การสื่อสาร

รู้เท่าทัน การสื่อสาร โน้มน้าวใจ

รู้เท่าทัน การสื่อสาร โน้มน้าวใจ จากที่เคยเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล ขยายพื้นที่และไม่จำกัดเวลากระจายไปทั่วโลก เปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ของผู้รับสารที่เคยเป็นเพียงรับสารเข้ามาอย่างเดียว สามารถเปลี่ยนตัวเองเป็นผู้ส่งสารได้

จิตใจของมนุษย์ที่ไม่เคย หยุดนิ่ง ก่อกำเนิดเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านเทคโนโลยี การแปลงคลื่นเสียงให้ กลายเป็นกระแสไฟฟ้า ส่งผลให้การสื่อสารภายในจิตใจถูกสื่อผ่านกระดานข่าวสาร ส่งไปยังผู้คนที่ เข้าถึงการสื่อสารนั้นทั้ง แบบตั้งใจและแบบไม่ตั้งใจตลอดทุกที่ ทุกเวลา

การโน้มน้าวใจให้ผู้คนสนใจ ชื่นชม เข้าใจ ยอมรับ สร้างข้อตกลงทาง การค้าขาย หรือประโยชน์ในระดับปัจเจกด้วยการสื่อสารเป็นเรื่องของ การดำรงชีวิตให้อยู่รอดในพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งสามารถสื่อสารทั้งในระดับบุคคลแต่ขยายขอบเขตปริมณฑลผ่านไปยังผู้คนได้กว้างขึ้นเมื่ออาศัยการสื่อสารออนไลน์ จากที่เคยสื่อสารระหว่างคน ในครอบครัว ในกลุ่มเพื่อน ก็เปลี่ยนมาเป็นการบอกเล่าเรื่องราวของตนเองในเครือข่าย

การสื่อสาร

สัมภาษณ์ผู้เขียน

เพราะพื้นฐานเดียวของมนุษย์ คือ เป็นสัตว์สังคม และมนุษย์ต้องการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น ต้องการให้ผู้อื่นยอมรับตัวเองในฐานะเพื่อน ทั้งในเพื่อนร่วมชะตากรรมและเพื่อนร่วมงาน หากขาดการติดต่อทางสังคมแล้วมนุษย์จะพยายามแสวงหาทางออกที่จะทำให้เกิดประโยชน์จากการสื่อสารเพื่อสร้างเครือข่ายของตนเองไปยังสาธารณะต่าง ๆ

แม้แต่สื่อมวลชนที่เคย มีพลังอำนาจในการครอบคลุมข่าวสาร เป็นฐานันดรที่ห้าในสังคมแต่ละประเทศ กำหนด วาระข่าวสารให้กับสังคมรับรู้ยังต้องเลือกที่จะนำเรื่องราวของปัจเจกบุคคลมาเผยแพร่ เพื่อตอบสนองต่อจำนวนผู้เข้าชมและรายได้ที่จะได้ หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ก็เข้ามาใช้ประโยชน์ของการสื่อสารได้ทั่วโลกในสังคมเครือข่ายออนไลน์สำหรับโน้มน้าวใจให้ผู้คนยอมรับ จดจำ และเชื่อถือ ทางออกที่ดีที่สุดก่อนที่จะขาดสติและกลายเป็นเหยื่อในกระบวนการสื่อสาร คือ ความเข้าใจจิตวิทยาการสื่อสารโน้มน้าวใจที่ปัจเจกบุคคล กลุ่มคน องค์กร ใช้การสื่อสารจูงใจ การจูงใจมีทั้งจูงใจ และโน้มน้าวในเชิงประโยชน์ ทุกคนต้องมีภูมิคุ้มกันตนเองในการรับรู้ เชื่อ และเลียนแบบ “สาร” ที่มาพร้อมกับ “สื่อ”

ภายในเล่มประกอบไปด้วยเนื้อหา 6 บท ที่พูดภึงพื้นฐานและความหมายของการสื่อสารโน้มน้าวใจ ยุคสมัยการสื่อสารและอิทธิพลของการสื่อสาร รวมถึงองค์ประกอบขั้นพื้นฐานในการโน้มน้าวใจ รู้เท่าทันวัจนภาษาในการสื่อสารโน้มน้าวใจ รู้เท่าทันอวัจนสารในการสื่อสารโน้มน้าวใจ ส่วนในบทที่ 2 พูดถึงการใช้เสียงและภาพในการโน้มน้าวใจ บทที่ 3 กลยุทธ์การออกแบบสาร กฎและทฤษฎีการสื่อสาร ในบทที่ 4 พูดถึงการรู้เท่าทันการโน้มน้าวใจในยุคดิจิทัล บทที่ 5 การวัดทัศนคติในการโน้มน้าวใจยุคดิจิทัล และบทที่ 6 รู้เท่าทันการสื่อสารยุคดิจิทัล

การสื่อสาร

1. การสื่อสารโน้มน้าวใจ

การสื่อสารเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทั้งภายในบุคคลและระหว่างบุคคล แต่จะเกิดผลสัมฤทธิ์หรือประสิทธิผลต่อผู้รับสารตรงตามเป้าประสงค์ของผู้ส่งสารหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับกลวิธีการสร้างสาร การเลือกช่องทางการสื่อสาร ประกอบกับการลดช่องว่างระหว่าง การสื่อสารที่เกิดจากความแตกต่างกันทางด้านประสบการณ์ ความรู้ ความเชื่อ ของผู้ส่งสารและผู้รับสาร

การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจเป็นกลวิธีหนึ่งที่จะช่วยสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร รวมทั้งยังเป็นระบบการสื่อสารประเภทหนึ่งที่ทำให้ผู้ส่งสารเป็นที่ชื่นชอบของบุคคลรอบข้าง เนื่องจากเป็นวิธีการพยายามของมนุษย์ที่จะมีอิทธิพลเหนือพฤติกรรมของบุคคลอื่นผ่านการโน้มน้าวใจโดยวิธีการสื่อสารเท่านั้น โดยที่ไม่เป็น การพยายามสร้างอิทธิพลต่อบุคคลรอบข้างด้วยวิธีการทำร้ายหรือข่มขู่ แต่เป็นความพยายามเพื่อเปลี่ยนแปลงความรู้ (Knowledge) ทัศนคติ (Attitude) ความเชื่อ (Believe) ค่านิยม (Value) และพฤติกรรม (Performance) ของบุคคลอื่น

การสื่อสาร คือ อะไร?

มาทบทวนความหมายของการสื่อสาร ที่เป็นคำง่าย ๆ แต่ต้องทำความเข้าใจ เพื่อนำไปสู่กลไกในการโน้มน้าวใจตามกระบวนการสื่อสาร ประกอบด้วยการพิจารณา ขั้นตอนใดที่จะส่งผลต่อทิศทางการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจอย่างมีประสิทธิภาพ ลักษณะของผู้ส่งสาร สาร ผู้รับสาร และช่องทางการสื่อสาร องค์ประกอบสำคัญของการสื่อสาร ผ่านพื้นฐานทางจิตวิทยาสังคม และพฤติกรรมของมนุษย์สำหรับเป็นแนวทาง และเป็นกรอบทฤษฎีในการสร้างความเข้าใจ โดยในหนังสือเล่มนี้ จะพยายามอธิบายอย่างเป็นระบบ ตามลำดับ จากนั้นจะนำเข้าสู่หลักการนำเอาทฤษฎีไปประยุกต์ให้เข้ากับการทำงาน

2. การใช้เสียงและภาพในการโน้มน้าวใจ

เสียง เป็นส่วนหนึ่งในการสื่อสาร และมีส่วนสำคัญต่อการโน้มน้าวใจนับตั้งแต่วินาทีแรกของการสะกดให้ผู้คนหยุด นิ่ง สงบ ตั้งใจ

จดจ่อ มีสมาธิ เพื่อ… “ฟัง” เช่นเดียวกับที่นิตยสารการตลาดออนไลน์ ซึ่งเผยแพร่บทความการสื่อสารในสังคมออนไลน์ (Line) ของ Brand Buffet เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2561 โดยโปรยหัวเรื่องเป็นตัวหนังสือกราฟิก (Graphic)

“ทำไม? เวลา Jack Ma พูดใคร ๆ ก็อยากฟัง”

ประโยคง่าย ๆ แต่ทำให้เกิดความเข้าใจ ประกอบกับภาพ ของผู้ที่มีบทบาทสำคัญในยุคการตลาดดิจิทัล การใส่ภาพผู้ที่มีชื่อเสียง มีอำนาจ เป็นที่รู้จักในฐานะผู้นำทางการตลาด การเมือง การค้า การบริหารจัดการ เป็นต้น เช่น ภาพตัวตนแสดงท่าทางการสื่อสาร ของ แจ็ค หม่า (Jack Ma) แม้จะไม่ได้เป็นบุคคลแรกที่เปิดบริษัทขายสินค้าออนไลน์แต่ การจัดตั้ง Alibaba.com ซึ่งเป็นบุคคลที่มีสัญชาติเอเชีย แต่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างน่าสนใจ และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับโลกได้ แจ็คหม่าจึงเป็นผู้ส่งสารที่มีจุด โน้มน้าวใจอันทรงพลังในการดึงดูดให้ผู้คน… หยุด… ฟัง …. อ่าน … เข้าไปดู หรือชมหน้าเพจของอาลีบาบา รวมทั้งติดตามการเคลื่อนไหวของผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นมหาเศรษฐี ระดับโลก เพราะมนุษย์ถูกกระตุ้นด้วยคำว่า “รวย” จากการสื่อสารทุกรูปแบบและทุกเนื้อหาตลอดเวลา

เช่นเดียวกับที่ในประวัติศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองของประเทศมหาอำนาจ เช่น สหรัฐอเมริกา การใช้พลังที่มองไม่เห็น (Power of invisible) ของประธานาธิบดีแต่ละสมัยที่ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง คือ การหยุด (Paused) เน้นย้ำประโยคสำคัญ (emphasized) และการใช้จังหวะในน้ำเสียง (intoned) ที่สามารถสะกด “ผู้คนจำนวนมาก” ให้หันมาฟัง และสนใจ ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับที่แจ็คหม่า (Jack Ma) ใช้ในวิธีการพูด ภาษาอังกฤษช้า ๆ แต่ชัดเจน

“Keep it simple, stupid” แจ็ค หม่า ยอมรับกับตัวเองและกล่าวกับผู้คนทั่วไปว่า ตัวเขานั้นไม่มีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์แต่สามารถอธิบายเรื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็น เรื่องง่าย ๆ ได้

หรือ ประโยคที่พูดถึงการจ้างงานคนในองค์กรของแจ็คหม่า

3. กลยุทธ์การออกแบบสาร

ก่อนเข้าสู่การเข้าใจทักษะการรู้เท่าทันการสื่อสาร ซึ่งผู้อ่านจะต้องนำเอาแนวคิด ความรู้ความเข้าใจหลักการโน้มน้าวใจไปออกแบบสาร เพื่อให้เป็นไปตามทักษะด้าน ความสามารถในการผลิตสื่อที่เกิดจากการวิเคราะห์สื่อ จากการทำความเข้าใจจิตวิทยาเบื้องหลังที่เกิดจากการสื่อสารโน้มน้าวใจ และสามารถนำไปผลิตสื่อเพื่อให้เกิดการสร้างความรู้อย่างเท่าทันให้กับผู้รับสารได้นั้น จะต้องมีทักษะในการบ่มเพาะกลยุทธ์ในการออกแบบ สารให้โดดเด่น และแตกต่าง ท่ามกลางสารสนเทศจำนวนมาก

เรียนให้รู้ทัน ทำให้รู้คิด
พินิจแยกแยะจากประสบการณ์ผลิตด้วยตนเอง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเปิดรับข้อมูลสารสนเทศที่มีเนื้อหาจำนวนมากสิ่งที่จะต้องพิจารณาให้ความสำคัญอันดับแรก คือ ข้อมูลนั้นเป็นข้อเท็จจริง อ้างอิงได้จากที่ใด แหล่งใด มาจากที่ใด ก่อนที่จะเผยแพร่หรือนำไปสื่อสารต่อด้วยการใช้วัจนสารและอวัจนสาร ที่แสดงให้เห็นความหมายและคุณค่าของคำที่จะนำไปตีความต่ออย่างเกิดประโยชน์ต่อสังคม และสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ไม่ทำให้เกิดความขัดแย้งหรือความแตกต่างในสังคม ทั้งนี้ องค์ประกอบของข้อเท็จจริงประกอบด้วย ข้อมูลที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริง

โดยข้อเท็จจริงขึ้นอยู่กับแหล่งข้อมูลของข้อมูลด้วยว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด รวมกับ ข้อมูลตัวเลขที่เป็นสถิติ (statistics) ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ แสดงการเพิ่มลด ให้เน้นถึงปริมาณมากน้อย อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท (2554, น. 185) ระบุว่าการนำเสนอหลักฐานอ้างอิงด้วยจำนวนตัวเลขที่มากกว่าการยกตัวอย่างเพียงหนึ่งหรือสองตัวอย่าง จะทำให้หลักฐานใน การอ้างอิงนั้นมีความน่าเชื่อถือและมีน้ำหนักเพียงพอที่จะโน้มน้าวใจให้เชื่อได้

4. รู้เท่าทันการโน้มน้าวใจในยุคดิจิทัล

หากวันหนึ่งตื่นขึ้นมา แล้ว พบว่า “โลกใบนี้มีตัวคุณอยู่เพียงลำพัง สื่อที่เคยเปิดรับทุกวันมีแต่ความว่างเปล่า เมื่อก้าวออกจากบ้าน ถนนโล่ง ไม่มีผู้คน รถ และสิ่งมีชีวิตใด ๆ ที่คุ้นชินให้เห็นอย่างทุกวัน ไม่เพียงเท่านั้นสัญญาณโทรศัพท์ที่คุณกำลังพยายามกดหาหมายเลขโทรศัพท์ในมือถือ เพื่อติดต่อครอบครัว เพื่อน หรือคนรู้จักเหลือแต่เพียง เสียงสัญญาณ แต่ไม่มีผู้รับสาย” เช่นเดียวกับช่วงที่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ส่งผลให้ผู้คนต้องอยู่ห่างกัน (Social Distancing) ต้องเก็บตัว อยู่ในบ้าน (Home Quarantine) สื่อออนไลน์กลายเป็นเครื่องมือการสื่อสารที่สำคัญที่ทำให้คนคลายความเครียดจากความเหงา แต่ในอีกด้านหนึ่งของสถานการณ์ความเหงา และความโดดเดี่ยวของวิถีการดำเนินชีวิตใหม่ (New Normal) ทำให้แต่ละคนรู้คุณค่าของ การอยู่กับผู้คนในสังคมมากขึ้น

ช่วงเวลาที่คนเราอยู่ตามลำพังหรือแม้จะอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม “สื่อ” จึงเป็นช่องทางในการทำให้คลายความเครียดสร้างความสุข การสื่อสารจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างสังคมให้ผู้คนอยู่ร่วมกันโดยปราศจากข้อขัดแย้งท่ามกลางการแย่งชิงผลประโยขน์ที่ไม่ใช้อาวุธและกำลังทำร้ายร่างกายเช่นสัตว์ทั่วไป การสื่อสาร เพื่อโน้มน้าวใจผู้อื่นจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญของเป้าหมายในการสื่อสารของผู้ส่งสาร และกลายเป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้คนตกอยู่ใต้อิทธิพลของเนื้อความในสารทั้งในทางบวก และลบ เช่น

ในทางบวก คือ การได้รับความชื่นชมยินดีจนหลงลืมความจริง และใช้ชีวิต อยู่ห่างจากสภาพที่เป็นจริง ในทางลบจะเกี่ยวกับการได้รับข้อมูลสารสนเทศที่ไม่ถูกต้อง (Fake) หรือการถูกละเมิดสิทธิโดยการแอบอ้างใช้ชื่อ นามสกุล บัตรประจำตัวประชาชน เพื่อการได้มาซึ่งผลประโยชน์ เช่น การรับเงินบริจาค การอ้างความเดือดร้อนและร้องขอ ความช่วยเหลือ หรือการอ้างตนเป็นตัวกลางในการช่วยเหลือผู้ที่กำลังประสบปัญหาทั้ง ภัยพิบัติ อุบัติเหตุ หรืออื่นใด หรือการใช้การสื่อสารดิจิทัลเพื่อตกแต่ง เปลี่ยนแปลงทำให้ เกิดภาพที่ไม่ตรงตามความจริง

เช่น รูปร่างหน้าตาสีผิวสีตาไม่ตรงกับตัวตนที่แท้จริงจนทำให้เกิดการหลงใหลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำไปสู่การให้เงิน สิ่งของที่มีมูลค่ามากโดยเสน่หา จนทราบภายหลังว่ามิได้เป็นไปตามที่ระบุ เหตุการณ์เหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่เกิดจาก การอิทธิพลของการสื่อสารที่นำไปสู่การตีความหมายและการเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์หรือ ในทางจิตวิทยาสังคม เรียกว่า พฤติกรรมศาสตร์ที่นำมาซึ่งปลายทางหรือผลของการสื่อสารเพื่อปกป้องสิทธิส่วนบุคคลโดยเฉพาะในโลกการสื่อสารออนไลน์ที่มีบทบาทมากในสังคม ด้วยมาตรการทางกฎหมาย

5. การวัดทัศนคติในการโน้มน้าวใจยุคดิจิทัล

ทำไมเหตุการณ์บางอย่าง ข้อความบางอย่าง คนบางคนจึงเชื่ออย่างงมงาย คนบางคนไม่เชื่อเลย บางคนเข้าใจว่าเป็นการสร้างข้อความเท็จ หรือสร้างภาพเท็จ แต่บางคนกลับมองว่าภาพนั้นเป็นจริง การสื่อสารในลักษณะเดียวกันเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมนุษย์ได้อย่างชัดเจน จนกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยค่อยเป็นค่อยไป หรือ บางคนเปลี่ยนไปทันทีทันใด ในขณะที่อีกหลายคนไม่ยอมรับเลย ปฏิเสธตลอดโดยเฉพาะกับคนใกล้ชิด คนในครอบครัว แต่จะเชื่อคนห่างไกลตนเอง ทั้งหมดขึ้นอยู่กับทัศนคติหลัง เปิดรับข้อมูลข่าวสารทั้งที่เป็นวัจนภาษาและอวัจนภาษา ซึ่งในการวิจัยสามารถจะประเมินจากการวัดทัศนคติของคนได้

6. รู้เท่าทันการสื่อสารยุคดิจิทัล

การศึกษาผลกระทบของสื่อเริ่มต้น ครั้งแรกในช่วงปี ค.ศ. 1920 ที่ประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ และรัสเซีย (Fedorov, A., 2008) ในงานประชุมวิชาการนานาชาติที่ประเทศฝรั่งเศส มีการแลกเปลี่ยนประเด็นการศึกษา แนวคิดการศึกษาสื่อ (Media Education) ผ่านสารที่ สื่อออกมาก ในช่วงแรกคือการแสดงความคิดเห็นถึงการที่ภาพยนตร์แสดงเนื้อหา ในปี ค.ศ. 1936 มีการรวมกลุ่มภาพยนตร์กับเยาวชน (Youth – Cinema)

เพื่อให้เด็ก ๆ ช่วยกันวิเคราะห์ภาพยนตร์โดยอาศัยหลักการศึกษาจากองค์ประกอบของภาพยนตร์ สุนทรียะ และสิ่งที่เป็นอุปสรรคปัญหาของการนำเสนอแนวคิดสะท้อนสังคมของผู้กำกับ และจัดตั้ง เป็นชมรม Federation francaise des cineclubs เช่นเดียวกับในประเทศอังกฤษ ชั้นเรียน ในสถานศึกษาต่าง ๆ นำเอาภาพยนตร์มาทำการวิเคราะห์เพื่อหาสิ่งที่สะท้อนสภาพสังคม ผ่านผลงานของผู้กำกับ โดยใช้หลักการคล้ายกันในการวิเคราะห์ภาพยตร์

สรุป

สำหรับการเข้าใจความหมายของการรู้เท่าทันการสื่อสาร ซึ่งมีองค์ประกอบ ที่ครอบคลุมตั้งแต่เกิด ดำเนินชีวิต โดยมีคำอธิบายทั้งทางจิตวิทยาพฤติกรรม การสื่อสาร และการได้รับอิทธิพลจากการสื่อสารของผู้คนในสังคม ที่ผู้อ่านจะต้องทำความเข้าใจ อย่างลึกซึ้ง ทั้งความหลากหลายทางความคิด หลากหลายทางอารมณ์และหลากหลาย เผ่าพันธุ์ การเรียนรู้การโน้มน้าวใจ อันเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำความเข้าใจการสื่อสาร อย่างรู้เท่าทันในสังคมดิจิทัล ไม่เพียงเท่านั้น ความหลากหลายในการได้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อตอบสนองตนเองของมนุษย์ เป็นเรื่องที่มนุษย์ต้องเท่าทันกันอย่างมาก โดยเฉพาะในโลกยุคการสื่อสารที่ไม่มีวันหยุด

เอกสารอ้างอิง

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2554). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

Fedorov, A. (2008). On media education. Moscow: ICOS UNESCO IFAP.

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน