ตำรานเรศวรอายุรศาสตร์

ตำรานเรศวรอายุรศาสตร์ เล่มนี้มีเนื้อหาเพิ่มเติมจากนเรศวรอายุรศาสตร์เล่มแรกอีก 14 บท โดยเนื้อหา ในแต่ละบทได้ผ่านการเขียนจากคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในอนุสาขาต่าง ๆ มีการรวบรวมความรู้ทางอายุรศาสตร์ที่ทันสมัย น่าสนใจ นำเสนอเนื้อหาที่กระชับ อ่านง่าย และสามารถนำความรู้จากการอ่านไปใช้ประโยชน์ได้จริง เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับอายุรแพทย์ แพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์ แพทย์เวชปฏิบัติ ตลอดจนนักศึกษาแพทย์

อายุรศาสตร์

สั่งซื้อหนังสือ

1. มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดมัยอีลอยด์ (Chronic myeloid leukemia)

Chronic myeloid leukemia (CML) เป็นโรคในกลุ่ม myeloproliferative neoplasm มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งตั้งแต่ multipotent progenitor cell หรือ pluripotent stem cell ทำให้มี clonal proliferation ของเซลล์ใน myeloid cell line โรคนี้พบได้ประมาณร้อยละ 15-20 ของมะเร็งเม็ดเลือดขาวในผู้ใหญ่ สาเหตุของโรค CML ยังไม่ทราบแน่ชัด พบว่าผู้ที่ได้รับกัมมันตภาพรังสี เช่น ผู้ที่รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูที่ Hiroshima กับ Nagasaki และผู้ป่วย ankylosing spondylitis ที่เคยรับการฉายรังสี มีอัตราการเกิดโรคที่สูงกว่าคนทั่วไป1-3

อุบัติการณ์ของโรค CML ที่รายงานไว้ทั่วโลก คือ 1.6 รายต่อประชากรแสนรายต่อปี พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อย (1.4 : 1.3) ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 50-55 ปี4 สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วย CML ระยะเรื้อรังรายใหม่ 700-1,000 คนต่อปี ช่วงอายุที่พบบ่อยคือ 36-41 ปี อัตราส่วนชายต่อหญิง 1.7 : 15 จากการเก็บข้อมูลของผู้ป่วย CML ในเขตภาคเหนือตอนล่างที่เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 30 ราย พบว่า อายุของผู้ป่วยใกล้เคียงกับในต่างประเทศ โดยพบมากในช่วงอายุ 51-60 ปี เป็นผู้ป่วยชายมากกว่าหญิง อัตราส่วน
2 : 1 และส่วนใหญ่เป็น CML ระยะเรื้อรัง

2. ไขกระดูกและม้ามในระบบเลือด (bone marrow and spleen in blood system)

ไขกระดูกและม้ามเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สอดประสานกันอย่างใกล้ชิดในระบบเลือด ในทางคลินิกการเกิดพยาธิสภาพในไขกระดูกมักมีผลกระทบกับม้าม เช่นเดียวกันการเกิดพยาธิสภาพ ในม้ามอาจมีผลกับไขกระดูกได้เช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากทั้งสองอวัยวะทำหน้าที่คล้ายคลึงและสัมพันธ์กัน โดยเป็นแหล่งของการสร้างเม็ดเลือด (hematopoietic organ) โดยเฉพาะการสร้างเม็ดเลือดแดงใน ไขกระดูกซึ่งมีบทบาทตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ ในขณะที่ม้ามทำหน้าที่ดังกล่าวในระยะ fetus และหมดหน้าที่นี้ไปหลังคลอด ม้ามเป็นอวัยวะในระบบน้ำเหลือง (secondary lymphoid organ) ที่ใหญ่ที่สุด ในขณะที่ไขกระดูกทำหน้าที่สร้าง lymphoid precursor (primary lymphoid organ) จากนั้น T-lymphocyte จะถูกพัฒนาต่อใน thymus ให้เป็น mature T-cell ก่อนจะย้ายมาที่ม้าม ต่อมน้ำเหลือง และ mucosa-associated lymphoid tissue ซึ่งได้แก่ Peyer’s patch ในลำไส้ ส่วน B-lymphocyte จะถูกส่งต่อจากไขกระดูกโดยตรงมาที่อวัยวะในระบบน้ำเหลืองที่กล่าวมา เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่าง immune cell และ antigen ในการสร้างภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ไขกระดูกและม้ามยังทำหน้าที่เป็นแหล่งของ phagocytic cell ใน mononuclear phagocyte system ทำหน้าที่ ในการกรองและกำจัดเชื้อโรครวมทั้งเซลล์ของร่างกายที่ผิดปกติ

อายุรศาสตร์

3. ภาวะโลหิตจางจากการขาดสารอาหาร (Nutritional anemia)

ภาวะโลหิตจางจากการขาดสารอาหาร (nutritional anemia) มีความสำคัญสำหรับแพทย์ ในการวินิจฉัยและรักษาเนื่องจากเป็นภาวะที่เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาแล้วสามารถหายเป็นปกติได้ โดยการให้สารอาหารทดแทนร่วมกับการแก้ไขที่สาเหตุของการขาดสารอาหาร การขาดสารอาหาร ที่พบบ่อย คือ การขาดธาตุเหล็ก โฟเลต และวิตามินบี 126 พบว่าอุบัติการณ์ของภาวะนี้เพิ่มขึ้นตามอายุ ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม7

4. ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (Acute pancreatitis)

โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันพบได้บ่อยประมาณ 4.9-73.4 ต่อประชากร 10,000 ราย อุบัติการณ์ของโรคนี้มีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากประชากรมีน้ำหนักตัวมากขึ้นเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในท่อน้ำดีและก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงถึง 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2543 ผู้ป่วย ร้อยละ 10 มีโอกาสเสียชีวิตถ้ามีอาการรุนแรงและได้รับการวินิจฉัยล่าช้า ผู้ป่วยในประเทศอังกฤษเสียชีวิต 2,834 ราย จากโรคนี้ในปี พ.ศ. 2543 นับเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 14 ของโรคระบบ ทางเดินอาหารทั้งหมด และเป็นโรคที่พบบ่อยเป็นอันดับ 2 ของโรคระบบทางเดินอาหารในโรงพยาบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา ถึงแม้จะมีความก้าวหน้าในการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้แต่อัตราการเสียชีวิต โดยรวมยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก

อายุรศาสตร์

5. โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome)

โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome, IBS) เป็นโรคที่มีอาการปวดมวนท้อง เป็นอาการเด่น ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับการถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติไป มีอาการท้องอืดแบบเรื้อรังร่วมด้วย ซึ่งการตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นไม่พบความผิดปกติที่ชัดเจน อาการแปรปรวนของลำไส้นั้นมีสาเหตุเกิดได้จากหลายกลไก นอกจากนี้มีการศึกษาเพิ่มเติมพบว่าความเสี่ยงในการเสียชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนนั้นไม่ต่างจากบุคคลทั่วไป8 อย่างไรก็ตาม อาการปวดมวนท้อง ท้องอืด และการถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติ ล้วนส่งผลรบกวนคุณภาพชีวิตและการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ ยังทำให้ผู้ป่วยรู้สึกวิตกกังวลต่ออาการและการพยากรณ์ของโรค จึงจำเป็นต้องทำการวินิจฉัยโดยอาศัยการซักประวัติร่วมกับตรวจร่างกาย และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เพื่อวางแผนการรักษาและชี้แจงลักษณะการดำเนินโรคต่อผู้ป่วย ดังที่จะกล่าวต่อไป

6. ภาวะช็อกจากเหตุหัวใจ (Cardiogenic shock)

ภาวะช็อก (shock) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความไม่สมดุลกันระหว่างการนำออกซิเจน ไปยังเนื้อเยื่อ (cellular oxygen supply) กับ ความต้องการใช้ออกซิเจนของเนื้อเยื่อ (cellular oxygen demand) ซึ่งส่งผลทำให้อวัยวะต่าง ๆ สูญเสียการทำหน้าที่ไป หากผู้ป่วยได้รับการรักษาภาวะช็อกอย่างถูกต้องในช่วงแรกสามารถช่วยเหลืออวัยวะที่สูญเสียหน้าที่ให้กลับมาทำงานได้ปกติ ถ้าภาวะช็อกเกิดขึ้นเป็นเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะส่งผลทำให้อวัยวะต่าง ๆ นั้นสูญเสียการทำหน้าที่ อย่างถาวรและนำไปสู่การเสียชีวิตได้9

