การดูแลทางทันตกรรม

การดูแลทางทันตกรรมสำหรับผู้บกพร่องทางการเห็น

การดูแลทางทันตกรรมสำหรับผู้บกพร่องทางการเห็นได้รวบรวมสาเหตุของภาวะบกพร่องทางการเห็น การเข้าใจ การใช้ชีวิตของผู้บกพร่องทางการเห็น สิทธิทางกฎหมายและทางการแพทย์ ปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน รวมถึงปัญหาการเข้าถึงบริการ หนังสือเล่มนี้ขอเสนอ เทคนิคการดูแลทางทันตกรรม การให้ทันตสุขศึกษา เพื่อดูแลและสร้างเสริมสุขภาพ ช่องปากและฟัน เพื่อการดํารงชีวิตประจําวันและเพิ่มคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้บกพร่อง ทางการเห็นให้เพิ่มขึ้น

การดูแลทางทันตกรรมสำหรับผู้บกพร่องทางการเห็น_1

โดยปกตินั้นบุคคลทั่วไปรวมถึงบุคลากรทางทันตกรรมมักมีความรู้สึกกลัว ไม่กล้าและ กังวลที่จะอยู่ร่วมกับผู้บกพร่องทางการเห็น ไม่ใช่อาการรังเกียจ แต่เป็นเพียงไม่ รู้ว่าควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร มีอะไรเป็นข้อห้ามหรือข้อจํากัดบ้าง บางส่วนคิดว่า บางการกระทําอาจจะทําให้ผู้บกพร่องรู้สึกไม่ดี กระทบกระเทือนจิตใจได้ ทําให้คน ทั่วไปรวมทั้งทันตแพทย์ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้บกพร่องทางการเห็นมากนัก หนังสือเล่มนี้จะทำให้เราเข้าใจในแนวทางการปฏิบัติและแนวทางการรักษาทางทันตกรรมในกลุ่มผู้บกพร่องทางการเห็น

การดูแลทางทันตกรรมสำหรับผู้บกพร่องทางการเห็น_2

บทที่ 1 เรียนรู้ เข้าใจ ภาวะบกพร่องทางการเห็น

ความพิการทางการเห็น หมายถึง คนที่มีข้อจํากัดในการทํากิจกรรมชีวิต ประจําวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมี ความบกพร่องในการเห็น หลักเกณฑ์ความพิการ ตามประกาศกระทรวงพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ ได้แบ่งความพิการทางการ เห็นออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตาบอดและตาเห็นเลือนราง เมื่อสิ้นสุดการรักษาพยาบาลตามปกติแล้ว แต่ความผิดปกติหรือ ความบกพร่องนั้นยังคงมีอยู่ และไม่สามารถแก้ไขให้ดีได้ด้วยแว่นสายตาธรรมดา ซึ่งหมายถึงคนที่มีความผิดปกติทางการเห็นภายใต้เงื่อนไข ดังนี้ เมื่อการอักเสบนั้นได้รับการรักษาแล้วอย่างน้อย 3 เดือนและหลังการผ่าตัดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน

การดูแลทางทันตกรรมสำหรับผู้บกพร่องทางการเห็น_3

บทที่ 2 ภาวะบกพร่องทางการเห็นกับงานทันตกรรม

ในการพิจารณาด้านการดูแลทางทันตกรรมนั้น สาเหตุของภาวะบกพร่อง ทางการเห็นที่สัมพันธ์กับปัญหาโรคทางระบบ เช่น ภาวะหัวใจที่ผิดปกติภาวะโรค ประจําตัว เช่น โรคเบาหวาน ที่ผู้บกพร่องทางการเห็นเป็นร่วมอยู่ด้วยนั้นส่งผลต่อ การดูแลทางทันตกรรมมากกว่าภาวะบกพร่องทางการเห็นที่เขาเป็นแต่อย่างไรก็ตาม บางปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะบกพร่องทางการเห็นจะส่งผลต่อการดูแล ทางทันตกรรม เช่น ยาโตอะซีแปม (Diazepam) และยาอะโทรปืน (Atropin) ควรหลีกเลี่ยงสําหรับกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคต้อกระจก เป็นต้น

การดูแลทางทันตกรรมสำหรับผู้บกพร่องทางการเห็น_6

บทที่ 3 แนวทางการรักษาทางทันตกรรมในกลุ่มผู้บกพร่องทางการเห็น

ขั้นตอนในการให้บริการทางทันตกรรมแก่ผู้บกพร่องทางการเห็นควรคํานึง ถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การยินยอมรับการรักษา (Informed consent) การเข้าถึงสถานบริการ (Office accessibility) รวมถึงการจัดสถานที่ ให้บริการให้เหมาะสม การประเมินผู้ป่วย (Patient assessment) การสื่อสารกับผู้พิการ (Communication with persons with disabilities) และการจัดท่าในการรักษาทางทันตกรรมที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสําลัก สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในทางเดินหายใจ (Positioning and airway protection)

การดูแลทางทันตกรรมสำหรับผู้บกพร่องทางการเห็น_4

บทที่ 4 การป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและฟัน

ปัญหาสุขภาพช่องปาก สามารถป้องกันได้ด้วยการปฏิบัติพฤติกรรม ที่เหมาะสม ซึ่งเรียกรวม ๆ กันว่าพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ประกอบด้วย พฤติกรรมที่สําคัญ เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหารตามชนิด รูปแบบ และแบบแผน ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่เป็นโทษต่อสุขภาพ พฤติกรรม การดูแลอนามัยของปาก และพฤติกรรมการตรวจและเฝ้าระวังสุขภาพช่องปาก ของตนเอง พฤติกรรมเหล่านี้เป็นเรื่องของการปฏิบัติในกิจวัตรประจําวัน ซึ่งจะต้อง สร้างและปลูกฝังตั้งแต่เด็ก เพื่อให้ปฏิบัติจนเกิดเป็นความเคยชินและพัฒนาเป็น นิสัยถาวรเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ สามารถดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของตนเอง และให้คําแนะนํากับประชาชนได้อย่าง ถูกต้องการสร้างเสริมสุขภาพเป็นกลยุทธ์ในการป้องกันปัญหาสุขภาพ ผู้บกพร่อง ทางการเห็น และคนพิการจํานวนมากมีความจําเป็นในการส่งเสริมสุขภาพเช่นเดียวกัน หรืออาจมากกว่าประชากรทั่วไป คนพิการมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น คนทั่วไป แต่พวกเขาอาจมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เพิ่มขึ้น อันเป็นผลจากสภาวะ ความบกพร่อง

การดูแลทางทันตกรรมสำหรับผู้บกพร่องทางการเห็น_5

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน