Page 21 - demo-978-616-426-119-8
P. 21

บ ท ที่

                                                  06













                            เทคนิคการขึ้นรูปวัสดุ




                              โครงเลี้ยงเซลล์ทาง



                                 วิศวกรรมเนื้อเยื่อ









                     วัสดุโครงเลี้ยงเซลล์ทางวิศวกรรมเนื้อเยื่อ หรือวิศวกรรมการเพาะเลี้ยงเซลล์ (tissue engineering

            scaffolds) ที่ท�าจากพอลิเมอร์เป็นทางเลือกหนึ่งที่ยังเป็นที่น่าสนใจในการศึกษาขึ้นรูปและการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะ

            เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์  เนื่องจากความสามารถในการท�าหน้าที่คล้ายเมทริกซ์ภายนอกให้กับเซลล์

            (extracellular matric; ECM) ท�าให้เซลล์เจริญเติบโตได้ โดยลักษณะเฉพาะของวัสดุโครงเลี้ยงเซลล์ทางวิศวกรรม
            เนื้อเยื่อนี้ต้องเป็นวัสดุที่สามารถเข้ากันกับร่างกายได้ (biocompatible) มีโครงสร้างที่ท�าให้เซลล์เกิดการเกาะติด

            (cell attachment) เจริญเติบโต (proliferation) และมีการพัฒนาการ (differentiation) ได้ มีสมบัติเชิงกลที่เหมาะสม

            ต่อการใช้งาน สามารถควบคุมอัตราการย่อยสลายทางชีววิทยาได้ การขึ้นรูปวัสดุโครงเลี้ยงเซลล์ในทางวิศวกรรมเนื้อเยื่อ
            สามารถท�าได้หลายรูปแบบ อาทิ โครงสร้างที่มีรูพรุน โครงสร้างไฮโดรเจล เส้นใยขนาดนาโนเมตร โครงสร้างแผ่นตะแกรง

            ตัวอย่างเช่น โครงสร้างแผ่นตะแกรง (mesh scaffold) ของ PLGA/PLA ที่เคลือบด้วย BMP-2 (bone morphogenic

            protein) และ hFDM (human lung fibroblasts) สามารถท�าให้เกิดการสร้างกระดูกขึ้นมาใหม่ได้เป็นอย่างดี

            [1] วัสดุโครงเลี้ยงเซลล์คอลลาเจน/เจลลาติน ที่มีการผสมแคลเซียมฟอสเฟตส�าหรับวิศวกรรมการเนื้อเยื่อกระดูก

            [2] โครงสร้างรูพรุนสองชั้นของ HA/Gelatin [3] วัสดุโครงเลี้ยงเซลล์ท�าจากพอลิเมทิลเมทาคริเลต (polymethyl-
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26