การตรวจสอบเครื่องสำอาง

การตรวจสอบเครื่องสำอาง วัตถุประสงค์หนึ่งในการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง คือ เพื่อป้องกันหรือชะลอผิวไม่ให้เกิดการแก่หรือเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร หรือฟื้นฟูผิวที่แก่หรือเสื่อมสภาพจนสู่ระดับที่ผู้ใช้พอใจ ถึงแม้เครื่อง สำอางไม่ได้เป็นปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต แต่เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและสามารถเสริมสร้างบุคลิก ในปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าอุตสาหกรรมเครื่องสำอางเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญมากในเชิงเศรษฐกิจของประเทศและได้มีการคิดค้นหาสารแอคทีฟ (active ingredient) ใหม่ ๆ มาใช้ ทั้งจากพืชสมุนไพรที่มีอยู่มากมายในประเทศและสารที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกับชีวโมเลกุลที่ผลิตโดยเซลล์ผิวหนัง ทั้งนี้ก็เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

การตรวจสอบเครื่องสำอาง

เพื่อยืนยันประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารแอคทีฟที่ถูกคิดค้น และ/หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสารแอคทีฟ จึงมีความพยายามที่จะคิดค้นและตรวจสอบความถูกต้อง (validation) ของวิธีการทดสอบต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพและความปลอดภัย โดยมีหน่วยงานต่างๆ เช่น OECD (Organisation for Economic Co-operation and Development) และ European Center for the Validation of Alternative Methods (EURL ECVAM) เป็นต้น ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ถูกยอมรับในระดับนานาชาติได้ออกแบบการทดลองที่ใช้และไม่ใช้สัตว์ทดลอง อย่างไรก็ดีในปัจจุบันมีการรณรงค์การไม่ใช้สัตว์ทดลองในการทดสอบเครื่องสำอาง

รวมทั้งในบางประเทศ เช่น ในสหภาพยุโรปได้ออกเป็นกฏหมายมาแล้ว ด้วยเหตุนี้การทดสอบโดยการไม่ใช้สัตว์ทดลอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เซลล์หรือเนื้อเยื่อผิวหนังจึงได้รับการพัฒนาและถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามการทดสอบโดยใช้เซลล์และเนื้อเยื่อผิวหนังยังมีข้อจำกัดในการนำไปใช้ ซึ่งผู้ใช้ไม่ว่าจะเป็นนักวิจัยผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ เกี่ยวข้องทางด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ควรทราบ เพื่อนำไปสู่การนำวิธีการทดสอบไปใช้และการอ้างสรรพคุณได้อย่างถูกต้อง

1.คำจำกัดความของเครื่องสำอางและเวชสำอาง

ผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจําวัน โดยการสัมผัสร่างกายภายนอก เพื่อความสะอาด
ความสวยงาม และทําให้มีกลิ่นกายหอม ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อวินิจฉัย
บําบัด บรรเทา รักษาโรค หรือความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย ผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อโครงสร้างหรือการกระทําหน้าที่ต่างๆ
ของร่างกายอันเป็นสรรพคุณทางยา

การตรวจสอบเครื่องสำอาง

2.การอ้างสรรพคุณ

ในปัจจุบันประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 17 ในการผลิตเครื่องสําอางของโลก อาจกล่าวได้ว่า อุตสาหกรรมเครื่องสําอาง
เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสําคัญมากในเชิงเศรษฐกิจของประเทศ ในปี 2554 ประเทศไทยมีการสำงออกผลิตภัณฑ์
เครื่องสําอางเพิ่มขึ้น

เครื่องสําอางนั้นหมายถึงของที่ใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ ต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเพื่อความสะอาดสวยงาม ดังนั้นจึงไม่สามารถอ้างว่าวินิจฉัย บําบัด บรรเทา รักษา ป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยได้

3.โครงสร้างของผิวหนังในระดับมหภาคและจุลภาค

โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีของผิวหนัง ผิวหนังของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นหนังกําพร้า (epidermis) หนังแท้(dermis) และชั้น รองรับผิวหนัง (hypodermis) ซึ่งในชั้นสุดท้ายนี้มีเนื้อเยื่อไขมัน (adipose tissue) อยู่มาก ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกัน อวัยวะภายในจากการถูกกระแทกและยังเป็นที่สะสมไขมัน (fat reservoir) ของร่างกาย ในบทนี้จะกล่าวถึง โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีของผิวหนังชั้นหนังกําพร้าและหนังแท้ เนื่องจากสารแอคทีฟส่วนใหญ่ ที่นํามาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางและ/หรือเวชสําอาง มีเป้าหมายในการแสดงผลทางชีวภาพที่ 2 ชั้นนี้

4.คีราติโนไซต์: เซลล์หลักสำหรับการสร้างหนังกำพร้า

คีราติโนไซต์เป็นเซลล์ที่พบอยู่ประมาณร้อยละ 85 ของเซลล์ในชั้นหนังกําพร้า1 คีราติโนไซต์จะเกิด การเพิ่มจํานวน (proliferation) เปลี่ยนสภาพ (differentiation) พร้อมกับเคลื่อนย้ายที่ (migration) จากหนัง กําพร้าชั้นสตราตัมเบซาล (stratum basal) ที่อยู่ชั้นล่างสุด ไปสู่ชั้นบนสุดเพื่อหลุดลอกออกไป ซึ่งการเพิ่ม จํานวนของเซลล์ที่อยู่ที่หนังกําพร้าชั้นล่างและการหลุดลอกของเซลล์ที่ผิวหนังชั้นบนสุดจะต้องสมดุลกัน

การตรวจสอบเครื่องสำอาง

หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่คำจำกัดความของเครื่องสำอางและเวชสำอาง การอ้างสรรพคุณ โครงสร้างของผิวหนังในระดับมหภาคและจุลภาค การทำงานและการผลิตชีวโมเลกุลที่สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพ (biomarker) โดยเซลล์หลักที่พบในผิวหนัง ได้แก่ คีราติโนไซต์ (keratinocyte) เมลาโนไซต์ (melanocyte) และไฟโบรบลาสต์ (fibroblast) ส่วนในบทสุดท้ายจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยเครื่องสำอาง โดยใช้เซลล์และเนื้อเยื่อผิวหนังเพาะเลี้ยง โดยนำความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานและการผลิตชีวโมเลกุลจากเซลล์เหล่านี้มาประยุกต์ใช้

5.เมลาโนไซต์: เซลล์สร้างสารสี

กล่าวถึงความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดสีผิว และการขนส่งเม็ดสีผิวไปยังเซลล์ฺ คีราติโนไซต์ที่เชื่อมโยงกับลักษณะสีผิวที่ปรากฏ ปัจจัยภายนอกและภายในที่มีผลต่อการสร้างเม็ดสีผิว รวมทั้ง ฮอร์โมน (hormones) ไซโตไคน์ (cytokines) โกรธแฟคเตอร์ (growth factors) และสารชีวโมเลกุลอื่นๆ ซึ่งข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการนําไปใช้ประยุกต์เพื่อการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารแอคทีฟ (active ingredient) ที่จะนําไปใช้ในผลิตภัณฑ์ภัณฑ์ไวท์เทนนิ่ง (whitening product)

การตรวจสอบเครื่องสำอาง

6.ไฟโบลาสต์: เซลล์หลักของชั้นหนังแท้

ไฟโบรบลาสต์(fibroblast) เป็นเซลล์หลักที่พบในผิวหนังชั้นหนังแท้ (dermis) และมีหน้าที่ในการผลิตไซโตไคน์ (cytokines) โกรธแฟคเตอร์ (growth factors) และฮอร์โมน (hormones) ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและเปลี่ยนสภาพของเซลล์ไฟโบรบลาสตนเองและเซลล์ชนิดอื่นๆ รวมทั้งผลิตและปลดปล่อยโปรตีนเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

7.การประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของเครื่องสำอางและ/หรือเวชสำอางโดยใช้เซลล์และเนื้อเยื่อผิวหนังเพาะเลี้ยง

อาจกล่าวได้ว่าการเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อผิวหนัง เป็นเทคนิคที่สําคัญสําหรับงานวิจัย ทางวิทยาศาสตร์เครื่องสําอางเพื่อการพิสูจน์ประสิทธิภาพและความปลอดภัย และการค้นคว้าหา สารแอคทีฟใหม่ๆ มาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสําอาง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่หลายประเทศมีนโยบาย ห้ามวางจําหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางที่ผ่านการทดสอบในสัตว์ทดลอง นําไปสู่การศึกษาวิจัยในเชิงลึก เพื่อให้ไ้ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบของผิวหนังในระดับชีวโมเลกุล ควบคู่กับการพัฒนาเทคโนโลยทางชีวภาพเพื่อนํามาใชในการออกแบบโมเดล (model) หรือรูปแบบของการทดสอบโดยใช้เซลล์หรือเนื้อเยื่อผิวหนังมนุษย์ เพื่อให้ผลการทดสอบที่ได้สอดคล้องกับผลที่เกิดขึ้นกับผิวหนังมนุษย์ ทั้งนี้รูปแบบการทดสอบดังกล่าวควรจะต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง หรือความสมเหตุสมผลของวิธีการทดสอบ (validation)

ภายในเล่มประกอบไปด้วยเนื้อหา 7 บท ประกอบไปด้วย บทที่ 1 คำจำกัดความของเครื่องสำอางและเวชสำอาง บทที่ 2 การอ้างสรรพคุณ บทที่ 3 โครงสร้างของผิวหนังในระดับมหภาคและจุลภาค บทที่ 4 คีราติโนไซต์: เซลล์หลักสำหรับการสร้างหนังกำพร้า บทที่ 5 เมลาโนไซต์: เซลล์สร้างสารสี บทที่ 6 ไฟโบลาสต์: เซลล์หลักของชั้นหนังแท้ บทที่ 7 การประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยเครื่องสำอางและ/หรือเวชสำอางโดยใช้เซลล์และเนื้อเยื่อผิวหนังเพาะเลี้ยง

เอกสารอ้างอิง

[1] Suter, M.M., Crameri, F.M., Olivry, T., Mueller, E., Von Tscharner, C.O., & Jensen, P.J. (1997).
Keratinocyte biology and pathology. Vet Dermatol, 8, 67-100

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน