การเขียนหนังสือ ตำราทางวิชาการ ต้องบอกว่ามีรายละเอียดที่หลากหลาย Tips เหล่านี้จึงเป็นจุดที่พบข้อผิดพลาดอยู่บ่อยครั้ง และเราได้รวมรวมข้อมูลต่าง ๆ มาให้นักเขียนได้ระมัดระวังและนำไปปรับใช้ได้

1. การใช้ทับศัพท์

การใช้ทับศัพท์ภาษาอื่นเป็นภาษาไทยในการเขียนหนังสือตำราทางวิชาการเราจะได้เห็นบ่อย ๆ เและมีความสำคัญในงานเขียนวิชาการ โดยเฉพาะเมื่อจำเป็นต้องนำเสนอแนวคิด ทฤษฎี หรือคำศัพท์เฉพาะทางที่ไม่มีคำในภาษาไทยที่สื่อความหมายได้อย่างชัดเจน การทับศัพท์ช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ตรงตามความหมายที่ต้องการสื่อสาร

แนวทางในการใช้ทับศัพท์ในงานเขียนวิชาการ

  1. เลือกใช้คำทับศัพท์อย่างมีเหตุผล
    ใช้ทับศัพท์เฉพาะเมื่อคำในภาษาไทยไม่สามารถสื่อความหมายได้อย่างครบถ้วน เช่น คำว่า “Computer” ซึ่งอาจใช้ทับศัพท์ว่า “คอมพิวเตอร์” หรือคำว่า “Algorithm” ที่ทับศัพท์ว่า “อัลกอริทึม” เนื่องจากเป็นคำเฉพาะที่ไม่สามารถแปลให้กระชับได้ในภาษาไทย
  2. การใช้อักษรไทยในการทับศัพท์
    ควรเลือกใช้อักษรที่สื่อเสียงได้ใกล้เคียงกับต้นฉบับที่สุด และปฏิบัติตามหลักการทับศัพท์ที่กำหนดโดยราชบัณฑิตยสภาเพื่อให้การเขียนเป็นมาตรฐาน เช่น “Technology” เป็น “เทคโนโลยี” “Internet” อินเทอร์เน็ต
  3. การให้ความหมายเพิ่มเติม
    เมื่อใช้คำทับศัพท์ อาจจะให้คำอธิบายหรือคำแปลเป็นภาษาไทย และวงเล็บภาษานั้นในครั้งแรกที่ปรากฏในเอกสาร เพื่อให้ผู้อ่านที่ไม่คุ้นเคยกับคำทับศัพท์นั้นเข้าใจ เช่น “ไฟร์วอลล์ (Firewall) คือ…”
    * ในกรณีทับศัพท์ที่เป็นคำโดยมีความหมายที่ผู้อ่านเข้าใจอยู่แล้วอาจจะไม่จำเป็นต้องวงเล็บภาษาหลัก เช่น “อีเมล” “เว็บไซต์”
  4. ระวังการใช้ทับศัพท์ที่ไม่จำเป็น
    ไม่ควรใช้ทับศัพท์ในกรณีที่มีคำไทยที่สื่อความหมายได้อย่างชัดเจน เช่น แทนที่จะใช้คำว่า “Solution” เป็น “โซลูชัน” ควรใช้คำว่า “วิธีการแก้ปัญหา” ถ้าคำไทยสามารถสื่อความหมายได้เหมาะสม

การทับศัพท์เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การสื่อสารทางวิชาการมีความเข้าใจและทันสมัยขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนควรใช้อย่างรอบคอบและมีเหตุผล เพื่อให้เนื้อหามีความชัดเจนและสามารถเข้าถึงได้กับผู้อ่านทั่วไป

2. การใช้คำย่อ

การใช้คำย่อจากภาษาอื่นเป็นภาษาไทย

  1. หลีกเลี่ยงการใช้คำย่อที่ทำให้สับสน
    ไม่ควรใช้คำย่อที่อาจสร้างความสับสนให้กับผู้อ่าน เช่น คำย่อที่มีหลายความหมายหรือคำย่อที่ไม่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในวงการที่เกี่ยวข้อง
  2. การใช้คำย่อที่เป็นที่รู้จัก
    ใช้คำย่อที่เป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น “NASA” (National Aeronautics and Space Administration) ที่นิยมใช้ว่า “นาซา” หรือ “WHO” (World Health Organization) ที่มักใช้ว่า “องค์การอนามัยโลก” หรือใช้ทับศัพท์ว่า “ดับเบิลยูเอชโอ”
  3. การสะกดคำย่อในภาษาไทย
    หากต้องการทับศัพท์คำย่อที่เป็นภาษาอังกฤษ ควรใช้อักษรไทยที่สะกดเสียงใกล้เคียง เช่น “AI” (Artificial Intelligence) สามารถทับศัพท์ว่า “เอไอ” หรือ “GDP” (Gross Domestic Product) ทับศัพท์ว่า “จีดีพี”
  4. การใช้คำย่อควบคู่กับชื่อเต็ม
    การใช้คำย่อครั้งแรกในเอกสาร ควรระบุชื่อเต็มควบคู่ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเป็นคำย่อของอะไร เช่น “องค์การอนามัยโลก (WHO)” หรือ “ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)” โดยหลังจากนั้นสามารถใช้คำย่อเพียงอย่างเดียวได้
  5. การใช้คำย่อที่เกิดจากการนำคำเต็มในภาษาไทย
    การใช้คำย่อที่เกิดจากการย่อชื่อภาษาไทยของหน่วยงานหรือองค์กร ซึ่งเป็นคำย่อที่ได้รับการยอมรับและใช้กันทั่วไป เช่น “กอรมน.” แทน “กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร” หรือ “สสส.” แทน “สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ”

    – คำย่อเหล่านี้มาจากคำภาษาไทยที่เป็นชื่อของหน่วยงานหรือองค์กรในประเทศไทย ซึ่งถูกนำมาใช้ในรูปแบบย่อเพื่อความสะดวกและกระชับในการสื่อสาร
    – เมื่อคำย่อในลักษณะนี้เป็นที่ยอมรับและรู้จักกันอย่างกว้างขวาง เราก็สามารถใช้คำย่อนี้ในงานเขียนได้โดยไม่จำเป็นต้องอธิบายชื่อเต็มเสมอไป แต่ควรระบุชื่อเต็มไว้ครั้งแรกที่กล่าวถึงในเอกสารเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ว่าเป็นคำย่อของอะไร

  6. การระบุคำย่อในรายการอ้างอิงหรือส่วนท้ายของเอกสาร
    หากเอกสารมีการใช้คำย่อจำนวนมาก อาจทำรายการคำย่อไว้ในส่วนท้ายของเอกสารเพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ้างอิงได้ง่าย เช่น คำศัพท์เฉพาะ หรืออภิธานศัพท์

การใช้คำย่อหน่วยวัด

การใช้คำย่อต่าง ๆ เราจะพบบ่อยในงานหนังสือ ตำราทางวิชาการ ที่นักเขียนมักจะใช้ แต่หากเราเขียนหนังสือภาษาไทย ที่มีการใช้ทับศัพท์ หรือทับศัพท์บัญญัติ แล้ว คำเหล่านั้นก็จะต้องเป็นภาษาไทยด้วยเช่นกัน *โดยหนังสือทั้งเล่มจะต้องใช้รูปแบบเดียวกันทั้งเล่ม

เช่น

คำย่อใช้คำย่อ ภาษาไทยใช้ทับศัพท์/ทับศัพท์บัญญัติ
cmซม.เซนติเมตร
m3ลบ.ม.ลูกบาศก์เมตร
mม.เมตร
kgกก.กิโลกรัม
Cองศาเซลเซียส
mL หรือ mlมล.มิลลิลิตร

3. คำศัพท์

คำศัพท์มักพบได้บ่อยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่ เนื่องจากมีคำศัพท์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีคำในภาษาไทยที่ตรงตัว เช่น “Artificial Intelligence” ที่ทับศัพท์ว่า “ปัญญาประดิษฐ์” “Large language model
” ที่ทับศัพท์ว่า “Large language model”

การใช้งานควรใช้อย่างถูกต้องและให้ความหมายเพิ่มเติมในส่วนแรกที่ปรากฏในเอกสาร และจะใช้คำศัพท์ภาษาไทยนั้น ๆ ในทุกครั้งที่พูดถึงภายในเล่ม

สรุปภาพรวม

การใช้ทับศัพท์และคำย่อมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารที่ชัดเจนและทันสมัยในงานเขียน ทั้งในเชิงวิชาการและเอกสารทั่วไป การทับศัพท์ช่วยให้เข้าใจแนวคิดเฉพาะทางจากภาษาอื่น ในขณะที่การใช้คำย่อช่วยทำให้เนื้อหากระชับและเข้าใจง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม ควรใช้อย่างระมัดระวังและให้ความสำคัญกับการให้ความหมายที่ถูกต้องเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสน

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นตัวอย่างและข้อผิดพลาดที่พบได้บ่อย ทั้งนี้การใช้คำย่อ คำศัพท์ และทับศัพท์ จะต้องใช้คำที่กำหนดโดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ซึ่งสามารถเข้าไปใช้งานในรูปแบบออนไลน์ได้ที่

  1. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
  2. ศัพท์บัญญัติ
  3. คำทับศัพท์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

และนี่เป็นเทคนิคส่วนของการใช้คำย่อ คำศัพท์ และทับศัพท์ สำหรับการเขียนหนังสือ ตำราทางวิชาการ ยังมีเทคนิคการเขียนหนังสือ ตำรา ที่ได้เขียนแนะนำไว้ให้นักเขียนได้ลองศึกษาดูสามารถดูได้จากบทความเหล่านี้เลย เทคนิคการเขียนหนังสือ ตำราทางวิชาการ

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน