การพยาบาลผู้ป่วย

การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ และการพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด

หนังสือ การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตหัวใจ (cardiac critical care nursing) มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 9 บท เน้นความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด โดยเริ่มตั้งแต่กายวิภาคและสรีรวิทยาของหัวใจ การดูแลและเฝ้าระวังสัญญาณชีพต่าง ๆ การให้ยาต้าน หัวใจเต้นผิดจังหวะ การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดด้วยเครื่องช่วยหายใจ การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจและการช็อคไฟฟ้าหัวใจ ทั้งนี้รวมไปถึงการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อระบายทรวงอก, เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ (intra-aortic balloon pump, IABP)

และเครื่องพยุงการทำงานของปอดและหัวใจ (extracorporeal membrane oxygenation, ECMO) ทั้งนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะสามารถเป็นแนวทางให้กับพยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตให้ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด

การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด


1. กายวิภาคและสรีรวิทยาของหัวใจ

บทนี้จะกล่าวถึงลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของหัวใจในภาวะปกติ ซึ่งประกอบด้วย ลักษณะตำแหน่งของหัวใจ ห้องหัวใจ ลิ้นหัวใจ โครงสร้างผนังของหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ เส้นทางการนำไฟฟ้าของหัวใจ และเส้นเลือดที่มาเลี้ยงหัวใจ ทั้งนี้เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาเรื่องต่อไป

กายวิภาคของหัวใจ

หัวใจเป็นอวัยวะกล้ามเนื้อที่มีการเจริญเติบโตและทำงานได้อย่างสมบูรณ์ จึงทำให้หัวใจสามารถสูบฉีดเลือดให้กับระบบหลอดเลือดของร่างกาย เพื่อขนส่งสารอาหารต่าง ๆ ที่มีออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ โดยหัวใจมีขนาดใหญ่กว่ากำปั้นมือของเจ้าของเล็กน้อย นำ้ หนกั ของหัวใจปกติอยู่ในช่วง 200 ถึง 425 กรัม ขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายของแต่ละบุคคล โดยหัวใจจอยู่ภายในถุงกลวงที่มีเยื่อบุเป็นถุงหุ้มรอบเรียกว่า เยื่อหุ้มหัวใจ หรือ ถุงหุ้มหัวใจ (pericardium) ซึ่งเยื่อนี้จะซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นนอกยึดติดกับส่วนต่างๆ ของทรวงอก ชั้นในติดแน่นกับกล้ามเนื้อหัวใจ และตำแหน่งของหัวใจจะอยู่ในทรวงอกด้านซ้าย ตั้งอยู่ระหว่างปอดซ้ายและปอดขวาค่อนมาทางด้านซ้าย ขอบขวาของหัวใจอยู่ด้านหลังของกระดูกหน้าอก (sternum) และขอบซ้ายสุดของหัวใจอยู่ตรงกับแนวกึ่งกลางของกระดูกไหปลาร้าข้างซ้ายตัดกับแนวช่องซี่โครงช่องที่ห้า ส่วนปลายของหัวใจเรียกว่า apex มีลักษณะทู่ ปลายชี้ลงไปด้านซ้าย ซึ่งเป็นส่วนของหัวใจห้องล่างซ้าย (สุนัน สุดดีและคณะ, 2557)

การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด

2. Hemodynamic monitoring

บทนี้จะกล่าวถึง Hemodynamic monitoring ซึ่งเป็นการเฝ้าระวังการทำงานของพลศาสตร์การไหลเวียนโลหิต เริ่มจากหัวใจ หลอดเลือด เม็ดเลือดแดง กลไกการจับและปลดปล่อยออกซิเจน ลงไปจนถึงระดับการทำงานของเซลล์เพื่อช่วยให้แพทย์และพยาบาลสามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องแม่นยำขึ้น hemodynamic monitoring กระทำได้ทั้ง non-invasive และ invasive ขึ้นอยู่กับระยะความรุนแรงของสภาวะโรคที่ผู้ป่วยเผชิญอยู่

การใช้อุปกรณ์เฝ้าระวังติดตามการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพมีบทบาทสำคัญในระหว่างการดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะในผู้ป่วยวิกฤตที่มีสัญญาณชีพไม่แน่นอน ซึ่งต้องใช้วิธีการต่างๆ ที่มีระบบและแบบแผนเฉพาะในกลุ่มโรคนั้นๆ ประสิทธิผลของการตรวจสอบสัญญาณชีพขึ้นอยู่กับทั้งทรัพยากรเทคโนโลยีที่มีอยู่และความสามารถของทีมสุขภาพในการวินิจฉัย ดูแลรักษา ซึ่งเป้าหมายหลักของการตรวจสอบสัญญาณชีพคือการแจ้งเตือนให้ทีมผู้ดูแลสุขภาพได้ทราบ ก่อนที่จะเกิดภาวะวิกฤตและเกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะต่างๆ ของผู้ป่วย อีกเป้าหมายหนึ่งของการตรวจสอบสัญญาณชีพคือเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงกับกระบวนการเกิดโรคซึ่งอาจช่วยในการวินิจฉัยและการรักษารวมถึงการตรวจสอบการตอบสนองต่อการรักษา

3. การพยาบาลผู้ป่วยใส่เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ

มีเครื่องมือหลายชนิดที่ช่วยระบบหมุนเวียนเลือด เช่น VAD ECMO โดยเนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึง Intra-aortic balloon pump (IABP) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยการทำงานของระบบหมุนเวียนเลือดชนิดชั่วคราวในผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือผู้ป่วยที่มีภาวะ cardiogenic shock

4. การพยาบาลผู้ป่วยใส่ท่อระบายทรวงอก

บทนี้จะกล่าวถึงวัตถุประสงค์ ข้อบ่งชี้ ตำแหน่ง อุปกรณ์ที่ใช้ และการพยาบาลผู้ป่วยก่อนใส่ท่อระบายทรวงอก ระหว่างใส่ท่อระบายทรวงอกและหลังใส่ท่อระบายทรวงอก

วัตถุประสงค์ของการใส่ท่อระบายทรวงอก

1. เพื่อช่วยระบายเลือด สารเหลว หรืออากาศ ออกจากช่องเยื่อหุ้มปอด ทำให้ปอดขยายตัวได้ดีขึ้น การแลกเปลี่ยนก๊าซดีขึ้น

2. เพื่อช่วยให้เยื่อหุ้มปอด parietal pleura และ visceral pleura มาบรรจบกัน ทำให้เนื้อปอดหายเร็วขึ้น และทำให้การหายใจโดยใช้แรงดันลบเป็นไปตามปกติ

3. การระบายทรวงอกทำให้สามารถทราบจำนวนของเหลวหรือลมที่ออกจากตัวผู้ป่วยว่ามากน้อยเพียงใด ในระยะสั้น

4. เพื่อป้องกันไม่ให้ mediastinum เคลื่อนตัวไป หรือถูกกด ซึ่งทำให้เกิดอันตรายได้

การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด


5. การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดด้วยเครื่องช่วยหายใจ

เนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึงข้อบ่งชี้ในการใส่เครื่องช่วยหายใจ ชนิดของเครื่องช่วยหายใจ การตั้งชนิดของการช่วยหายใจ บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจและหลังหย่าเครื่องช่วยหายใจ

การหายใจปกติของมนุษย์เกิดได้จากความดันในปอดของมนุษย์นั้นเป็นความดันลบ (Negative pressure) เครื่องช่วยหายใจในยุคแรกๆ จึงสร้างให้ทำงานเลียนแบบการหายใจของมนุษย์ (Negative pressure ventilator) โดยทำให้ความดันอากาศในเครื่องช่วยหายใจที่ล้อมรอบทรวงอกลดลงเป็นลบ ทรวงอกจะขยายออกความดันในระบบทางเดินหายใจต่ำกว่าบรรยากาศภายนอกทำให้อากาศไหลเข้าไปในปอดได้โดยไม่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ได้แก่ tank ventilator (cuirass) เครื่องคล้ายกับถังน้ำโดยให้ลำตัวของผู้ป่วยเข้าไปข้างในให้หมดยกเว้นบริเวณศีรษะ อีกชนิดหนึ่งคือ iron lung โดยให้ผู้ป่วยนอนหงายราบ ส่วนคอจรดปลายเท้าจะอยู่ในเครื่องคล้ายกับการนอนหงายในการทำ CT-scan

เครื่องช่วยหายใจ เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สำคัญที่ใช้ช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤตทางระบบหายใจ ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจต้องการการดูแลที่ซับซ้อน ดังนั้นทีมพยาบาลและแพทย์ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและรอดชีวิต ซึ่งพยาบาลเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดและต้องพบกับปัญหาความต้องการการดูแลที่เกิดจากผลของการใช้เครื่องช่วยหายใจ จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะและวิธีการทำงานของเครื่องช่วยหายใจ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ (พจนา ปิยะกรณ์ชัย, 2553)

6. การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านหัวใจผิดจังหวะ

บทนี้จะกล่าวถึงคุณสมบัติทางไฟฟ้าของหัวใจ action potential การเกิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ สาเหตุการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และ antiarrhythmic drug โดยจำแนกตามกลไกการออกฤทธิ์

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ ความผิดปกติของอัตราการเต้นของหัวใจโดยอาจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าในหัวใจหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจส่งผลให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวซึ่งก่อให้เกิดอันตรายคุกคามต่อการดำรงชีวิตได้ การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้นแพทย์จะพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ทั้งสาเหตุ อาการ ตำแหน่งและความรุนแรงของโรคโดยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดอาจไม่ต้องทำการรักษา แต่ในชนิดที่ต้องทำการรักษาก็จะมีทางเลือกด้วยกันหลายวิธีแล้วแต่ความรุนแรงที่พบ การรักษาด้วยยาก็เป็นทางเลือกหนึ่งและอาจเป็นทางเลือกต้นๆ ที่ใช้รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้นๆ ก่อนที่เราจะทำความเข้าใจและการเลือกบริหารยาต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะได้นั้นเราควรมีความรู้ในเรื่อง normal cardiac electrophysiology และ electrical abnormality

7. การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการช็อคไฟฟ้าหัวใจ

เนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึงชนิดของเครื่องกระตุกหัวใจ ข้อบ่งชี้ ข้อห้ามในการทำ defibrillation วิธีการทำ defibrillation ข้อบ่งชี้ ข้อห้ามในการทำ cardioversion และวิธีการทำ cardioversion

เครื่องกระตุกหัวใจ (Defibrillator) เป็นเครื่องมือที่ให้กำเนิดกระแสไฟฟ้าตรงและผ่านกระแสไฟฟ้าในปริมาณที่ควบคุมจากขั้วไฟฟ้า (Paddle) อันหนึ่งผ่านหัวใจแล้วกลับเข้าสู่ขั้วไฟฟ้าอีกอันหนึ่ง เพื่อแก้ไขภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ

ปัจจุบันเครื่อง defibrillator มีสองแบบได้แก่

1. Monophasic defibrillator (maximum energy 360 J)

2. Biphasic defibrillator (maximum energy 200 J)

ที่นิยมใช้มี 2 ชนิดคือ แบบ manual และแบบ automated external defibrillators (AEDS) โดยระบบการทำงานของเครื่อง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบ คือ แบบ manual และแบบ automated ซึ่งแบบ automated ยังสามารถ แบ่งได้เป็น fully automated และ semi automated

8. การพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

เครื่องกระตุ้นหัวใจหรือเครื่องควบคุมจังหวะหัวใจ (Cardiac pacemaker) เป็นอุปกรณ์การแพทย์ที่นำมาใช้ทำหน้าที่ทดแทนระบบการนำไฟฟ้าของหัวใจ ในกรณีที่ร่างกายเกิดภาวะที่ระบบไฟฟ้าของหัวใจที่หนึ่งที่ใดผิดปกติ ทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจไม่เป็นจังหวะที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ ช้าหรือผิดปกติ และอาจเกิดขึ้นเป็นบางเวลา (intermittent) หรือระบบไฟฟ้าของหัวใจถูกขัดขวางไม่ทำงานอย่างสิ้นเชิง (complete heart block) ดังนั้น cardiac pacemaker จึงทำหน้าที่ส่งกระแสไฟฟ้าผ่านสายนำไฟฟ้าและอิเล็กโทรด (lead and electrodes) ไปทำการกระตุ้นหัวใจ (cardiac pacing) ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหดตัวพร้อมเพรียงและสม่ำเสมอ อัตราการเต้นของหัวใจเหมาะสม ส่งผลให้การไหลเวียนเลือดไปทั่วร่างกายดีขึ้น โดยเนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึงชนิดของเครื่องกระตุ้นหัวใจ ข้อบ่งชี้ในการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ การพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ปัญหาที่พบในผู้ป่วยใส่เครื่องกระตุ้นใจ และ mode ของเครื่องกระตุ้นหัวใจ

9. การพยาบาลผู้ป่วยใส่เครื่องพยุงการทำงานหัวใจและปอด

บทนี้จะกล่าวถึงความหมายและความสำคัญ วัตถุประสงค์ ชนิดของ ข้อบ่งชี้ ข้อห้าม อุปกรณ์และส่วนประกอบที่สำคัญ ภาวะแทรกซ้อนและการพยาบาลของ Extracorporeal membrane oxygenation หรือ ECMO

จึงหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะช่วยความรู้และแนวทางปฏิบัติงาน การดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตแก่พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ทั่วไป โดยได้รวบรวมความรู้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ที่ทันสมัยและประสบการณ์จริงที่ได้ปฏิบัติงานมา โดยเน้นการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด

การพยาบาล

เอกสารอ้างอิง


สุนันสุดดี, เสาวนีย์ เนาวพานิช, ศรินรัตน์ ศรีประสงค์, วันเพ็ญภิญโญภาสกุ.(2557).หัตถการทางหัวใจและ หลอดเลือดกับการพยาบาล.กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์

พจนา  ปิยะกรณ์ชัย.(2553).กลศาสตร์การหายใจ (Respiratory mechanics).ใน โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชนก(บรรณาธิการ).การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนและเครื่องช่วยหายใจ(พิมพ์ครั้งที่1หน้า76-77).กรุงเทพมหานคร:ธนาเพรส

Anne M.Gilroy, Brian R.MacPherson, & Lawrence M.Ross. (2012). Atlas of Anatomy. New York: Thomson Press (India).

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน