ภูมิคุ้มกัน

ภูมิคุ้มกัน

หนังสือเล่มนี้ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ ลักษณะของเซลล์ที่ทำงานร่วมกัน ในระบบภูมิคุ้มกัน กลไกการทำงานของเซลล์ในร่างกายที่ประกอบด้วยระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิดและภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะซึ่งตอบสนองและป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาทำลายร่างกายและป้องกันการเกิดโรค โดยมีเนื้อหาครอบคลุมถึงลักษณะและโครงสร้างของแอนติเจนแอนติบอดี การสร้างโมโนโคลนาลแอนติบอดี การกระตุ้นภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงโรคที่เกี่ยวข้อง กับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น มะเร็ง ภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง ภาวะภูมิไวเกิน ภูมิคุ้มกันต่อจุลชีพหนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับนิสิต นักศึกษา อาจารย์ และผู้ที่สนใจทบทวนความรู้เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผู้อ่านสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปประยุกต์ใช้ต่อไป

ภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกัน ผู้เขียนได้รวบรวมมาจากประสบการณ์การเรียนการสอนและการศึกษาค้นคว้าจากตํารา และวารสารทั้งภาษาไทยและอังกฤษมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย สําหรับนิสิตนักศึกษาสาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยมีใจความสําคัญกล่าวถึงหน้าที่ ลักษณะของเซลล์ที่ทํางานร่วมกันในระบบภูมิคุ้มกัน หลักการของวิทยาภูมิคุ้มกันที่ ควรเข้าใจ อธิบายกลไกการทํางานของเซลล์ในร่างกายที่ประกอบด้วยระบบภูมิคุ้มกัน โดยกําเนิดและภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะ ในการตอบสนองและป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่ เข้ามาทําลายร่างกาย และป้องกันการเกิดโรค นอกจากนี้ยังกล่าวถึงโรคที่เกิดจาก ภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้หากผู้อ่านมีข้อเสนอแนะ เพิ่มเติม ผู้เขียนยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะ นําคําแนะนําไปพัฒนาและปรับปรุงให้หนังสือเล่มนี้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

ระบบภูมิคุ้มกัน_8

บทที่ 1 บทนำสู่วิทยาภูมิคุ้มกัน

ความหมายของวิทยาภูมิคุ้มกัน ภูมิคุ้มกัน (Immunity) คือ กระบวนการป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอม หรือแอนติเจนที่เข้ามาสัมผัสหรือเข้ามาบุกรุกร่างกาย เช่น เชื้อโรคชนิดต่าง ๆ ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ปรสิต โดยเป็นการทํางานร่วมกันของเซลล์ และอวัยวะใน ร่างกายซึ่งมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกัน วิทยาภูมิคุ้มกัน (Immunology) คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย กระบวนการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันและโรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน

ภูมิคุ้มกัน

บทที่ 2 ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด

ความหมายของภูมิคุ้มกันโดยกําเนิด ร่างกายมีกระบวนการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา โดยเป็นการทํางานร่วมกันของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายเพื่อกําจัดสิ่งแปลกปลอม ออกไปจากร่างกาย เพื่อให้ปลอดภัยจากการคุกคามของเชื้อโรค อันได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา เป็นต้น โดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีสองแบบ คือ ภูมิคุ้มกันแบบ ธรรมชาติหรือภูมิคุ้มกันโดยกําเนิด (innate immunity) เกิดขึ้นได้ในขั้นตอนแรก เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคเข้ามาในร่างกาย ภูมิคุ้มกันชนิดนี้มีลักษณะ การทําลายสิ่งแปลกปลอมอย่างไม่จําเพาะนัก เป็นปราการด่านแรกที่ป้องกัน การเข้ามาของเชื้อโรค ส่วนประกอบสําคัญของภูมิคุ้มกันนี้ ได้แก่ สรีระของร่างกาย เช่น ผิวหนัง น้ําตา เยื่อเมือกในบริเวณทางเดินหายใจ และในทางเดินอาหาร นอกจาก นี้ยังมีเซลล์จําพวกเม็ดเลือดขาวที่สามารถเข้ามากําจัดและทําลายเชื้อโรคได้อย่าง รวดเร็วด้วยกระบวนการฟาโกไซโทซิส (phagocytosis) จากนั้นจะพัฒนาสู่ขั้นตอน การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะ (adaptive immunity) ซึ่งเกิดขึ้นใน ระยะเวลาต่อมาหลังจากเกิดการทําลายเชื้อโรคด้วยเม็ดเลือดขาว ลักษณะที่สําคัญ ของภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะ คือ มีการตอบสนองต่อเชื้อโรคอย่างจําเพาะเจาะจงมี ประสิทธิภาพ และมีความสามารถจดจําสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่เคยเข้ามาใน ร่างกายแล้ว ดังนั้น จึงสามารถตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่เคยรู้จักมาก่อนอย่าง รวดเร็วและรุนแรงกว่าครั้งแรก เช่น การสร้างแอนติบอดี (antibody)

บทที่ 3 ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ

ความหมายของภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะ ร่างกายมีกระบวนการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา ซึ่งเป็นกระบวนการทํางานร่วมกันของเซลล์ต่าง ๆ เพื่อกําจัดสิ่งแปลกปลอมให้ หมดไป เพื่อให้ร่างกายปลอดภัยจากการคุกคามของเชื้อโรค ระบบภูมิคุ้มกันของ ร่างกายประกอบด้วยสองชนิด คือ ภูมิคุ้มกันแบบธรรมชาติ หรือเรียกว่าภูมิคุ้มกัน โดยกําเนิด (innate immunity) เกิดขึ้นได้ในขั้นตอนแรกของการตอบสนองอย่าง ไม่จําเพาะ และต่อมาพัฒนาเป็นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะ (adaptive immunity) เพื่อทําลายสิ่งแปลกปลอมได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสามารถ จดจําแอนติเจน ดังนั้นจึงตอบสนองต่อเชื้อโรคหรือแอนติเจนที่เคยรู้จักมาก่อนได้อย่าง รวดเร็ว โดยกระบวนการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะนี้จะมีการพัฒนาและ เชื่อมต่อมาจากการทํางานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันโดยกําเนิด โดยเฉพาะเซลล์ ซึ่งทําหน้าที่ย่อยและนําเสนอแอนติเจนให้กับ T cell ได้แก่ แมคโครฟาจ เดนดริตริก เป็นต้น ลักษณะของภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะแบ่งออกเป็นสองชนิด คือ การตอบสนอง ทางสารน้ํา (humoral immune response, HIR) และการตอบสนองด้านเซลล์ (cell-mediated immune response, CMIR) ซึ่งเซลล์ที่มีความสําคัญของภูมิคุ้มกัน แบบจําเพาะคือ เซลล์จําพวกลิมโฟไซต์

ภูมิคุ้มกัน

บทที่ 4 แอนติเจน และแอนติบอดี

แอนติเจน (antigen, Ag) หรือสิ่งแปลกปลอม มีความสามารถทําปฏิกิริยา กับภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ เช่น สามารถทําปฏิกิริยาได้กับแอนติบอดี นอกจากนี้ ยังสามารถทําปฏิกิริยาได้กับ T cell receptor (TCR) เรียกคุณสมบัตินี้ว่า antigenicity โดยทั่วไปแอนติเจนที่เข้าสู่ร่างกายแล้วมีคุณสมบัติกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ ตอบสนองได้ เรียกว่า อิมมูโนเจน (immunogen) เช่น กระตุ้นให้ร่างกายมีการตอบสนอง ด้าน cell mediated immunity ซึ่งสามารถกระตุ้น T cell ให้มีการตอบสนอง โดยหลั่งไซโตไคน์ต่าง ๆ ออกมากระตุ้นเซลล์อื่นให้ทํางาน นอกจากนี้ อิมมูโนเจน ยังสามารถกระตุ้นให้ B cell สร้างแอนติบอดี ซึ่งเรียกคุณสมบัตินี้ว่า immunogenicity ตัวอย่างของแอนติเจน เช่น เชื้อแบคทีเรีย สารพิษที่เชื้อจุลชีพสร้างขึ้น ในขณะเดียวกัน สารอิมมูโนเจนจะทําปฏิกิริยาได้กับผลผลิตของภูมิคุ้มกัน เช่น แอนติบอดี จึงเรียกว่า มีคุณสมบัติ antigenicity ซึ่งอิมมูโนเจนมักเป็นแอนติเจน แต่ขณะที่แอนติเจน บางชนิดไม่มีคุณสมบัติเป็นอิมมูโนเจน คุณสมบัติของสารที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

บทที่ 5 ระบบคอมพลีเมนท์

ความหมายของคอมพลีเมนต์ คอมพลีเมนต์ (complement, C) เป็นโปรตีนที่พบในร่างกายมีมากกว่า 30 ชนิด โดยมีคุณสมบัติเป็น proenzyme เมื่อได้รับการกระตุ้นจะเกิดเป็น active enzyme เป็นโปรตีนที่ไม่ทนความร้อน โดยสามารถถูกทําลายด้วยความร้อนที่ 56 องศาเซลเซียส เป็นเวลาตั้งแต่ 30นาทีขึ้นไป คอมพลีเมนต์เป็นส่วนสําคัญของภูมิคุ้มกัน โดยกําเนิด (innate immunity) สามารถตอบสนองต่อเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกายโดย ทันที และมีส่วนช่วยทําหน้าที่ในภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะ (adaptive immunity) จึงทําให้เกิดการทําลายเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทที่ 6 ไซโตไคน์

ความหมายของไซโตไคน์ ไซโตไคน์เป็นสารในระบบภูมิคุ้มกันที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างเซลล์ให้ ทํางานร่วมกัน ไซโตไคน์แต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ไซโตไคน์เป็นโปรตีน หรือ ไกลโคโปรตีน มีขนาดของโมเลกุลเล็กและมีชื่อเรียกตามเซลล์ที่สร้าง เช่น สร้างมาจาก lymphocyte เรียกว่า lymphokine ขณะที่สร้างจากโมโนไซต์ แมคโครฟาจ เรียกว่า monokine สร้างจากเม็ดเลือดขาว เรียกว่า interleukin ขณะที่ไซโตไคน์ซึ่งทําหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนที่ของเซลล์อื่น เรียกว่า chemokine การทํางานของไซโตไคน์จําเป็นต้องมีตัวรับ (cytokine receptor) ที่จําเพาะจึงจะสามารถออกฤทธิ์ส่งสัญญาณเข้าสู่นิวเคลียสของเซลล์ ทําให้เกิด การเปลี่ยนแปลงและมีการแสดงออกของยีน และโปรตีนในรูปแบบต่าง ๆ ลักษณะ การทํางานของไซโตไคน์ มี 3 แบบ คือ หลั่งออกจากเซลล์ชนิดเดียวกันกับเซลล์ที่ ไซโตไคน์ออกฤทธิ์ เรียกว่า autocrine หลังจากเซลล์หนึ่งแล้วออกฤทธิ์กับเซลล์ ข้างเคียง เรียกว่า paracrine และหลังจากเซลล์หนึ่งแล้วไปออกฤทธิ์กับเซลล์ที่อยู่ ไกลออกไป เรียกว่า endocrine1 นอกจากนี้ พบว่าไซโตไคน์มีลักษณะของการทํางาน

บทที่ 7 การควบคุมการตอบสนอง และการไม่ตอบสนอง ของภูมิคุ้มกัน

ความหมายของการควบคุมการตอบสนองและการไม่ตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การทํางานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายซึ่งมีหน้าที่ตอบสนอง การกระตุ้นจากแอนติเจน เพื่อคุ้มครองให้ร่างกายปลอดภัยจากการคุกคามของเชื้อโรค นอกจากนี้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายยังมีหน้าที่ควบคุมการตอบสนองของ ระบบภูมิคุ้มกันไม่ให้เกิดโทษต่อร่างกาย เป็นการรักษาสมดุลการทํางานของ ระบบภูมิคุ้มกันให้เหมาะสม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เรียกว่า immunoregulation นอกจากนี้ร่างกายจะไม่ตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อแอนติเจนบางชนิด ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับแอนติเจนหรือสิ่งแปลกปลอมที่มาจากภายนอกบางอย่างเข้ามา แทนที่จะ เกิดการกระตุ้นให้มีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อแอนติเจน แต่กลับไม่มี การตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน เรียกแอนติเจนนี้ว่า tolerogen

บทที่ 8 ภาวะภูมิไวเกิน

ความหมายของภาวะภูมิไวเกิน ภาวะภูมิไวเกิน (hypersensitivity) คือ ภาวะที่ร่างกายตอบสนองทาง ภูมิคุ้มกันอย่างจําเพาะต่อสิ่งเร้าหรือแอนติเจนที่เข้ามาในร่างกาย ซึ่งส่งผลเสียต่อ เนื้อเยื่อของตนเองทําให้เกิดโรคและพยาธิสภาพตามมา จัดเป็นการตอบสนอง ทางภูมิคุ้มกันอย่างจําเพาะ (Specific immune response) ต่อสิ่งแปลกปลอม หรือแอนติเจน หรือ allergen ซึ่งเข้ามากระตุ้นร่างกายได้หลายวิธี เช่น การสูดดม การกิน การสัมผัส การฉีด การตอบสนองของร่างกายอย่างจําเพาะนี้สามารถเป็นได้ ทั้งแบบการสร้างแอนติบอดี (humoral mediate immune response) และ การตอบสนองโดยอาศัยเซลล์ (cell-mediated immune response) สามารถจําแนก

ภูมิคุ้มกัน

บทที่ 9 โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง

ความหมายของภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง ภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง (autoimmunity) คือ ภาวะการตอบสนอง ของระบบภูมิคุ้มกันต่อแอนติเจนของตัวเอง หรือการต้านเนื้อเยื่อตัวเอง ซึ่งเกิดจาก ภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีความบกพร่องในความสามารถจดจํา แยกแยะ และไม่ตอบสนองต่อเซลล์ของตัวเอง (self-tolerance) โดยเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ที่สร้างขึ้นมาจะทําหน้าที่ทําลายเซลล์ของร่างกายตัวเอง โดยเซลล์เหล่านี้ คือ เซลล์จําพวกลิมโฟไซต์ นอกจากนี้ ยังมีความสามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างแอนติบอดี และการทําลายเซลล์อื่นได้ด้วยตัวเอง ผลลัพธ์คือ ทําให้เกิดพยาธิสภาพทําลายเนื้อเยื่อ ของตัวเอง และเกิดการอักเสบเรื้อรัง จึงเรียกว่า โรคภูมิต้านเนื้อเยื่อตัวเอง ซึ่งโรค ที่เกิดขึ้นนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโรคที่เกิดภูมิต้านทานเฉพาะอวัยวะ (organ-specific autoimmune disease) และกลุ่มโรคที่เกิดภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อ และอวัยวะหลายระบบของร่างกาย (systemic autoimmune disease)

บทที่ 10 ภูมิต้านทานมะเร็ง

ความหมายของมะเร็ง มะเร็งเกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย เซลล์มะเร็ง มีต้นกําเนิดจากเนื้อเยื่อหรือเซลล์ในร่างกายซึ่งมีความคล้ายคลึงกับเซลล์ปกติ แต่เซลล์ มะเร็งจะมีการแบ่งตัวเพิ่มจํานวนเปลี่ยนรูปร่างที่ผิดปกติไปจากเดิมจนทําให้มีลักษณะ เป็นกลุ่มก้อน เซลล์มะเร็งสามารถแทรกตัวเข้าไปในเนื้อเยื่อปกติของร่างกาย อีกทั้ง สามารถแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น (metastasis) ซึ่งทําให้เกิดพยาธิสภาพในร่างกาย โดยทั่วไปการตรวจพบก้อนเนื้อในร่างกายซึ่งอาจเป็นก้อนเนื้อที่ไม่ใช่มะเร็ง (benign) มีลักษณะเป็นก้อนที่ไม่แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายและยังสามารถขยาย ขนาดใหญ่ขึ้นได้ ทําให้ไปรบกวนการทํางานหรือกดทับอวัยวะข้างเคียง ก้อนเนื้อนี้ตอบสนองต่อการรักษาและสามารถกําจัดให้หมดไปได้จากร่างกายโดยใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดแต่หากก้อนเนื้อนั้นเป็นก้อนเนื้อมะเร็ง (malignant) จะเจริญเติบโต ได้รวดเร็วและรักษายากกว่าก้อนเนื้อที่ไม่ใช่มะเร็ง หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะ ทําให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายและเกิดพยาธิสภาพรุนแรงจน ควบคุมไม่ได้ โดยทั่วไปจําแนกชนิดของมะเร็งตามแหล่งกําเนิดของมะเร็งที่พัฒนามา เช่น leukemia และ lymphomas เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ต้นกําเนิดเม็ดเลือด ที่อยู่ในไขกระดูก (hermatopoietic cell), sarcomas เป็นมะเร็งที่เกิดจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้อ ไขมัน กระดูก

บทที่ 11 ภูมิคุ้มกันต่อจุลชีพ

ภูมิคุ้มกันต่อจุลชีพ ร่างกายมีกระบวนการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ ที่เข้ามา เช่น แบคทีเรีย รา ไวรัส ปรสิต ซึ่งเป็นกระบวนการทํางานร่วมกันของเซลล์ ในระบบภูมิคุ้มกันโดยกําเนิด (innate immunity) และภูมิคุ้มกันแบบจําเพาะ (adaptive immunity) ซึ่งประกอบด้วย humoral immune response และ cell-mediated immune response เพื่อร่วมกันทําลายเชื้อโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน จุลชีพแต่ละชนิดมีความสามารถในการบุกรุกร่างกายแตกต่างกัน เพื่อหลบหลีกกลไกของระบบภูมิคุ้มกันดังกล่าว จึงทําให้สามารถอยู่รอดและอาจก่ออันตรายให้กับร่างกายของคน ซึ่งทําให้เกิดการติดเชื้อและอักเสบเรื้อรังส่งผลเสียต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในร่างกาย

บทที่ 12 การกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

ความหมายของการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน คําศัพท์เกี่ยวกับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ควรเข้าใจ ได้แก่ immunomo-dulation, immunosuppression, immune stimulation และ immunization นอกจากนี้ยังมีคําศัพท์ที่เกี่ยวข้อง เช่น adjuvant ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดต่อไป Immunomodulation หมายถึง กระบวนการปรับเปลี่ยนการตอบสนอง ทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย ด้วยการนําสารหรือสิ่งกระตุ้นให้เข้าไปในร่างกาย เช่น ยา สารเคมีบางอย่าง เรียกสารที่สามารถทําให้เกิดการกระตุ้นหรือกดภูมิคุ้มกันนั้นว่า “immunomodulator”

บทที่ 13 การสร้างโมโนโคลนาลแอนติบอดี

โมโนโคลนาลแอนติบอดี (monoclonal antibody, MAb) คือ แอนติบอดี ที่สร้างขึ้นจาก B lymphocyte ที่มาจากต้นกําเนิดเพียงเซลล์เดียว (clone) และ มีความจําเพาะกับ epitope เดียวของแอนติเจน จึงทําให้แอนติบอดีทุกโมเลกุลที่สร้างออกมาจากเซลล์เดียวนี้มีคุณสมบัติเหมือนกัน1-4 โดยมีความแตกต่างจากพอลิโคลนาล แอนติบอดี (polyclonal antibody) ซึ่งสร้างมาจาก B lymphocyte หลายเซลล์ และแอนติบอดีมีความแตกต่างกันสามารถทําปฏิกิริยาได้กับแอนติเจนหลากหลาย epitope การผลิตแอนติบอดีชนิดพอลิโคลนาลนี้สามารถทําได้ง่ายกว่าโมโนโคลนาล แอนติบอดีและใช้เวลาไม่นาน ด้วยการฉีดแอนติเจนเข้าไปในสัตว์ทดลอง เช่น หนู กระต่าย แพะ ม้า เป็นต้น เมื่อแอนติเจนเข้าสู่ร่างกายสัตว์จะไปกระตุ้น B lymphocytes หลายเซลล์ให้เปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์พลาสมาที่สามารถสร้าง แอนติบอดีออกมาได้ และจําเพาะกับ epitope ที่หลากหลายบนโมเลกุลของแอนติเจน จากนั้นจึงเจาะเลือดจากสัตว์ทดลองแล้วนํามาปั่นแยกซีรั่มเพื่อนําแอนติบอดีที่ต้องการ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นพอลิโคลนาลไปใช้งานหรืออาจเรียกว่า antiserum

กาญจนา อู่สุวรรณทิม

รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา อู่สุวรรณทิม

ภาควิชาเทคนิคการแพทย์
คณะสหเวชศาสตร์

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน