การจัดการหลักสูตรทางพลศึกษาและนันทนาการ

การจัดการหลักสูตรทางพลศึกษาและนันทนาการ

การจัดการหลักสูตรทางพลศึกษาและนันทนาการ (PERSIL for Life Creation) คือหลักสูตรพลศึกษาและนันทนาการตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนร่วมเพื่อส่งเสริมลีลาชีวิต ผู้เขียนได้พัฒนาขึ้นให้เป็นหลักสูตรรายวิชาพลศึกษาและนันทนาการพิเศษ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริหาร ครู และผู้สนใจใช้เป็นทางเลือกในการจัดการเรียนรู้เพิ่มเติมจากหลักสูตรปกติ อันสืบเนื่องจากลีลาชีวิตเป็นปรปักษ์กับข้อจำกัดทางสังคม จารีตและวัฒนธรรมที่หลากหลาย ดังนั้นจึงส่งผลต่อลักษณะการเข้าร่วมกิจกรรมทางกีฬาและนันทนาการ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีหลักสูตรพิเศษขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความเหมาะสมโดยเน้นความหลากหลายของ ผู้เรียน อันจะเป็นการส่งเสริมการมีกิจกรรมด้านกีฬาและนันทนาการในชีวิตประจำวันอย่างน่าสนใจ หนังสือเล่มนี้จึงประกอบด้วย บทการพัฒนาหลักสูตรการพลศึกษาในโรงเรียน การนันทนาการในโรงเรียนและการศึกษาวิถีและลีลาชีวิต อันจะนำไปสู่การสร้างหลักสูตรซึ่งประกอบไปด้วย วิสัยทัศน์ หลักการ เป้าหมาย คุณลักษณะที่พึงประสงค์ สาระของหลักสูตร คำอธิบายหลักสูตร มาตรฐาน ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้เรื่องวิถีชีวิตของผู้เรียน แนวทางการจัดการเรียนรู้ แนวทาง การวัดและประเมินผล ตลอดจนสื่อและแหล่งการเรียนรู้ ภายในเล่มประกอบไปด้วย 5 บท ที่อธิบายถึงการจัดการหลักสูตรทางพลศึกษาและนันทนาการ

การจัดการหลักสูตรทางพลศึกษาและนันทนาการ

1. การจัดการพัฒนาหลักสูตรทางพลศึกษา

การจัดการพัฒนาหลักสูตรทางพลศึกษาเป็นฐานความรู้สำคัญที่นักการศึกษาและ นักวิชาการต้องรู้ เข้าใจและตระหนักในกระบวนการเริ่มต้นที่จะนำพาพลศึกษาไปสู่การเรียน การสอนที่มีประสิทธิภาพในชั้นเรียน โดยในบทนี้จะประกอบด้วย แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการพัฒนาหลักสูตร ความสำคัญของหลักสูตร องค์ประกอบของหลักสูตร รูปแบบหลักสูตรและรูปแบบ การพัฒนาหลักสูตรทางพลศึกษา การเลือกเนื้อหา หลักสูตรและประสบการณ์การเรียนรู้พลศึกษา การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ การประเมินหลักสูตรพลศึกษา หลักสูตรสถานศึกษา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรพลศึกษาเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัด การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

การจัดการหลักสูตรทางพลศึกษาและนันทนาการ

2. พลศึกษาในโรงเรียน

พลศึกษาในโรงเรียนเป็นรอยต่อทางคุณภาพระหว่างหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพและ การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนเพื่อเพิ่มประสบการณ์ทางพลศึกษาให้กับผู้เรียน ประเทศไทย เรานั้นได้มีการจัดให้มีการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาเป็นวิชาบังคับสำหรับผู้เรียนทุกคน ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษามาเป็นเวลานานแล้ว เพื่อให้ผู้เรียนนำกิจกรรม การออกกำลังกายและกิจกรรมกีฬา ต่าง ๆ เหล่านี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันทั้งในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ หลังจากสำเร็จการศึกษาไปแล้ว ด้วยด้วยเหตุนี้วิธีการเรียนการสอนจึงมุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วย การปฏิบัติจริง ในบทนี้ประกอบด้วย แนวคิดเกี่ยวกับพลศึกษาในโรงเรียน การสอนพลศึกษา ในชั้นเรียน การจัดการแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียน การแข่งขันกีฬาระหว่างโรงเรียน การจัดพลศึกษาพิเศษ หลักสูตรพลศึกษา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพลศึกษาในโรงเรียน เพื่อทำให้รูปแบบการสอนพลศึกษาเกิดผลกระทบที่ดีต่อผู้เรียน

3. นันทนาการในโรงเรียน

นันทนาการในโรงเรียนเป็นองค์ประกอบด้านหนึ่งของกิจกรรมทางพลศึกษาว่าด้วยกิจกรรมทางกาย เกมและการละเล่นที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรม อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือ การเรียนรู้สำคัญในศตวรรษที่ 21 ในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะการยอมรับในความแตกต่างและเคารพซึ่งกันและกัน ในบทนี้ประกอบไปด้วย แนวคิดเกี่ยวกับนันทนาการในโรงเรียน ความเป็นมาของนันทนาการในประเทศไทย นันทนาการในโรงเรียน ความหมายของนันทนาการ ลักษณะของกิจกรรมนันทนาการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการ ประเภทและกิจกรรมนันทนาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการในโรงเรียน เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เกิดความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของนันทนาการต่อไป

4. วิถีและลีลาชีวิต

การศึกษาวิถีและลีลาชีวิตมีความสำคัญต่อการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาและนันทนาการในโรงเรียน เนื่องด้วยจะเป็นกรอบและการกำหนดทิศทางของกิจกรรมที่สอดคล้องกับลักษณะของผู้เรียนและชุมชนที่ตั้ง นักการศึกษาจำเป็นต้องเข้าใจและตระหนักถึงประเด็นดังกล่าว ก่อนกำหนดเป็นสาระการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 21 ที่เรา ต่างต้องคำนึงถึงวิถีดั้งเดิมของผู้เรียน ในบทนี้ผู้เขียนมุ่งให้ความรู้ในด้านแนวคิดเกี่ยวกับวิถีและ ลีลาชีวิต การศึกษาวิถีชีวิตด้านการตั้งถิ่นฐาน การศึกษาวิถีชีวิตด้านเศรษฐกิจ การศึกษาวิถีชีวิต ด้านสังคมและวัฒนธรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิถีและลีลาชีวิต เพื่อให้ผู้อ่านได้ร่วมกัน คิดแบบรอบด้านก่อนทำการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรในชั้นเรียน

5. PERSIL

หลักสูตรพลศึกษาและนันทนาการในโรงเรียนตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนร่วมเพื่อ ส่งเสริมลีลาชีวิต (The Program of Physical Education and Recreation in School Based on Inclusive Education to Enhance Lifestyle, PERSIL) เป็นผลลัพธ์ของงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรพลศึกษาและนันทนาการตามแนวคิดการศึกษาแบบเรียนร่วม เพื่อส่งเสริม ลีลาชีวิตผู้เรียนในสถาบันการเรียน ซึ่งมีความสอดคล้องกับการศึกษาผลการพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนพลศึกษาและนันทนาการในโรงเรียนรวมถึงการศึกษาวิถีชีวิตที่ผู้เขียนได้รวบรวมแนวคิดมาในบทที่ 1-4 อย่างไรก็ตามการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องเกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งไม่แสวงหาผลกำไร (Nonprofit Organization) ซึ่งมีบทบาทในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนในสถาบันการเรียนเขตชายแดน ราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ PERSIL ได้รับการพัฒนาขึ้นจากคำประกาศ (Proclaim) องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎบัตรสากลด้านการพลศึกษาและกีฬา (The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO, 1978) ภูมิหลังแห่งสิทธิมนุษยชนที่จำเป็นต้องได้รับการศึกษาที่มี ความสอดคล้องกับลักษณะการดำเนินชีวิตในมาตราที่ 3 (Article 3) กล่าวว่า พลศึกษาและกีฬาจำเป็นต้องมีความสอดคล้องกับความต้องการของแต่ละบุคคลและสังคม พลศึกษาและกีฬาต้องออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะของบุคคล ตามวัฒนธรรม เศรษฐสังคม เงื่อนไขของแต่ละประเทศ และคำนึงถึงแม้กลุ่มประชากรชายขอบ (ภูฟ้า เสวกพันธ์, 2562)

PERSIL ประกอบด้วยสามเสาหลัก 3 core pillars) กล่าวคือ 1) พลศึกษา 2) นันทนาการ 3) สิ่งอำนวยการ ที่มีความสอดคล้องกับรูปแบบวิถีชีวิต ด้านการดำเนินชีวิตทั่วไป สังคมและวัฒนธรรม การใช้เวลาว่างและการดูแลสุขภาพของผู้เรียน มุ่งหวังเพื่อส่งเสริมลีลาชีวิตหรือ วิถีทางการดำเนินชีวิตด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาและนันทนาการทั้งทางตรงและทางอ้อม ในสภาพแวดล้อมที่อำนวยความสะดวก หรือสามารถเรียกหลักสูตร PERSIL นี้ได้ว่าเป็น “วิหารแห่งลีลาชีวิต” (Sanctuary of Lifestyle) ซึ่งแสดงไว้ในภาพที่ 2 โดยสรุป PERSIL มีระยะเวลาทั้งสิ้น 82 ชั่วโมง โดยมีพลศึกษาในโรงเรียน 40 ชั่วโมง นันทนาการในโรงเรียน 40 ชั่วโมง ซึ่งดำเนินการไปพร้อมกับการจัดสิ่งอำนวยการเพื่อความสะดวก การปฐมนิเทศ 1 ชั่วโมง และ การปัจฉิมนิเทศ 1 ชั่วโมง

กรณีพลศึกษาในโรงเรียนของ PERSIL

พลศึกษาในโรงเรียนได้รับการสังเคราะห์จากปรัชญาทางพลศึกษา กล่าวคือ การจัดพลศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนที่เรียนอยู่ในสถาบันการเรียนทุก ๆ คน ได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในกิจกรรมพลศึกษาต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกันและทั่วถึงกัน ตามความต้องการ ความสามารถ ความสนใจของ ผู้เรียนแต่ละคน เป็นการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้มีความรักความชอบผูกพันกับกิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมกีฬาต่างๆ เพื่อให้นำกิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมกีฬาต่าง ๆ เหล่านี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันทั้งในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่หลังจากสำเร็จการศึกษาไปแล้วด้วย ทั้งนี้รวมถึงการได้รับคำสอน การช่วยเหลือแนะนำ การใช้สถานที่ การใช้อุปกรณ์และการใช้บริการอย่างอื่น ๆ เกี่ยวกับการพลศึกษาด้วยเพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาการตามศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด นอกจากนี้หลักสูตรพลศึกษาในโรงเรียนยังคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล วัฒนธรรม ประเพณีที่แตกต่างกันของผู้เรียน ซึ่งโปรแกรมพลศึกษาในโรงเรียนมีจุดมุ่งหมาย 5 ข้อดังนี้ (สมบัติ กาญจนกิจ, 2558)

การจัดการหลักสูตรทางพลศึกษาและนันทนาการ

เอกสารอ้างอิง

ภูฟ้า เสวกพันธ์. (2562). ภาพถ่ายวิถีชีวิต. กรุงเทพฯ.

สมบัติ กาญจนกิจ. (2557). นันทนาการและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน