พายุแห่งการเปลี่ยนแปลงกับความท้าทายด้านการศึกษา

ในโลกที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง การศึกษาไม่อาจหลีกเลี่ยงจากกระแสพายุแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ ยิ่งในยุคที่เทคโนโลยีและการสื่อสารก้าวหน้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การศึกษาในทุกระดับต้องเผชิญกับความท้าทายที่ไม่เคยมีมาก่อน และในขณะเดียวกันก็ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ หนังสือ “พายุแห่งการเปลี่ยนแปลงกับ ความท้าทายด้านการศึกษา (The Cyclones of Changes and Challenges in Education)” เล่มนี้ ได้ถอดความจากการบรรยายในการประชุมสภาคณะผู้บริหารบัณฑิตศึกษาแห่งประเทศไทย (สคบท.) เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีทั้งประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในหลากหลายด้าน ทั้งในฐานะผู้บริหาร อาจารย์ และนักวิจัย

พายุแห่งการเปลี่ยนแปลง

อาจารย์ประสิทธิ์ได้สะท้อนแนวคิดและมุมมองที่ทันสมัย ท่านเชื่อมโยงให้เห็นถึงผลกระทบของพายุแห่งการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีต่อการศึกษา ผ่านการบรรยายที่เต็มไปด้วยประสบการณ์จริง ซึ่งผู้อ่านจะได้รับความรู้จากการนำเสนอที่เป็นกันเองและเข้าถึง ได้ง่าย เนื้อหาของหนังสือไม่ได้เป็นเพียงการถ่ายทอดข้อมูล แต่เป็น การเปิดมุมมองใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ระบบการศึกษาทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ

การอ่านหนังสือเล่มนี้จะทำให้ผู้อ่านรู้สึกเสมือนหนึ่งว่าได้ร่วมฟังการบรรยายจากอาจารย์ประสิทธิ์ โดยตรง และได้มีโอกาส แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิดที่ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาต่อไปในอนาคตซึ่งอาจารย์ประสิทธิ์ ได้วิเคราะห์ไว้ในหลายแง่มุม เช่น เป้าหมายของการศึกษาอันได้แก่ความรู้และทักษะของผู้เรียนยุคใหม่ โมเดลการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรที่ตอบโจทย์ความต้องการของ ผู้เรียนและสังคม การปรับตัวของผู้สอน การจัดการและนโยบายที่ต้องสอดรับกับโลกยุคดิจิทัลและเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก และกล่าวถึงทั้งโอกาสและความท้าทายที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษา พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางในการปรับตัวและการสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้การศึกษาเติบโตไปในทิศทางที่เหมาะสม

สั่งซื้อหนังสือ

ตอนที่ 1 พายุแห่งการเปลี่ยนแปลง (The Cyclones of Changes)

1. พายุ 7 ลูก (The 7 Cyclones of Changes)

ผมขอเริ่มต้นแบบนี้ว่า ในเวลานี้โลกเราเองทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทย เรากําลังเจอพายุแห่งการเปลี่ยนแปลงใหญ่ ๆ อยู่ 7 ลูก

พายุลูกแรก คือ โลกไร้พรมแดน “Globalization” ในศตวรรษที่ 20 เรื่อง Globalization เราเห็นแต่เชิงบวก การที่ โลกไร้พรมแดนผู้คนเดินทางระหว่างประเทศง่ายขึ้น ไม่ต้องมี วีซ่า การส่งของระหว่างประเทศง่ายขึ้น เรามองในแง่บวกของ เชิงเศรษฐกิจ

พายุลูกที่สอง คือ เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ “Digitalization” โควิด 19 ทําให้เกิดการเติบโตแบบก้าวกระโดด (Exponential Growth) ของการนําเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในสองวงการ วงการแรก คือ การดูแลสุขภาพ (เฮลท์แคร์) และวงการที่สอง คือ การศึกษา

พายุลูกที่สาม เป็นเรื่องของ “Disintermediation” คือ การกำจัดตัวกลางหรือการทำให้ตัวกลางหายไป (Dis แปลว่าทำให้หมดไป Intermediate แปลว่าตัวกลาง)

พายุลูกที่สี่ คือ สภาวะโลกร้อน “Global Warming” กับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ “Climate Change” ที่แรงขึ้นเรื่อย ๆ

ต่อมาที่จะพูด คือ พายุลูกที่ห้า การเข้ามาของ “Disruptive Technology” หรือ “เทคโนโลยีที่สร้างความพลิกผันให้ กับโลก” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของ Artificial Intelligence (AI) กับ Machine Learning (ML) ณ วันนี้ AI มาแรงมาก ๆ แรงมากจนเข้าไปในทุกหย่อมหญ้าแล้ว

พายุแห่งการเปลี่ยนแปลง

พายุลูกที่หก เป็นเรื่องของ “Geopolitical Conflicts” คือ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ เรื่องนี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงไปจากเราได้เลย ต้องส่งผลกระทบกับการศึกษาระดับอุดมศึกษา อย่างแน่นอน ตอนนี้เรากลับเข้ามาเหมือนกับช่วงสมัยสงครามเย็น สมัยตะวันตก-ตะวันออกกําลังแข่งกันและอาจจะนําไปสู่สงคราม ซึ่งอาจจะไม่ใช่แค่สงครามอย่างเดียว ยังมีการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจที่ยุคปัจจุบันนั้นมีข้อมูลทางโซเชียลมีเดียซึ่งสามารถ ใส่ร้ายกัน โดยเป็นข้อมูลที่อาจจะไม่มีความถูกต้อง (Fake News)

แล้วสุดท้าย พายุลูกที่ 7 เรื่อง “Socio-demographic Changes” คือ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและประชากร เรื่องนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปทั่วโลก เราเป็นประเทศผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์แบบตั้งแต่เกือบ 2 ปีที่แล้ว (ปี พ.ศ. 2565) 20% ของคนไทยอายุเกิน 60 ปี พ.ศ. 2564 เรามีคนตายมากกว่าคนเกิดแล้ว และตอนนี้เรากําลังจะถึงจุดที่ต่อไปนี้โครงสร้างประชากรคนไทยจะเริ่มเข้าไปในทิศทางที่จะเริ่มปักหัวลง คือ รูปทรงส่วนฐานแคบ (จำนวนคนเกิดลดลง) แต่ส่วนยอดกว้าง (จำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น)

2. การศึกษาระดับอุดมศึกษากับการดึงศักยภาพของผู้เรียน (Higher Education and Student’s Hidden Potential)

หากถามความเห็นผม เวลาเราพูดถึงหลักสูตรการศึกษา (Educational Curriculum) ผมเชื่อว่าเรามีหลักการพื้นฐาน เหมือนกันซึ่งประกอบด้วย 1. วัตถุประสงค์ (Objectives) 2. กระบวนการเรียนการสอน (Teaching & Learning Processes) 3. การประเมินผล (Evaluation)

ผมจะพูดโดยรวมว่าการสร้างหลักสูตรสาขาใดก็แล้ว แต่ต่อไปนี้เราจะผลิตนักเรียนของเราที่มีความรู้ และทักษะที่สามารถไปจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และดีกว่านั้นอีกสําหรับ การศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาต้องไปทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ไม่ใช่เพียงตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง แต่ต้องออกแบบ การเปลี่ยนแปลงได้ด้วย เพราะการเปลี่ยนแปลงบางอย่างถ้าเราออกแบบไว้ก่อนล่วงหน้า เราอาจจะควบคุมความเสียหายที่จะ เกิดขึ้นจากพายุทั้ง 7 ลูกนั้นได้ แต่ถ้ารอให้พายุทั้ง 7 ลูกสร้าง ความเสียหายก่อน มันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้วแต่เป็น ด้านลบ นักศึกษาและบัณฑิตของเราที่จบการศึกษา ก็ต้องสามารถจัดการกับความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ด้วย เช่นเดียวกัน ที่ผมพูดมานั้นจึงหมายถึงทั้งในแง่ของการตอบสนอง เชิงรุก (Proactive) กับในแง่ของการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง (Reactive Response to Changes)

3. ความรู้ : เป้าหมายของการศึกษาระดับอุดมศึกษา (Knowledge: Objective of Higher Education)

ผมขอเริ่มต้นที่วัตถุประสงค์ตัวแรกของการจัดการศึกษา คือ ความรู้ (Knowledge) ถ้าทุกท่านลองไปดูเรื่องของการศึกษา ในระดับอุดมศึกษาสมัยก่อน…เป็นการเน้นเรื่องของการเรียนรู้ กว้างก่อนแล้วค่อย ๆ เรียนรู้ลึก แต่ตอนหลังคนพยายามที่จะใช้ ความรู้ลึกเร็วขึ้น

ฉะนั้น นักศึกษาที่เข้ามาปี 1 การเรียนรู้กว้างเหลือแค่ ปีเดียว คือ เหลือเรียนวิชาศึกษาทั่วไป (General Education) แค่ปีเดียว ขณะที่ต่างประเทศจัดให้มีการเรียนรู้กว้างจนจบ ปริญญาตรีเลยด้วยซ้ำแล้วค่อยไปเรียนรู้ลึก

4. ทักษะ : เป้าหมายของการศึกษาระดับอุดมศึกษา (Skills: Objective of Higher Education)

เรื่องของทักษะ (Skills) พอดีผมได้ทำเรื่องนี้กับสภา การศึกษาแห่งชาติ ตอนนี้เรากําลังผลักดัน เรื่อง ทักษะบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือ Future Skills Set ให้กับคนไทยทั้งประเทศ โดยเราจะเริ่มต้นจากกระทรวงศึกษาธิการก่อน 26 Future Skills ที่ถูกออกแบบเป็น 7 ทักษะพื้นฐาน (Basic Skills) และอีก 19 ทักษะขั้นสูง (Advanced Skills) โดยจำนวน 19 ทักษะขั้นสูงจะอยู่ที่ระดับอุดมศึกษาจํานวนหนึ่ง แต่หลายทักษะจะอยู่ที่กระทรวงศึกษาธิการเพราะจะต่อเนื่องกัน ทั้งหมดนี้นำมาจากทักษะทั้ง 4 กลุ่มนี้

  1. Hard Skills
  2. Soft Skills
  3. 21st Century Skills
  4. Meta Skills

ตอนที่ 2 โอกาสและความท้าทายของการศึกษาระดับอุดมศึกษา (Opportunities and Challenges in Higher Education)

พายุแห่งการเปลี่ยนแปลง

5. การทบทวนและปฏิรูปการศึกษา (Revisiting and Redesigning Education)

ปัจจุบันจํานวนนักศึกษาที่สมัครเรียนในมหาวิทยาลัย เพื่อศึกษาในหลักสูตรสาขาต่าง ๆ มันน้อยลงจริงไหม?

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับบัณฑิตศึกษา ผมเชื่อว่าแต่ละมหาวิทยาลัยคล้ายคลึงกัน อาจจะไม่ใช่ทุกสาขา บางสาขายัง ไม่น้อยลง แต่ในภาพรวมทั่วโลกตอนนี้นักศึกษาปริญญาเอกลดลง

ทําไมถึงน้อยลง เราลองนึกภาพดู การสร้างนักศึกษาปริญญาเอก 1 คน ให้รู้ลึกด้านใดด้านหนึ่ง ใช้เวลา 4-7 ปี จึงจบปริญญาเอก พอเริ่มเข้าไปทำงานก็เกิดการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ดังนั้นความรู้ที่เขามีทั้งหมดและเทคโนโลยีที่เรียนรู้มาจะไม่ได้ใช้แล้ว…จบกันเลยปริญญาเอกที่ได้มา อาจจะไปต่อไม่ได้

แต่สิ่งที่อยู่ในตัวเขา คือ เขายังมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา

6. การคงอยู่และสุขภาวะของนักศึกษา (Student Retention and Wellbeing)

การคงอยู่ของนักศึกษาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญและ เป็นเรื่องท้าทายของการจัดการศึกษาในปัจจุบัน หากเราเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยผมขอถามว่ามหาวิทยาลัยของเรามีนักเรียนลาออกมากน้อยแค่ไหน

ตัวเลขการลาออกเพิ่มขึ้นหรือไม่?

7. การคงอยู่ของคณาจารย์และบุคลากร (Staff Retention)

พายุแห่งการเปลี่ยนแปลง

ผลจากพัฒนาการหลากหลายประการในเทคโนโลยี การศึกษา อาจส่งผลให้เกิดภาระงานที่เพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของคณาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบการจัดการ และการจัดเตรียมเทคโนโลยีเหล่านั้น

ผมมีคำถามว่าในมหาวิทยาลัยของท่านมีคณาจารย์ และบุคลากรลาออกบ้างไหม?

8. ผลงานและการจัดลำดับมหาวิทยาลัย (Results & University Rankings)

ในปัจจุบัน ผลงานของนักศึกษาหรือบัณฑิตและลำดับของมหาวิทยาลัยหรือคณะในเวทีโลกเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่นักศึกษาพิจารณาในการเลือกสถาบันที่จะเข้าศึกษา

สําหรับบัณฑิตศึกษา คุณภาพของพันธกิจด้านการศึกษาไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ดึงดูดให้นักศึกษาสมัครเข้าสถาบัน คุณภาพของพันธกิจด้าน “วิจัย” เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ และทั้งสองปัจจัยอยู่ในกลุ่มที่เป็นตัวกำหนดลำดับของมหาวิทยาลัยหรือคณะใน เวทีโลก ณ วันนี้ ผมย้ำเลยว่าในหลาย ๆ มหาวิทยาลัยโดยเฉพาะ สําหรับระดับบัณฑิตศึกษา นักศึกษาเลือกเข้าไปเรียนไม่ใช่เพียง การศึกษาเท่านั้น

เพราะระดับบัณฑิตศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการเรียนรู้จากงานวิจัย และผมได้พูดถึงเรื่องนี้ตั้งแต่ต้นว่าการแก้ปัญหา ในปัจจุบัน นักศึกษาระดับปริญญาตรีเขาเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่มีข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เขาก็นำความรู้ต่าง ๆ ไปแก้ปัญญา

แต่ปัญหาที่กำลังจะเกิดในอนาคต ซึ่งไม่รู้ว่าจะมีปัญหาอะไรบ้าง เราต้องการคนที่ทํางานวิจัยเป็นไปแก้ปัญญา

สุดท้ายนี้ เราหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นแรงบันดาลใจและ เครื่องมือในการพัฒนาระบบการศึกษาที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน และสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาทุกระดับสามารถเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน