กล่องกระดาษลูกฟูก สำหรับขนส่งสินค้าออนไลน์

กล่องกระดาษลูกฟูก แนวโน้มอุตสาหกรรมกล่องกระดาษลูกฟูกในปัจจุบันเน้นไปที่คุณภาพของกล่องความเป็นอเนกประสงค์ และการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ด้วยการพัฒนาทางด้านการออกแบบ และเทคโนโลยีที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้กล่องกระดาษลูกฟูกมีความได้เปรียบและยั่งยืนในเรื่องของคุณภาพทางด้านสังคม การพัฒนาทางด้านการออกแบบกล่องกระดาษลูกฟูกให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบันที่มีกระแสสังคมในเรื่องของการรักษ์โลก ตลอดจนการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจออนไลน์ยุค 4.0 ในประเทศไทยสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการมากมาย และทำให้องค์กรธุรกิจรายเล็ก ๆ เริ่มหันมาใช้กล่องกระดาษลูกฟูกเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าทางออนไลน์ ผ่านระบบการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นทางไปรษณีย์เจริญเติบโตอย่างมาก โดยมีการบริการเก็บเงินปลายทางทำให้ลูกค้าไม่ต้องกังวลใจในการโอนเงินก่อนรับสินค้า นอกจากนี้แนวโน้มของกล่องกระดาษลูกฟูกจะมีขนาดที่เล็กลงเรื่อย ๆ และต้องสามารถใช้งานได้หลากหลายเพื่อรองรับบุคลิกที่หลากหลายบนโลกสังคมออนไลน์

ดังนั้นผู้ประกอบการจึงเริ่มให้ความสำคัญกับกล่องกระดาษลูกฟูกบรรจุสินค้ามากขึ้น เริ่มมีการเปลี่ยนจากกล่องแบบฝาชน หรือเรียกว่ากล่องแบบอาร์เอสซี (Regular Slotted Container, RSC) มาเป็นกล่องดายคัต (Die Cut)ซึ่งสามารถออกแบบได้หลากหลายรูปทรงมากกว่า กล่องกระดาษลูกฟูกจะไม่เป็นแค่กล่องสำหรับขนส่งสินค้าอีกต่อไป แต่กล่องกระดาษลูกฟูกจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตราสินค้า สร้างความเป็นตัวตน และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์จากการออกแบบที่ดีและมีความแตกต่างจากคู่แข่งขันในท้องตลาด

1. กว่าจะเป็นกล่องกระดาษลูกฟูก

กว่าจะมาเป็น กล่องกระดาษลูกฟูก ในปัจจุบันนั้นกระดาษลูกฟูกเริ่มคิดค้นขึ้นครั้งแรก เมื่อทศวรรษที่ 19 จากกลุ่มของแฟชั่นเสื้อผ้า โดยการนำผ้ามาพับเป็นปกคอและปลายแขนเสื้อ จาก การพับผ้าไปมาแล้วรีดทับนั้นทำให้เกิดแนวความคิดใหม่โดยใช้เครื่องทำให้เกิดเป็นลอนคลื่นซึ่งมี ลูกเหล็กสองลูกที่ทำเป็นลอนประกบกันแล้วหมุน ถือเป็นความคิดใหม่มากในยุคนั้น จากนั้นในปี ค.ศ. 1856 Healey และ Allen ได้ค้นพบการทำกระดาษให้เป็นลอนโดยนำมาใช้กับหมวกทรงสูง ทำให้หมวกอยู่ทรงได้ดีและเริ่มใช้กันมากในสังคมอังกฤษยุคนั้น ต่อมาในปี ค.ศ. 1871 Albert L. Jones ชาวอเมริกัน ได้นำกระดาษที่ทำเป็นลอนมา ประยุกต์ใช้ในการห่อหุ้มสินค้า ซึ่งในช่วงแรก ๆ สินค้าที่ถูกห่อหุ้มด้วยกระดาษนั้นเป็นขวดแก้วและ ชุดตะเกียงน้ำมันก๊าด จนในปี ค.ศ. 1874 ได้มีการจดสิทธิบัตรแนวความคิดใหม่ที่มีการนำกระดาษ แผ่นเรียบมาประกบติดกับลอนเพื่อไม่ให้กระดาษที่ขึ้นรูปเป็นลอนยืดตัวออก ทำให้เกิดเป็นกระดาษ แบบ 2 ชั้น ขึ้นนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

กล่องกระดาษลูกฟูก

2.กล่องกระดาษลูกฟูกกับมาตรฐานการทดสอบ

ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกล่องกระดาษลูกฟูก ร้านค้าออนไลน์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับ การใช้งานบรรจุภัณฑ์ต่างก็ต้องการบรรจุภัณฑ์ที่ใช้งานได้ดี หนึ่งในปัญหาเกี่ยวกับการออกแบบ บรรจุภัณฑ์ที่ดีนั้นก็คือ ใช้มาตรฐานใดในการวัด หากบรรจุภัณฑ์ที่ใช้อยู่นั้นสามารถบรรจุสินค้าและ สินค้านั้นไม่เคยบอบช้ำเสียหาย นั่นทำให้ผู้ประกอบการเชื่อว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้อยู่นั้นดีเนื่องจาก สินค้าไม่เคยเสียหาย คำถามที่อาจเกิดขึ้นต่อมาก็คือ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้นั้นอาจดีเกินไปสำหรับสินค้า นั้นหรือไม่ หากดีเกินไป นักออกแบบหรือผู้ประกอบการก็สามารถที่จะออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้นใหม่ เพื่อประหยัดต้นทุน อย่างไรก็ตามหากลดคุณภาพของบรรจุภัณฑ์นั้นควรจะลดลงเท่าไร อย่างไร โดยที่สินค้าขนส่งจะยังคงไม่แตกหักเสียหาย สินค้ายังคงคุณภาพที่ต้องการ ทั้งนี้การออกแบบ บรรจุภัณฑ์ที่ดีต้องมีการทดสอบประเมินค่าจากการทดสอบตามมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับ ระดับนานาชาติ โดยหากลดคุณภาพบรรจุภัณฑ์ (โครงสร้างบรรจุภัณฑ์) ลงแล้ว ต้นทุนย่อมลดลง ตามไปด้วย และเมื่อได้บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบใหม่ (โครงสร้างบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบใหม่) นี้ มาใช้แล้วสินค้าไม่เกิดความเสียหายเช่นเดิมนั้น แสดงว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เดิมนั้นเป็นบรรจุภัณฑ์ ที่ดีเกินไป (Overpackaging) ซึ่งจะทำให้ต้นทุนสูงเกินความจำเป็น ในทางกลับกันหากบรรจุภัณฑ์ ใดไม่สามารถป้องกันสินค้าได้จะเรียกว่า บรรจุภัณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน (Underpackaging) นั่นก็คือ ไม่สามารถปกป้องสินค้าได้นั่นเอง

กล่องกระดาษลูกฟูก

3.ปัจจัยการประเมินผลความแข็งแรงของโครงสร้างกล่องกระดาษลูกฟูก

จากที่ได้ทราบมาแล้วว่าความต้านทานแรงกดของกล่องกระดาษลูกฟูกนั้นมีความสำคัญ อันจะทำให้กล่องที่ต้องการออกแบบนั้นมีโครงสร้างที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานได้ตาม วัตถุประสงค์ เช่น การวางเรียงซ้อนในการจัดเก็บในคลังสินค้าหรือระหว่างการลำเลียงและขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขนส่งทางไปรษณีย์สำหรับร้านค้าออนไลน์ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อ สินค้าที่บรรจุโดยเป็นหนึ่งในหน้าที่หลักที่สำคัญของบรรจุภัณฑ์ ดังนั้นผู้ที่ต้องการออกแบบกล่อง กระดาษลูกฟูกจึงควรทราบถึงหลักการในประเมินค่าความสามารถในการต้านทานแรงกดของกล่อง กระดาษลูกฟูกไว้

กล่องกระดาษลูกฟูก

4.การกำหนดขนาดและจัดทำต้นแบบโครงสร้างกล่องกระดาษลูกฟูก

ขนาดของ กล่องกระดาษลูกฟูก และการเรียงซ้อนบนแท่นรองรับสินค้า
ปัจจุบันได้มีการตื่นตัวกันอย่างมากในการสร้างมาตรฐานของขนาดของกล่องกระดาษ ลูกฟูก โดยเฉพาะกล่องไปรษณีย์ที่สามารถใช้ได้กับผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด และลดความ หลากหลายของขนาดกล่องลง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกทั้งแก่ผู้ใช้ ผู้ผลิตและผู้จัดส่ง ตลอดจนยังช่วย ลดค่าใช้จ่ายโดยรวมลงหากเลือกใช้ขนาดกล่องที่พอดีกับสินค้า เช่น ค่าขนส่งทางไปรษณีย์ ค่ากล่อง เป็นต้น ขอยกตัวอย่างขนาดกล่องของ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เช่น

กล่องรูปแบบอาร์เอสซี (RSC) กล่องแบบธรรมดา หมายเลข 1 ขนาด 300 x 1000 x 300 มิลลิเมตร, หมายเลข 2 ขนาด 310 x 360 x 130 มิลลิเมตร, หมายเลข 3 ขนาด 310 x 360 x 260 มิลลิเมตร, หมายเลข 4 ขนาด 550 x 1000 x 550 มิลลิเมตร,
หมายเลข 5 ขนาด 400 x 450 x 350 มิลลิเมตร และหมายเลข 6 ขนาด 450 x 550 x 400 มิลลิเมตร เป็นต้น


นอกจากนี้บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ยังใช้กล่องที่เรียกว่า กล่องสำเร็จรูป ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมากโดยเป็นกล่องรูปแบบดายคัต (Die Cut) ทั้งนี้กล่องรูปแบบนี้สามารถขึ้นรูปกล่องเองได้โดยง่ายจากการขัดล็อกกล่อง ซึ่งมีขนาดกล่อง ดังนี้ กล่องสําเร็จรูปแบบ ก ขนาด 140 x 200 x 60 มิลลิเมตร, แบบ ข ขนาด 170 x 250 x 90 มิลลิเมตร, แบบ ค ขนาด 200 x 300 x 110 มิลลิเมตร, แบบ ง ขนาด 220 x 350 x 140 มิลลิเมตร, แบบ จ ขนาด 240 x 400 x 170 มิลลิเมตร
และแบบ ฉ ขนาด 300 x 450 x 200 มิลลิเมตร

กล่องกระดาษลูกฟูก

5.การออกแบบโครงสร้างกล่องกระดาษลูกฟูก

โครงสร้างของกล่องกระดาษลูกฟูกนั้นมีความสำคัญโดยมีหน้าที่ในการปกป้องสินค้าไม่ ให้เกิดความเสียหาย มีประโยชน์ในการใช้สอย ตลอดจนรูปทรงกล่องที่มีเอกลักษณ์ยังสามารถสื่อสาร ให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจและเป็นที่จดจำได้ ดังนั้นนักออกแบบและผู้ประกอบการกล่องกระดาษ ลูกฟูกจึงจำเป็นต้องมีความรู้เพื่อใช้ในการพิจารณาเลือกรูปแบบโครงสร้าง ชนิดของลอนลูกฟูก ขนาดและเกรดกระดาษของกล่องกระดาษลูกฟูกที่เหมาะสม ซึ่งก่อนที่จะอธิบายในส่วนเนื้อหาของ การออกแบบโครงสร้างกล่องกระดาษลูกฟูก ผู้เขียนขออธิบายถึงความหมายของการออกแบบ โครงสร้างกล่องกระดาษลูกฟูกเพื่อประกอบความเข้าใจไว้

กล่องกระดาษลูกฟูก

6.การออกแบบกราฟิกบนกล่องกระดาษลูกฟูก

การออกแบบกราฟิกบนกล่องกระดาษลูกฟูกเพื่อการขนส่งนั้นมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อน ไปกว่าบรรจุภัณฑ์ขายปลีกชนิดอื่น ๆ เพียงแต่บทบาทอาจจะเน้นไปทางด้านโครงสร้างความ แข็งแรงและประโยชน์ใช้สอยมากกว่า อย่างไรก็ตามกราฟิกบนกล่องกระดาษลูกฟูกในปัจจุบัน ผู้ประกอบการให้ความสำคัญมากขึ้น ทั้งนี้ด้วยธุรกิจค้าขายออนไลน์ในยุค 4.0 ที่ผู้ขายออนไลน์ นิยมสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าของตนเองด้วยบรรจุภัณฑ์ที่แตกต่างจากคู่แข่งขันที่ขาย สินค้าเหมือนกัน ซึ่งทำให้ธุรกิจกล่องกระดาษลูกฟูกเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กล่องกระดาษลูกฟูกที่ใช้ในการขนส่งทางไปรษณีย์ นอกจากนี้ปัจจุบันในการผลิตสินค้าหรือ บริการได้เน้นหรือให้ความสำคัญกับผู้บริโภคทำให้บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งจึงมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากลำพังตัวสินค้าเองอาจมีความแตกต่างจากคู่แข่งน้อยหรือไม่มีนวัตกรรม (Innovoation) ที่ฉีกแนวต่างไปจากคู่แข่ง โดยต่อไปผู้เขียนจะขอกล่าวถึงการออกแบบกราฟิกบนกล่องกระดาษ ลูกฟูกโดยเริ่มจากความหมายไปจนถึงขั้นตอนการออกแบบกราฟิกตามลำดับ

กล่องกระดาษลูกฟูก

7.กรณีศึกษา การออกแบบโครงสร้างกล่องกระดาษลูกฟูกสำหรับบรรจุผักและผลไม้สด

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมโดยเกษตรกรนิยมปลูกผักและผลไม้สดเป็น จำนวนมาก จึงนับได้ว่าเป็นพืชผลทางการเกษตรที่มีความสำคัญมาก ทั้งในแง่การบริโภคภายใน ประเทศและส่งออกต่างประเทศ ทั้งนี้ในมุมมองของการส่งออกผักและผลไม้สด สามารถทำรายได้ ให้แก่ประเทศไทยปีหนึ่งนับหลายพันล้านบาทและยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี โดยผัก และผลไม้สดที่นิยมส่งออกกันมาก ได้แก่ ถั่วฝักยาว พริก ต้นหอม มะม่วง ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน เป็นต้น โดยประเทศที่ส่งออก ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ยุโรป ตะวันออกกลาง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญที่มักพบเห็นในการส่งออกก็คือ การสูญเสียของสินค้าโดยเฉลี่ยสูงถึง ร้อยละ 25 ทั้งนี้ เนื่องจากผักและผลไม้สดเป็นสินค้าที่เกิดการบอบช้ำ และเน่าเสียได้ง่าย หากมีการออกแบบบรรจุ ภัณฑ์และการเลือกวัสดุบรรจุภัณฑ์ตลอดจนการบรรจุหีบห่อได้ไม่ดี หรือขาดความระมัดระวังใน ระหว่างการจัดเก็บและขนส่ง การลำเลียงหรือการเคลื่อนย้าย ดังนั้นการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์จึงเป็น เรื่องที่สำคัญอย่างมาก หนึ่งในบรรดาบรรจุภัณฑ์ที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่นิยมใช้กับสินค้าประเภท นี้ก็คือ “กล่องกระดาษลูกฟูก” ด้วยความสามารถในการย่อยสลายได้ง่าย ไม่เป็นมลพิษต่อ สิ่งแวดล้อมเมื่อเทียบกับวัสดุพลาสติก เช่น ลังหรือเข่งพลาสติก กล่องกระดาษลูกฟูกสามารถแก้ไข ปัญหาดังกล่าวได้โดยสามารถออกแบบรูปทรงได้หลากหลายตามความต้องการและพิมพ์สอดสีได้ อย่างสวยงาม

กล่องกระดาษลูกฟูก

8.กรณีศึกษา การศึกษาการออกแบบ บรรจุภัณฑ์หัตถกรรมเรือไม้จำลอง โดยใช้แผ่นกระดาษลูกฟูกป้องกัน ปลวกจากสารสกัดธรรมชาติ

เนื้อหาในบทนี้ถูกเขียนและเรียบเรียงจากบทความในงานวิจัยเรื่อง “การศึกษา การออกแบบบรรจุภัณฑ์หัตถกรรมเรือไม้จำลองโดยใช้แผ่นกระดาษลูกฟูกป้องกันปลวกจาก สารสกัดธรรมชาติ” ซึ่งผู้เขียนได้เผยแพร่งานวิจัยโดยตีพิมพ์ลงในวารสารระดับนานาชาติ เหตุที่ได้ หยิบยกงานวิจัยเรื่องนี้มานำเสนอเนื่องจากเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบกล่องกระดาษ ลูกฟูก ซึ่งมีความน่าสนใจในส่วนของรูปแบบของกล่องและวัสดุที่ใช้ในการออกแบบ ตลอดจนมี ระเบียบวิธีวิจัยที่สามารถอธิบายเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ได้ประกอบความเข้าใจของผู้อ่าน โดยผู้เขียน ได้มีการแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศจนงานวิจัยสำเร็จลุล่วง ซึ่งในงาน วิจัยนี้มีที่มาและความสำคัญ

กล่องกระดาษลูกฟูก

9.นิคการนำเสนอผลงานออกแบบกล่องกระดาษลูกฟูก

การนำเสนอผลงานออกแบบกล่องกระดาษลูกฟูกถือเป็นบทบาทหนึ่งของนักออกแบบ และผู้ประกอบการกล่องกระดาษลูกฟูก เนื่องจากงานออกแบบเป็นการทำงานที่เกิดขึ้นจาก ความต้องการของผู้จ้างงานซึ่งมุ่งเน้นที่จะแก้ปัญหาอันเกิดจากความต้องการทางการตลาด ความต้องการของผู้บริโภค ความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอยและอารมณ์ความรู้สึก เป็นต้น ดังนั้นเมื่อนักออกแบบและผู้ประกอบการทำงานออกแบบเสร็จสิ้นตามกระบวนการออกแบบแล้ว การนำเสนอผลงานออกแบบก็เป็นสิ่งสำคัญไม่ด้อยไปกว่าผลงานเช่นกัน

กล่องกระดาษลูกฟูก

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน