การประเมินทักษะของผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21

การประเมินทักษะของผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21 การนำเสนอการประเมินการปฏิบัติในหนังสือเล่มนี้ใช้คำว่า “การประเมินการปฏิบัติ (Performance assessment) หมายถึง กระบวนการรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติของผู้เรียน ครอบคลุมทั้งผลงานและ/หรือกระบวนการที่เป็นทั้งการใช้การเคลื่อนไหวทางร่างกาย ร่วมกับความสามารถทางสมองและ/หรือจิตใจ โดยให้ผู้เรียนแสดงออกด้านทักษะหรือสมรรถนะในการสร้างสรรค์ผลงาน หรือวิธีปฏิบัติงาน โดยเฉพาะในยุคของการปฏิรูปการศึกษาที่ต้องการวิธีการประเมินผลที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1.ความรู้เบื้องต้นสู่การประเมินการปฏิบัติ

วงการการศึกษาได้จำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ไว้ด้วยกัน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านพุทธิพิสัย หรือความรู้ความคิด จิตพิสัยหรือความรู้สึกด้านจิตใจ และทักษะพิสัยหรือการปฏิบัติของผู้เรียน การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจึงจำเป็นต้องประเมินให้ครอบคลุมพฤติกรรมการเรียนรู้ทั้ง สามด้าน ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจสภาพที่แท้จริงของผู้เรียน ระหว่างต้นคริสต์ศักราช 1993 นักนโยบาย การศึกษาจำนวนมากได้กล่าวถึงการประเมินการปฏิบัติที่เป็นวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ ของผู้เรียนผ่านการปฏิบัติงาน ซึ่งจะสะท้อนวิธีการวางแผนที่แบบทดสอบแบบเลือกตอบ หรือ วิธีการวัดแบบดั้งเดิมทำไม่ได้ ทำให้นักการศึกษาให้ความสนใจกับการประเมินการปฏิบัติมากขึ้น (Popham, 2008, p. 172) การประเมินการปฏิบัติเป็นการประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ที่ผู้ทำการประเมินจำเป็นต้องมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประเมินการปฏิบัติ ได้แก่ ความหมาย ของการประเมินการปฏิบัติ ความมุ่งหมายของการประเมินการปฏิบัติ องค์ประกอบสำคัญของ การประเมินการปฏิบัติ ลักษณะของการประเมินการปฏิบัติ หลักการของการประเมินการปฏิบัติ และข้อดีและข้อจำกัดของการประเมินการปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การประเมินการปฏิบัติได้ อย่างถูกต้อง นำไปสู่ผลการประเมินที่มีคุณภาพเป็นเป้าหมายที่สำคัญ

การประเมินทักษะของผู้เรียน

2.ความรู้เบื้องต้นสู่การประเมินการปฏิบัติ

อนุกรมวิธานพฤติกรรมการเรียนรู้หรือการจำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เรียกว่า Bloom’s Taxonomy ได้พัฒนาขึ้นโดย Benjamin S. Bloom, Max D. Englehart, Eaward J. Furst, Water H. Hill and David R. Krathwohl ในคริสต์ศักราช 1956 (Committee of College and University Examiners, 1956) นับว่าเป็นหนึ่งในทฤษฎีการเรียนรู้ที่ใช้กัน แพร่หลายในวงการการศึกษา นักการศึกษาใช้ Bloom’s Taxonomy ในการกำหนดผลการเรียนรู้ ที่สามารถแยกแยะได้ชัดเจนเป็นลำดับขั้นเป็นประโยชน์กับการออกแบบการเรียนรู้ และ การประเมินผลการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง (Anderson & Krathwohl, 2001) การจำแนกพฤติกรรม การเรียนรู้ของ Bloom ประกอบด้วยด้านพุทธิพิสัย (cognitive domain) หรือความรู้ความคิด ด้านจิตพิสัย (affective domain) หรือความรู้สึกด้านจิตใจ และด้านทักษะพิสัย (psychomotor domain) หรือการปฏิบัติของผู้เรียน แต่ละด้านมีลำดับขั้นที่มีระดับการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน พฤติกรรมการเรียนรู้ในระดับต่ำ จะเอื้อให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ในระดับสูงกว่า การวัดการปฏิบัติ จำเป็นต้องเข้าใจพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติซึ่งมีด้วยกันหลากหลายแนวคิด นอกจากนี้ ต้องระบุพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติในมาตรฐานและตัวชี้วัดผลการเรียนรู้ได้ รวมทั้งเข้าใจ การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ด้านการปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อออกแบบการประเมินผลการเรียนรู้ได้ ตามเป้าหมายหรือจุดประสงค์การเรียนรู้

3.การสร้างเครื่องมือประเมินการปฏิบัติ

การประเมินการปฏิบัติเป็นกระบวนการตัดสินคุณค่าการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และ ทักษะของผู้เรียน ซึ่งในกระบวนการประเมินการปฏิบัติงานต้องมีการปฏิบัติงานหรือแสดง กระบวนการปฏิบัติ การปฏิบัติงานต้องอาศัยกลไกการทำงานของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ ประสานสัมพันธ์กัน การปฏิบัติงานควรมีการกระทำซ้ำหลายครั้ง และการปฏิบัติงานเป็นกระบวน การที่ทำให้เกิดการเรียนรู้

การประเมินทักษะของผู้เรียน

4.เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค

ความหมายและลักษณะของเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค Oxford English Dictionary ระบุไว้ว่า รูบริคหมายถึงหัวเรื่องของหนังสือที่มีความ แตกต่างกันในแต่ละตอน รากศัพท์มาจาก ruber ในภาษาลาตินที่หมายถึง สีแดง การใช้คำว่า ruber หรือ rubric เกิดขึ้นในกลางศตวรรษที่ 15 โดยนักบวชในศาสนาคริสต์ผู้ซึ่งมีความอุตสาหะ อย่างยิ่งในการทำสำเนาวรรณกรรม ได้เขียนอักษรเริ่มต้นในแต่ละตอนของฉบับคัดลอกด้วยตัว หนังสือสีแดงขนาดใหญ่ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา rubric จึงหมายถึงหัวเรื่องในหนังสือ จนกระทั่งสอง ทศวรรษที่ผ่านมา รูบริคจึงมีความหมายใหม่ท่ามกลางศาสตร์ทางการศึกษา

5.การออกแบบการประเมินการปฎิบัติ

การประเมินการปฏิบัติ เป็นหนึ่งในการประเมินผลการเรียนรู้ที่นักวิชาการศึกษาได้กล่าว ถึงมากในยุคปฏิรูปการศึกษา เนื่องจากเป็นวิธีการประเมินที่เข้าถึงความสามารถของผู้เรียนมากกว่า การทดสอบแบบเดิมที่ใช้แบบทดสอบมาตรฐาน ผลจากการประเมินการปฏิบัติจะทำให้ทราบว่า ผู้เรียนมีความเข้าใจและประยุกต์ใช้ความรู้ได้อย่างไรในบริบทของการทำงานที่แตกต่าง การประเมิน ลักษณะนี้จึงมีความสอดคล้องกับโลกแห่งความเป็นจริง ดังนั้น ถ้าครูสามารถออกแบบการประเมิน การปฏิบัติโดยบูรณาการการประเมินการปฏิบัติเข้ากับกระบวนการจัดการเรียนการสอนได้ก็จะ เป็นการเพิ่มประสบการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียนไปด้วย

การประเมินทักษะของผู้เรียน

6.การตรวจสอบคุณภาพการประเมินการปฏิบัติ

ผลการประเมินที่ดีขึ้นอยู่กับข้อมูลเป็นสำคัญ หากกระบวนการประเมินเพื่อเก็บรวบรวม ข้อมูลคุณลักษณะการปฏิบัติขาดคุณภาพก็จะทำให้ผลการประเมินขาดความน่าเชื่อถือ ส่งผลให้ การตัดสินผลการเรียนรู้มีความผิดพลาด การตรวจสอบคุณภาพของการประเมินปฏิบัติจึงเป็น ขั้นตอนสำคัญที่ควรให้ความสำคัญเช่นเดียวกับการออกแบบการประเมินการปฏิบัติ บทนี้นำเสนอ สาระเกี่ยวกับคุณภาพของการประเมินการปฏิบัติ รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพงาน และการตรวจ สอบคุณภาพเครื่องมือประเมินการปฏิบัติ

คุณภาพของเครื่องมือประเมินการปฏิบัติ คุณภาพของเครื่องมือประเมินการปฏิบัติที่จำเป็นต้องตรวจสอบ ได้แก่ แบบทดสอบ การปฏิบัติ แบบตรวจสอบรายการ มาตรประมาณค่า และเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค จำเป็น ต้องตรวจสอบความตรง และความเที่ยงของเครื่องมือประเมินการปฏิบัติ

การประเมินทักษะของผู้เรียน

7.การประเมินโดยแฟ้มสะสมผลงาน

ผลงานที่สะสมจะสะท้อน ความรู้ ความสามารถ และความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของผู้เรียน อีกทั้งเป็นเครื่องมือในการติดต่อ สื่อสารกับผู้ปกครองให้ได้รับทราบข้อมูลความก้าวหน้าเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของนักเรียน การประเมินโดยแฟ้มสะสมงานจึงเป็นทั้งเครื่องมือการประเมินและร่องรอยการประเมิน การทำงาน เข้าใจกับความหมาย ความมุ่งหมาย ประเภท การจัดระบบข้อมูลในแฟ้มสะสมงาน ขั้นตอนการ ประเมินโดยแฟ้มสะสมงาน และข้อดีและข้อจำกัดของการประเมินโดยแฟ้มสะสมงาน ซึ่งเป็นเนื้อหา สาระในบทนี้จึงเป็นพื้นฐานในการออกแบบการประเมินโดยแฟ้มสะสมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

8.การประเมินการปฏิบัติออนไลน์

การประเมินผู้เรียนออนไลน์เกี่ยวข้องกับผู้เรียนที่มีความหลากหลายทั้งบริบทการเรียนรู้ แบบบรรยายในชั้นเรียนขนาดใหญ่จนถึงการจัดการศึกษาทางไกล การประเมินมีแนวโน้มที่จะมี ลักษณะของออนไลน์มากขึ้นตามพลังของเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การประเมินออนไลน์เป็นปรากฏการณ์ร่วมสมัยที่นักการสอนและนักการออกแบบการสอน มุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมการประเมินรองรับการจัดการเรียนรู้แนวใหม่โดยคาดหวังว่าจะเป็น นวัตกรรมกระบวนการที่สามารถเปลี่ยนแปลงการประเมินให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ในโลก ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความเป็นพลวัตสูง ในบทนี้จะกล่าวถึงวิวัฒนาการของการประเมิน ออนไลน์เพื่อสะท้อนมุมมองของการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาออนไลน์ท่ามกลางการพัฒนา ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษาออนไลน์ การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ด้านการปฏิบัติ ขั้นตอนการประเมินการปฏิบัติออนไลน์ การจัดการการประเมินออนไลน์ และการประเมิน ปฏิสัมพันธ์และความร่วมมือออนไลน์

การประเมินทักษะของผู้เรียน

เอกสารอ้างอิง

Popham, W. J. (2008). Classroom assessment: What teachers need to know?
(5th Ed.). Boston: Ally and Bacon.

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน