Page 20 - demo-978-616-426-119-8
P. 20

บ ท ที่  วัสดุชีวภาพจากธรรมชาติ
           05



               (glycosaminoglycans)  จะส่งผลต่อภูมิคุ้มกันต�่ากว่า  แต่อย่างไรก็ตาม  ผลกระทบจากระบบภูมิคุ้มกัน
               (immunogenic effect) นี้สามารถท�าให้ลดลงได้ด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหรือการเตรียมวัสดุธรรมชาติเหล่านั้น [1]

               ในบทนี้จะขอกล่าวถึงลักษณะโดยทั่วไป สมบัติ และการใช้งานทางด้านการแพทย์ของวัสดุธรรมชาติที่มีการใช้งาน

               อย่างกว้างขวาง คือ ไหม (silk) ไคโตซาน (chitosan) อัลจิเนต (alginate) คอลลาเจน (collagen) เจลาติน (gelatin)
               ไฮเอลูโรนิกแอซิด (hyaluronic acid) ฮีพาริน (heparin) และรวมไปถึงแนวทางในการสร้างเมทริกซ์นอกเซลล์

               ให้เหมาะต่อการใช้งาน



                 5.1
                          ไหมจำกรังหนอนไหม (Silk cocoon)


                        1.  ควำมรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไหม

                           เส้นไหมจากรังหนอนไหม (cocoon silks) นับเป็นเส้นไหมที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นไหมที่มีสีสวยงาม

               และมันวาว แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ไหมที่ได้จาก Wild silk และ Bombyx mori (family Bombycidae)
               โดย Bombyx mori เป็นไหมเลี้ยงโดยใช้ใบหม่อนและเป็นที่นิยมน�ามาทอเป็นผ้าไหมเพื่อสวมใส่ เส้นไหมที่ได้จาก

               รังไหมมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบถึง 78 เปอร์เซ็นต์โดยน�้าหนักรังไหม มีปริมาณสัดส่วนหลัก ๆ ของกรดอะมิโน 3 ชนิด

               คือ ไกลซีน 45 เปอร์เซ็นต์ อะลานีน 29 เปอร์เซ็นต์ และซีลีน 12 เปอร์เซ็นต์ ในสัดส่วนประมาณ 3:2:1 ตามล�าดับ เส้นไหม

               มีความแข็งแรงมากกว่าขนสัตว์ มีลักษณะเป็นเส้นใยแบบต่อเนื่องของเส้นใยสองเส้นของไฟโบรอิน (fibroin) ที่มีส่วนของ
               โปรตีนเซริซิน (sericin) ประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ โดยน�้าหนักของรังไหม ท�าหน้าที่เสมือนกาวที่ท�าให้ไฟโบรอินติดกัน

               รูปที่ 5.1 แสดงภาพถ่ายของรังหนอนไหม ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด (SEM) ของเส้นไหมที่แสดงให้เห็น

               ความหนาของกาวไหมเซริซิน ซึ่งมีความหนาประมาณ 800 นาโนเมตร ภาพของเส้นไหมไฟโบรอินที่เกาะติดกันในลักษณะ

               เป็นคู่ (double strands) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18 ไมโครเมตร และภาพของเส้นไหมไฟโบรอินเดี่ยว
               (หลังจากลอกกาวไหมออกแล้ว) ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9 ไมโครเมตร

                          เนื่องจากโปรตีนจากไหมทั้งสองชนิด คือ เซริซิน และไฟโบรอิน มีกรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบ เป็นโปรตีน

               ที่เกิดการย่อยสลายได้โดยเอนไซม์ย่อยโปรตีนในร่างกาย (proteolytic enzymes) ซึ่งสมบัตินี้ท�าให้โปรตีน

               จากไหมมีสมบัติเป็นวัสดุชีวภาพ (biocompatible) และเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (biodegradable) มีลักษณะ
               เป็นเจลที่สามารถควบคุมปริมาณความชื้นของผิวหนัง และมีสมบัติในการช่วยซ่อมแซมบาดแผล (woud healing)

               การที่โปรตีนจากไหมมีสมบัติเป็นวัสดุชีวภาพและสามารถดูดซึมทางชีวภาพ โปรตีนจากไหมจึงถูกน�ามาใช้งานทาง

               ด้านต่าง ๆ อาทิ วิศวกรรมชีววิทยาทางการแพทย์ ศัลยกรรม ใช้เป็นสารเสริมแรงส�าหรับวัสดุโครงเลี้ยงเซลล์กระดูก

               (bone fixators and scaffolds) และใช้ประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย




              86
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25