การขับเคลื่อนนโยบายนวัตกรรมการวิจัย

หนังสือเรื่อง “การขับเคลื่อนนโยบายนวัตกรรมการวิจัยและการจัดการศึกษาที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ” เล่มนี้ ผู้เรียบเรียงได้รวบรวม หลักการ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นิสิต นักศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา รวมทั้งนัก การศึกษาและบุคคลทั่วไป ได้นำมาศึกษาในเชิงนโยบายเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงการพัฒนาประเทศเป็นหลักสำคัญ

นโยบายนวัตกรรมการวิจัย

โดยผู้เรียบเรียงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะสามารถนำไปใช้ได้จริง และเป็นประโยชน์ อันนำไปสู่ผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศในทุก ๆ มิติ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง การนำนวัตกรรมการวิจัยและการจัดการศึกษาที่ต้องนำมา เชื่อมโยง หล่อหลอมให้เกิดเป็นรูปธรรมได้อย่างลงตัวและสมบูรณ์ที่สุด เกิดการแข่งขัน เกิดการสร้างองค์ความรู้ใหม่ เกิดการชี้นำ และเกิดการ ก้าวข้ามความสำเร็จให้กับประเทศไทย สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการสนับสนุนวิจัยและนวัตกรรมให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมของความเป็นชาติสืบไป นอกจากนี้ยังมีภาคผนวกที่ได้ทำการวิเคราะห์ความสอดคล้อง วิสัยทัศน์/วัตถุประสงค์/เป้าหมาย/เป้าประสงค์/พันธกิจ/ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ ในส่วนที่นำมาเรียบเรียงในหนังสือเล่มนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้อ่าน

โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในการ สร้างองค์ความรู้และทฤษฎีฐานรากต่อไป ทั้งนี้ขอขอบพระคุณ ตำรา/หนังสือ/บทความวิชาการ/บทความวิจัย/เอกสารอื่น ๆ จากครูบาอาจารย์และบุคคลที่นำมาอ้างอิงในหนังสือดังกล่าวด้วยความเคารพเป็นอย่างสูง

ภายในเล่มประกอบไปด้วยเนื้อหา 6 บท บทที่ 1 แนวคิดการวิจัยและการวิจัยเชิงนวัตกรรม บทที่ 2 การขับเคลื่อนนโยบายนวัตกรรมการวิจัย บทที่ 3 การกำหนดนโยบายและบริบทที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา บทที่ 4 การขับเคลื่อนนโยบายนวัตกรรมการจัดการศึกษา บทที่ 5 กิจกรรมส่งเสริมนวัตกรรมการวิจัยที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ บทที่ 6 นวัตกรรมการจัดการศึกษาและการใช้สื่อดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้

นโยบายนวัตกรรมการวิจัย

1. แนวคิดการวิจัยและการวิจัยเชิงนวัตกรรม

การศึกษางานวิจัยเชิงนวัตกรรมเป็นการศึกษาในรูปแบบการทดลองที่ก่อให้เกิดรูปธรรม จับต้องได้ สัมผัสได้ด้วยมโนทัศน์หรือสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นกับองค์กรทางการศึกษา เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างหรือพลวัตรที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และส่งผลกระทบต่อประเทศชาติในวงกว้าง โดยเฉพาะหน่วยงานด้านการศึกษาที่ต้องปรับเปลี่ยนเป็นแนวระนาบ ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาจนเกิดการยอมรับ เป็นวิถีใหม่ มิติใหม่ วัฒนธรรมใหม่ ค่านิยมใหม่ ที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานสากล

ความหมายการวิจัยและนวัตกรรม

พระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 ได้ให้ความหมายการวิจัยและนวัตกรรมไว้ดังนี้ (ราชกิจจานุเบกษา, 2562)

“การวิจัย” หมายความว่า การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ หรือทดลองอย่างเป็นระบบ อันจะทำให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง ความรู้ใหม่ หรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฎ ทฤษฎี แนวทางในการปฏิบัติ เพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ รวมทั้งเพื่อสร้างนวัตกรรม อันจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

“นวัตกรรม” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ สิ่งประดิษฐ์ บริการ กรรมวิธีที่เกี่ยวกับการผลิต การจัดโครงสร้างองค์กร ระบบบริหารจัดการ การบริหารการเงิน ธุรกิจ การตลาด หรือในการอื่นใด ทั้งนี้ ซึ่งเป็นสิ่งใหม่หรือพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญ และนำไปใช้ประโยชน์ได้ใน วงกว้างทั้งในเชิงพาณิชย์และสาธารณะ

2. การขับเคลื่อนนโยบายนวัตกรรมการวิจัย

ปัจจุบันหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้ให้ความสำคัญต่อ การวิจัย อันจะสามารถก่อให้เกิดนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ต่อยอด และสามารถหารายได้ในบริบทประเทศ และการแข่งขันกับนานาชาติ ทำให้การกำหนดทิศทางการวิจัยเชิงนวัตกรรมต้องสอดคล้องกับนโยบายระดับประเทศของรัฐบาล เพื่อยกระดับมูลค่าเพิ่มในการวิจัยนั้นให้เกิดการยอมรับ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

3. การกำหนดนโยบายและบริบทที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา

นโยบายนวัตกรรมการวิจัย

บริบทปัจจุบัน ประเทศชาติต้องอยู่รอดภายใต้เศรษฐกิจที่ ไม่สามารถคาดการณ์ได้ การกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจที่ได้ตั้งไว้ ย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงและปรับเปลี่ยนได้ทุกวัน เป็นเช่นนี้ยิ่งจะทำให้นโยบายเกี่ยวกับการศึกษาต้องก้าวข้าม และอาจจะไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือดัชนีตัวบ่งชี้ได้อย่างสมบูรณ์ หากแต่เป็นการมองภาพอนาคตที่มุ่งสู่การปรับเปลี่ยนให้เป็นปัจจุบันให้มากที่สุด สิ่งสำคัญในสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนี้ ยิ่งเป็นการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงและผู้บริหารการศึกษาในทุกระดับ ให้เกิดความท้าทาย เกิดมิติใหม่ เกิดนโยบายใหม่ ที่ต้องคำนึงถึงสุขภาพเป็นสำคัญ ให้มากที่สุด

4. การขับเคลื่อนนโยบายนวัตกรรมการจัดการศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ร่วมกับภาคีเพื่อการศึกษาไทย (Thailand Education Partner- ship หรือ TEP) ภายใต้นโยบายรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ ลดความ เหลื่อมล้ำ มุ่งพัฒนาคนไทยให้เรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ ตรงตามความต้องการของพื้นที่ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน กระจายอำนาจสู่สถานศึกษาตามศักยภาพและความพร้อม ส่งเสริมสถานศึกษาเป็นนิติบุคคล สามารถบริหารจัดการได้อย่างอิสระและคล่องตัวมากขึ้น ได้กำหนดเป็น “พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา”

เพื่อเป็นสนามปฏิบัติการในการสร้างการเปลี่ยนแปลงการศึกษาของประเทศ เพื่อนำนโยบายของรัฐบาลสู่การปฏิบัติจริง อันนำไปสู่การประกาศใช้พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562 กล่าวคือ พื้นที่พิเศษในการจัด การศึกษาที่เอื้อให้คนในพื้นที่และทุกภาคส่วน รวมพลังร่วมจัดการศึกษา เรียนรู้การสร้างและใช้นวัตกรรมการศึกษาร่วมกัน เพื่อตอบโจทย์ผู้เรียนและคุณภาพการศึกษาของพื้นที่ที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจะเป็นพื้นที่เรียนรู้ ทดลอง นำร่องระบบ กลไก นวัตกรรมการบริหารจัดการ นวัตกรรมการเรียนการสอน และนวัตกรรมเชิงนโยบาย โดยผสานจุดแข็งของการปฏิรูปการศึกษาทั้ง 2 ทิศทาง ทั้งการปฏิรูปจากบนลงล่าง และการปฏิรูปจากล่างขึ้นบน

5. กิจกรรมส่งเสริมนวัตกรรมการวิจัยที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ

นโยบายนวัตกรรมการวิจัย

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรม การจัดทำฐานข้อมูลและดัชนีด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ การริเริ่ม ขับเคลื่อน และประสานการดำเนินงานโครงการวิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญของประเทศ การจัดทำมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย การส่งเสริมและถ่ายทอด ความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม และการให้รางวัล ประกาศเกียรติคุณ หรือยกย่องบุคคล หรือหน่วยงานด้านการวิจัยและนวัตกรรม โดยกำหนดวิสัยทัศน์เป็นหน่วยงานหลักที่ขับเคลื่อนระบบวิจัยและนวัตกรรมให้เข้มแข็ง ด้วยการสนับสนุนทุนวิจัย พัฒนาบุคลากร และพัฒนาระบบนิเวศการวิจัยและนวัตกรรมตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ

6. นวัตกรรมการจัดการศึกษาและการใช้สื่อดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้

ปัจจุบันการจัดการศึกษาเปลี่ยนรูปแบบอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมของเทคโนโลยีและการแพร่ระบาดของโรค การนำนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของสังคม จึงเกิดรูปแบบบูรณาการทั้งการเรียนการสอนในห้องเรียน การฝึกอบรม การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียน นอกระบบ เป็นต้น จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จึงเกิดมุมมอง แนวทางในการจัดการนวัตกรรมการศึกษาไทย : ในด้านนวัตกรรมกระบวนการสอนของผู้สอน ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และระดับมหาวิทยาลัย ในภาพรวมของวิธีการสอน เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

บรรณานุกรม

พระราชบัญญัติ การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562. (25 พฤษภาคม
2562). ราชกิจจานุเบกษา. (2562). เล่ม 136 ตอนที่ 68 ก, หน้า 1-18.

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน