การลงทุนเน้นคุณค่า

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investing)

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investing) เป็นการผสมผสานความเป็นศิลปะและวิทยาศาสตร์ไว้ในตัว มีทั้ง อารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการลงทุน มีพัฒนาการของกลยุทธ์การลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เป็นกลยุทธ์ที่ สามารถสร้างอัตราผลตอบแทนที่มั่นคงได้ในระยะยาว สามารถปรับเปลี่ยน เพื่อให้มีความเสี่ยงที่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนที่มีความชอบแตกต่างกัน สามารถนำไปเติมแต่งกับกลยุทธ์การลงทุนอื่น ๆ และยังสามารถนำไปใช้ ประยุกต์ในการทำธุรกิจ นอกจากนี้ การลงทุนเน้นคุณค่าเป็นศาสตร์ที่ศึกษา ได้โดยใช้หลักการ สังเกต ทดสอบ ค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มีเหตุและผล หนังสือเล่มนี้จึงเหมาะกับนักลงทุนที่มีพื้นฐานการลงทุนมาบ้างแล้ว รวมถึง นักศึกษา นักวิจัย และผู้สนใจเกี่ยวกับการลงทุนเน้นคุณค่า

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า

บทที่ 1 ทำไมต้องเป็นการลงทุนเน้นคุณค่า

ทำไมต้องเป็นการลงทุนเน้นคุณค่า

เบนจามิน เกรแฮม (Benjamin Graham) ซึ่งถือเป็นบิดาของการ ลงทุนเน้นคุณค่าได้เขียนหนังสือ The Intelligent Investor ที่ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1949 ซึ่งลูกศิษย์ที่เราน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) ได้เคยกล่าวไว้ในบทนำของหนังสือในฉบับปรับปรุงใหม่ (revised edition) คือตอนที่เขาได้อ่าน The Intelligent Investor เมื่ออายุ ได้ 19 ปีนั้น เขาคิดว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือด้านการลงทุนที่ดีที่สุดตั้งแต่ เคยเขียนมาและในปัจจุบันก็ยังคิดแบบนั้นด้วย หนังสืออีกเล่มที่ทำให้การ ลงทุนเปลี่ยนจากการเก็งกำไรเป็นการลงทุนที่เน้นพื้นฐานที่แท้จริง คือ Security Analysis (Graham and Dodd, 2004)

ซึ่งหนังสือทั้งสองเล่มนี้ได้ เปลี่ยนแนวคิดการลงทุน ให้เป็นการลงทุนอย่างมีระบบและมีพื้นฐานของ บริษัทที่เป็นเหมือนกระจกสะท้อนราคาหุ้นในระยะยาว รวมทั้งได้พยายาม ผสมผสานอารมณ์และความรู้สึกของนักลงทุนเข้ามาด้วยในการอธิบายแนว ทางการลุงทุน ผมจึงอยากเขียนหนังสือเล่มนี้ให้เป็นอีกหนึ่งเล่ม ที่จะนำเสนอ เนื้อหาต่อยอดจากหนังสือ Security Analysis และ The Intelligent Investor โดยจะพยายามรวบรวมความรู้และแนวคิดจากแหล่งต่าง ๆ อย่าง กระชับ ทั้งจากการบริหารพอร์ตโฟลิโอของกูรูที่เป็นที่รู้จักในวงการการลงทุนรวมทั้งยังได้รวบรวมงานวิจัยอันลํ้าค่าจากหลากหลายผลงานทั้งแนววิจัยเชิง ทฤษฎี (theoretical research) และวิจัยเชิงประจักษ์ (empirical research)

บทที่ 2 นิยามการลงทุนเน้นคุณค่า

พอร์ตโฟลิโอการลงทุนเน้นคุณค่าจากกูรูชื่อดังไม่ว่าจะเป็น วอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่ลงทุนในหุ้นของบริษัทต่าง ๆ โดยการลงทุนมีหุ้นจำนวนน้อย และ สามารถทำผลงานได้ดียอดเยี่ยม รวมทั้งถ้าดูจากการลงทุนของชาร์ลี มังเกอร์ (Charlie Munger) ในช่วงที่บริหารห้างหุ้นส่วนจำกัดในตอนแรก ก็เน้นใน การลงทุนที่ในพอร์ตโฟลิโอไม่ต้องมีหุ้นจำนวนมาก โดยเน้นว่าหุ้นแต่ละตัวใน พอร์ตโฟลิโอจะต้องมีคุณภาพ มีความได้เปรียบในการแข่งขัน สามารถทำ ความเข้าใจและสามารถที่จะคาดคะเนอนาคตของบริษัทได้ โดยการลงทุน แบบมีหุ้นน้อยตัวนี้ ก็สามารถทำผลงานได้ดี

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า

บทที่ 3 ตัวแปรด้านมูลค่าของการลงทุนเน้นคุณค่า

ในหนังสือ The Intelligent Investor ได้กล่าวถึงการวัดมูลค่าของ หุ้นเน้นคุณค่าโดยใช้มาตราวัดที่เป็นที่นิยมกันอย่างมาก เช่น ราคาหารด้วย มูลค่าตามบัญชี (P/B) ราคาหารด้วยกำไร (P/E) ซึ่งในบทนี้จะได้วิเคราะห์และ เจาะลึกถึงมาตราวัดมูลค่าของการลงทุนเน้นคุณค่าในแต่ตัวบอกถึงข้อดีและ ข้อเสีย รวมทั้งข้อที่นักลงทุนจะต้องระมัดระวังจากงานวิจัยต่าง ๆ นอกจากนั้นยังจะได้กล่าวถึงอัตราส่วนอื่น ๆ ที่ได้รับความสนใจจากงานวิจัย ในปัจจุบันเช่น ราคาหารด้วยกำไรและปรับด้วยอัตราการเติบโต (PEG) ราคา หารด้วยกำไรเฉลี่ยหลายปี (CAPE) ราคาหารด้วยรายได้ (P/S) ราคาหารด้วย กระแสเงินสด (P/C) และตัวคูณกิจการ (EM)

บทที่ 4 คุณภาพในการลงทุนเน้นคุณค่า

ในงานวิจัยของ Frazzini, Kabiller, and Pedersen (2018) ได้ แสดงให้เห็นวิวัฒนาการการลงทุนเน้นคุณค่าของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่แต่เดิม เน้นจากการที่เน้นมูลค่า และปัจจุบันกลายมาเป็นการลงทุนเน้นคุณค่า ถ้า วิเคราะห์จากงานวิจัยจะพบว่า อัตราผลตอบแทนการลงทุนเฉลี่ยของ พอร์ตโฟลิโอของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ นั้น มีผลตอบแทนโดยรวมที่น้อยลง แต่ ยังทำให้อัตราการขยายตัวของส่วนของผู้ถือหุ้นของ Berkshire Hathaway นั้นยังไม่ลดตํ่าลงมาก ซึ่งในงานวิจัยได้อธิบายว่า พอร์ตโฟลิโอนั้นได้มีอัตราทด จากการนำเบี้ยประกันที่ได้จากธุรกิจประกันภัยหรือที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เรียกว่า float เข้ามาช่วยในการลงทุนแทนที่จะนำทุนของบริษัทเองทั้งหมดใน การลงทุน ทำให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยโดยรวมนั้นเพิ่มสูงขึ้น นักลงทุนจะ เห็นพัฒนาการของการลงทุนแบบนี้

ซึ่งจากเดิมที่เป็นการลงทุนของบริษัทที่มี ราคาถูกมาก ๆ และเป็นการลงทุนที่เน้นไปในแนวทางของเบนจามิน เกรแฮม พอราคาขึ้นไปสักพักและใกล้เคียงกับมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นตัวนั้นแล้ว ก็ขาย ออกไป ก็สามารถให้ผลตอบแทนที่เพิ่มพูนสำหรับ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ในช่วง ต้น จากนั้นเมื่อเขามีทุนที่เพิ่มสูงขึ้นและขนาดของบริษัทที่ใหญ่ขึ้น การลงทุน แบบนี้อาจจะไม่สามารถทำได้แบบเดิมอีก เนื่องจากเมื่อมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น หุ้น ที่บริษัทจะลงทุนก็มีจำนวนน้อยลง เพราะถ้า Berkshire Hathaway ลงทุนในหุ้นตัวเล็ก ราคาก็จะกระโดดไปมาก ทำให้ไม่สามารถที่จะลงทุนได้ในราคาที่ ถูกกว่ามูลค่าที่แท้จริง อีกทั้ง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้พบกับ ชาร์ลี มังเกอร์

ซึ่งในเวลาต่อมาได้กลายมาเป็นรองประธานบริหารของ Berkshire Hathaway และได้ช่วยให้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์จากการลงทุนแบบ เน้นมูลค่า ให้กลายมาเป็นการลงทุนเน้นคุณค่า ซึ่งมีความถูกของหุ้นผสมกับ ความมีคุณภาพในด้านต่าง ๆ ของหุ้น ซึ่งในบทนี้เราจะได้มาเจาะลึกกันว่า ความมีคุณภาพของหุ้นนั้นมีอะไรบ้าง และจะสามารถวัดได้อย่างไร รวมทั้งมี หลักฐานจากงานวิจัยอะไรบ้างที่บ่งบอกถึงความมีคุณภาพของหุ้นแต่ละตัว

บทที่ 5 การลงทุนเน้นคุณค่ากับอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง

ในตอนที่ผมเรียนปริญญาตรีอยู่ที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University) ได้มีโอกาสดีที่ได้ฟังการบรรยายของ ศาสตราจารย์แฮร์รี่ มาร์โควิตส์ (Harry Markowitz) ซึ่งได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ จากการวิจัยเรื่องการสร้างพอร์ตโฟลิโอแบบใหม่สำหรับ การลงทุน โดยก่อนหน้านั้นการลงทุนในสมัยนั้นคือ การวิเคราะห์หลักทรัพย์ ตามแบบหนังสือ Security Analysis (Graham and Dodd, 2004)

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า

รวมทั้ง อาจจะเป็นการเก็งกำไรหรือการซื้อขายผ่านการวิเคราะห์เชิงเทคนิค แต่ หลังจากที่มีงานของศาสตราจารย์แฮร์รี่ มาร์โควิตส์แล้ว นักลงทุนสามารถ เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงกับอัตราผลตอบแทนมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในงานวิจัย Markowitz (1952) สิ่งที่น่าสนใจมาก ๆ คือ ในอัตราความเสี่ยงที่เท่ากันนั้น นักลงทุนสามารถจะได้อัตราผลตอบแทนมาก ขึ้น จากการที่นักลงทุนกระจายความเสี่ยงไปในสินทรัพย์ที่มีอัตรา ผลตอบแทนคาดหวังที่มากขึ้น แต่โดยรวมแล้วความเสี่ยงซึ่งวัดโดยความ แปรปรวน (variance) ของพอร์ตโฟลิโออาจจะเท่าเดิม หรือน้อยกว่าเดิม

บทที่ 6 การลงทุนเน้นคุณค่ากับพฤติกรรมการลงทุน

ในการพูดคุยกันระหว่างศาสตราจารย์ยูจีน ฟามา และ ศาสตราจารย์ริชาร์ด เทเลอร์ (Prof. Richard Thaler) จากมหาวิทยาลัยชิคา โก ในหัวข้อที่ว่า ตลาดนั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ (Are markets efficient?) จาก Chicago Booth Review (2016) ซึ่งในฝั่งของศาสตราจารย์ยูจีน ฟามา นั้นคิดว่าตลาดหุ้นนั้นขึ้นลงตามเหตุปัจจัยพื้นฐานและข้อมูลของหุ้นแต่ละตัว นั้นได้เข้าไปอยู่ในราคาแล้ว ซึ่งจะตรงกับในบทที่แล้วที่เราได้กล่าวถึงความ เสี่ยงสำหรับการกำหนดอัตราผลตอบแทนคาดหวัง แต่ในทางกลับกัน ศาสตราจารย์ริชาร์ด เทเลอร์ ก็ได้ยกตัวอย่างมาต่าง ๆ นานา เพื่อที่จะแสดง ให้เห็นว่าราคาของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้น มีผลมาจากพฤติกรรมต่าง ๆ ของนักลงทุน ที่บางครั้งอาจจะไม่เป็นเหตุเป็นผลซะทีเดียว ซึ่งในบทนี้จะได้ อธิบายการเกิดขึ้นของหุ้นเน้นคุณค่าจากงานวิจัยต่าง ๆ ว่าสามารถเกิดขึ้นได้อย่างไร

บทที่ 7 วงกลมแห่งความสามารถ

จากหนังสืออัตชีวประวัติของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ จากงานเขียนของ Schroeder (2008) ได้อธิบายการลงทุนในบริษัท GEICO เมื่อ ค.ศ.1976 ซึ่ง เป็นปีที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้ลงทุนในบริษัทที่เขาชื่นชอบอีกครั้งหลังจากได้ ลงทุนครั้งแรกกับบริษัทนี้ตอนอายุได้ 21 ปีตอนที่กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) โดยในขณะนั้น เบนจามิน เกรแฮม อาจารย์ของเขาได้สอนวิชาการลงทุนให้และเป็นประธานกรรมการ ของบริษัท GEICO โดย วอร์เรน บัฟเฟตต์ นั้นได้เดินทางไปที่วอชิงตัน ดีซี ซึ่ง เป็นตั้งของสำนักงานใหญ่ GEICO

โดยได้พบกับ Lorimer Davidson ซึ่ง ภายหลังได้มากลายเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ GEICO โดยในวันนั้น เขาได้อธิบายธุรกิจประกันภัยให้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้ฟัง และทำให้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ สนใจในการลงทุนในบริษัทประกันภัยตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา โดย เมื่อ ค.ศ.1976 นั้น GEICO มีเงินสำรองในบริษัทไม่เพียงพอเนื่องจากมีการ ขายประกันภัยที่มีเบี้ยประกันตํ่ากว่าที่ควรจะเป็น แต่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เห็น ว่า GEICO เป็นบริษัทประกันภัยที่มีความได้เปรียบจากบริษัทอื่น ๆ เนื่องจาก เป็นบริษัทที่มีอัตราส่วนในการใช้จ่าย (expense ratio) ในการขายประกันตํ่า มากเมื่อเทียบกับบริษัทอื่น เพราะในตอนนั้นเป็นบริษัทที่เน้นการขายผ่านทาง จดหมายและการโทรศัพท์ แทนที่จะมีตัวแทนไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งจะทำ

ให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นนั่นเอง หลังจากที่มีการสำรองเงินในบริษัทที่น้อยไปทำให้ บริษัทขาดทุนสูงในปีนั้น โดยราคาหุ้นของ GEICO หล่นมาจากประมาณ $60 เหลืออยู่ที่ประมาณ $2 ทำให้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ลงทุนใน GEICO ผ่านบริษัท ที่เขาเป็นประธานกรรมการอยู่นั่นคือ Berkshire Hathaway โดยลงทุนกับ GEICO ผ่านหุ้นสามัญ (common stock) และหุ้นบุริมสุทธิที่แปลงสภาพได้ (convertible preferred stock) ทำให้บริษัทมีความแข็งแกร่งทางการเงิน เพิ่มขึ้น หลังจากที่บริษัทมีฐานะทางการเงินที่ดีขึ้นและมีการเขียนประกันที่ มาตรฐานมากขึ้น ทำให้ราคาหุ้นของ GEICO เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

บทที่ 8 การลงทุนเน้นคุณค่าและโมเมนตัม

จากงานวิจัยของ Asness, Moskowitz and Pedersen (2013) ได้แสดงให้เห็นว่านอกจากการลงทุน แบบเน้นคุณค่าแล้ว การลงทุนแบบโมเมนตัมก็สามารถที่จะเอาชนะตลาดได้ เช่นเดียวกัน ทั้งในตลาดหุ้นและตลาดสินทรัพย์อื่น ๆ ทั่วโลก ในบทนี้เราจะมาวิเคราะห์กันว่าการลงทุนโมเมนตัมนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร สามารถจะ เอาชนะตลาดได้ไหม ข้อควรระวังของการลงทุนแบบโมเมนตัมคืออะไร การ ผสมผสานการลงทุนแบบโมเมนตัมและการลงทุนเน้นคุณค่าทำได้อย่างไร สามารถจะเอาชนะตลาดได้หรือไม่ และสามารถทำให้ความเสี่ยงลดลงได้ อย่างไร

บทที่ 9 การลงทุนเน้นคุณค่าเชิงปริมาณ

เบนจามิน เกรแฮม ซึ่งได้รับการนับถือเป็นบิดาแห่งการลงทุนเน้น คุณค่า ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนั้นการลงทุนแบบเน้นคุณค่าแรก ๆ ที่ เบนจา มิน เกรแฮม ได้แนะนำนั้นเป็นการลงทุนเน้นคุณค่าเชิงปริมาณ โดยได้เขียนไว้ ในหนังสือ The Intelligent Investor ซึ่งกำหนดไว้ว่าการลงทุนเน้นคุณค่า นั้นนักลงทุนควรจะลงทุนมีลักษณะต่าง ๆ โดยสังเขป ดังนี้ 1) มีขนาดที่ไม่เล็กจนเกินไป 2) มีความแข็งแกร่งทางการเงิน 3) มีเสถียรภาพของกำไรที่ผ่านมา 4) มีการจ่ายปันผลที่สมํ่าเสมอที่ผ่านมา 5) มีการเติบโตของกำไร 6) มีค่า P/E ที่ไม่สูงจนเกินไป (ไม่ควรเกิน 15) 7) มีค่า P/B ที่ไม่สูงจนเกินไป (ไม่ควรเกิน 1.5)

บทที่ 10 การลงทุนเน้นคุณค่ากับปัญญาประดิษฐ์

ปัญญาประดิษฐ์จะได้กลายมาเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงโลกและจะเข้า มาอยู่ในชีวิตประจำวันของคนบนโลกใบนี้ โดยกูรดู ้านปัญญาประดิษฐ์ของโลก แอนดรู อึง (Andrew Ng) เปรียบการเปลี่ยนแปลงนี้เสมือนการค้นพบไฟฟ้า ในอดีต ที่ในปัจจุบันไฟฟ้าก็อยู่รอบ ๆ ตัวของเราและเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้เราก็เริ่มที่จะอยู่กับปัญญาประดิษฐ์ที่มีอยู่ รอบตัว ยกตัวอย่างเช่น การจะถ่ายรูปจากกล้องในโทรศัพท์มือถือจะมี ปัญญาประดิษฐ์มาช่วยเลือกโหลดและการปรับแสงที่เหมาะสมที่สุดเพื่อให้ การถ่ายรูปนั้นออกมาสวยและถูกใจ การเปิดดูความบันเทิงในผู้ให้การบริการ ภาพยนตร์ในอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ ก็ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการเลือกวิดีโอหรือ ภาพยนตร์ต่อไปที่จะให้ถูกใจ นอกจากนั้นสื่อทางโซเชียลในปัจจุบันก็ใช้ ปัญญาประดิษฐ์ในการเลือกเนื้อหาต่าง ๆ ที่จะให้คนที่ใช้ดูโดยใช้อัลกอริทึม (algorithm) ผสมผสานกับพลังในการคำนวณอย่างมหาศาลที่เรามีในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นการลงทุนเน้นคุณค่าที่มีปัญญาประดิษฐ์เข้ามาจึงอาจจะต้อง เปลี่ยนแปลงไปไม่มากก็น้อย

ในหนังสือเล่มนี้ได้อธิบายประเด็นสำคัญต่าง ๆ เกี่ยวกับการลงทุน เน้นคุณค่า เช่น นิยามของการเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่าคืออะไร การใช้กลยุทธ์ การลงทุนแบบเน้นคุณค่านั้นสามารถสร้างผลตอบแทนได้มากกว่าตลาด เป็นเวลานานหรือไม่ รวมทั้งได้วิเคราะห์นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จจาก การลงทุนเน้นคุณค่ามาด้วย หนังสือเล่มนี้ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนเน้นคุณค่าแบบ มีกลยุทธ์ที่ได้วางเอาไว้ และมีนิยามการลงทุนเน้นคุณค่าอย่างเหมาะสมแล้ว สามารถที่จะเอาชนะตลาดได้ และสามารถสร้างความมั่งคั่งได้อย่างยาวนาน หนังสือได้นำเสนอตัวแปรของการลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่คุณควรจะติดตาม ข้อควรระวังในการลงทุนในแง่มุมต่าง ๆ และคำถามของการลงทุนเน้นคุณ ค่าที่อาจจะยังไม่มีใครถาม

และยังได้อธิบายเหตุผลการเกิดขึ้นของหุ้นเน้นคุณค่าจาก ทฤษฎีของความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทน ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิจัยทางการเงินใน ช่วงแรกเชื่อกันว่าการที่หุ้นเน้นคุณค่าได้ผลตอบแทนที่มากกว่าตลาดหรือการ ที่กลยุทธ์นี้สามารถจะเอาชนะกลยุทธ์อื่นได้เป็นเพราะมีความเสี่ยงที่มากกว่า นั่นเอง แต่ในทางตรงกันข้าม มีงานวิจัยอีกหลายงานที่ได้พบว่า พอร์ตโฟลิโอ การลงทุนเน้นคุณค่าไม่จำเป็นที่จะต้องมีความเสี่ยงสูงเสมอไป รวมทั้งในช่วง 20 ปีที่ผ่านมายังมีการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักลงทุนที่มีผลต่อการ ลงทุน ทำให้สามารถที่จะอธิบายการเกิดขึ้นของหุ้นเน้นคุณค่า โดยใช้ พฤติกรรมของนักลงทุนได้เช่นกัน หนังสือนี้ได้เปิดมุมมองเกี่ยวกับการลงทุน เน้นคุณค่าเชิงปริมาณ โดยกล่าวถึงการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่ทันสมัยมาช่วยใน การหาและวิเคราะห์หุ้นเน้นคุณค่า การใช้ปัญญาประดิษฐ์(artificial intelligence) มาใช้ในการลงทุนแบบเน้นคุณค่า และสิ่งที่จะมามีผลกระทบ กับการลงทุนเน้นคุณค่าในมิติต่าง ๆ ซึ่งน่าจะช่วยทำให้นักลงทุนเน้นคุณค่า ลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังมีการติดอาวุธการลงทุนด้วยกลยุทธ์อื่น ๆ เช่น การลงทุนเน้นคุณค่ากับคุณภาพของบริษัท การที่บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขัน การลงทุนแบบโมเมนตัมและการพัฒนากลยุทธ์การลงทุนแบบ โมเมนตัมควบคู่ไปกับการลงทุนเน้นคุณค่า และการเกิดขึ้นของหุ้นเน้น คุณค่าที่คุณอาจจะยังไม่รู้เพราะบริษัทกำลังลงทุนในเทคโนโลยีบางอย่าง ใน ฐานะนักลงทุนเน้นคุณค่าคนหนึ่ง ผมมีความสุขที่ได้เขียนหนังสือเล่มนี้ โดย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่านจะเพลิดเพลินไปกับการเล่าเรื่องของผม และ ได้รับประโยชน์จากหนังสือนะครับ

บรรณานุกรม

Asness, C. S., Moskowitz, T. J., & Pedersen, L. H. (2013). Value and momentum everywhere. The Journal of Finance, 68(3), 929- 985.

Fama, E. F., & French, K. R. (1998). Value versus growth: The international evidence. The Journal of Finance, 53 (6):1975–1999.

Markowitz, H. (1952). Portfolio selection. The Journal of Finance, 7 (1), 77–91.

Schroeder, A. (2008). The snowball: Warren Buffett and the business of life. New York, New York: Bantam Books.

Graham, B., Zweig, J., & Buffett, W. E. (2006). The intelligent investor: The definitive book on value investing. A book of practical counsel (revised edition). New York, New York: HarperCollins.

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน