ยุงทางการแพทย์

เชื่อไหม!! ” ยุง ” มีความสำคัญทางการแพทย์ ชนิดที่คุณคาดไม่ถึง

เชื่อไหม!! ” ยุง ” มีความสำคัญทางการแพทย์ ชนิดที่คุณคาดไม่ถึง
ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับยุงแต่ละชนิดที่สําคัญทางการแพทย์ ของประเทศไทย มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาหรือค้นคว้าหาวิธีการที่จะนํามาใช้ เพื่อกําจัดยุงเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถสืบค้นได้ง่ายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์ความรู้ที่เป็นภาษาไทย ซึ่งไม่ได้ถูกเผยแพร่ออกไปในวงกว้าง มักจํากัดอยู่ในหน่วยงานราชการ หรือสถานศึกษาที่มีการเรียนการสอนทางด้าน วิทยาศาสตร์สุขภาพ อีกทั้ง องค์ความรู้หรือข้อมูลดังกล่าวมักมีภาพประกอบเป็นภาพวาด ซึ่งแม้ว่าจะสามารถแสดงรายละเอียดของยุงได้ชัดเจน แต่กลับไม่สามารถทําให้ผู้อ่าน จินตนาการถึงภาพจริงของยุงเหล่านั้นได้ สิ่งเหล่านี้ได้จุดประกายให้ผู้นิพนธ์สนใจ และต้องการที่จะจัดทําและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับยุงที่สําคัญทางการแพทย์ของ ประเทศไทยให้ออกสู่วงกว้าง โดยมีข้อมูลของยุงแต่ละชนิด มีภาพประกอบ ซึ่งเป็นภาพถ่ายที่มีความชัดเจน อันจะทําให้ผู้อ่านนึกจินตนาการตามได้โดยง่าย โดยผู้นิพนธ์มีความคาดหวังว่า จะสามารถกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความตื่นตัว และเห็นความสําคัญของยุง รวมถึงโรคที่นําโดยยุงเหล่านั้น

ยุงในประเทศไทย_1

ยุงในประเทศไทย_2

นอกจากนี้ เนื้อหาส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ได้บรรยายถึงเทคนิค ที่ใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับยุง เพื่อหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษา นักวิจัย รวมทั้ง ผู้ที่สนใจที่ต้องการนํายุงจากธรรมชาติมาศึกษาในห้องปฏิบัติการ โดยผู้นิพนธ์ได้บรรยาย ถึงเทคนิคที่จําเป็นในการเพาะเลี้ยงยุง ไปจนถึงเทคนิคที่ใช้ในการศึกษาด้านต่างๆ เกี่ยวกับ ยุง ทั้งนี้ เทคนิคที่กล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้ ถือเป็นเทคนิคพื้นฐานที่สําคัญ ซึ่งผู้นิพนธ์หวัง ว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจไม่มากก็น้อย

1.การจัดจำแนกยุง

ยุงเป็นแมลงที่จัดอยู่ในชั้น (Class) Insecta อันดับ (order) Diptera และวงศ์ (family) Culicidae สามารถจัดแบ่งได้เป็น 2 วงศ์ย่อย (Subfamilies) (เอกพจน์ = subfamily) คือ Anophelinae และ Culicinae ยุงทั้ง 2 วงศ์ย่อย ประกอบด้วย 42 สกุล (genera) (เอกพจน์ = genus) ทําให้ทั่วโลกมีชนิดของยุงอยู่มากกว่า 3,500 สปีชีส์ (species) ยุงสามารถถูกจัดลําดับทางวิทยาศาสตร์ (Scientific classification) ได้ดังนี้

ยุงในประเทศไทย_12
ยุงในประเทศไทย_3

2.สัณฐานวิทยา ชีววิทยา และชีวนิสัยของยุง

ยุงเป็นแมลงที่มีลักษณะการเจริญเติบโตแบบมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง อย่างสมบูรณ์ (complete metamorphosis หรือ holometabolous development) วงจรชีวิตของยุงประกอบด้วยระยะไข่ (egg), ลูกน้ํา (larva), ตัวโม่ง (pupa) และตัวเต็มวัย (adult) (รูปที่ 2.1) แต่หากพูดถึงยุงโดยทั่วไปแล้ว ตัวเต็มวัยเป็นระยะที่คนทั่วไปนึกถึง เป็นอันดับแรก โดยลูกน้ําเป็นระยะที่จะถูกนึกถึงเป็นลําดับต่อมา การดํารงชีพของยุงต้อง อาศัยน้ําเป็นแหล่งเติบโตของไข่ ลูกน้ํา และตัวโม่ง สําหรับตัวเต็มวัยนั้น แม้ไม่ต้องอาศัย อยู่ในน้ํา แต่ก็ต้องอยู่ในสภาวะที่มีความชื้น เพราะหากยุงตัวเต็มวัยอยู่ในที่ที่มีอากาศแห้ง ยุงอาจตายได้โดยง่าย ยุงแต่ละชนิดและแต่ละระยะมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่แตกต่าง กันออกไป อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงยุงโดยทั่วไปแล้ว ลักษณะทางสัณฐานวิทยา ของแต่ละระยะมีดังนี้

ยุงในประเทศไทย_13
ยุงในประเทศไทย_4

3.ยุงที่มีความสำคัญทางการแพทย์และยุงที่พบได้บ่อยในประเทศไทย

ยุงลาย หมายถึงยุงที่จัดอยู่ในสกุล Aedes เป็นยุงที่มีความสําคัญในการเป็น พาหะนําโรคไข้เลือดออกเด็งกี่ (dengue fever และ dengue hemorrhagic fever) และไข้ปวดข้อยุงลาย (chikungunya) คําว่า “ยุงลาย” นั้น มาจากลักษณะของลวดลาย ขาวดํา ที่พบได้ทั้งบริเวณลํา ตัวและขา ยุงลายที่พบได้บ่อยและมีความสําคัญ ในประเทศไทยนั้น คือ ยุงลายบ้าน (Ae. aegypti) (yellow fever mosquito) และยุงลายสวน (Ae. albopictus) (Asian tiger mosquito) จากการศึกษาของ Reinert, et al. (2004) ได้เสนอให้มีการจัดจําแนกและเปลี่ยนแปลงชื่อสกุล (genus) Aedes ขึ้นใหม่ โดยเปลี่ยนเป็นสกุล Stegomyia ซึ่งในอดีตยุงลายในประเทศไทยจัดอยู่ ในสกุล Aedes และสกุลย่อย (Subgenus) Stegomia ดังนั้น ยุงลายบ้านจึงมีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า Aedes (Stegormia) aegypti แต่การศึกษาของ Reinert, et al. (2004) นั้น ได้ยกระดับสกุลย่อย Stegomyia ขึ้นมาเป็นระดับสกุล และใช้ทดแทนสกุลเดิม (Aedes) ดังนั้นยุงลายบ้านจึงถูกจัดจําแนกใหม่เป็น Stegomyia (Stegomyia) aegypti และยุงลาย สวนเป็น Stegomyia (Stegomyia) albopicta (สําหรับยุงลายสวนนั้น ชื่อสปีชีส์ได้ถูก เปลี่ยนแปลงด้วย โดยการตัดอักษร 3 ตัวสุดท้ายออก จาก albopictus เป็น albopicta) อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันชื่อวิทยาศาสตร์ทั้งแบบเก่าและแบบใหม่ของยุงลายทั้ง 2 ชนิดได้ถูกใช้ แต่ชื่อวิทยาศาสตร์แบบเก่าคือ Aedes (Stegormyia) aegypti และ Aedes (Stegomyia) albopictus นั้น ยังคงได้รับความนิยมใช้มากกว่า

ยุงในประเทศไทย_5

4.โรคติดต่อนำโดยยุงในประเทศไทย

การถูกยุงกัดนั้น นอกจากจะทําให้สูญเสียเลือดและเกิดการระคายเคือง ที่ผิวหนังแล้ว ยังมีโอกาสติดเชื้อไวรัสและปรสิตหลายชนิดที่อาศัยยุงเป็นพาหะนําพาไปยัง โฮสต์ (host) ที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม การที่ยุงชนิดใดจะนําพาไวรัสหรือปรสิตชนิดใดได้ ยุง และไวรัสหรือปรสิตชนิดนั้นจะต้องมีความสัมพันธ์ต่อกัน โดยเชื้อโรคต้องสามารถ เติบโตอาศัยอยู่ในตัวยุงพาหะได้ และยุงเองก็ต้องยินยอมให้เชื้อโรคอาศัยอยู่ในร่างกาย ได้ด้วยเช่นกัน ความจําเพาะดังกล่าว เป็นเหตุให้โรคมาลาเรียถูกนําโดยยุงก้นปล่อง หรือโรคไข้เลือดออกเด็งกี่ถูกนําโดยยุงลายเท่านั้น

ยุงในประเทศไทย

5.การจับยุงจากภาคสนาม

การจับยุงจากภาคสนาม (held sampling of mosquitoes) เป็นการสุ่มสํารวจ และนํายุงชนิดที่ต้องการกลับมาศึกษายังห้องปฏิบัติการ การจับยุงต้องอาศัยความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ เพื่อที่จะสามารถเก็บตัวอย่างยุงให้ได้ทั้งชนิดและระยะที่ ต้องการ เนื่องจากยุงแต่ละชนิดทั้งระยะลูกน้ําและตัวเต็มวัยนั้น มีแหล่งเพาะพันธุ์ หรือแหล่งอาศัยที่แตกต่างกัน หากไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง แต่ละชนิดแล้ว จะไม่สามารถค้นหายุงชนิดที่ต้องการได้ การจับยุงจากภาคสนามสามารถ แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ การจับลูกน้ำาและการจับตัวเต็มวัย

ยุงในประเทศไทย

6.การเพาะเลี้ยงยุงในห้องปฏิบัติการ

ยุงที่นิยมนํามาเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการเพื่อการศึกษาวิจัยนั้น มักเป็นยุง ที่มีความสําคัญทางการแพทย์ โดยเป็นพาหะนําโรคติดต่อที่มีความสําคัญ และสามารถ เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการได้ไม่ยากนัก เพราะหากเป็นยุงที่เพาะเลี้ยงได้ยาก ยุงทั้งหมดอาจตายในระหว่างการศึกษาวิจัย ซึ่งจะส่งผลเสียต่องานวิจัยนั้นๆ โดยทั่วไปแล้วยุงที่มักนํามาเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ คือ ยุงลายบ้าน ยุงรําคาญบางชนิด เช่น CK. quinquefasciatus และยุงก้นปล่องบางชนิด เช่น An. dirus, An. maculatus, An. minimus เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในบทนี้จะกล่าวถึงการเพาะเลี้ยงยุงชนิดอื่นๆ ได้แก่ ยุงเสือ ยุงบ้าน และยุงยักษ์ ด้วยเช่นกัน ซึ่งการเพาะเลี้ยงยุงแต่ละชนิดจะมีรายละเอียด ที่แตกต่างกันออกไปบ้าง ทั้งนี้ เพื่อให้สภาพการเพาะเลี้ยงมีความเหมาะสมกับยุง แต่ละชนิด ซึ่งจะทําให้ยุงมีความสมบูรณ์แข็งแรงมากที่สุด ลูกน้ํายุงที่จับมาจากภาคสนาม จะถูกเพาะเลี้ยงให้เป็นยุงตัวเต็มวัย ให้กินเลือด ผสมพันธุ์ และผลิตยุงรุ่นต่อไป สําหรับยุงตัวเต็มวัยที่จับมาจากภาคสนามนั้นสามารถนํามาวางไข่ได้เลยหากยุงตัวนั้นได้ กินเลือดมาแล้ว แต่ถ้ายุงยังไม่ได้กินเลือด ต้องให้เลือดยุงเสียก่อนที่จะให้ยุงวางไข่

ยุงในประเทศไทย

7.การเก็บรักษาตัวอย่างยุง

การเก็บรักษาตัวอย่าง ยุง (preservation of mosquito specimen) สามารถ ทําได้ทั้งในระยะลูกน้ํา คราบตัวโม่ง (pupal exuviae) (เนื่องจากตัวโม่งไม่สามารถนํามา เตรียมสไลด์ได้ เพราะมีความหนาและแข็ง) และตัวเต็มวัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บ รักษาตัวอย่างไว้ศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาในภายหลัง ดังนั้น ตัวอย่างยุงที่ดี จะต้องมีความสมบูรณ์ในทุกส่วนของร่างกาย แม้กระทั่งเส้นขน ซึ่งเป็นส่วนสําคัญ ที่ใช้ในการจําแนกชนิดตามลักษณะทางสัณฐานวิทยา ดังนั้น จึงต้องอาศัย ความละเอียดอ่อนและระมัดระวังเป็นอย่างมากในการเก็บรักษา ขั้นตอนการเก็บรักษา ตัวอย่างยุงแต่ละระยะนั้นจะแตกต่างกันออกไป

ยุงในประเทศไทย

8.การผ่าชำแหละยุง

การผ่าชําแหละ ยุง (dissecting of mosquito) เป็นเทคนิคที่มีความสําคัญ อย่างมากต่อการศึกษาเกี่ยวกับยุงทั้งในภาคสนามและห้องทดลอง เพราะข้อมูล บางอย่างจําเป็นต้องศึกษาจากอวัยวะของลูกน้ําหรือตัวเต็มวัย เช่น

สมองของลูกน้ํา ใช้เตรียมเมทาเฟสโครโมโซม ต่อมน้ําลายของลูกน้ํา และเซลล์รังไข่ (ovarian nurse cell) ของตัวเต็มวัย ใช้เตรียมโพลีที่นโครโมโซม ซึ่งโครโมโซมทั้ง 2 ชนิด จะถูกใช้เพื่อศึกษาพันธุกรรมและความซับซ้อนของชนิด (species Complex) ของยุงนั้น 

ต่อมน้ําลายและกระเพาะอาหารของยุงกันปล่องตัวเต็มวัย ใช้เพื่อตรวจหาเชื้อ มาลาเรียระยะสปอโรซอยต์ และโอโอซิสต์ ตามลําดับ และเมื่อผ่าตรวจหาเชื้อในอวัยวะ ดังกล่าวของยุงไปจํานวนหนึ่ง จะสามารถประมาณอัตราการติดเชื้อในยุงชนิดนั้นได้

ยุงในประเทศไทย

9.การเตรียมโครโมโซมยุง

ยุง เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีโครโมโซมเป็นดิพลอยด์ (dipolid) จํานวน 3 คู่ เป็นโครโมโซมร่างกาย (autosome) 2 คู่ คือ โครโมโซมคู่ที่ 2 และ 3 และเป็นโครโมโซม เพศ (Sex chromosome) 1 คู่ คือ โครโมโซม XX (homomorphic) สําหรับเพศเมีย และ XY (heteromorphic) สําหรับเพศผู้ การศึกษาเกี่ยวกับโครโมโซมของยุงนั้น จะมุ่งเน้นศึกษาเมทาเฟสโครโมโซม (metaphase chromosome) และโพลีทุนโครโมโซม (polytene chromosome) โดยเมทาเฟสโครโมโซม คือ โครโมโซมที่เกิดขึ้นในกระบวนการ แบ่งเซลล์ร่างกายแบบไมโทซิส (mitosis) ในระยะเมทาเฟส (metaphase) ซึ่งในระยะนี้ โครโมโซม 1 แท่ง จะประกอบด้วย 2 ซิสเตอร์โครมาทิด (sister chromatid) ที่ติดกันอยู่ ตรงตําแหน่งของเซนโทรเมียร์ (centromere) ซึ่งโครโมโซมแต่ละแท่งจะหดตัวและ หนาขึ้น โดยโครโมโซมทั้งหมดจะเรียงตัวอยู่ตรงกลางเซลล์ ก่อนที่จะถูกสายใย สปินเดิล (spindle fiber) ดึงให้ซิสเตอร์โครมาทิดแยกออกจากกัน เข้าสู่ระยะแอนาเฟส (anaphase) ต่อไป การหยุดการทํางานของสายใยสปินเดิล เพื่อให้การแบ่งเซลล์หยุดค้างอยู่ในระยะเมทาเฟส จะทําให้ได้เมทาเฟสโครโมโซมจํานวนมาก โดยโครโมโซมร่างกาย ของยุงมักเป็นชนิด metacentric หรือ submetacentric ส่วนโครโมโซมเพศมักเป็นชนิด submetacentric, acrocentric หรือ telocentric เมทาเฟสโครโมโซมนั้นสามารถ เตรียมได้จากเซลล์สมอง (neurogonial cells of the brain) ของลูกน้ําระยะที่ 4 ตอนต้น ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีการแบ่งเซลล์เพิ่มจํานวนอยู่ตลอดเวลา จึงมีเมทาเฟสโครโมโซม อยู่เป็นจํานวนมาก

ยุงในประเทศไทย

ผู้เขียน

ดำรงพันธุ์ ทองวัฒน์

รองศาสตราจารย์ ดร.ดำรงพันธุ์ ทองวัฒน์

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
ภาควิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน