วิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา

แนะนำหนังสือออกใหม่ สำหรับนักวิจัยทางการศึกษาห้ามพลาด “วิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา” เขียนโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิวัฒน์ มีสุวรรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  “เมื่อการบูรณาการการวิจัยกับงานทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ” การเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการวิจัย เทคนิควิธีการ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการศึกษาด้วยการนำการวิจัยมาเป็นส่วนหนึ่งในงานด้านเทคโนโลยีการศึกษาจึงมีความสำคัญด้วยเช่นกัน หนังสือเล่มนี้จึงได้รวบรวมและเรียบเรียงเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีและการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นประโยชน์และสำคัญกับการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเรียนรู้และนำความรู้จากหนังสือเล่มนี้ไปใช้ประโยชน์ สำหรับการทำวิจัย วิทยานิพนธ์ และผลงานวิชาการต่าง ๆ ได้

วิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา

1. เทคโนโลยีการศึกษากับการวิจัย

เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคนโลยีคอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม มีผลกระทบสำคัญต่อระบบการศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้เรียนแต่ละ บุคคลมีส่วนร่วมในการเรียน มีบทบาททั้งในโลกจริงและในโลกดิจิทัล ผู้เรียนจำเป็นต้องอาศัยข้อมูล ที่มีอยู่ในสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้แบบดิจิทัล ผู้เรียนชอบการปรับแต่งและการทำงานร่วมกัน และมีอิสระเปิดกว้าง มีความบันเทิงและนวัตกรรมที่ทันสมัย สร้างความคาดหวังสูง กล้าแสดง ความคิดเห็น มีความซื่อสัตย์ได้ร่วมกันทำงานอย่างสนุกสนานตลอดเวลา จนเกิดความคิดสร้างสรรค์ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ในสังคมไทยให้มีคุณภาพทันยุคสมัย การจัดกระบวนการเรียนรู้ ต้องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญ สถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น ส่งเสริมสนับสนุนการจัด บรรยากาศ สภาพแวดล้อมสื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้

2. การออกแบบและพัฒนาสื่อ

ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นหน้าที่ครูที่ต้องดำเนินการวางแผน ออกแบบ พัฒนา ปฏิบัติ และประเมินสื่อการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม ซึ่งปัจจุบันครูผู้สอน มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในห้องเรียนเพิ่มมากขึ้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์ เครื่องฉายภาพทึบแสง ไมโครโฟน กระดานอัจฉริยะ อินเทอร์เน็ต ส่วนนักเรียนได้มีการใช้เทคโนโลยีเช่นกัน เมื่อทั้งครูและนักเรียน ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน สิ่งสำคัญในการใช้เทคโนโลยี ต่าง ๆ เหล่านั้น คือ การตระหนักถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยีมาใช้นอกเหนือ จากการเรียนที่อาจส่งผลกระทบในทางลบกับครูผู้สอน ผู้เรียน และห้องเรียน อาจทำให้ครูผู้สอน พึ่งพาการใช้ทคโนโลยีมากเกินไป จนไม่อาจเลือกหรือใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ เท่าที่ควรจะเกิดขึ้นได้ ทำให้ความสามารถของเทคโนโลยีไม่เป็นไปได้อย่างเต็มที่ ส่งผลต่อ การใช้งานและนักเรียนเองอาจไม่สนใจในสิ่งที่เรียน กลายเป็นคนที่รอคอยความรู้ เนื้อหา บทเรียนจากครูผู้สอนเช่นเดิม

3. การประเมินประสิทธิภาพสื่อ

เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่นักวิจัยทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาจะต้องเรียนรู้และ ทำความเข้าใจถึงกระบวนการปฏิบัติที่เหมาะสมและถูกต้อง เมื่อได้ทำการออกแบบและพัฒนาสื่อ เรียบร้อยแล้ว กระบวนการหรือขั้นตอนต่อมาคือ การทดสอบหาประสิทธิภาพสื่อ เป็นกระบวนการ ที่สำคัญ สำหรับการดำเนินการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา นอกจากต้องอาศัยหลักการหรือทฤษฎี ที่ถูกต้องสำหรับการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนหรือสื่อการเรียนการสอนแล้ว ยังจำเป็นจะต้องมีการทดสอบ เพื่อให้แน่ใจว่านวัตกรรมการเรียนการสอนหรือสื่อการเรียนการสอน นั้นมีคุณภาพสามารถนำไปใช้ได้จริงหรือคุณภาพก่อนนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอน หากนวัตกรรมการเรียนการสอนหรือสื่อการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นไม่มีคุณภาพ หรือไม่ได้ผ่าน การทดสอบหาประสิทธิภาพแล้ว จะทำเกิดความไม่มั่นใจในประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ นวัตกรรมการเรียนการสอนหรือสื่อการเรียนการสอนนั้น ย่อมก่อผลเสียต่อผู้เรียนอีกด้วยและ ผู้พัฒนา ดังนั้นการประเมินสื่อการเรียนการสอนจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง

4. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบัน มุ่งสู่การเป็นสังคมแห่งการแสวงหาความรู้ เพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ด้าน จึงจำเป็นต้องใช้ ความรู้ของมนุษย์เพื่อให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง ด้วยการส่งเสริมสิทธิและความเสมอภาค ในการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่เห็นได้ชัดในสังคมแห่งการเรียนรู้ คือ การนำผล จากการศึกษาหรือการวิจัยมาใช้ประโยชน์ในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการศึกษาของคนในสังคม เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ และ พัฒนาโครงสร้างความรู้ของมนุษย์ในสังคมให้สามารถเชื่อมต่อความรู้ที่ถูกต้องได้อย่างแท้จริง จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบโครงสร้างความรู้ของมนุษย์ในสังคมได้ในอนาคต ดังนั้น การทำวิจัยจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคม โดยเฉพาะในประเด็นหรือบริบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับทางด้านการศึกษา

5. เครื่องมือวิจัย

ในการดำเนินการวิจัยไม่ว่าจะเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพหรือการวิจัยเชิงปริมาณ การให้ได้มา ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้สามารถตอบคำถามการวิจัยหรือหาคำตอบได้ถูกต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้ นักวิจัยจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่เรียกว่า เครื่องมือกาวิจัย (Research Tools) ในการ วิจัยทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษานั้น นอกจากสื่อหรือนวัตกรรมที่เป็นเครื่องมือในการวิจัย แล้ว ยังมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้ในการวิจัยทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นแบบทดสอบ (Test) แบบสอบถาม (Questionnaires) แบบสัมภาษณ์ (Inteview) แบบสังเกต (Observation) ก่อนที่ผู้วิจัยจะตัดสินใจนำเครื่องมือวิจัยแบบใดไปใช้นั้น ผู้วิจัย ต้องทำการวิเคราะห์และทำการออกแบบและพัฒนาจากหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กับวัตถุประสงค์ของการวิจัย วิเคราะห์ตัวแปรและปัญหาการวิจัย รวมทั้งต้องเป็นไปตามเกณฑ์ มาตรฐานของเครื่องมือการวิจัยที่จะสามารถนำไปใช้ในภาคสนาม เก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยจริง ต่อไปได้

6. สถิติสำหรับการวิจัย

ประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจและน่าใช้ให้ถูกต้องสำหรับการวิจัย คือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้สถิติในการวิจัย เพราะเมื่อผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมและมีคุณภาพแล้วนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติจึงเป็นกระบวนการ ต่อมาเพื่อนำผลการวิเคราะห์จากค่าสถิติมาสรุปและรายงานผลการวิจัย ความหมายของสถิติ เมื่อกล ่าวถึงความหมายของคำว่า สถิติมีนักการศึกษาและนักวิจัยหลายท ่านได้ให้ ความหมายในมุมมองที่ใกล้เคียงกันคือ สถิติจะเกี่ยวข้องกับการกระทำทางด้านคณิตศาสตร์ ที่นำหลักการทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการอธิบายปรากฏทางด้านการวิจัย อาทิ ปกรณ์ ประจันบาน (2552: 205-206) ได้ให้ความหมายคำว่า สถิติ(Statistics) โดยจำแนกได้2 ความหมาย ประกอบด้วย ความหมายในแง่ของ ตัวเลข (Number) ที่แทน ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ เช่น สถิติการมาเรียนของนักเรียน สถิติการออกกลางคันของนิสิต และหมายถึง วิธีการ (Method) ที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลหรือที่เรียกว ่า ระเบียบวิธีทางสถิต

7. การเขียนรายงานวิจัย

เมื่อผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล จนได้ผลการวิจัยแล้ว ขั้นตอนสำคัญ ต่อมาคือ การเขียนรายงานวิจัย ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ผู้วิจัยต้องดำเนินการและตรวจสอบความถูกต้อง อย่างละเอียด เพราะเมื่อรายงานที่ได้เขียนหรือเรียบเรียงนั้นได้เผยแพร่สู่สาธารณะแล้ว ข้อผิดพลาด ในเล่มรายงานการวิจัยจะส่งผลอย่างมากต่อความเข้าใจที่อาจผิดพลาดได้เนื่องจากความผิดพลาด ในการเรียบเรียงในเล่มรายงานการวิจัยนั้นเอง พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2549) ได้กล่าวว่า การเขียนรายงาน การวิจัย คือ เอกสารที่ผู้วิจัยเรียบเรียงขึ้นมา หลังจากได้ดำเนินการวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว เพื่อนำเสนอ รายละเอียดเกี่ยวกับการวิจัยให้ผู้สนใจได้ทราบเหตุผลและที่มาของปัญหา กรอบแนวคิดในการวิจัย วิธีการดำเนินการวิจัยและผลการดำเนินการวิจัย การเรียบเรียงหรือข้อความที่ปรากฎในรายงาน การวิจัยจึงเป็นประโยคที่กล่าวถึงสิ่งที่ได้ทำมาแล้ว หรือกล่าวถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาในอดีต และสาระของรายงานการวิจัยในแต่ละหัวข้อ หรือแต่ละบท จะมีลักษณะเฉพาะที่มีความเป็น เอกภาพและแตกต่างกัน แต่จะมีความสัมพันธ์สอดคล้องกันระหว่างแต่ละหัวข้อหรือแต่ละบท

8. การเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม

การเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม เป็นส่วนสำคัญของการเขียนรายงานการวิจัย ทั้งนี้ เพราะผู้วิจัยได้ศึกษา รวบรวมข้อมูลที่น่าเชื่อถือจากแหล่งปฐมภูมิและแหล่งทุติยภูมิ ไม่ว่าจะเป็น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อคอมพิวเตอร์ บทความวิชาการ รายงานวิชาการ วารสาร ดัชนี พจนานุกรม สารานุกรม วิทยานิพนธ์ ภาพยนตร์ วีดิทัศน์ แถบบันทึกเสียง CD-ROM E-mail Internet ฯลฯ นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่จะนำไปใช้ประกอบการทำวิจัยและช่วยในการตัดสินใจในการ ทำวิจัย รวมทั้งทำให้ผู้อ่านงานวิจัยเข้าใจและทราบแหล่งที่มาของข้อมูลสำคัญ ๆ ที่ใช้ประกอบหรือ อ้างอิงในงานวิจัย เพื่อให้สามารถนำไปค้นคว้าต่อไปได้ แสดงการรับรู้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่น และเป็น ความรับผิดชอบด้านจริยธรรมการวิจัยของนักวิจัยที่พึงควรกระทำอีกด้วย ดังนั้นเมื่อมีการนำข้อมูล จากแหล่งอื่นมาใช้ ผู้วิจัยจำเป็นต้องระบุที่มาของแหล่งข้อมูลว่าเป็นแหล่งข้อมูลประเภทใด เป็นผลงานของใคร ข้อมูลนั้นจัดทำขึ้นเมื่อไร ที่ไหน การเขียนรายการแหล่งข้อมูลเหล่านี้ลงไป

เอกสารอ้างอิง

ปกรณ์ ประจันบาน. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

ศิริชัย กาญจนวาสีทวีวัฒน์ปิตยานนท์และดิเรก ศรีสุโข. (2555). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสม
สำหรับการวิจัย
. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน