ทำความรู้จักกระดาษ สำหรับงานพิมพ์หนังสือ

กระดาษ ถือเป็นวัตถุดิบหลักในกระบวนการพิมพ์หนังสือแบบเล่มมาอย่างยาวนาน ถึงแม้ในปัจจุบันการอ่านหนังสือจะมี 2 ทางเลือก คือ รูปแบบเล่ม (ที่ต้องใช้กระดาษในการพิมพ์) และแบบ E-book ที่สามารถอ่านผ่านอุปกรณ์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือแท็บแล็ตได้โดยไม่ต้องใช้กระดาษ แต่อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมหนังสือยังคงทำทั้ง 2 รูปแบบนี้ควบคู่กันเสมอ โดยการพิมพ์หนังสือของแต่ละเล่ม แต่ละสำนักพิมพ์นั้น จะเลือกใช้กระดาษที่แตกต่างกันออกไปมากมายตามความสวยงาม ความเหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน ลักษณะของงานพิมพ์ รวมถึงการควบคุมต้นทุนของราคาหนังสืออีกด้วย กระดาษแต่ละชนิดจะเหมาะสมกับงานพิมพ์ตามรูปแบบเฉพาะ เราจึงมาทำความรู้จักประเภทของกระดาษต่าง ๆ สำหรับงานพิมพ์หนังสือและมาตรฐานของขนาดกระดาษกัน

กระดาษ

ก่อนเริ่มต้นเรียนรู้จักกระดาษต่าง ๆ เรามาลองนึกถึงกระดาษที่อยู่ใกล้ตัวเรากันก่อน อันดับแรก เราก็จะเห็นกระดาษขนาด A4 สีขาว ที่เราคุ้นเคยกันก่อนเลย ซึ่งที่ไปที่มาของกระดาษ A4 หรือ A3 ที่เราคุ้นเคยกันนั้นเป็นอย่างไรเรามาเริ่มกันเลย

มาตรฐานของขนาดกระดาษ ISO 216

มาตรฐานขนาดกระดาษในระบบ ISO 216 ถูกกำหนดขึ้นโดยมีพื้นฐานแนวคิดมาจากมาตรฐานระบบ German DIN 476 จุดเด่น คือ หากนำกระดาษขนาดตามมาตรฐาน 1 แผ่นมาพับครึ่ง ขนาดของกระดาษที่พับแล้วยังคงมีอัตราส่วนเท่ากัน และหากพับครึ่งไปอีกก็ยังมีสัดส่วนเดียวกันหมด ประโยชน์ที่ได้ คือ เมื่อนำกระดาษไปใช้ในงานพิมพ์ต่าง ๆ จะตัดแบ่งหรือย่อส่วน ก็จะไม่เหลือเศษกระดาษที่ต้องทิ้ง ขนาดกระดาษ ISO 216 แบ่งออกเป็น 3 ชุด หรือ 3 Series

ขนาดกระดาษชุด A หรือ A Series

ชุด A หรือ A Series จะมีขนาด (w x h) 84.1 x 118.9 cm เริ่มตั้งแต่ ขนาด A0 ไปจนถึง A10 เป็นมาตรฐานชุดที่เราคุ้นเคยกันอย่างแน่นอน และถูกนำใช้กันแพร่หลายที่เรารู้จักดี คือ กระดาษ A4 เป็นขนาดของกระดาษที่ใช้กันมากในปัจจุบัน และยังมีกระดาษ A2 (พับ A0 แบ่ง 4) กระดาษ A3 (พับ A2 แบ่ง 4) กระดาษ A5 (พับ A4 แบ่ง 2) ที่อยู่ในกระดาษชุดนี้อีกด้วย โดยกระดาษชุด A Series นี้จะมีสัดส่วนกว้าง x ยาว เท่ากับ 1 : 1.618 เสมอ

ขนาดกระดาษชุด B หรือ B Series

กระดาษชุดที่ 2 หรือ B Series มีขนาด (w x h) 100 x 141.4 cm เป็นกระดาษที่มีขนาดความยาวน้อยกว่า A Series แต่มีความกว้างที่มากกว่า โดยหลักกระดาษชุดนี้จะมีมาตราฐานความกว้างที่มากกว่าทำให้เป็นที่นิยมในการนำมาพิมพ์หนังสือ โปสเตอร์

ขนาดกระดาษชุด C หรือ C Series

มาถึงชุดสุดท้าย ชุด C หรือ C Series มีขนาด (w x h) 91.7 x 129.7 cm กระดาษชุดนี้จุมีขนาดที่ใหญ่กว่า A Series ซึ่งแต่ละขนาดของชุด C นี้จะมีความสัมพันธ์กันกับชุด A นี่จึงอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ชุด C เราอาจจะไม่คุ้นเคยและได้ใช้งานทั่วไปมากนักเพราะกระดาษชุด C จะนิยมนำไปทำเป็นซองเอกสารสำหรับใส่กระดาษขนาด A4, A3, A5 หรือ B5 ที่เราใช้งานกันอย่างแพร่หลายซึ่งอาจจะเข้าใจได้ว่ากระดาษชุด C อาจจะเป็นที่นิยมในระดับโรงงานหรือโรงพิมพ์ที่ต้องผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใส่กระดาษในชุด A Series และ B Series

ชนิดของกระดาษ

ข้างต้นเราได้รู้จักชุดกระดาษทั้ง 3 ขนาดไปแล้ว ในเรื่องต่อมาเราจะมารู้จักชนิดกระดาษที่เราใช้งานกันว่าที่เราเห็นกระดาษมีความหนามีสี หรือมีผิวสัมผัสที่แต่งต่างกันนั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง

กระดาษปอนด์

กระดาษ

เป็นกระดาษชนิดแรกที่เราคุ้นเคยและนิยมกันอย่างมาก มีสีขาว ผิวเรียบ ที่เรารู้จักกันดี คือ กระดาษ A4 ใช้พิมพ์เอกสาร รายงานทั้วไปนั้นเอง และจะมีความหนาของกระดาษอยู่ที่ 70 – 120 แกรม โดย 70-80 แกรม เป็นความหนาที่เราหาซื้อได้จากท้องตลาดทั่วไปได้ เหมาะกับงานพิมพ์รายงาน เอกสาร หนังสือเรียนทั่วไป

กระดาษถนอมสายตา

กระดาษ

กระดาษถนอมสายตา หรือที่เรารู้จักกันในชื่อกระดาษ Green Read ที่มีลักษณะเฉพาะ สีเหลืองอ่อน ๆ คุณสมบัติที่ช่วยถนอมสายตาลดแสงขาวที่วิ่งเข้าสู่ดวงตาของเรา กระดาษชนิดนี้จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในการผลิตหนังสือ ตำรา ที่ต้องใช้ระยะเวลาในการอ่านนาน ๆ ความหนาจะอยู่ที่ 75-85 แกรม เหมาะกับหนังสือที่มีเนื้อหาค่อนข้างเยอะ เช่น หนังสือเรียน หนังสือนิยาย หนังสือทั่วไปที่เราเห็นได้ในท้องตลาด

โดยส่วนใหญ่แล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร ก็จะใช้เนื้อในเป็นกระดาษถนอมสายตาเป็นหลักด้วยคุณภาพของกระดาษที่ดี และทนทานต่อการใช้งานรวมถึงถนอมสายตาของผู้อ่านได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

กระดาษอาร์ต

เป็นกระดาษที่ผ่านการเคลือบผิว มีทั้งแบบเคลือบด้านเดียวและแบบสองด้าน จะมีความหนาตั้งแต่ 90–350 แกรม โดยกระดาษอาร์ตจะแบ่งออกเป็น 3 แบบ

กระดาษอาร์ตมัน เนื้อกระดาษมีลักษณะเป็นมันเงา งานพิมพ์ออกมามีความใกล้เคียงกับสีจริง เหมาะกับการทำนิตยสาร โปสเตอร์ หนังสือโฟโต้บุ๊ค เป็นต้น โดยความหนาของกระดาษที่ 105-120 แกรม จะนำมาทำเนื้อหาของหนังสือ หรือแผ่นพับ ส่วนความหนาที่ 290-350 แกรม เหมาะกับการนำมาทำปกหนังสือ หรืองานพิมพ์ที่ต้องการความแข็งแรงมาก ๆ

กระดาษ

กระดาษอาร์ตด้าน เนื้อกระดาษมีลักษณะเรียบด้าน ไม่มันเงา เหมาะสำหรับการทำใบปลิว แผ่นพับ เช่นเดียวกับกระดาษอาร์ตมัน แต่หากชิ้นงานนั้นไม่ต้องการความมันเงา กระดาษกระดาษอาร์ตด้านก็จะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี

กระดาษอาร์ตการ์ด กระดาษเนื้อแน่น มีพื้นผิวที่สามารถทำให้เรียบเนียนทั้งสองด้าน หรือด้านเดียวก็ได้ แบ่งเป็นอีก 2 ประเภท

  • กระดาษอาร์ตการ์ดแบบ 1 หน้า รองรับการพิมพ์อาร์ตเพียงด้านเดียว เช่น ปกหนังสือ กล่องบรรจุภัณฑ์ โปสเตอร์ เป็นต้น ที่ไม่ต้องการความมันเงา หรือสีที่สดมากเกินไปด้วยคุณสมบัติที่ดูซับน้ำหมึกมากกว่ากระดาษประเภทอื่น ๆ
  • กระดาษอาร์ตการ์ดแบบ 2 หน้า เหมาะสำหรับพิมพ์ที่สามารถพิมพ์อาร์ตทั้ง 2 ด้าน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เช่น นามบัตร โปสการ์ด เป็นต้น

กระดาษปรู๊ฟ

เป็นกระดาษที่มีความบางเบา คุณภาพเนื้อกระดาษค่อนข้างต่ำ เหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่ไม่ต้องการอายุการใช้งานที่ยาวนาน เหมาะสำหรับการพิมพ์ แบบทดสอบ/ข้อสอบ หนังสือพิมพ์

กระดาษคราฟท์

กระดาษ

เป็นกระดาษสีน้ำตาลเข้ม ที่มีความหนาที่หลากหลายนิยมนำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์ ป้ายราคาสินค้า กระดาษสำหรับทำกล่อง หรือ Packaging ที่ให้อารมณ์ของการรักสิ่งแวดล้อม เพราะกระบวนการผลิตกระดาษนั้นมาจากการรีไซเคิลกระดาษเก่านั้นเอง

กระดาษชนิดพิเศษ

สุดท้ายนี้ยังมีกระดาษอีกหลากหลายประเภทมากมายที่ไม่อาจจะระบุประเภทได้ชัดเจน เนื่องจากเป็นทั้งกระดาษนำเข้าจากต่างประเทศ กระดาษที่ผลิตขึ้นมาใช้เฉพาะงานบางประเภท รวมถึงกระดาษที่ผลิตขึ้นมาเท่าเทียมกับกระดาษที่มีและใช้งานอยู่แล้ว เช่น

1) กระดาษ Brisk Texture คุณสมบัติเคลือบผิวมีลายในตัวเพิ่มมิติพิเศษให้กับงานพิมพ์ ให้ผลลัพธ์งานพิมพ์ที่มีสีอิ่มสด ขึ้นเงา ได้สีสว่างสดใสตามที่ต้องการ ด้วยเอกลักษ์พิเศษที่เป็น Texture นิยมนำมาพิมพ์ปก

กระดาษ

2) กระดาษจริงใจ พื้นกระดาษสีเหลืองนวลเพิ่มความสว่างให้กับงานพิมพ์ทำให้อ่านได้ง่ายขึ้น และเพื่อสุขภาพของดวงตา

กระดาษ

3) กระดาษ Green Ocean กระดาษเฉดสีครีมให้ความนุ่มนวลในการอ่าน เหมาะสำหรับหนังสือ สมุด และ ตำราเรียน ลดแสงขาวเป็นมิตรต่อสายตา และสิ่งแวดล้อม

นักศึกษาฝึกงานมหาวิทยาลัยนเรศวร คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร สาขาวิชาบริหารธุรกิจ