หลักเกณฑ์และวิธีการขอตำแหน่งทางวิชาการ ผศ. รศ. ขอได้แน่ แค่ตีโจทย์ให้แตก

หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นจากความคิดความเข้าใจของอาจารย์ประจำคนหนึ่ง ผู้พยายามปฏิบัติหน้าที่ให้ครบสมบูรณ์ตามที่
“อาจารย์มหาวิทยาลัย” ควรกระทำ ซึ่งรวมถึงการขอตำแหน่งทางวิชาการในตำแหน่งต่าง ๆ จึงได้พยายามศึกษากฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ทำความเข้าใจ และลงมือปฏิบัติ จนได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และ รองศาสตราจารย์มาในเวลาที่ไม่ล่าช้าไปมากนัก

แนวทางและเทคนิคต่าง ๆ ในการใช้ขอตำแหน่งผู้ช่วศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์ที่นำเสนอในหนังสือเล่มนี้ ถ่ายทอดมาจากประสบการณ์ของตัวผู้เขียน ซึ่งได้ปฏิบัติจนก่อให้เกิดผลสำเร็จขึ้นจริง โดยหวังว่าจะเป็นแนวทางที่อาจารย์ท่านอื่นสามารถนำไปปฏิบัติตาม หรืออย่างน้อยก็นำไปปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับ การดำเนินชีวิตของตน เพราะผู้เขียนมีแนวความคิดว่า การขอตำแหน่งทางวิชาการนั้นอาจารย์ทุกคนสามารถทำได้โดยไม่เป็นการเพิ่มภาระในชีวิตการทำงาน ไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และสำคัญที่สุดคือ “ต้องทำได้อย่างมีความสุข”

บทที่ 1 เข้าใจเขาปรับตัวเรา

ในเรื่องการขอตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยนั้น มีคำถามอยู่ 2 ข้อ ที่อาจารย์ทุกคนต้องรู้และเข้าใจในคำตอบ

คำถามที่หนึ่ง…
เหตุใด “มหาวิทยาลัยต้นสังกัด” จึงต้องการให้ “อาจารย์ประจำ” ในสังกัดของตนขอตำแหน่งทางวิชาการ

คำถามที่สอง…
แล้วในมุมมองของอาจารย์มหาวิทยาลัยอย่างเรา ทำไมเราจึงต้องขอตำแหน่งทางวิชาการ ในเมื่อมหาวิทยาลัยกำหนดให้อาจารย์มีภาระงานหลักคือการสอนหนังสือและทำวิจัย สำหรับการบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมนั้นเป็นหน้าที่รองลงมา ดังนั้น แม้ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับการทำตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์ก็สามารถบรรลุภารกิจหน้าที่ของตนได้ครบถ้วน ได้ทำงาน ได้พักผ่อน ได้รับเงินเดือน ได้มีชีวิตปกติสุขดังเช่นคนทั่วไป แล้วทำไมอาจารย์ต้องขอตำแหน่งทางวิชาการการจะตอบคำถามทั้ง 2 ข้อ ได้นั้น ต้องย้อนกลับไปพิจารณาถึงบทบาทและหน้าที่ของทั้งมหาวิทยาลัยและอาจารย์มหาวิทยาลัยซึ่งจะเชื่อมโยงสู่คำตอบของคำถามดังกล่าว

คำตอบของคำถามแรก (มหาวิทยาลัยจะได้อะไร) …
มหาวิทยาลัยต้นสังกัด มีหน้าที่ดำเนินการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเรียนการสอนระหว่างอาจารย์และนิสิตนักศึกษา สนับสนุนให้อาจารย์ได้ทำวิจัย และสนับสนุนอะไรอีกมากมายเพื่อให้ระบบการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยของตนดำเนินไปอย่างราบรื่น ซึ่งมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่อยู่ในกำกับของรัฐ ได้รับเงินงบประมาณอย่างเพียงพอเพื่อนำไปจัดสรรแจกจ่ายให้กับคณะ วิทยาลัย สำนักและกอง ได้นำไปใช้เพื่อดำเนินการให้สำเร็จตามภารกิจ ดังนั้น แม้อาจารย์ในสังกัดของตนไม่ขอตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยก็ยังสามารถดำเนินภารกิจได้เป็นปกติ…

คำตอบของคำถามที่สอง (แล้วอาจารย์จะได้อะไร) …
เมื่อเข้าใจหัวอกของต้นสังกัดแล้ว มาดูที่กลุ่มพวกเราในฐานะอาจารย์ประจำทั้งหลายกันบ้าง โดยประเด็นนี้ อาจารย์เป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้ได้มาซึ่งตำแหน่งทางวิชาการ เพราะมหาวิทยาลัยนั้นทั้งส่งเสริม สนับสนุน ผลักดัน หรือจนถึงขั้นบังคับขู่เข็ญกันก็มีอยู่มาก แต่เพราะขั้นตอนและหลักเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการนั้นถูกกำหนดขึ้นจากคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) และบังคับใช้กับทุกมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้อาจารย์ส่วนใหญ่จึงมองว่าการขอตำแหน่งนั้นยุ่งยาก วุ่นวาย ไม่มีเวลาทำ และที่สำคัญคือ ไม่ทำก็ยังมีชีวิตที่ปกติดี (โดยเฉพาะอาจารย์ของมหาวิทยาลัยในระบบ)

ไม่เป็นไรครับ เรื่องยุ่งยาก วุ่นวาย ไม่มีเวลานั้น ผมมีวิธีจัดการมานำเสนอซึ่งจะบอกกล่าวต่อไป ตอนนี้เรามาดูแค่ว่า ถ้าอาจารย์ขอตำแหน่งทางวิชาการแล้วจะได้ผลตอบแทนอะไรบ้างในเริ่มต้น เพียงอาจารย์ยื่นเรื่องขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับนับตั้งแต่หัวหน้าภาควิชา คณบดี ไปจนถึงอธิการบดี ก็ได้นอนหลับฝันดีแล้วอย่างน้อยก็ 1 คืน ส่วนตัวอาจารย์เองก็จะนอนหลับฝันดีได้หลายคืนกว่า เกิดความภาคภูมิใจ เพื่อนร่วมงานแซวไปอีกหลายวัน ที่สำคัญคือชีวิตจะไม่น่าเบื่อ มีความตื่นเต้นอยู่ตลอดเวลา จนกว่าผลการประเมินจะประกาศออกมาว่า “เฮง” หรือ “เจ๊า”(ไม่มี “เจ๊ง” เพราะไม่มีอะไรที่อาจารย์จะสูญเสีย) เมื่อวันที่ผลการประเมินออก หากเป็นข่าวร้าย (ซึ่งเกิดขึ้นน้อยมาก) ก็แค่เจ๊า ชีวิตเดิมยังคงดำเนินได้อยู่ เงินเดือนยังเท่าเดิม ไม่เสียหาย แต่กลับได้ประสบการณ์ให้นำไปปรับปรุงแก้ไข เมื่อใดที่ปรับแก้ข้อผิดพลาดเสร็จแล้ว ก็ลองดูใหม่อีกสักที ซึ่งคราวนี้ไม่น่ามีคำว่าพลาดอย่างแน่นอน

อันที่จริง อาจารย์ทุกคนย่อมต้องการมีตำแหน่งทางวิชาการกันอยู่แล้ว ติดตรงที่คิดว่ามันยาก มันเยอะ มันไม่มีเวลาทำ มันไม่เก่งเหมือนคนนู้น ไม่เทพเหมือนคนนี้ แท้จริงแล้วการทำให้ได้มาซึ่งตำแหน่งทางวิชาการ (ผศ. และ รศ.) นั้น ไม่ยากเกินกว่าที่อาจารย์คนหนึ่งจะทำได้ เพียงแค่อย่าเพิ่งท้อใจ ลองเริ่มต้นทำดูก่อน แล้วจะพบว่ามันไม่ยากเกินความสามารถ แม้จะมีภาระงานสอนหรืองานอื่น ๆ อยู่มาก รวมถึงไม่สามารถปั่นงานวิจัยตีพิมพ์ได้ปีละหลายบทความ แต่ถ้าทำความเข้าใจและวางแผนชีวิตการทำงานให้ดีก็สามารถทำได้ครับ

หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่คู่มือแต่เป็นการบอกเล่าประสบการณ์ ในการขอตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัย คนหนึ่ง ซึ่งบอกกล่าวถึงวิธีการปฏิบัติที่ไม่ยาก ทำได้จริง และประสบผลสำเร็จจริงแนวทางที่นำเสนอนี้จะถูกหรือผิดไม่มีใครอาจตัดสิน แต่อย่างน้อยก็มีอาจารย์คนหนึ่งทำได้จนเป็นผลสำเร็จ จึงมาเขียนบอกกล่าวเล่าให้ฟัง

“จุดหมายหนึ่งจะมีหนทางมากมายให้ไปถึง จงเลือกเดินในเส้นทางที่สั้นที่สุด เพราะเวลามีค่ายิ่ง”

สำหรับหนังสือ ผศ. รศ. ขอได้แน่ แค่ตีโจทย์ให้แตก มีวางจำหน่ายที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ และสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร ภายในเนื้อหาประกอบด้วยเนื้อหา 7 บท ซึ่งในบทที่ 1 เข้าใจเขา ปรับตัวเรา ได้กว่าไปแล้วเบื้องต้น ในส่วน
บทที่ 2 รู้ชัดในสิ่งที่ต้องทำ
บทที่ 3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์คือการปรับตัว
บทที่ 4 รองศาสตราจารย์คือการฮึดสู้
บทที่ 5 ทำอย่างไรให้ชีวิตมี “เวลา”
บทที่ 6 เมื่อชีวิตมีหลายด้าน
บทที่ 7 หนทางนั้นสร้างได

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน