุมทั้งหมดและในทุกลักษณะปัญหา

3. แนวคิด ทฤษฎี ร่วมสมัยทางสังคมวิทยาการสาธารณสุข

สังคมวิทยาสุขภาพ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพและสังคมในลักษณะต่างๆ กัน ความแตกต่างในการอธิบายนั้นขึ้นอยู่กับแนวคิดและทฤษฎีที่นักสังคมวิทยาสุขภาพแต่ละคนใช้เป็น พื้นฐานในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมและสุขภาพ แล้วยังมีอิทธิพลจากแนวคิดของ นักสังคมวิทยาทางเลือกที่พยามยามเสนอมุมมองที่แตกต่างทางความคิด เนื่องจากสุขภาพ คือ สภาวะที่ ทำความสมบูรณ์อย่างเป็นพลวัต มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยอิทธิพลจากปัจจัยกำหนดต่างๆ ทางสุขภาพ เนื้อหาในบทนี้มีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาได้ทำความเข้าใจ และคุ้นเคยกับแนวคิด ที่หลากหลายทางสังคมวิทยาสุขภาพ โดยจะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีร่วมสมัย การเรียนรู้แนวคิดที่หลากหลายจะช่วยให้นิสิตสามารถเลือกใช้แนวคิดที่เหมาะสมในการ วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ เนื่องจากแนวคิดหนึ่งๆ นั้น มีความเหมาะสมในการอธิบายปรากฏการณ์ทาง สุขภาพต่างกัน ไม่มีแนวคิดทางสังคมใดเพียงแนวคิดเดียวที่สามารถใช้อธิบายปัญหาสุขภาพได้ ครอบคลุมทั้งหมด และในทุกลักษณะปัญหา รวมทั้งไม่มีปัญหาสุขภาพใดที่สามารถอธิบายโดยใช้ทุก แนวคิดทางสังคม รวมทั้งสามารถเลือกใช้แนวคิดทางสังคมเป็นแนวทางในการวิเคราะห์สถานการณ์ สุขภาพ และสาธารณสุขได้อย่างเหมาะสม

สังคมวิทยาการ-สาธารณสุข

4. การวิเคราะห์ชุมชนโดยใช้วิธีวิทยาทางสังคมวิทยาการสาธารณสุข ในระบบสุขภาพไทย

พัฒนาการทางสุขภาพ ยังให้ความสำคัญกับการศึกษาองค์ความรู้ซึ่งเป็นเรื่องเทคนิควิธีการ มากกว่าการศึกษาวิธีคิด โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับญาณวิทยา ซึ่งเป็นมิติความสัมพันธ์ ระหว่างผู้รู้กับความรู้ การไม่เข้าใจความแตกต่างทางญาณวิทยาระหว่างการแพทย์พื้นบ้านกับ การแพทย์แผนตะวันตก ทำให้การศึกษาพัฒนาการแพทย์พื้นบ้านจึงเป็นไปได้เพียงบางด้านบางส่วน โดยเฉพาะความรู้ส่วนที่สามารถตรวจสอบ และพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์แบบลดส่วน จะได้รับการพัฒนาเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการของการแพทย์แผนตะวันตก ในขณะที่ความรู้ส่วนที่ ไม่สามารถตรวจสอบ และพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ถูกละเลยทอดทิ้ง บริบททางสังคมที่ ถูกครอบงำด้วยการศึกษาความจริงโดยใช้ญาณวิทยาแบบลดส่วนนี้ จึงมิใช่บริบทที่จะเอื้อให้การแพทย์ พื้นบ้านสามารถดำรงอยู่และพัฒนาองค์ความรู้ต่อไปได้ การทำความเข้าใจให้ชัดเจนถึงความแตกต่าง ทางญาณวิทยาที่มิอาจยอมความหรือลงรอยกันได้ (Incommensurable) นี้ จึงมีความสำคัญเป็น อย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องแสวงหาหรือทำความเข้าใจวิธีวิทยาที่สอดคล้องกับ ญาณวิทยาของการแพทย์พื้นบ้านที่ไปพ้นจากกรอบที่วิทยาศาสตร์แบบลดส่วนกำหนดไว้

5. สุขภาพทางเลือกของประชาชนในระบบสุขภาพไทย

การเปลี่ยนแปลงสังคม และเศรษฐกิจในปัจจุบัน มีส่วนทำให้กระแสความสนใจ และความ ต้องการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนเพิ่มขึ้น แนมโน้มดังกล่าว เป็นกระแสที่เคลือบแฝงไว้ด้วย อิทธิพลของตลาดและกระแสการบริโภคนิยม ซึ่งนำไปสู่การพึ่งพิงทางสุขภาพ ดังนั้นแนวคิดและ กิจกรรมสุขภาพทางเลือก ที่เกิดจากสัมมาทิฏฺฐิทางด้านสุขภาพ จึงน่าจะเป็นทางออกที่สำคัญทางหนึ่ง พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในปัจจุบันมีทั้งการพึ่งตนเอง และพึ่งผู้อื่น ดังนั้น การส่งเสริมประชาชนให้มีการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง และปลอดภัย จึงต้องการมาตรการสำคัญ หลายประการ เช่น สนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายสุขภาพเฉพาะกลุ่ม การควบคุมหรือห้ามการโฆษณายา การเร่งรัดหามาตรการ และช่องทางในการให้ข้อมูลและการศึกษาเรื่องสุขภาพให้กับประชาชน ปัญหาสุขภาพที่มีความเรื้อรัง และปัญหาที่ถูกตั้งข้อรังเกียจทางสังคม (Stigmatized problems) เป็น ภาวะของความทุกข์ทั้งกายใจ ทั้งตัวผู้เจ็บป่วย ครอบครัว และญาติพี่น้องที่ยาวนานต่อเนื่อง และยากที่ ระบบบริการทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งมีธรรมชาติเพื่อการรักษาโรคติดเชื้อ จะมีความละเอียดอ่อน และอดทนเพียงพอที่จะดูแลรักษาได้อย่างครอบคลุมในทุกมิติการดูแลสุขภาพตนเองด้วยการรวม กลุ่มแบบ กลุ่มช่วยเหลือกันเอง (Support / Self-help Group)

สังคมวิทยาการ-สาธารณสุข

6. ความหลากหลายของสุขภาวะในสังคมวิทยาสาธารณสุข

สังคมปัจจุบันดำเนินอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของวิทยาการอันซับซ้อน ในรูปลักษณ์ ที่แปลกแยกจากธรรมชาติมากขึ้นทุกเวลา ในอีกด้านหนึ่งเป็นขบวนการใหม่ที่เน้นการ พยายามหาคำตอบที่เป็นจริงจากธรรมชาติมากขึ้นและผสานพลังจากธรรมชาติมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และสังคม ซึ่งได้กลายเป็นกระแสที่เข้ามาท้าทายต่อสถาบันที่ควบคุมวิทยาการอันซับซ้อน รวมทั้ง สถาบันทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยในทศวรรษที่ 1970 การแพทย์กระแสหลัก ทำให้ผู้คน มีสุขภาพดีถ้วนหน้าได้อย่างกว้างขวาง แต่การแพทย์กระแสหลักก็ไม่สามารถให้คำตอบมากกว่าการเป็น วิธีการรักษาโรคด้วยทัศนะแบบกลไก ลดส่วนและแยกส่วนในการรักษา ผู้คนเริ่มแสวงหาการมีวิถีชีวิต ที่เชื่อมโยงและสัมพันธ์กับธรรมชาติหรือที่เรียกว่าแบบองค์รวม (Holistic) อันเป็นผลมาจากข้อจำกัด ในระดับกระบวนทัศน์หรือวิธีคิดของวิทยาศาสตร์ใหม่

7. บทสรุปและการสังเคราะห์

สังคมวิทยาการสาธารณสุข เป็นการศึกษาที่ว่าด้วยทฤษฎีแห่งความรู้ที่มีระบบคิดแบบ วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐาน ขอบเขตของสาขาวิชาเป็นเรื่องกว้างขวาง ส่วนหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาใช้ในการ ค้นคว้าหาความรู้ก็คือความเป็นศาสตร์ ความเป็นศาสตร์มาใช้เป็นกรอบกำหนดกรรมวิธีการศึกษา ในสาขาวิชาต่างๆ โดยเฉพาะในทางสังคมศาสตร์ทั้งนี้เพื่อให้มีการนำเสนอในสิ่งที่ค้นพบด้านสุขภาพ ให้กับสังคมรับรู้ได้อย่างไรโดยเฉพาะภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในสิ่งที่ทำการนำเสนอมักเป็นสิ่งที่ผู้คน ทั่วไปเข้าใจกันเพราะมักอยู่ในรูปของบทความ หรือรายงานการวิจัย การนำเสนอจะไร้ความหมาย หากไม่สามารถสื่อให้ผู้คนทั่วไปเข้าใจในสิ่งที่ค้นพบ อย่างน้อยก็ต้องทำให้ผู้คนในแวดวงวิชาการ ที่เกี่ยวข้องเข้าใจเป็นอย่างดีรูปแบบและภาษาในการนำเสนอจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

เอกสารอ้างอิง

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2548). ขับเคลื่อนวาระสุขภาพไทย ประชาสังคมกับการปฏิรูประบบ
สุขภาพ
. กรุงเทพฯ: สร้างสื่อ.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, นงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ และพจน์ กริชไกรวรรณ. (2545). มิติสุขภาพ:
กระบวนทัศน์ใหม่เพื่อสร้างสังคมแห่งสุขภาวะ. กรุงเทพฯ: ส านักพิมพ์โกมลคีมทอง.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2553). การศึกษาเพื่อเตรียมการคาดประมาณ
ประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583: ประชากรฐานและข้อสมมุติ ส านักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.

Durkheim, Emile. (1893). The Division of Labor in Society. New York: The Free Press.
(Originally published as De la division du travail social: etude sur
I’organisation des societes superieures. Paris: Alcan.

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน