หนังสือเรื่อง “ดนตรี กับผู้สูงอายุ” เป็นการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับบทบาท การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ และสังคม รวมถึงสถานการณ์ของกลุ่มผู้สูงอายุในปัจจุบันที่กำลังก้าวไปสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ และการนำเสนอถึงการใช้ ดนตรี เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่ม ผู้สูงอายุ โดยการค้นคว้าจากเอกสารสำคัญทางวิชาการ หนังสือ บทความและงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการนำเสนอประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้ทำวิจัยเกี่ยวกับการใช้ดนตรีกับกลุ่มผู้สูงอายุในหลากหลายประเด็น

สัมภาษณ์นักเขียน
ประเทศไทยมีศิลปวัฒนธรรมและประเพณีที่มีความหลากหลาย อีกทั้งยังมีเอกลักษณ์อันโดด เด่นทั้งทางด้านภาษา การแต่งกาย อาหาร และดนตรี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยเฉพาะดนตรีที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นทั้งศาสตร์และศิลปั ช่วยให้มนุษย์มีความสุข สนุกสนานรื่นเริง ช่วยผ่อน คลายความตึงเครียดทั้งทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งยังเป็นศิลปะที่ง่ายต่อการสัมผัสและเข้าถึง จะเห็นได้ ว่ามนุษย์ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด ภาษาใด จะสามารถรับรู้อรรถรสของดนตรีได้โดยการใช้เสียงดนตรี เป็นสื่อกลาง และยังมีผลงานการวิจัยที่ชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของดนตรี ที่มีอิทธิพลในการช่วยส่งเสริม พัฒนาการด้านต่าง ๆ รวมทั้งมีผลต่อสุขภาพของบุคคลทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ รวมถึงยังส่งผลต่อกลุ่มของผู้สูงอายุในเรื่องการพัฒนาด้านความจำ เนื่องจากดนตรีจะช่วยในการจัดเรียง ระบบการทำงานของเซลส์สมองให้สามารถจดจำสิ่งใหม่ ๆ ได้มากขึ้น และในปัจจุบันได้มีการนำ องค์ประกอบของดนตรีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ เช่น การร้องเพลง การเต้นรำ การออกกำลังกายประกอบจังหวะ และอื่น ๆ โดยมีผลลัพธ์ในเชิงบวกที่สนับสนุนว่า กิจกรรม ดนตรี สามารถสร้างความสุขและส่งผลดีต่อสุขภาพ ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายเพิ่มขึ้น ลดพฤติกรรม ซึมเศร้า
เบื่อหน่าย ความรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้าง ช่วยเบียงเบนความสนใจ รวมทั้งยังสามารถสร้างความ รู้สึกการมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับผู้อื่น
1.ปรากฎการณ์ของผู้สูงอายุ
โลกในยุคปัจจุบันที่เราต่างเชื่อกันว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความเจริญ ก้าวหน้าแบบก้าวกระโดด รวมถึงการสร้างสรค์งานนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์สังคมเกิดขึ้น อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มนุษย์ในยุคปัจจุบันต่างมีความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายมากขึ้น หรือเรียกได้ว่า มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นมากกว่าเดิม บวกกับผลจากการศึกษาที่สนับสนุนว่า มนุษย์ในปัจจุบันมีอายุเฉลี่ยมาก ขึ้นกว่าเดิม โดยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ยังมีส่วนที่ทำให้ชะลอการเสียชีวิตของมนุษย์ ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้ว่าเราจะเห็นเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่มนุษย์เรามีอายุที่ยืนยาวขึ้น แต่ในทางตรงข้าม มนุษย์กลับมีอัตราเกิดที่ลดน้อยลง ทำให้หลายประเทศทั่วโลกเริ่มมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุก ๆ วัน ส่งผลให้โลกในยุคปัจจุบันก้าวไปสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างหลีกเสี่ยงไม่ได้ รวมถึงทำให้เกิด ภาวะเสี่ยงทางปัญหาด้านสุขภาพ ทั้งทางด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีความ เสื่อมถอยลงในทุก ๆ ด้าน เกิดอาการเจ็บปวยตามวัย นอกจากการเจ็บป่วยทางร่างกายที่เกิดขึ้นกับ ผู้สูงอายุแล้ว ยังส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้สูงอายุ นำมาซึ่งภาวะเครียด

2.แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
ปัจจุบันโครงสร้างประชากรของประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับภาวการณ์อัตราประชากร สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งการที่ประเทศเกิดเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประธากรในลักษณะนี้ อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ อนามัย ด้านความมั่นคงของรายได้ ด้านสวัสติการสังคม รวมไปถึงการทำงานด้านสังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นในยุทธศาสตร์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ จบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) รัฐบาลจึงได้กำหนดให้ประเทศไทยมีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (สมคิด แทวกระโทก, 2560) เนื่องจากการพิจารณาจากจำนวนประชากรจากสำนักงาน สภาพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพบว่า ในระยะเวลา 22 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2539 จนถึง 2562 เป็นเวลา 23 ปี ประชากรไทยยังคงมีจำนวนอยู่ที่ 60 ล้านคน ในขณะที่จำนวนคนเกิดใน แต่ละปีได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด

3.ดนตรีกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
ดนตรี คือ ศิลปะแขนงหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญและมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ใน ทุก ๆ ด้าน ซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างความสุขและความบันเทิงใจ เป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงสภาพจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก และเป็นศิลปะที่ง่ายต่อการสัมผัส รวมถึงยังถือเป็นภาษาสากลที่สื่อความรู้สึกของคนทุกชาติ ให้เข้าใจตรงกันได้ เสียงของดนตรีที่แวดล้อมอยู่ทุกสถานที่จะสื่อความหมายและถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกผ่านทางเสียงเพลง ความงดงามทางเสียงที่เป็นสุนทรียภาพจะส่งผลต่อร่างกายของมนุษย์ เมื่อได้ยินเสียงเพลง จังหวะของดนตรีที่ครื้นเครงจะส่งผลให้ผู้รับสารมีความสนุกสนานและสร้าง ความผ่อนคลายได้ ในขณะที่ดนตรีที่มีท่วงทำนองที่ช้า อารมณ์ของผู้ที่ได้รับฟังความรู้สึกจะอ่อนไหว ดำดิ่ง คล้อยตามไปกับท่วงทำนองของเสียงดนตรีนั้นๆ

4.หลักการใช้ดนตรีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
ดนตรี คือ สุนทรียศาสตร์ที่สร้างความสุข ความบันเทิ้งเริงใจ ช่วยทำให้มนุษย์มีความผ่อนคลายอารมณ์ และลดความตึงเครียด จะห็นได้ว่าเมื่อเราได้สัมผัสกับคนตรี ไม่ว่าจะเป็นการฟัง การบรรเลง หรือแม้แต่การได้ชมการแสดงดนตรีที่ชื่นชอบ จะส่งผลให้เกิดความรู้สึกที่ดี เกิดความ สนุกสนาน จิตใจปลอดโปร่งแจ่มใส และมีอารมณ์ที่ดี ดนตรี เป็นภาษาสากลและเป็นศิลปะที่ง่ายต่อการสัมผัสและเข้าถึง วงการวิทยาศาสตร์ การแพทย์ใด้ทำการศึกษาและค้นพบว่า ดนตรีสามารถใช้บรรเทาความเจ็บป่วย สามารถกระตุ้นการทำงาน ภายในร่างกาย ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลทางร่างกาย การเต้นของหัวใจ อัตร ลหิต ช่วยบำบัดอาการเจ็บปวดของร่างกายได้ดีอีกด้วย นอกจากนั้นดนตรียังส่งผล ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ สติ ความนึกคิด และยังนำมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะกลุ่มของผู้สูงอายุ

5.การจัดกิจกรรมดนตรีสำหรับผู้สูงอายุ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการใช้ดนตรีกับกลุ่มผู้สูงอายุ
จุดเริ่มต้นของแนวความคิดเรื่องการจัดกิจกรรมดนตรีสำหรับผู้สูงอายุ โดยกระบวนการจัด กิจกรรมดนตรีที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ถูกต้อง ไม่ใช่เฉพาะการนำดนตรี ไปใช้ให้เกิดความบันเทิงในรูปแบบต่าง ๆ เท่านั้น แต่การจัดกิจกรรมดนตรียังมุ่งเน้นถึงการตอบสนองต่อ ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มแต่ละบุคคลได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นกระบวนการจัด กิจกรรมดนตรีจึงมุ่นเน้นไปถึงการเสริมสร้าง ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพของผู้สูงอายุ ด้วยการให้ความรู้ และข้อแนะนำแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ รวมถึงการฝึกปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ออกแบบ ประดิษฐ์ตัดแปลง อุปกรณ์เครื่องดนตรีให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุสามารถนำไปใช้อย่างสะดวกสบายได้ รวมถึงออกแบบ

เอกสารอ้างอิง
สมคิด แทวกระโทก. (2560), แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล
ในเขตอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย, 11(1). 158-70.