อายุรศาสตร์

ภาวะช็อก เป็นภาวะวิกฤติที่สำคัญมีอัตราการเสียชีวิตสูง หากได้รับการวินิจฉัยและการรักษาล่าช้า ดังนั้นการวินิจฉัยและหาสาเหตุของภาวะช็อกจึงมีความสำคัญมาก เพื่อการรักษาอย่างทันท่วงทีก่อนที่อวัยวะต่าง ๆจะสูญเสียหน้าที่อย่างถาวร เพื่อที่ลดภาวะทุพลภาพและลดการเสียชีวิตของผู้ป่วย

ภาวะความดันโลหิตต่ำ (hypotension) เป็นภาวะที่ความดันโลหิตตัวบน (systolic blood pressure) น้อยกว่า 90 มม.ปรอท หรือมีค่า mean arterial pressure (MAP) น้อยกว่า 65 มม.ปรอท ซึ่งภาวะความดันโลหิตต่ำอย่างเดียวไม่ถือเป็นภาวะช็อก เนื่องจากมีผู้ป่วยบางคนที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำแต่ไม่มีภาวะช็อก หรือมีผู้ป่วยบางคนที่มีภาวะช็อกโดยที่ความดันโลหิตไม่ต่ำ ดังนั้นการวินิจฉัย ภาวะช็อกต้องมี ภาวะการไหลเวียนโลหิตบกพร่อง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว อัตราการเต้นของหัวใจเร็ว ปลายมือปลายเท้าเย็น คลำชีพจรได้เบาเร็ว หรือปริมาณปัสสาวะออกลดลงร่วม ด้วยเสมอ

7. ภาวะโซเดียมสูงในซีรั่ม (Hypernatremia)

ภาวะโซเดียมสูงในซีรั่มส่วนใหญ่เกิดจากมีการสูญเสียมวลรวมของน้ำในร่างกายและได้รับ การชดเชยที่ไม่เพียงพอ โดยภาวะดังกล่าวไม่ได้บ่งบอกว่าร่างกายมีปริมาณโซเดียมเพิ่มสูงขึ้นเพียง อย่างเดียว โดยทั่วไปภาวะโซเดียมสูงในซีรั่มมักพบในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยเฉพาะ ในหอผู้ป่วยวิกฤต ผู้ป่วยที่มีปัจจัยดังต่อไปนี้ เช่น มีอายุมากกว่า 60 ปี มีภาวะไตวายเฉียบพลัน มีระดับความรู้สึกตัวลดลง ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ มีภาวะขาดน้ำ ได้รับอาหารทางสายยาง มีภาวะน้ำตาล ในเลือดสูง มีระดับโพแทสเซียมต่ำ มีระดับแคลเซียมสูง จะมีโอกาสเกิดภาวะโซเดียมสูงในซีรั่มมากกว่า ผู้ป่วยทั่วไป

8. โรคหลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis)

โรค bronchiectasis หรือ โรคหลอดลมพอง ถูกบรรยายครั้งแรกในปี ค.ศ. 1819 โดย ดร. René Laënnec แพทย์ชาวฝรั่งเศสผู้ซึ่งประดิษฐ์ stethoscope โดยอธิบายว่าโรคหลอดลมโป่งพอง เป็นภาวะที่มีการขยายและหนาตัวของหลอดลมอย่างถาวรร่วมกับมีการอักเสบของหลอดลม ผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดลมพอง มักมาด้วยอาการ ไอเสมหะเรื้อรัง มีการติดเชื้อทางระบบหายใจส่วนล่างซ้ำ ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาโรงพยาบาลซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและเสีย ค่าใช้จ่ายในการรักษาอย่างมาก

อายุรศาสตร์

9. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน (Hypoglycemia in diabetic patient)

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นปัญหาสำคัญสำหรับผู้ป่วยและครอบครัวของคนไข้เบาหวาน และเป็นอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถควบคุมเบาหวานอย่างเข้มงวดได้ การตระหนักรู้ถึงอาการของ ภาวะน้ำตาลต่ำ หรือการที่ผู้ป่วยยังมีอาการเตือนและแก้ไขได้ทันก่อนเกิดอาการน้ำตาลต่ำรุนแรงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการน้ำตาลต่ำบ่อย ๆ จะทำให้เกิด ความบกพร่องของอาการเตือนและเป็นความเสี่ยงให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำรุนแรงได้ถึง 6 เท่า10

การควบคุมน้ำตาลในเลือดอย่างเข้มงวดมีข้อมูลชัดเจนว่าสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามการศึกษาพบว่าการควบคุมน้ำตาลอย่างเข้มงวดเพิ่มความเสี่ยง ในการเกิดน้ำตาลต่ำรุนแรง11,12

มีบางการศึกษาพบว่าอุบัติการณ์ของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในปัจจุบันมีแนวโน้มลดลง จากอดีตซึ่งเป็นผลจากยารักษาเบาหวานและการติดตามระดับน้ำตาลที่ดีขึ้น13, 14 แต่ก็มีบางการศึกษา พบว่าอุบัติการณ์ของภาวะน้ำตาลต่ำรุนแรงยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจาก 20 ปีก่อน ถึงแม้ว่าจะมีการใช้อินซูลิน analog และการใช้การติดตามน้ำตาลอย่างต่อเนื่อง continuous subcutaneous insulin infusion (CSII) และ continuous glucose monitoring (CGM) แล้วก็ตาม15 เพราะฉะนั้นการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในการที่จะทำให้น้ำตาลในเลือดถึงเป้าหมายโดยมีน้ำตาลในเลือดต่ำน้อยที่สุด จึงมีบทบาทสำคัญยิ่ง

10. ภาวะวิกฤติฉุกเฉินโรคเบาหวาน (Hyperglycemic emergencies)

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงวิกฤติ Hyperosmolar Hyperglycemic State (HHS) Diabetic Ketoacidosis (DKA) ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงวิกฤติเป็นภาวะฉุกเฉินที่มีอัตราตายลดลงจากอดีตตั้งแต่มีการรักษา ด้วยการใช้อินซูลินขนาดสูง16 อย่างไรก็ตามในผู้สูงอายุและมีโรคร่วมรุนแรง พบว่ามีอัตราตายมากกว่า ร้อยละ 5 17, 18 ซึ่ง HHS มีอัตราตายมากกว่า DKA และ อัตราตายของ DKA มักสัมพันธ์กับภาวะเจ็บป่วยรุนแรงที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดภาวะ DKA มากกว่าเป็นผลจากภาวะ DKA โดยตรง19, 20

ความเข้าใจในพยาธิกำเนิดของ DKA และติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด การแก้ไขภาวะผิดปกติของเกลือแร่ได้ทันท่วงทีทำให้พบว่าอัตราการตายของภาวะ DKA ลดลงอย่างชัดเจนในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาพบอัตราการเกิด DKA ลดลงจากร้อยละ 7.96 เป็นร้อยละ 0.67 ในประเทศสหรัฐอเมริกา 3 อย่างไรก็ตามอัตราตายของภาวะ DKA ยังคงสูงในประเทศกำลังพัฒนา21 ภาวะ cerebral edema เป็นสาเหตุการตายที่พบบ่อยในเด็กและวัยรุ่น ส่วนในผู้ใหญ่สาเหตุการตายที่พบบ่อยคือ ภาวะเกลือแร่ โพแทสเซียมต่ำรุนแรง ภาวะทางเดินหายใจล้มเหลว และโรคร่วม ที่เป็นตัวกระตุ้น เช่น ปอดอักเสบ ภาวะหัวใจขาดเลือด โรคติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น22

11. กลุ่มอาการคุชชิ่ง (Cushing’s syndrome)

Cushing’s syndrome (CS) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากร่างกายมีสาร glucocorticoid สูงกว่าระดับปกติ (supraphysiologic level) เป็นระยะเวลานาน โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากได้รับจากภายนอกร่างกาย (exogenous cause) ส่วนสาเหตุจากการสร้างเพิ่มขึ้นของต่อมหมวกไต (endogenous cause) นั้นพบน้อยมาก โดยมีรายงานของอุบัติการณ์ของสาเหตุนี้เพียง 0.2-5 ต่อล้านประชากรต่อปี23 ดังนั้นควรซักประวัติเพื่อแยกสาเหตุของ exogenous cause ออกก่อนเสมอ กลุ่มอาการนี้ส่งผลเสียอย่างมากต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ได้แก่ เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ กระดูกหัก โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดดำอุดตัน อีกทั้งเพิ่มภาวะทุพพลภาพและอัตราการเสียชีวิต โดยพบว่า อัตราการเสียชีวิตของโรคนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยแต่ละราย โดยอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี พบร้อยละ 50 ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากโรคหัวใจและ หลอดเลือด การติดเชื้อ ซึ่งหากตรวจพบและทำการรักษาได้เร็วจะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้24

12. เนื้องอกต่อมใต้สมองที่ผลิตฮอร์โมน prolactin (Prolactinoma)

เนื้องอกต่อมใต้สมองที่ผลิตฮอร์โมนโปรแลคติน (prolactin) สร้างจากเซลล์ lactotroph ในต่อมใต้สมองส่วนหน้า โดยเป็นเนื้องอกต่อมใต้สมองที่พบบ่อยที่สุดประมาณร้อยละ 4025 และคิดเป็นร้อยละ 50-60 ของเนื้องอกต่อมใต้สมองที่ผลิตฮอร์โมน26 ความชุกของโรค 10 ต่อแสนประชากรใน เพศชายและ 30 ต่อแสนประชากรในเพศหญิงซึ่งพบมากในช่วงอายุ 25-34 ปี27

13. หลักการรักษาด้วยภูมิคุ้มกัน (Principle of immunotherapy)

บทนี้กล่าวถึงระบบภูมิคุ้มกันและพัฒนาการของวัคซีน โดยเริ่มจากการอธิบายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่สามารถจดจำและแยกแยะสิ่งแปลกปลอมจากเซลล์ของตนเอง ทำให้สามารถป้องกันโรคได้ ความรู้ด้านภูมิคุ้มกันนี้นำไปสู่การพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อร้ายแรง หนึ่งในตัวอย่างสำคัญคือการค้นพบวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษของ Edward Jenner ในปี ค.ศ. 1796 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเชื้อ cowpox สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อโรคฝีดาษได้ ก่อนหน้านั้น Benjamin Jesty สังเกตว่าหญิงรีดนมวัวที่เคยติดเชื้อฝีดาษวัวมีภูมิคุ้มกันต่อโรคฝีดาษคน และได้ทดลองใช้หนองจากฝีวัวเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ครอบครัวของเขา คำว่า “vaccination” อาจมีที่มาจากคำว่า “vacca” ในภาษาละตินที่แปลว่าวัว

14. ภาวะฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง ส่วนที่ 1

ภาวะฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง หมายถึง ภาวะที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งที่ส่งผลให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตหรือการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย มีความจำเป็นต้องทำการรักษาอย่างเร่งด่วน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากตัวโรค หรือกลุ่มอาการที่เกิดขึ้น ภาวะฉุกเฉินเหล่านี้ หากไม่ได้คาดการณ์ไว้ ไม่ได้รับ การวินิจฉัยอย่างรวดเร็วและไม่ได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยที่รุนแรงหรืออาจเสียชีวิตได้

ในปัจจุบันแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปมีโอกาสพบ ภาวะฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง ได้บ่อยขึ้นเนื่องจาก มีการดูแลรักษาโรคมะเร็งแบบผู้ป่วยนอกมากขึ้นและผู้ป่วยมีอัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้น แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปควรมีความคุ้นเคยกับภาวะฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง (oncologic emergencies) เหล่านี้ เพราะอาจจำเป็นต้องมีให้การรักษาเบื้องต้นไปก่อนที่จะส่งปรึกษาแพทย์เฉพาะทางต่อไป ประเภทของภาวะฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง

เอกสารอ้างอิง

  1. Lange R, Moloney W, Yamawaki T. Leukemia in atomic bomb survivors. I. General observations. Blood. 1954;9(6):574-85.
  2. Court Brown W, Abbatt J. Mortality from cancer and other causes after radiotherapy for ankylosing spondylitis. Br Med J. 1965;2(5475):1327-9.
  3. Heyssel R, Brill AB, Woodbury LA. Leukemia in Hiroshima atomic bomb survivors. Blood. 1960;15(3):313-31.
  4. Cortes J. Natural history and staging of chronic myelogenous leukemia. Hematol Oncol Clin North Am. 2004;18(3):569-84.
  5. Jootar S. CML treatment in the Asia-Pacific region. Hematology. 2012;17(2):72-4.
  6. Carmel R. Nutritional anemias and the elderly. Semin Hematol 2008;45(4):225-34.
  7. Emiroglu C, Görpelioglu S, Aypak C. The relationship between nutritional status, anemia, and other vitamin deficiencies in the elderly receiving home care. J Nutr Health Aging. 2019;23(7):677-82.
  8. Staller K, Olen O, Soderling J, et al. Mortality Risk in Irritable Bowel Syndrome: Results From a Nationwide Prospective Cohort Study. Am J Gastroenterol 2020;115:746-55.
  9. Massaro AF. Approach to patient with shock. Harrison’s Principles of internal medicine. 20th ed. New York: McGraw-Hill; 2018;p.2039-44.
  10. Hermanns N, Ehrmann D, Schall S, et al. The effect of an education programme (MEDIAS
    2 BSC) of non-intensive insulin treatment regimens for people with Type 2 diabetes: a
    randomized, multi-centre trial. Diabet Med 201;34:1084-91.
  11. Diabetes Control and Complications Trial Research Group; Nathan DM, Genuth S, Lachin J,
    et al. The effect of intensive treatment of diabetes on the development and progression of long-term complications in insulin-dependent diabetes mellitus. N Engl J Med 1993;329:977-86.
  12. Group, U.P.D.S.Intensive blood-glucose control with sulphonylureas or insulin compared with conventional treatment and risk of complications in patients with type 2 diabetes (UKPDS 33). Lancet 1998;352:837-53.
  13. Bergenstal RM, Tamborlane WV, Ahmann A, et al.Effectiveness of sensor-augmented
    insulin-pump therapy in type 1 diabetes. N Engl J Med 2010;363:311-20.
  14. Group, J.D.R.F.C.G.M.S., Continuous glucose monitoring and intensive treatment of type 1 diabetes. N Engl J Med 2008;359:1464-76.
  15. MacLeod K, Hepburn D, Frier BM. Frequency and morbidity of severe hypoglycaemia in insulin-treated diabetic patients. Diabet Med 1993;10:238-45.
  16. Dhatariya KK, Vellanki P. Treatment of diabetic ketoacidosis (DKA)/hyperglycemic hyperosmolar state (HHS): novel advances in the management of hyperglycemic crises (UK Versus USA). Curr Diab Rep 2017;17:33.
  17. Graves EJ, Gillum BS. Detailed diagnoses and procedures, National Hospital Discharge Survey, 1995. Vital Health Stat 13. 1997;130:1-146.
  18. Malone ML, Gennis V, Goodwin JS. Characteristics of diabetic ketoacidosis in older versus younger adults. J Am Geriatr Soc 1992;40:1100-4.
  19. Kitabchi AE, Umpierrez GE, Murphy MB, et al.Management of hyperglycemic crises in patients with diabetes. Diabetes Care 2001;24:131-153.
  20. Umpierrez GE, Kelly JP, Navarrete JE, et al. Hyperglycemic crises in urban blacks. Arch Intern Med 1997;157:669-75.
  21. Poovazhagi V. Risk factors for mortality in children with diabetic keto acidosis from developing countries. World J Diabetes 2014;5:932-8.
  22. Kitabchi AE, Umpierrez GE, Miles JM, et al.Hyperglycemic crises in adult patients with
    diabetes. Diabetes Care 2009;32:1335-43.
  23. Sharma ST. An individualized approach to the evaluation of Cushing syndrome. Endocr Pract 2017;23:726-37.
  24. Nieman LK, Biller BMK, Findling JW, et al. The Diagnosis of Cushing’s Syndrome: An Endocrine Society Clinical Practice Guideline. J Endocrinol Metab 2008;93:1526-40.
  25. Klibanski A. Prolactinoma. N Engl J Med 2010;362:1219-26.
  26. Wong A, Eloy JA, Couldwell WT, et al. Update on prolactinomas. Part1: Clinical manifestations and diagnostic challenges. J Clin Neurosci 2015;22:1562-7.
  27. Melmed S, Casanueva FF, Hoffman AR, et al. Diagnosis and treatment of hyperprolactinemia: An Endocrine Society Clinical Practice Guideline. J Clin Endocrinol Metab 2011;96:273-88.

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน