Page 22 - demo-978-616-426-119-8
P. 22

บ ท ที่  เทคนิคการขึ้นรูปวัสดุโครงเลี้ยงเซลล์ทางวิศวกรรมเนื้อเยื่อ
           06



               methacrylate; PMMA) และวัสดุโครงเลี้ยงเซลล์ที่ท�าจากไคโตซาน (chitosan; CS) [4] แต่อย่างไรก็ตาม การเลือกเทคนิค
               ในการขึ้นรูปวัสดุโครงเลี้ยงเซลล์ทางวิศวกรรมเนื้อเยื่อนี้จ�าเป็นต้องค�านึงถึงลักษณะของการน�าไปใช้ปลูกฝังในร่างกาย

               อาทิ การใช้งานกับผิวหนัง กระดูก หลอดเลือด หรือใช้เป็นอวัยวะเทียมต่าง ๆ ที่มีลักษณะของเมทริกซ์ภายนอก

               ที่แตกต่างกันไป
                        ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างอวัยวะในร่างกายมนุษย์ที่มีการใช้วัสดุโครงเลี้ยงเซลล์นี้ค่อนข้างมาก เช่น ผิวหนัง

               และกระดูก ผิวหนังเป็นอวัยวะที่มีปริมาณพื้นที่มากที่สุดในร่างกายมนุษย์ โดยคิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ของน�้าหนักตัว

               ของมนุษย์ ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ผิวหนังชั้นนอก (epidermis) ผิวหนังชั้นกลาง (dermis) และผิวหนังชั้นใน

               (subcutaneous fat หรือ hypodermis) ผิวหนังชั้นนอกประกอบไปด้วยเซลล์คีราติโนไซด์และเซลล์ต้นก�าเนิด

               ซึ่งสามารถช่วยท�าให้เกิดการสร้างผิวหนังขึ้นมาใหม่ได้ ในขณะที่ผิวหนังชั้นกลางและชั้นในไม่มีเซลล์ชนิดนี้ ดังนั้น
               หากผิวหนังเกิดความเสียหายซึ่งโดยส่วนใหญ่เกิดจากแผลไฟไหม้ ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่พบมากที่สุด หรือเกิดจากเหตุอื่น ๆ

               และเป็นสาเหตุท�าให้ผิวหนังถูกท�าลายมากจนไปถึงชั้นของผิวชั้นกลางและชั้นในซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างผิวหนังขึ้น

               มาทดแทนได้ วิธีที่ใช้ในการรักษาผู้บาดเจ็บโดยทั่วไป คือ การปลูกผิวหนังทดแทน โดยวิธีการใช้เซลล์ของสัตว์ชนิดอื่น
               (xenotransplantation)  ใช้เซลล์ของบุคคลอื่น  (allotransplanttation)  หรือใช้เซลล์ของผู้บาดเจ็บเอง

               (autotransplantation) [5] แต่วิธีนี้ ต้องมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนถ่ายเซลล์ แต่อย่างไรก็ตาม

               ผู้บาดเจ็บก็มีโอกาสเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดความเสียหายของเส้นประสาท และในบางครั้งอาจต้องมีการปลูก

               ถ่ายอีกครั้ง การใช้วิศวกรรมเนื้อเยื่อของผิวหนัง (skin tissue engineering) เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับการพัฒนา

               อย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้ในการรักษาผู้บาดเจ็บ โดยไม่ต้องผ่าตัด วิธีนี้เป็นการเพาะเลี้ยงเซลล์ภายนอกร่างกาย (in vitro)
               บนวัสดุโครงเลี้ยงเซลล์ (scaffold) หรือบนวัสดุที่มีรูพรุน (porous material) แล้วน�าไปติดบนผิวหนังที่เกิดความเสียหาย

               (in vivo) เพื่อให้เซลล์มีการเจริญเติบโต และทดแทนผิวหนังที่เสียหาย และนอกจากนี้ วิศวกรรมเนื้อเยื่อของผิวหนัง

               ยังท�าให้เกิดการสร้างเซลล์ที่เหมือนเซลล์เดิมและเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วส�าหรับผู้บาดเจ็บ
                        อันตรายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกระดูก เช่น กระดูกแตกหักจากอุบัติเหตุหรือความผิดปกติของร่างกาย

               กระดูกพรุน จ�าเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปัจจุบันสามารถท�าได้โดยการเติมสารต่าง ๆ เข้าไป

               ที่กระดูกนั้น ๆ เพื่อช่วยให้เกิดการสร้างกระดูกขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้การรักษามาตรฐานทอง (golden standard) คือ วิธีการ

               “autogenous bone grafting” ซึ่งเป็นการปลูกถ่ายลงในตัวของผู้ป่วยเอง แต่ด้วยข้อจ�ากัดของปริมาณกระดูก

               ของผู้ป่วย การท�า autograft จึงยังมีข้อจ�ากัดในการใช้งานอยู่ ดังนั้นการพัฒนาทางด้านวัสดุที่จะช่วยสร้างกระดูก
               ขึ้นมาใหม่จึงเป็นที่น่าสนใจในปัจจุบัน อาทิ วัสดุสังเคราะห์ (synthetic scaffolds) ประเภทโลหะ เช่น เหล็กกล้าไร้สนิม

               ไทเทเนีย แมกนีเซียม ประเภทเซรามิก [6] เช่น แคลเซียมฟอสเฟต (CaP) ไฮดรอกซีอะพาไทต์ (HAp) ไตรแคลเซียม

               ฟอสเฟต (TCP) ไบฟาสิกแคลเซียมฟอสเฟต (BCP) ไบโอกลาส เช่น ฟอสฟอรัสเพนทอกไซด์ ซิลิคอนไดออกไซด์



             120
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27