การวิจัยทางรัฐศาสตร์

การวิจัยทางรัฐศาสตร์ เชิงปริมาณเป็นการแสวงหาความรู้ในสาขาต่างๆ ของรัฐศาสตร์ในเชิงประจักษ์ เพื่­อบรรยายลักษณะ ทำนายความสัมพันธ์ หรืออธิบายความสัมพันธ์เชิงตรรกะของปรากฏการณ์ทางรัฐศาสตร์ โดยการใช้ทฤษฎี หรือกรอบแนวคิดทางรัฐศาสตร์และ/หรือศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นแนวทางในการสร้างกรอบและดำเนินการศึกษา มีกระบวนการดำเนินงานและอาศัยระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งเน้นการใช้ตัวเลข เป็นหลักฐานและการวิเคราะห์เชิงสถิติ และอาศัยกฏของความน่าจะเป็นในการอธิบาย ผลการวิจัยให้มีความแม่นยำและเชื่อถือได้

การวิจัยทางรัฐศาสตร์

เนื้อหาประกอบไปด้วยเนื้อหาถึง 16 บท แบ่งออกเป็น

1.การวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์

การวิจัยทางรัฐศาสตร์ อธิบายถึงการวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์ โดยในส่วนแรกจะเป็นการอธิบายโดยสังเขปว่ารัฐศาสตร์คืออะไรและมีขอบเขตการศึกษาครอบคลุม ถึงประเด็นใดบ้าง ต่อจากนั้นจะเป็นการอธิบายถึงความหมายของการวิจัย การวิจัยทางรัฐศาสตร์ และความหมาย ความสําคัญและประโยชน์ของการวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์ ในส่วนต่อไป จะอธิบายถึงลักษณะที่ดีของการวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์และลักษณะของการศึกษาที่ไม่ถือว่า เป็นการวิจัย ในส่วนท้ายของบทจะเป็นการอธิบายถึงจรรยาบรรณของนักวิจัย

การวิจัยทางรัฐศาสตร์

2. ประเภทของการวิจัย

การทําาความเข้าใจในประเภทงานวิจัยและความสามารถในการจําาแนกงานวิจัยมีส่วน ช่วยทําาให้นักวิจัยสามารถวางกรอบการวิจัยให้กระชับรัดกุมและสามารถหาจุดยืนในการวิจัยของตน ได้อย่างถูกต้องและแม่นยําามากยิ่งขึ้น (เทียนฉาย กีระนันทน์, 2544, หน้า 13, จิตราภา กุณฑลบุตร, 2550, หน้า 47) ดังนั้นวัตถุประสงค์หลักของบทที่ 2 คือการอธิบายประเภทของการวิจัยโดยภาพรวม โดยมุ่งอธิบายว่าการวิจัยสามารถใช้เกณฑ์ใดในการแบ่งประเภทได้บ้าง ซึ่งในบทนี้จะได้นําาเกณฑ์ การแบ่งประเภทการวิจัย 6 เกณฑ์มาแบ่งประเภทการวิจัย ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าว ได้แก่ 1) สาขาของ การวิจัย 2) ประโยชน์ของการวิจัย 3) วัตถุประสงค์ของการวิจัย 4) ลักษณะหรือประเภทของข้อมูล การวิจัย 5) ช่วงเวลาของปรากฏการณ์ที่ทําาการศึกษา และ 6) แนวทางการวิจัย

3. กระบวนการในการทำวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์

ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าการทําวิจัยด้านรัฐศาสตร์จําาเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจัดทําให้ถูกต้องตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และมีระเบียบแบบแผนที่เป็นที่ยอมรับตามหลักวิชาการ ดังนั้นการทราบถึงขั้นตอนหรือกระบวนการในการทําาวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์จึงเป็นสิ่งที่สําาคัญอย่างยิ่งเนื่องจากจะทําาให้ผู้วิจัยสามารถทราบถึงการจัดลําาดับขั้นตอนและกระบวนการของ การทําาวิจัยได้อย่างเหมาะสม ในบทนี้จะเป็นการอธิบายถึงกระบวนการและขั้นตอนในการทําาวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์ว่าประกอบไปด้วยกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง และแต่ละขั้นตอนนั้นมีรายละเอียดอย่างไร ในส่วนท้ายของบทนี้จะยกตัวอย่างแผนการ ดําเนินการวิจัยเพื่อที่ผู้วิจัยสามารถนําไปประยุกต์ใช้เป็นกรอบระยะเวลาให้ผู้วิจัยสามารถดําาเนินงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสบความสําเร็จในระยะเวลาที่กําาหนด

4. ปัญหาการวิจัย ชื่อเรื่องงานวิจัยและวัตถุประสงค์การวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์

ปัญหาการวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์ (Qunititative research question in Political Science) หมายถึง ประเด็นทางรัฐศาสตร์ที่นักวิจัยมีความสงสัยและต้องการคําตอบจากข้อสงสัยนั้น การกําหนดปัญหาการวิจัยมีความสําคัญมากที่สุดในการทําวิจัยเนื่องจากสามารถเอื้อให้การวิจัยนั้น ประสบความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เป็นอย่างดี และมีปัญหาในการดําเนินการน้อยที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาการวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์มีความสัมพันธ์อย่างมากกับการกําหนด วัตถุประสงค์และสมมติฐาน โดยอาศัยวิธีการทบทวนทฤษฎี แนวคิดและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับการวิจัยทางรัฐศาสตร์ ดังนั้นหากผู้วิจัยสามารถกําหนดปํญหาการวิจัยได้ดี มีความเหมาะสม และสามารถเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ก็จะทําให้การทํางานของผู้วิจัยนั้นมีปัญหาและ/หรืออุปสรรค น้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม การกําหนดปัญหาการวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์อาจจะเป็นปัญหาใหญ่ อันดับต้น ๆ ของนักวิจัยที่มีประสบการณ์น้อย โดยในการเริ่มทําวิจัยนั้นนักวิจัยหน้าใหม่นั้น อาจจะมีความลําบากและความสับสนในช่วงแรก โดยไม่ทราบว่างานวิจัยของตนนั้นจะต้องเริ่ม จากอะไร และจะต้องทําสิ่งใดเป็นสิ่งแรกเพื่อให้ได้มาซึ่งปัญหาการวิจัย เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีงานวิจัย

5. สมมติฐาน

ดังที่ได้กล่าวไว้ในเบื้องต้นแล้วว่าในการวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์นั้นมักจะมีการกำหนด สมมติฐานเพื่อเป็นการคาดคะเนคำตอบการวิจัยไว้ล่วงหน้า ดังนั้นในบทที่ 5 จะเป็นการอธิบายถึง ความหมายของสมมติฐาน วัตถุประสงค์ในการตั้งสมมติฐาน ลักษณะ ประเภทและการทดสอบ สมมติฐาน ผลที่ได้จากการทดสอบสมมติฐาน ขั้นตอนและความผิดพลาดในการทสอบสมมติฐาน และระดับนัยสำคัญ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ความหมายของสมมติฐาน สมมติฐาน (Hypothesis) หมายถึง ข้อสมมติหรือข้อความที่ผู้วิจัยคาดคะเนไว้ล่วงหน้า อย่างมีเหตุผลซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ และเมื่อผ่านการพิสูจน์แล้วข้อความนั้น ๆ อาจจะเป็นจริงหรือไม่จริง ก็ได้ (Cozby, 2004, p. 374; Mcintyre, 2005, pp. 52-54; Muijs, 2011, p. 7) วัตถุประสงค์ในการตั้งสมมติฐานในการวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์ การตั้งสมมติฐานมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของงานวิจัย โดยผู้วิจัยสามารถ กำหนดเป็นข้อความบอกเล่าที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรของงานวิจัยอย่างน้อย 2 ตัว ซึ่งสามารถช้อธิบายตัวแปรใน 2 ลักษณะ คือ 1) ลักษณะเปรียบเทียบระหว่างตัวแปรและ 2) ลักษณะ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

6. ข้อมูลและตัวแปรในการวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์

ในการวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์นั้น ประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่ผู้วิจัยจำเป็น ต้องมีความรู้อย่างถูกต้องและลึกซึ้งคือประเด็นเรื่องข้อมูลและตัวแปร ดังนั้นรายละเอียดในบทที่ 6 จะเป็นการอธิบายประเด็นทั้งสองประเด็น ได้แก่ 1) ข้อมูล และ 2) ตัวแปร โดยในส่วนแรกจะเป็น การอธิบายถึงความหมายและประเภทของข้อมูล และในส่วนที่สองจะเป็นการอธิบายถึงความหมาย ประเภทและมาตราหรือระดับการวัดของตัวแปร โดยทั้งสองส่วนมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ความหมายของข้อมูล ข้อมูล (Data) คือ รายละเอียด ข้อเท็จจริงหรือหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกิดขึ้นที่สามารถ แสดงออกมาได้หลายรูปแบบ เช่น ในรูปของภาพ ข้อความ หรือตัวเลข ในการทำวิจัยทุกครั้งข้อมูล จะถูกเก็บรวบรวมโดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างผสมผสานกันตามความเหมาะสม ของข้อมูล และนำมากระทำตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย เช่น พรรณนา เปรียบเทียบ วิเคราะห์ สังเคราะห์ อธิบาย หรือสร้างแบบจำลอง เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ (Neuman, 2007, p. 7; Schreiber and Asner-Self, 2011, p. 230)


7. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์

เป็นการอธิบายถึงความหมายของประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์ หลักการในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งนิยมกระทำโดยใช้วิธีการ 3 วิธี คือ 1) การพิจารณาจากขนาดของประชากร 2) การใช้ตาราง สำเร็จรูป และ 3) การใช้สูตรคำนวณ นอกจากนี้ยังได้อธิบายว่าวิธีการสุ่มตัวอย่างสามารถจำแนก ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็นและการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ ความน่าจะเป็นและข้อผิดพลาดในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยมีรายละเอียดตามลำดับดังต่อไปนี้ ประชากร ประชากร (Population) หมายถึง สมาชิกทั้งหมดที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา ทั้งนี้สมาชิกแต่ละ หน่วยในประชากรเรียกว่า หน่วยประชากร (Element) ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งหน่วยที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาอาจเป็นคน ครัวเรือน หมู่บ้าน สถานบริการหรือองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของงานวิจัย (Pole, & Lampard, 2002, p. 32; McIntyre, 2005, p. 94; สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, 254 1, หน้า 101) ตัวอย่างของประชากรการวิจัย มีดังตารางต่อไปนี้

8. เครื่องมือการวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์

ในการวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐตาสตร์นั้นผู้วิจัยสามารถใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลได้หลายประเภท โดยในการวิจัยเรื่องหนึ่งอาจใช้เครื่องมือในการวิจัยเพียงประเภทเดียว หรือจะใช้เครื่องมือมากกว่า 1 ประเภทก็ได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของบทที่ 8 คือ การอธิบายถึง รายละเอียดของเครื่องมือการวิจัย 5 ประเภท ได้แก่ 1) แบบทดสอบ 2) แบบสอบถาม 3) แบบวัดเจตคติ 4) การสัมภาษณ์ และ 5) การสังเกต เพื่อให้ผู้วิจัยได้รับทราบรายละเอียดและนำไปประยุกต์ ใช้ในงานวิจัยของตน ซึ่งมีรายละเอียดตามลำดับดังต่อไปนี้ เครื่องมือการวิจัย เครื่องมือการวิจัย หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือวัดค่าตัวแปร ที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา ทั้งนี้ ในการศึกษาวิจัยทางด้านรัฐศาสตร์ไม่สามารถที่จะสร้างเครื่องมือสำหรับ วัดสิ่งที่มีความเป็นนามธรรมได้อย่างถูกต้อง สมบูรณ์และครบถ้วน ดังนั้น ในการวัดสิ่งที่เป็นนามธรรมนี้ ผู้วิจัยจำเป็นต้องสร้างเครื่องมือสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือวัดค่าตัวแปรขึ้นมาเอง ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และเครื่องมือการวิจัยก็ได้ถูกสร้างและพัฒนาโดยมีหลายรูปแบบ ได้แก่ 1) แบบทดสอบ (Test) 2) แบบสอบถาม (Questionnaire) 3) แบบวัดเจตคติ (Attitude) 4) การสัมภาษณ์ (Interview) 5) การสังเกต (Observation) ทั้งนี้ ในการทำวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์เรื่องหนึ่งผู้วิจัย 9. สถิติการวิจัย ในการวิจัยทางรัฐศาสตร์หากผู้วิจัยออกแบบการวิจัยให้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ หรือการวิจัยผสมผสานระหว่างงานวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพก็มีความจำ เป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักสถิติ วัตถุประสงค์หลักของบทที่ 9 นี้คือ การอธิบายถึงความหมาย ของสถิติ ประเภทของสถิติและรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่สำคัญนักวิจัยต้องมีทักษะ และความสามารถในการนำสถิติมาประยุกต์ใช้ในการนำเสนอและวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยของตนให้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ความหมายของสถิติ ความหมายของสถิติมี 2 นัยยะ ใหญ่ ๆ ดังนี้ นัยยะที่ 1 สถิติ หมายถึง ตัวเลข (numeral) ที่แสดงข้องเท็จจริงของข้อมูล (numerical facts) เรื่องใดเรื่องหนึ่ง นัยยะที่ 2 สถิติ หมายถึง ศาสตร์ที่ใช้ในการดำเนินการศึกษาข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การตีความข้อมูลและการสรุปข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำไป อ้างอิงไปยังลักษณะของประชากร

10. การจัดการข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

โปรแกรม Statistical Package for the Social Sciences (SPSS) เป็นอีกโปรแกรมหนึ่ง ซึ่งการวิจัยทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์นิยมนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากสามารถช่วยให้ ผู้วิจัยวิเคราะห์ นำเสนอและจัดการกับข้อมูลได้ง่าย รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถ เชื่อมโยงข้อมูลจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่นได้อีกด้วย ในบทนี้จะเป็นการอธิบายวิธีการจัดการข้อมูล ด้วยโปรแกรมดังกล่าว โดยใช้ Version 19 เป็นตัวอย่างในการอธิบาย ซึ่งจะอธิบายถึงการสร้างแฟ้มข้อมูล การกำหนดตัวแปร การตรวจสอบข้อมูลการจัดการข้อมูล การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลและการคำนวณข้อมูล

11. การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิและตาราง

โปรแกรม SPSS นั้น นอกจากจะสามารถช่วยให้ผู้วิจัยจัดการกับข้อมูสได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพแล้ว ยังสามารถช่วยให้ผู้วิจัยนำเสนอข้อมูลสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วอีกด้วย ทั้งนี้โปรแกรม SPรS จะมีรูปแบบต่าง ๆ ให้เลือกหลายรูปแบบ เช่น แผนภูมิแท่ง แผนภูมิวงกลม ในที่นี้จะอธิบายการนำเสนอในรูปแบบแผนภูมิและรูปแบบตาราง ซึ่งมีรายละเอียดและวิธีการ ดังต่อไปนี้ แผนภูมิแท่ง แผนภูมิแท่ง (Bar Charts) เป็นแผนภูมิที่สามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายที่สุดสามารถ เปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ ที่นำมาแสดงได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย โดยเฉพาะเมื่อมีคำบรรยาย ประกอบ และสามารถใช้ในการเสนอข้อมูลได้ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งสามารถใช้คำสั่ง ในการสร้างแผนภูมิแท่งได้ 2 คำสั่ง ได้แก่คำสั่ง Frequencies และ คำสั่ง Charts คำสั่ง Frequencies มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ ขั้นที่ 1 เลือกคำสั่ง Analyze > Descritive Statistics > Frequencies ตามลำดับ ขั้นที่ 2 เลือกตัวแปรที่ต้องการนำเสนอด้วยแผนภูมิแท่ง (ในที่นี้เลือกตัวแปร Gender)โปรแกรม SPSS นั้น นอกจากจะสามารถช่วยให้ผู้วิจัยจัดการกับข้อมูสได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพแล้ว ยังสามารถช่วยให้ผู้วิจัยนำเสนอข้อมูลสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วอีกด้วย ทั้งนี้โปรแกรม SPรS จะมีรูปแบบต่าง ๆ ให้เลือกหลายรูปแบบ เช่น แผนภูมิแท่ง แผนภูมิวงกลม ในที่นี้จะอธิบายการนำเสนอในรูปแบบแผนภูมิและรูปแบบตาราง ซึ่งมีรายละเอียดและวิธีการ ดังต่อไปนี้ แผนภูมิแท่ง แผนภูมิแท่ง (Bar Charts) เป็นแผนภูมิที่สามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายที่สุดสามารถ เปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ ที่นำมาแสดงได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย โดยเฉพาะเมื่อมีคำบรรยาย ประกอบ และสามารถใช้ในการเสนอข้อมูลได้ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งสามารถใช้คำสั่ง ในการสร้างแผนภูมิแท่งได้ 2 คำสั่ง ได้แก่คำสั่ง Frequencies และ คำสั่ง Charts คำสั่ง Frequencies มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ ขั้นที่ 1 เลือกคำสั่ง Analyze > Descritive Statistics > Frequencies ตามลำดับ ขั้นที่ 2 เลือกตัวแปรที่ต้องการนำเสนอด้วยแผนภูมิแท่ง (ในที่นี้เลือกตัวแปร Gender)

12. การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาด้วยโปรแกรม SPSS FOR WINDOWS

จากการที่ได้อธิบายถึงวิธีการและขั้นตอนในการจัดระเบียบข้อมูลการวิจัยที่ได้จากการเก็บ ข้อมูลให้อยู่ในสภาพที่พร้อมนำไปวิเคราะห์ต่อไปนั้น ในบทนี้จะเป็นการอธิบายถึงสถิติที่ผู้วิจัยสามารถ นำไปใช้วิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงปริมาณ โดยจะแบ่งสถิติออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานในบทนี้จะเป็นการอธิบายสถิติเชิงพรรณนา ซึ่งมีรายะเอียดดังต่อไปนี้ สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) มีวัตถุประสงค์หลักในการนำไปใช้ คือ การนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณในลักษณะการบรรยายลักษณะของข้อมูลหรือตัวแปรต่าง ๆ ที่ผู้วิจัย ได้รับจากการเก็บรวบรวมข้อมูลว่ามีลักษณะเป็นเช่นไร สถิติที่ใช้ในการบรรยายคุณลักษณะของข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) มัธยฐาน (Median) พิสัย (Range) ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ซึ่งจะได้อธิบายตามลำดับ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ความถี่ (Frequency) หมายถึง จำนวนครั้งที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ กันของข้อมูล ในการคำนวณหา ความถี่และหาค่าสถิติพื้นฐาน ผู้วิจัยสามารถกระทำได้โดยใช้เมนูคำสั่ง Analyze → Descriptive Statistics Frequencies

13. การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์

การอุธิบายถึงการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ (Correlational analysis) นี้มีความสำคัญ สืบเนื่องจากการวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์ในหลายกรณีเป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของตัวแปร หลายตัวแปร ซึ่งตัวแปรที่ศึกษาอาจมีความสัมพันธ์กันในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ในบทนี้ จะเป็นการอธิบายถึงการวิเคราะห์ความสัมพันธ์สองประเภทคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์อย่างง่าย และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบพหุ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ประเภทของการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ความสัมพันธ์อย่างง่าย (simple or pair-wise correlation) และความสัมพันธ์แบบพหฺ (Multiple correlation) ทั้งนี้ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ทั้ง 2 กลุ่ม มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 1. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์อย่างง่าย ความสัมพันธ์อย่างง่าย (simple or pair-wise correlation) ใช้สัญลักษณ์ r เป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวแปร (1 คู่) โดยในการวิจัยเรื่องหนึ่งอาจกำหนดวัตถุประสงค์ ในการศึกษาตัวแปรมากกว่า 1 คู่ แต่ผู้วิจัยจะวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรแต่ละคู่

14. การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเพื่อการทดสอบสมมติฐาน

ในบทที่ 14 นี้ จะเป็นการอธิบายถึงสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน (Statistic for hypothesis testing) 2 รูปแบบ คือ 1) การทดสอบที่ใช้พาราเมตริก โดยจะอธิบายถึงรายละเอียด ของการทดสอบซี่ การทดสอบที่ และการทดสอบเอฟ และ 2) การทดสอบที่ร้พาราเมตริก โดยจะได้ อธิบายการทดสอบไคสแควร์ ทั้งนี้การทดสอบทั้งสองรูปแบบมีรายละเอียดในการนำไปใช้ ดังต่อไปนี้ การทดสอบสมมติฐานที่ใช้พาราเมตริก การทดสอบสมมติฐานที่ใช้พาราเมตริก (Parametric tests) สามารถนำไปใช้ได้ เมื่อการศึกษาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ 1. ทราบการแจกแจงของข้อมูลประชากร ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัดส่วน ค่าเฉลี่ย 2. ข้อมูลอยู่ในระดับช่วง (Interval) หรือ อัตราส่วน (Ratio) การทดสอบสมมติฐานแบบนี้สามารถใช้สถิติพาราเมตริก เช่น การทดสอบซี (Z -test) การทดสอบที (t-test) และการทดสอบเอฟ (F-test) เป็นต้น ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. การทดสอบซี การทดสอบซี (Z-test) เป็นอีกหนึ่งการทดสอบที่สามารถนำมาใช้ในการทดสอบ สมมติฐานได้ โดยจะนำมาใช้ในกรณีที่ผู้วิจัยสามารถทราบค่าความแปรปรวนของประชาก

15. การวิเคราะห์การถดถอย

ในบทนี้จะเป็นการอธิบายถึงการวิเคราะห์การถดถอย 2 ลักษณะ ได้แก่ การวิเคราะห์ การถดถอยแบบเส้นตรงแบบง่าย (simple linear regression analysis) และการวิเคราะห์การถดถอย แบบเส้นตรงพหุคุณหรือเชิงซ้อน (multiple linear regression analysis) นอกจากนี้จะอธิบาย รายละเอียดการคำนวณการวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรง ซึ่งประเด็นต่าง ๆ มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ การวิเคราะห์การถดถอย การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปสองตัว โดยตัวแปรทั้งสองต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ เป็นตัวแปรเชิงปริมาณซึ่งมีลักษณะ ของการเป็นข้อมูลต่อเนื่อง (Quantitative variables) โดยระดับการวัดเป็นระดับอันตรภาค (interval scale) หรือระดับอัตราส่วน (ratio scale) โดยที่ตัวแปรแรกเป็นตัวแปรอิสระ (Independent variable แทนด้วย X) ซึ่งอาจเรียกว่าตัวแปรพยากรณ์หรือตัวแปรทำนาย (Predicted Variable) อีกตัวแปรหนึ่งเป็นตัวแปรตาม (Dependent variable แทนด้วย Y) ซึ่งอาจเรียกว่าตัวแปรตอบสนอง (Response variable) การวิเคราะห์การถดถอยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ว่า หากตัวแปรอิสระ (X) เปลี่ยนไปแล้วตัวแปรตาม (Y) จะเปลี่ยนไปด้วยหรือไม่ และหากมีการเปลี่ยนแปลงจะสามารถบอกได้ ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปในทิศทางและมีขนาดมากน้อยอย่างไร การวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐ

16. การเขียนรายงานการวิจัย

หลังจากที่ได้อธิบายถึงกระบวนการในการทำวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์ การวิเคราะห์ และการแปรผลการวิจัยไปแล้วในบทต่าง ๆ ก่อนหน้านี้ ในบทนี้จะเป็นการอธิบายถึงการเขียนรายงาน วิจัยและการเขียนรายงานการวิจัยในวารสาร ซึ่งการเขียนรายงานทั้งสองรูปแบบนี้เป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัย จะกระทำหลังจากที่ได้ศึกษาค้นคว้าจนได้พบความจริงและได้รับความรู้ใหม่ ๆ ตามที่กำหนดไว้ใน วัตถุประสงค์ของงานวิจัย โดยผู้วิจัยจะต้องเรียบเรียงและอธิบายเนื้อหาต่าง ๆ ในงานวิจัยได้อย่างเป็น ระบบและมีระเบียบแบบแผนเพื่อนำเสนอข้อเท็จจริง หรือความรู้ที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้า เพื่อที่จะได้เป็นแนวทางในการส่งเสริมองค์ความรู้ทางวิชาการให้มีความก้าวหน้าต่อไป การเขียนรายงานวิจัยและส่วนประกอบของรายงานการวิจัย ในการเขียนรายงานการวิจัยทางรัฐศาสตร์มีลักษณะและรูปแบบกับการเขียนรายงาน การวิจัยในสาขาวิชาอื่น ในส่วนนี้จะเป็นการอธิบายการเขียนรายงานการวิจัย ซึ่งเนื้อหาจะประกอบไป ด้วยส่วนประกอบของรายงานการวิจัยและข้อคำนึงในการเขียนรายงานการวิจัย ส่วนประกอบของการรายงานการวิจัย สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนตอนต้น 2) ส่วนเนื้อหา 3) ส่วนตอนท้ายหรือส่วนบรรณานุกรมและภาคผนวก

การวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์

การวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์ เป็นการแสวงหาความรู้ในสาขาต่าง ๆของรัฐศาสตร์ในเชิงประจักษ์ เพื่อบรรยายลักษณะ ทำนายความสัมพันธ์ หรืออธิบายความสัมพันธ์เชิงตรรกะของปรากฎการณ์ทางรัฐศาสตร์ โดยการใช้ทฤษฎี หรือกรอบแนวคิดทางรัฐศาสตร์และ/หรือศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นแนวทางในการสร้างกรอบและดำเนินการศึกษา มีกระบวนการดำเนินงานและอาศัยระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งเน้นการใช้ตัวเลข เป็นหลักฐานและการวิเคราะห์เชิงสถิติ และอาศัยกฎของความน่าจะเป็นในการอธิบาย ผลการวิจัยให้มีความแม่นยำและเชื่อถือได้ หนังสือเล่มนี้เป็นความพยายามของ ผู้เขียนที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้วิจัยที่ต้องการทำการวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์ ให้ทำงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นการวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐ

เอกสารอ้างอิง

เทียนฉาย กีระนันทน์. (2544). สังคมศาสตร์วิจัย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2541). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน