6 กระบวนการออกแบบปกหนังสือที่มีคุณภาพ

6 กระบวนการออกแบบปกหนังสือที่มีคุณภาพ โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร เริ่มต้นต้องบอกก่อนว่าการออกแบบนั้นอาจจะไม่มีสูตรสำเร็จ แต่เราสามารถยึดหลักการและทฤษฎีได้ 6 กระบวนการที่นำมาเสนอนี้เป็นวิธีการหลัก ๆ ที่ทีมงาน Design ของสำนักพิมพ์ ม.นเรศวร ได้พิจารณาและลงความเห็นว่าเป็นกระบวนการที่เราใช้มาเกือบ ๆ 10 ปี ที่มีการเริ่มทำหนังสือ น่าจะปฏิเสธไม่ได้ว่าจากการสืบถามผู้อ่านหนังสือที่เลือกซื้อหนังสือ ปัจจัยที่ช่วยตัดสินใจซื้อหนังสือเล่มหนึ่งก็จะมีเร่องของปกเข้ามาเป็นปัจจัยในการตัดสินใจซื้อด้วย สำนักพิมพ์ฯ จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการออกแบบปกเป็นอย่างมากไม่ต่างจากการควบคุมคุณภาพของเนื้อหา เรามาดูกันเลยว่า 6 กระบวนการตามสูตรของสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร มีอะไรบ้างและเขาทำกันอย่างไร

6 กระบวนการออกแบบปกหนังสือที่มีคุณภาพ

1. รับฟังข้อเสนอ

กระบวนการที่ 1 รับฟังข้อเสนอ ทีม Design จะสอบถามนักเขียนถึงข้อมูลของหนังสือ ความต้องการของนักขียน สี ฟอนต์ รูปแบบที่ต้องการ หรืออีกแบบเราจะเรียก Requirements ก้ได้จากนั้นทีม Design ก็จำนำโจทย์ที่ได้รวบรวมเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการทำงานในกระบวนการถัดไป แต่ต้องบอกก่อนว่าอาจจะไม่ได้เอามาใช้เป็นตัวตัดสินใจทั้งหมดและยังมีอีก 5 กระบวนการที่จะต้องทำต่อไป

6 กระบวนการออกแบบปกหนังสือที่มีคุณภาพ

2. ใคร คือ กลุ่มเป้าหมาย

เมื่อได้โจทย์จากกระบวนการที่ 1 ออกมาแล้วกระบวนการที่ 2 นี้จะเป็นกระบวนการคิดครั้งแรกที่เราจะต้องมาตักรอบว่ากลุ่มเป้าหมายของเราคือใครที่จะซื้อหนังสือเรารวบรวมข้อมูลให้มากที่สุด เช่น เพศ อายุ อาชีพ Lifestyle รวมถึง Skill ของคนที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้ เพศ อายุ เป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องวิเคราะห์ เป็นอย่างมากเพราะหนังสือบางเรื่องมีเนื้อหาที่เหมาะสมกับช่วงอายุ เช่น หนังสือวิชาการของสำนักพิมพ์ ม.นเรศวร มีเนื้อหาแบ่งเป็นนิสิต นักศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท-เอก และนักวิจัย อาชีพ และ Lifestyle ที่แตกต่างกัน รวบถึงหนังสือที่อาจจะต้องตอบโจทย์ Skill ที่เข้าสนใจ

6 กระบวนการออกแบบปกหนังสือที่มีคุณภาพ

3. Research

เสร็จสิ้นกระบวนการที่ 1 และ 2 แล้ว กระบวนการที่ 3 เป็นกระบวนการที่ทีม Design ทำงานหนักที่สุดเพราะจะต้องรวบรวมขึ้มมูลทั้งกระบวนการ 1 และ 2 มาวิเคราะห์และหาข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น หนังสือเรื่องคล้าย ๆ กนในท้องตลาด หาจุดแข็ง จุดอ่อน ของหนังสือที่มีอยู่กับหนังสือของเรา วิเคราะห์แนวการออกแบบของหนังสือในศาสตร์ต่าง ๆ เช่น ทางการแพทย์ ทางสังคมศาสตร์ หรือทางเทคโนโลยี ว่าจะมี Keyword อะไรที่เป็นจุดสำคัญสำหรับการออกแบบที่จะทำให้นักอ่านเห็นแล้วรู้สึกว่าหนังสือเล่มนี้น่าสนใจ และต้องหยิบมาอ่านเพื่อหาคำตอบ

6 กระบวนการออกแบบปกหนังสือที่มีคุณภาพ

4. ต้องการสื่อสารอะไร?

เมื่อผ่านกระบวนการสุดหินมาถึง 3 กระบวนการแล้ว เรามาถึงขึ้นตอนการถามตัวเองและทีมงานออกแบบแล้วว่างานที่เราจะทำนี้จะต้องสื่อสารอะไร? ออกไปให้นักอ่านรู้ว่าหนังสือเล่มนี้กำลังอธิบายเนื้อหาในเล่มอยู่ด้วยตัวปก กระบวนการนี้อาจจะคิดวนไปวนมา และถกเถียงในทีม Design กันอย่างมาก

6 กระบวนการออกแบบปกหนังสือที่มีคุณภาพ

5. ยึดหลักทฤษฎีในการออกแบบ

การออกแบบจะต้องยึดหลักของทฤษฎีทั้ง Color Theory, Golden Ratio, Guide and Grid Theory ที่เป็นแกนหลังในการออกแบบที่นักออกแบบจะต้องยึดและปฎิบัติตามทฤษฎี

Guide and Grid Theory

Poster Version 2 Posted by Seth Wilson at Saturday, December 11, 2010

จากตัวอย่างที่ยกมาเป็น 2 ทฤษฎี การออกแบบที่ทางสำนักพิมพ์ฯ ยึดเป็นหลักในการออกแบบ การแบ่ง Guide and Grid สำหรับการออกแบบงาน รวมถึงการใช้สีตาม Color Theory แบ่งโทนสีร้อน โทนสีเย็น หลัการใช้สีตรงข้าม หรือสามารถใช้ Tools ช่วยสำหรับการจับคู่สี 10 เว็บไซต์ จับคู่สี ออกแบบงานได้สวยทันตา

6. จินตนาการผลงานเมื่อพิมพ์ออกมา

กระบวนการนี้บอกได้ว่าต้องใช้ประสบการณ์ของทีม Design จริง ๆ เพราะจะต้องเข้าใจเรื่องระบบงานพิมพ์หลักการสี เทคนิคการพิมพ์ต่าง ๆ เช่น หลักการผสมสี แยกสี การใช้เทคนิคพิมพ์ทอง กดนูน กดจม การยิงสปอต UV วัสดุในการเคลือบปก เป็นแบบ PVC ด้าน หรือการอาบ UV ลักษณะของการเข้าสันหนังสือ และที่สำคัญก็คือการใช้กระดาษในการพิมพ์ การออกแบบจะต้องเข้าได้กับกระดาษที่ต้องการพิมพ์ คุณสมบัติของกระดาษ มีหลากหลายมากมายทีม Design จะต้องตกลงก่อนเลยว่าจะใช้เทคนิคการพิมพ์แบบไหน กระดาษอะไรใที่จะใช้ในการพิมพ์เพื่อสนับสนุนงานออกแบบของเรา ทั้งหมดที่กว่ามานี้ยังไม่ได้พิมพ์นะ เป็นเพียงแค่จิตนาการของทีม Design เท่านั้นที่จะต้องมองภาพของหนังสือให้ออกเมื่อพิมพ์อออกมา

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน