8 ฟอนต์ ใช้แล้วทำให้งานออกแบบ

5 ฟอนต์ฟรี ยอดนิยมสำหรับการทำหนังสือ

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าตัวอักษรเป็นหัวใจหลักของหนังสือ ที่จะถ่ายทอดเรื่องราวและความรู้ต่าง ๆ ลงไป ซึ่งในอดีตการจัดพิมพ์หนังสือมีรูปแบบอักษร หรือฟอนต์ (Font) ให้ใช้งานไม่มากนัก แต่ในปัจจุบันแบบอักษรถูกพัฒนามาในรูปแบบของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่เราเรียกว่าฟอนต์ โดยเราจะคุ้นชินกันมากสำหรับคนที่ใช้งานโปรแกรม Microsoft Word ที่สามารถปรับรูปแบบ ขนาด รวมถึงน้ำหัก (ความหนา) ของฟอนต์ได้ และทุกครั้งที่นักเขียนจะมีคำถามในใจว่าแล้วฟอนต์ไหน ที่ดีสำหรับการนำมาเป็นแบบฟอนต์ หัวข้อนี้จะมาแนะนำฟอนต์ที่ได้รับความนิยมสำหรับการทำหนังสือ และที่สำคัญคือต้องสามารถใช้ได้โดยถูกลิขสิทธิ์

ฟอนต์นั้นมีการออกแบบมาให้เราได้เห็นอย่างมากมายที่เราได้พบเห็นกันมาก ก็จะเป็นหนังสือ งานสื่อโฆษณา เรียกได้ว่าแบบฟอนต์นั้นอยู่กับชีวิตประจำวันของเราตลอดเวลา การออกแบบฟอนต์ก็จะมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับการนำเอาไปใช้งาน บางฟอนต์อาจจะออกแบบมาเพื่อสื่อโฆษณาสั้น ๆ ไม่ได้ทำเพื่อให้อ่านเป็นเวลานาน ๆ บางฟอนต์ก็ออกแบบมาให้อ่านได้อย่างสบาย ๆ สายตา เหมาะกับการนำมาทำแบบอักษรที่ต้องการให้คนอ่านได้ใช้เวลากับตัวอักษรได้นาน ๆ

แล้วฟอนต์ไหนที่เหมาะสำหรับงานหนังสือ? ซึ่งทางสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวรเราก็ได้มีการใช้งานฟอนต์เป็นจำนวนมาก แต่รู้หรือไม่ว่าโดยหลัก ๆ แล้วเนื้อหาในหนังสือของเราก็จะประกอบไปด้วยฟอนต์ หลัก ๆ ที่ทำสำหรับเนื้อหาเพียงไม่กี่ฟอนต์ วันนี้เราจริงคัดฟอนต์ที่เราใช้งานกันป็นประจำและเหมาะสำหรับการทำหนังสือมาดูกันว่ามีฟอนต์อะไรบ้าง

TH Sarabun NEW

ออกแบบโดย คุณศุภกิจ เฉลิมลาภ เดิมชื่อ TH Sarabun PSK SIPA ร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ร่วมกันแก้ไขสัญญาอนุญาตฟอนต์ให้สามารถใช้งานได้อย่างเสรี หรืออีกชื่อ คือ ฟอนต์แห่งชาติ (สำนักพิมพ์แนะนำ และเป็นฟอนต์ตามมาตรฐานสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร) ลิงค์ดาวน์โหลด

TH Niramit AS

ออกแบบโดย ทีมอักษราเมธีเป็น 1 ใน 13 ฟอนต์ PSK SIPA ร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ร่วมกันแก้ไขสัญญาอนุญาตฟอนต์ให้สามารถใช้งานได้อย่างเสรี (สำนักพิมพ์แนะนำ และเป็นฟอนต์ตามมาตรฐานสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร) ลิงค์ดาวน์โหลด

Angsana New

เป็นฟอนต์ที่เราคุ้นเคยกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นฟอนต์ที่รองรับภาษาไทยเป็นฟอนต์แรก ๆ ที่ติดมากับโปรแกรม Microsoft Word และนิยมใช้นำหนังสือ หรือเอกสารทางราชการกันในอดีต แต่ก็ยังได้รับความนิยมยาวนานมาถึงปัจุบันที่เหมาะแก่การเอาไปทำเป็นเฟอนต์เนื้อหาในหนังสือ

Cordia New

เป็นอีก 1 ฟอนต์ที่มากับโปรแกรม Microsoft Word และนิยมใช้กันในงานราชการ เอกสารทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ กันอย่างแพร่หลาย เหมาะแก่การนำไปทำเป็นฟอนต์สำหรับเนื้อหาที่อ่านได้อย่างดีทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ

Times New Roman

เป็นฟอนต์ที่ได้รับความนิยมสำหรับการพิมพ์หนังสือภาษาอังกฤษโดยส่วนมากเราจะคุ้นชินกันในหนังสือต่างประเทศ เป็นอีก 1 ฟอนต์ภาษาอังกฤษที่เราแนะนำสำหรับการทำหนังสือเพราะมีรูปแบบที่อ่านง่าย และเป็นสากล ซึ่งฟอนต์นี้ก็ติดมากับโปรแกรม Microsoft Word เช่นเดียวกัน(สำนักพิมพ์แนะนำ และเป็นฟอนต์ตามมาตรฐานสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร)

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน