พรมมิ สมุนไพรบำรุงความจำ

พรมมิ สมุนไพรบำรุงความจำ

พรมมิ เป็นสมุนไพรที่เป็นทั้งอาหารและยาในตำราอายุรเวทของอินเดีย ระบุว่าพรมมิช่วยเรื่องเพิ่มความจำบำรุงสมอง รวมทั้งมีสรรพคุณทางยาอื่น ๆ อีกมากมาย จนได้ชื่อว่า พรมมิ หรือ Brahmi ซึ่งมีความหมายถึงพระพรหม ผู้ให้กำเนิดโลก และสรรพสิ่ง สำหรับในประเทศไทย มีหลักฐานการใช้พรมมิเป็นยา ตั้งแต่สมัยอยุธยา นอกจากสรรพคุณที่มีการบันทึกทางการแพทย์พื้นบ้านแล้ว ยังมีรายงานทางวิทยาศาสตร์ พิสูจน์ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และความปลอดภัย ของพรมมิ ทั้งในระดับหลอดทดลอง สัตว์ทดลอง และมนุษย์ รวมทั้งมีการรายงาน ด้านองค์ประกอบทางเคมี ทำให้พรมมิจัดเป็นสมุนไพรที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากความเสื่อม โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท และสมอง นอกจากนี้ พรมมิยังแพร่กระจายและขยายพันธุ์ได้ง่าย โดยพบอยู่ทั่วไปในประเทศไทย และประเทศในเขตร้อนชื้น จึงเหมาะที่จะนำมาพัฒนาต่อเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ


พรมมิเป็นสมุนไพรที่มีอยู่ในประเทศไทยและมีการใช้มาอย่างยาวนาน โดยอยู่ในตำรับยาต่าง ๆ เช่น ยาเขียวมหาพรหม ยาแก้ซางแห้งในเด็ก พรมมิยังเป็นสมุนไพรที่นิยมใช้กันอย่างมากในการแพทย์อายุรเวทของอินเดีย อย่างไรก็ตาม พรมมิยังไม่เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างขวางของประเทศไทยนัก จนเมื่อปี พ.ศ. 2548 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ประกาศให้ทุนวิจัยในลักษณะบูรณาการเพื่อวิจัยและพัฒนาสมุนไพรไทย

1. บทนำ

พรมมิเป็นสมุนไพรที่เป็นทั้งอาหารและยา ในตำราอายุรเวทของอินเดีย ระบุว่าพรมมิช่วยเรื่องเพิ่มความจำ บำรุงสมอง รวมทั้งมีสรรพคุณทางยาอื่น ๆ อีกมากมาย จนได้ชื่อว่า พรมมิ หรือ Brahmi ซึ่งมีความหมายถึงพระพรหม ผู้ให้กำเนิดโลก และสรรพสิ่ง สำหรับในประเทศไทย มีหลักฐานการใช้พรมมิเป็นยา ตั้งแต่สมัยอยุธยา นอกจากสรรพคุณที่มีการบันทึกทางการแพทย์พื้นบ้านแล้ว ยังมีรายงานทางวิทยาศาสตร์ พิสูจน์ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และความปลอดภัย ของพรมมิ ทั้งในระดับหลอดทดลอง สัตว์ทดลอง และมนุษย์ รวมทั้งมีการรายงาน ด้านองค์ประกอบทางเคมี ทำให้พรมมิจัดเป็นสมุนไพรที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากความเสื่อม โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท และสมอง นอกจากนี้ พรมมิยังแพร่กระจายและขยายพันธุ์ได้ง่าย โดยพบอยู่ทั่วไป ในประเทศไทย และประเทศในเขตร้อนชื้น จึงเหมาะที่จะนำมาพัฒนาต่อเป็น ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

ในบทนี้ จะกล่าวถึงข้อมูลทั่วไปของพรมมิ โดยจะกล่าวถึงลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ของพรมมิ และพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกัน แหล่งที่พบ และข้อมูลการใช้ ทางการแพทย์แผนไทย และการแพทย์อายุรเวท

ชื่อวิทยาศาสตร์ของพรมมิ พรมมิมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bacopa monnieri (L.) Wettst. เดิมพรมมิ จัดอยู่ในวงศ์ Scrophulariaceae แต่ปัจจุบันมีการจำแนกพรมมิให้อยู่ในวงศ์ Plantaginaceae พรมมิมีชื่อวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ที่เป็นชื่อพ้อง (Synonym) ได้แก่ Anisocalyx limnanthiflorus (L.) Hance Bacopa micromonnieria (Griseb.) B.L. Rob.

2. องค์ประกอบทางเคมีของพรมมิ

จากการที่พรมมิมีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจ โดยเฉพาะสรรพคุณด้านการ บำรุงความจำ ทำให้มีกลุ่มนักวิจัยในหลาย ๆ ประเทศศึกษาพรมมิ ทั้งทางเภสัชวิทยา และองค์ประกอบทางเคมี และพยายามค้นหาว่าองค์ประกอบทางเคมีใดที่ทำให้พรมมิ มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทและบำรุงความจำ รวมทั้งมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่น ๆ ผู้เขียน ได้รวบรวมองค์ประกอบทางเคมีในพรมมิที่มีผู้รายงานไว้มาแสดงในบทนี้ แต่มีสาร บางชนิดที่โครงสร้างต่างกันแต่นักวิจัยตั้งชื่อซ้ำกัน หรือสารชนิดเดียวกันแต่นักวิจัย ต่างกลุ่มตั้งชื่อไว้ต่างกัน ซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสน ผู้เขียนจึงได้ชี้แจงไว้ใน บทนี้ด้วย แม้อาจทำให้เนื้อหาซับซ้อนไปบ้าง แต่ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน ที่ต้องการข้อมูลในเคมีเชิงลึกของพรมมิ

ในบทนี้จะอธิบายถึงองค์ประกอบทางเคมีที่พบในพรมมิ โดยแบ่งกลุ่มตาม โครงสร้างทางเคมี อันได้แก่ ซาโปนินไกลโคไซด์ (saponin glycosides), อัลคาลอยด์ (alkaloids), ฟลาโวนอยด์ (flavonoids) และ ฟีนิลเอธานอยด์ไกลโคไซด์ (phenyl ethanoid glycosides) และในท้ายบทจะกล่าวถึงการเตรียมสารสกัด และการพิสูจน์ เอกลักษณ์ของสารในพรมมิ

3. การควบคุมคุณภาพวัตถุดิบและสารสกัดพรมมิ

การควบคุมคุณภาพวัตถุดิบสมุนไพรเป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งผลไปสู่คุณภาพ ของผลิตภัณฑ์ที่มีสมุนไพรนั้นเป็นองค์ประกอบ ในบทนี้ ผู้เขียนบรรยายถึงวิธีการ ควบคุมคุณภาพ และการจัดทำมาตรฐานทางกายภาพและทางเคมีของวัตถุดิบพรมมิ โดยศึกษาส่วนยอดของพรมมิซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ประโยชน์ทางสุขภาพ จากตัวอย่างพรมมิ ในประเทศไทย ประเทศอินเดีย และประเทศออสเตรเลีย รวม 13 ตัวอย่าง นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงวิธีการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบพรมมิของนักวิจัยกลุ่มอื่น รวมทั้งมาตรฐาน พรมมิที่ระบุในเภสัชตำรับของอังกฤษ (British Pharmacopoeia; BP) และเภสัช ตำรับของอเมริกา (The United States Pharmacopeia; USP) โดยผู้เขียนและคณะได้ จัดทำโมโนกราฟ (monograph) ของพรมมิในประเทศไทยขึ้น และได้แสดงไว้ ในส่วนภาคผนวกท้ายเล่ม

วิธีการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ และปริมาณที่กล่าวถึงในบทนี้ เป็นวิธีที่ ใช้ได้ทั่วไป แต่สำหรับเทคนิคพิเศษที่ผู้เขียนและคณะพัฒนาขึ้น(1-5) เพื่อใช้ในการ วิเคราะห์สารซาโปนินไกลโคไซด์ (saponin glycosides) ปริมาณน้อย ๆ ในพรมมิ จะกล่าวไว้ในบทที่ 4

4. เทคนิคที่มีความไวสูงในการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีในพรมมิ

ในบทนี้ จะกล่าวถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการวิเคราะห์ ที่มีความไวในการตรวจวัดสูงในการวัดสารซาโปนินไกลโคไซด์ (saponin glycosides) ซึ่งเป็นองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญของพรมมิ สารกลุ่มซาโปนินไกลโคไซด์นี้ มักมีการดูดกลืนแสงอุลตราไวโอเล็ต (ultraviolet, uv) ได้ต่ำ ทำให้ไม่ไวต่อการ ตรวจวัดด้วยเทคนิคทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการดูดกลืนแสง uv เช่น ลิควิดโครมาโตกราฟี สมรรถนะสูง (High Performance Liquid Chromatography; HPLC) นักวิจัยหลาย กลุ่มมีการพัฒนาการเพิ่มความไวในการทดสอบทางภูมิคุ้มกันวิทยา (immunoassay) และ ลิควิดโครมาโตกราฟีแมสส์สเปกโตรเมตรี (Liquid Chromatography Mass Spectrometry; LC/MS) เทคนิคที่มีความไวสูงเหล่านี้ เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ สารตัวอย่างปริมาณน้อยๆ เช่น ในการวิเคราะห์สารซาโปนินไกลโคไซด์ที่มีปริมาณ น้อยในตัวอย่าง หรือในการศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ของสมุนไพรพรมมิ

5. แนวทางการเกษตรที่เหมาะสมสำหรับพรมมิ

การเพาะปลูกสมุนไพรให้ได้คุณภาพดี เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตยาหรือ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ หรือเพื่อนำมาใช้รักษาโรค หรือดูแลสุขภาพ จำเป็นต้องมี การปฏิบัติที่ดีในการเกษตรและการเก็บเกี่ยว (Good Agricultural and Collection Practices; GACP) อันครอบคลุมไปตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ แหล่งปลูก ดิน น้ำ สภาพภูมิอากาศ วิธีการปลูก การดูแลรักษา การให้น้ำ ใส่ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช สุขลักษณะและความสะอาด การเก็บเกี่ยว การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การล้าง ทำให้แห้ง การบด ลดขนาด การเก็บรักษา การควบคุมคุณภาพ การบันทึกข้อมูล รวมทั้งการฝึกและให้ความรู้เกษตรกรที่ทำงานให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดเดียวกัน

พรมมิ

บทนี้ จะกล่าวถึงแนวทางการเกษตรของพรมมิที่เหมาะสมในประเทศไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการทดลองการปลูกในเรือนทดลองที่มีแสงแดดเข้าตลอดวัน โดยมีการมุงตาข่ายเพื่อป้องกันแมลงเป็นเวลา 1 ปี (รูปที่ 5.1ก) เพื่อศึกษาผลกระทบ ของฤดูกาล และอายุในการเพาะปลูกต่อคุณภาพวัตถุดิบส่วนต่าง ๆ ของพรมมิ(1) แล้วขยายผลการศึกษาไปในการปลูกในแปลงกลางแจ้ง ที่จังหวัดพิษณุโลก อีก 2 ครั้ง ในเวลา 2 ปี (รูปที่ 5.1ข และค)(2) การจัดทำแนวทางการเกษตรที่เหมาะสมนี้ ดำเนินการตามแนวทางการเกษตรและการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมสำหรับสมุนไพร ที่วางไว้โดยองค์การอนามัยโลก(3) นอกจากนี้ ตอนท้ายบทยังได้กล่าวถึงเทคโนโลยี ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของพรมมิโดยย่อไว้อีกด้วย

รูปที่ 5.1 การเพาะปลูกพรมมิ ก) ในเรือนทดลองในปีที่ 1 ข) ในแปลงปลูก (ปีที่ 2) ค) ในแปลงปลูก (ปีที่ 3)

ข้อมูลในบทนี้ จะเป็นแนวทางสำหรับเกษตรกร หรือผู้สนใจในการ เพาะปลูก ดูแลรักษา และเก็บเกี่ยวพรมมิ เพื่อการจำหน่ายหรือนำมาใช้เอง เพื่อให้ได้ วัตถุดิบที่มีคุณภาพดี มีความสม่ำเสมอในทุกรุ่นการเพาะปลูก

6. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพรมมิ

มีรายงานการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพรมมิมากมาย โดยเฉพาะ ฤทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองและระบบประสาท อันเกี่ยวกับการเรียนรู้ ความจำ การคลายความกังวล การต้านการซึมเศร้า การต้านการชัก และผลต่อสาร สื่อประสาทในสมองที่อาจไปเกี่ยวข้องกับการรักษาโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) เป็นต้น โดยมีการศึกษาทั้งในวัตถุดิบพืชพรมมิ สารสกัดพรมมิ สารผสม ซาโปนิน (saponins) ที่ได้จากพรมมิ ที่เรียกว่า bacoside A และในรูปแบบสาร บริสุทธิ์ นอกจากนี้ ในบทนี้ยังกล่าวถึงกลไกการออกฤทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับการปกป้อง ระบบประสาทของพรมมิ รวมถึงการศึกษาพิษวิทยาของสารสกัดพรมมิ และ การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่น ๆ ในพรมมิด้วย

7. การศึกษาพรมมิในมนุษย์ 

สมุนไพรพรมมิมีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศอินเดีย และมีการศึกษา การใช้พรมมิในมนุษย์ (clinical studies) มามากกว่า 10 การศึกษา ทั้งในประเทศ อินเดีย ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และประเทศไทย โดยนอกจากจะศึกษาความ ปลอดภัยในการใช้แล้ว ยังมุ่งเน้นการศึกษาประสิทธิภาพของพรมมิต่อความจำ และการเรียนรู้ มีบางรายงานที่ศึกษาผลของสารสกัดพรมมิต่อความเครียด และสภาวะทางอารมณ์ และยังมีการศึกษาผลของพรมมิต่อการเสริมสร้างเชาวน์ ปัญญา และความจำในเด็กอีกด้วย สิ่งที่ต้องพิจารณาในการอ่านข้อมูลในการศึกษา เหล่านั้น คือความน่าเชื่อถือและความรัดกุมในการออกแบบการศึกษาและการทำ การทดลอง นอกจากนี้ ยังมีเรื่องความแตกต่างของตัวอย่างสารสกัดพรมมิที่ใช้ใน การศึกษาที่ต้องคำนึงถึง

8. การศึกษาวิจัยพัฒนาพรมมิ…จากตลิ่ง…สู่ตลาด…

ในปัจจุบันนี้ อายุเฉลี่ยของประชากรโลกเพิ่มมากขึ้น อัตราส่วนของ คนสูงอายุกับคนหนุ่มสาวก็เพิ่มขึ้น โลกกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ โรคที่เกิดจาก ความเสื่อมของระบบประสาทและความทรงจำ เป็นโรคเรื้อรังและเป็นสาเหตุให้ คุณภาพชีวิตของประชากรสูงอายุน้อยลง ยาหรือสมุนไพรที่จะสามารถนำมารักษา หรือบรรเทาอาการโรคที่เกิดจากการเสื่อมนี้ จึงมีความสำคัญทั้งทางด้านสุขภาพ และเศรษฐกิจ สมุนไพรที่มีศักยภาพในการนำมาใช้เพื่อบำรุงสมอง บำรุงความจำ ที่มีขายอยู่ในท้องตลาด ได้แก่ แปะก๊วย (gingko) และโสม ซึ่งเป็นพืชที่ไม่สามารถ ปลูกได้ในประเทศไทย แต่เมื่อไม่นานมานี้ คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนเรศวร ขอนแก่น และธรรมศาสตร์ ได้ร่วมมือกันศึกษาพืชสมุนไพรไทยที่ขึ้นริมตลิ่ง และ ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก จนสามารถพิสูจน์ได้ถึงคุณประโยชน์ในการใช้บำรุง ความจำ โดยศึกษาทั้งองค์ประกอบทางเคมี ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาทั้งในหลอดทดลอง และสัตว์ทดลอง พิษวิทยา จนมาถึงการศึกษาในมนุษย์ และนำไปสู่การถ่ายทอดให้ ภาคเอกชนผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารออกสู่ประชาชนในที่สุด

พรมมิ

ในบทนี้ จะกล่าวถึงปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมให้พรมมิก้าวผ่านจากสมุนไพร ริมตลิ่ง มาสู่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในตลาด รวมทั้งขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา สมุนไพรพรมมิ เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อเป็นตัวอย่างในการวิจัยและพัฒนา สมุนไพรไทย จากห้องปฏิบัติการสู่ผลิตภัณฑ์ที่ประชาชนนำไปใช้ประโยชน์ทางสุขภาพได้

รองศาสตราจารย์พร้อมจิต ศรลัมพ์ ซึ่งเป็นผู้ประสานงานโครงการอยู่ในขณะนั้นได้แนะนำ ให้ผู้เขียนได้รู้จักสมุนไพรนี้ จนผู้เขียนได้รวบรวมคณะนักวิจัยจัดทำ โครงการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรพรมมิ เพื่อใช้ในการบำรุงความจำขึ้น โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก วช. เป็นเวลาต่อเนื่อง 4 ปี ซึ่งทำให้ผู้เขียนและคณะนักวิจัยได้ข้อมูลความรู้พื้นฐานของพรมมิ ตั้งแต่ด้านองค์ประกอบทางเคมี ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในหลอดทดลองและในสัตว์ทดลอง พิษวิทยา ไปจนถึง เรื่องของการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวสมุนไพรพรมมิ การตั้งตำรับสารสกัดเป็นผลิตภัณฑ์ยาเม็ดซึ่งนำไปสู่การวิจัยทางคลินิกในอาสาสมัครสูงอายุ และได้พบว่าผลิตภัณฑ์พรมมิ ที่พัฒนาขึ้นนั้น ทำให้อาสาสมัครมีความจำ ที่ดีขึ้น มีสมาธิดีขึ้น สามารถตอบสนองต่อ สิ่งเร้าได้ดีขึ้น รวมทั้งมีสมรรถภาพทางกาย เช่น การทรงตัวที่ดีขึ้นกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก ผู้เขียนและคณะผู้วิจัยจึงได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรพรมมิในรูปแบบยาเม็ดนี้ให้แก่องค์การเภสัชกรรม ต่อมาองค์การเภสัชกรรมได้ผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารพรมมิออกสู่ท้องตลาดในเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 นับเป็นตัวอย่างนวัตกรรมสมุนไพรที่กำเนิดขึ้นจากองค์ความรู้พื้นฐาน และการวิจัยและพัฒนาของนักวิจัยในประเทศไทยอย่างแท้จริง

หนังสือเล่มนี้ ประกอบด้วยองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับพรมมิในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่ด้านการใช้พรมมิทางการแพทย์พื้นบ้าน องค์ประกอบทางเคมีในพรมมิการควบคุมคุณภาพ การเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาการศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของพรมมิในมนุษย์ รวมถึงขั้นตอนการวิจัยพัฒนาพรมมิให้อยู่ในรูปแบบที่ทันสมัยและสะดวกในการนำไปใช้ นอกจากนี้ในท้ายเล่มยังมีโมโนกราฟอันแสดงการกำหนดมาตรฐานของวัตถุดิบพรมมิในประเทศไทยรวมอยู่ด้วย

เอกสารอ้างอิง

1. Phrompittayarat W, Jetiyanon K, Wittaya-areekul S, Putalun W, Tanaka H, Khan I, et al. Influence of seasons, different plant parts, and plant growth stages on saponin quantity and distribution in Bacopa monnieri. Songklanakarin Journal of Science and Technology. 2011;33(2):193-9.2.

2. Ingkaninan K, Rangsikachi P, Chootip K, Taepavarapruk N, Pekthong D, sireeratawong S. The development of Brahmi as memory enhancer phase IV: National Research Council of Thailand. 2009.

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน