Page 19 - demo-978-616-426-119-8
P. 19

บ ท ที่

                                                  05















                      วัสดุชีวภาพจากธรรมชาติ









                     วัสดุที่ได้จากธรรมชาตินั้นมีข้อดีต่าง ๆ มากมายที่จะน�ามาใช้ในทางการแพทย์ ทั้งนี้เนื่องจากมีองค์ประกอบ
            ทางชีววิทยาที่สามารถเข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ ในอดีตนั้นวัสดุธรรมชาติมีข้อบกพร่องในการน�ามาใช้งานหลาย ๆ อย่าง อาทิ

            ไม่มีสมบัติเชิงกลที่มากพอ มีโครงสร้างที่ค่อนข้างซับซ้อน รวมถึงมีผลต่อภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกาย การพัฒนาการใช้งาน

            ของวัสดุธรรมชาติทางการแพทย์จึงมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยในปัจจุบัน วัสดุที่ได้จากธรรมชาติ อาทิ อัลจิเนต
            (alginate) ไคโตซาน (chitosan) ไหม (silk) คอลลาเจน (collagen) เจลาติน (gelatin) ไฮเอลูโรนิกแอซิด

            (hyaluronic acid) ฮีพาริน (heparin) อิลาสติน (elastin) อิลาสตินเหมือนเปปไทด์ (elastin-like peptides) ไฟบริน

            และไฟบริโนเจน  (fibrin/fibrinogen) คอนโดรทิน  ซัลเฟต  (chondroitin  sulfate)  เนื้อเยื่อดีเซลลูไลท์

            (decellularized tissue) สามารถน�ามาใช้งานทางด้านการแพทย์ได้หลากหลายประเภทตามสมบัติของวัสดุเหล่านี้

            โดยวัสดุเหล่านี้อาจถูกน�ามาพัฒนาหรือปรับปรุงโครงสร้างทางเคมี หรือด้วยการเชื่อมโยงโครงสร้างโมเลกุล ด้วยสมบัติ
            ที่สามารถเกิดการย่อยสลายได้ด้วยเอนไซม์ (enzymatic degradation) หรือน�้า (hydrolytic degradation)

            ภายในร่างกายมนุษย์ ท�าให้วัสดุธรรมชาติเหล่านี้เหมาะต่อการน�าไปใช้งานประเภทที่ใช้เวลาสั้นในการปลูกถ่าย

            (short-term implants) เช่น ใช้ในระบบน�าส่งยา การบ�าบัดเซลล์ ไม่เหมาะสมส�าหรับงานที่ใช้เวลาปลูกถ่ายยาวนาน เช่น
            การปลูกถ่ายสะโพก เป็นต้น

                     ปัจจัยหลักที่จ�าเป็นต้องระวังและพิจารณาเพื่อน�าวัสดุธรรมชาติมาใช้งาน คือ การตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน

            ของร่างกาย เมื่อมีการปลูกถ่ายไปแล้ว โดยถึงแม้ว่าวัสดุธรรมชาติจะมีลักษณะที่คล้ายกับเมทริกซ์ภายนอกของอวัยวะ

            ที่มีการปลูกถ่าย (endogenous host extracellular matrix) แต่อาจไม่เหมือนเลยทีเดียว เป็นผลท�าให้เกิดการ

            สร้างสารที่ต่อต้านขึ้นมา โดยเฉพาะพวกโปรตีน ส่วนวัสดุธรรมชาติพวกพอลิแซ็กคาไรด์ เช่น ไกลโคอะมิโนไกลแคน
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24