การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม “ยล เยี่ยม เยือน เหย้า: แนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม” ฉบับนี้ เป็นการรวบรวมแนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งไม่พบบ่อยนักที่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจะถูกถ่ายทอดอย่างเป็นเรื่องราวในประเทศไทยเนื่องด้วยในสังคมไทยส่วนใหญ่มักจะมีความเข้าใจว่าการท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็น เชิงนิเวศ (Ecotourism) หรือเชิงวัฒนธรรม (Cultural Tourism) มีความคล้ายคลึงกันในแง่ความหมาย กิจกรรม การเรียนรู้ และการตลาดการท่องเที่ยวแทบทั้งสิ้นเห็นได้จากข้อเสนอถึงกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศที่ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์วัฒนธรรม แม้แต่การคํานึงถึงขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวก็ถูกอธิบายควบคู่กันระหว่างการคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมในท่องถิ่นจนบางครั้งความแตกต่างระหว่างการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจึงอยู่เพียงเป่าหมายของการนําเสนอเรื่องราวเสียมากกว่าจะให้ความสําคัญกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศไปในลักษณะใด

1.การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: อะไร และทําไม?

เป็นการอธิบายที่มาและความหมายของการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมทั้งในระดับสากลและในประเทศไทย โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในฐานะเป็นการท่องเที่ยวแบบมวลชน (Mass Tourism) ซึ่งเป็นการใช้ทุนทางประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และประเพณีเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวในรูปแบบที่แตกต่างกัน พร้อมกับระบุตัวอย่างการศึกษาวัฒนธรรมในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อให้เข้าใจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างลุ่มลึกมากขึ้น

ก่อนศตวรรษที่ 18 การท่องเที่ยวมีความเกี่ยวพันกับความต้องการพักผ่อนหย่อนใจ (Leisure) การหาประสบการณ์ (Experience) และการตากอากาศ (Vacation) อย่างยิ่ง โดยเป็นที่รู้จักกันว่า แกรนด์ทัวร์ (Grand Tour) ซึ่งแม้ว่าส่วนหนึ่งจะหมายถึงการท่องเที่ยวของชนชั้นสูง (Aistocrats) ที่แสดงถึงความมั่งคั่ง และความมีอำนาจในชนชั้นของตนด้วยการส่งลูกหลานให้เดินทางไปศึกษาภายในทวีปยุโรป เพื่อนำความรู้ มาปกครองประเทศตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างรัฐ แต่อีกนัยหนึ่งยังเป็น การเรียนรู้วัฒนธรรม ทั้งการไปชมภาพจิตรกรรม ชมอนุสาวรีย์ และยังหมายถึงการตากอากาศ

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

2.ยลประเด็นร่วมสมัยในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

เป็นการนำเสนอประเต็นร่วมสมัยในการศึกษาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นประเด็นที่วงวิชาการด้านมานุษยวิทยาและสังคมวิทยาตลอดจนวัฒนธรรมศึกษาให้ความสนใจ ในการศึกษาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประกอบด้วยประเด็นทุนทางวัฒนธรรม สินค้าทางวัฒนธรรม การสร้างวัฒนธรรม มดกทางวัฒนธรรมตลอดจนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ ในมิติทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวซึ่งกำลังอยู่ในกระแสนิยม พร้อมกับการทำความรู้จักและเข้าใจ ความหมายและประเภทนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดังนั้นในบทที่ 2 จึงเป็นความพยายามทำความเข้าใจ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมผ่านมุมมองที่หลากหลายและมีชีวิตมากขึ้น

3.นโยบายการเยี่ยมชมวัฒนธรรม

ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ผู้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของ แต่ละประเทศได้แก่ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวซึ่งได้แก่หน่วยงานรัฐ ทั้งนี้ ความหมายของหน่วยงานรัฐดังกล่าวมิใช่เพียงรัฐบาลของประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น หากแต่ยัง หมายรวมถึงหน่วยงานนานาชาติที่รัฐบาลในแต่ละประเทศให้การรับรองว่ามีบทบาทสำคัญ ด้านการกำหนดแนวทางการท่องเที่ยวของโลกอีกด้วย ทั้งนี้อาจแบ่งได้ดังนี้ นโยบายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในองค์กรระดับนานาชาติ เมื่อกล่าวถึงองค์กรในระดับนานาชาติที่กล่าวถึงนโยบายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแล้ว หน่วยงานลำดับแรกซึ่งมีบทบาทด้านการท่องเที่ยวเป็นที่รู้จักกันตี ได้แก่ องค์การท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization:UNWTO)’อันเป็นทบวงการชำนัญพิเศษแห่งองค์การ สหประชาชาติ

กล่าวคือมิติการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism Development) และมิติของการส่งเสริมให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการลดความยากจน (Poverty Reduction) และเกิดการพัฒนาซึ่งส่วนใหญ่เป็นการให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวในภาพรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนายังนับเป็นเจตจำนงหนึ่งขององค์การสหประชาชาติอีกด้วย

4.การจัดการเยือนแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ในบทที่ 4 จะเป็นการให้ภาพกว้างของการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในแง่หลัก การจัดการ มากกว่าจะลงรายละเอียดของวิธีการจัดการ อันเนื่องมาจากรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมมีความหลากหลาย ตลอดจนมีวิธีการจัดการในร้ายละเอียดที่มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านทรัพยากร สถานที่ และกิจกรรม โดยในบทนี้จะนำเสนอแนงทางเบื้องต้นในการบริการ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตลาด การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมการสื่อความหมายในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของที่ระลึก (Souvenirs) ในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และสรุปให้เห็นภาพของการเป็นนวัตกรรมในการจัดการการท่องเที่ยว เชิงวัฒบธรรมในอุบาคต

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

5.เหย้าที่ถูกท่องเที่ยว

เมื่อกล่าวถึง การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดได้แก่คนในชุมชนเจ้าของ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในฐานะเจ้าของบ้าน (Hosts) ให้นักท่องเที่ยวมาเยือน โดยนัยนี้คนใน ชุมชนจึงอยู่ในฐานะผู้ถูกกระทำจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทั้งในด้านนโยบาย เศรษฐกิจ หรือแม้แต่การใช้ชีวิตประจำวัน ในบทที่ 5 จึงเป็นการนำเสนอผลกระทบอันเนื่องมาจากการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมที่มีต่อชุมชน รวมถึงทางออกของคนในชุมชนต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การสร้างพลังอำนาจในชุมชนและการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยว การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ดังรายละเอียดต่อไปนี้ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน เมื่อกล่าวถึงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยทั่วไปมักจะมีความเข้าใจถึงรูปแบบการท่องเที่ยว ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ศาสนา เกษตรกรรม ฯลฯ แม้แต่การค้นหาความหมายขอ วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยวในมิติทางมานุษยวิทยา หรือการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นการกล่าวถึงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในด้านการเป็นอุปสงค์ (Demand Side) ของการท่องเที่ยว ขณะที่ต้านอุปทาน (supply side) ทางการท่องเที่ยว

6.บทสรุป: การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและมรรควิธีเพื่อความยั่งยืนในอนาคต

บทที่ 6 เป็นบทที่จะสรุปว่าการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมซึ่งได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่บทที่ 1 เป็นต้น มาก่อให้เกิดผลกระทบทางบวกและทางลบในระดับมหภาโดยเฉพาะประเทศเจ้าของแหล่งท่องเที่ยว จนถึงระดับจุลภาคซึ่งได้แก่ชุมชนเจ้าของบ้านที่นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชม ขณะเดียวกันยังได้นำเสนอ แนวทางป้องกันและแก้ไขผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นด้วยการนำเสนอสาเหตุประการหนึ่งก็คือการขาด การพิจารณาขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวดังนั้นเราจะทำให้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ไปสู่มรรควิธีเพื่อความยั่งยืนได้อย่างไร และทิศทางของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเทศไทยจะ เป็นอย่างไรต่อไป อันเป็นการสิ้นสุดเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน