โรคปริทันต์

โรคปริทันต์ การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องนั้นจะนําไปสู่การวางแผนการรักษาที่ดี และเหมาะสมสําหรับผู้ป่วย ทําให้การรักษาโรคปริทันต์นั้นสําเร็จไปได้ด้วยดี โดยในปี ค.ศ. 2017 ทาง The American Academy of Periodontology (AAP) และ The European Federation of Periodontology (EFP) ได้ร่วมกันจัด ประชุม The 2017 World Workshop on the Classification of periodontal and peri-implant diseases and conditions และได้มีการเปลี่ยนแปลง การแบ่งกลุ่มโรคปริทันต์ใหม่ ซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างจากเดิม และเผยแพร่ ทางวารสารในปี ค.ศ. 2018

โรคปริทันต์

การวินิจฉัยโรคปริทันต์จึงต้องมีการปรับเปลี่ยน ตามการแบ่งกลุ่มโรคปริทันต์ใหม่ โดยสิ่งที่เปลี่ยนอย่างชัดเจนคือ ได้มีการวินิจฉัย ผู้ป่วยหรือจัดกลุ่มผู้ป่วยให้อยู่ในกลุ่มเหงือกที่มีสุขภาพดีด้วย และไม่มีการแบ่งกลุ่ม ผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบรุกราน แต่ให้รวมอยู่ในกลุ่มโรคปริทันต์อักเสบเลย ในการ วินิจฉัยโรคปริทันต์อักเสบนั้นจะมีการประเมินระดับความรุนแรงของโรค (Stage) และอัตราการลุกลาม (Grade) ด้วย ซึ่งจะทําให้สามารถประเมินภาพรวมของ ความรุนแรงของโรคปริทันต์ได้ชัดเจนมากขึ้น และนําไปสู่การวางแผนการรักษา ที่ง่ายและเหมาะสมต่อไป

โรคปริทันต์
โรคปริทันต์

1. โรคปริทันต์ และการตรวจทางคลินิก

โรคปริทันต์ คือ โรคที่มีการทําลายอวัยวะปริทันต์หรืออวัยวะที่อยู่รอบฟัน และรากฟัน ซึ่งประกอบไปด้วย เหงือก เคลือบรากฟัน เอ็นยึดปริทันต์ และกระดูก เบ้าฟัน โดยถือว่าเป็นโรคที่พบได้ในกลุ่มประชากรส่วนใหญ่ และพบได้ตั้งแต่อายุน้อย จนถึงสูงอายุ สาเหตุหลักที่ทําให้เกิดโรคนี้ คือ คราบจุลินทรีย์ ซึ่งภายในคราบจุลินทรีย์ จะมีจุลินทรีย์รวมกลุ่มกันอยู่หลายชนิด

การวินิจฉัยโรคปริทันต์แบบใหม่และการวางแผนการรักษา_4

2. การวินิจฉัยโรคปริทันต์

การวินิจฉัยโรคเป็นกระบวนการที่ทําให้ได้สาเหตุของโรค ซึ่งจะทําให้ได้ชื่อ หรือลักษณะที่เฉพาะเจาะจงของโรคที่ผู้ป่วยเป็นมาเพื่อนําไปสู่การรักษาที่ถูกต้อง โดยการวินิจฉัยโรคนี้จะได้มาจากการวิเคราะห์และประมวลผลจากข้อมูล การซักประวัติ การตรวจในช่องปาก รวมถึงการตรวจภาพถ่ายรังสีแล้วนํามาสรุปได้

3. การพยากรณ์โรค (Prognosis)

การพยากรณ์โรค คือ การทํานายผลการรักษาโรคปริทันต์ ซึ่งต้องคํานึงถึง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคปริทันต์ด้วย โดยการพยากรณ์โรคจะทําหลัง จากวินิจฉัยโรคเสร็จและทําก่อนการวางแผนการรักษา

การวินิจฉัยโรคปริทันต์แบบใหม่และการวางแผนการรักษา_5

4. การวางแผนการรักษาโรคปริทันต์

เมื่อพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ในการรักษาแล้ว การรักษาทางปริทันต์ ไม่ได้เน้นการรักษาเชิงอนุรักษ์ โดยการเก็บรักษาฟันไว้แต่เพียงอย่างเดียว แต่เน้นถึง การใช้งานในระยะยาวเป็นสําคัญ ผู้ป่วยแต่ละคนมีปัญหาเกี่ยวกับโรคปริทันต์ ที่แตกต่างกันไป ทําให้ไม่มีการวางแผนการรักษาที่เป็นแบบแผนเดียวที่ใช้ได้ กับผู้ป่วยทุกคน ดังนั้นการวางแผนการรักษาในผู้ป่วยแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน ไปตามอายุ โรคทางระบบ ความรุนแรงของโรค ทัศนคติ และเศรษฐานะ

การวินิจฉัยโรคปริทันต์แบบใหม่และการวางแผนการรักษา_6

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน