การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน

การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน เล่มนี้ มีเป้าหมายของ การจัดทำเพื่อเป็นแนวทางให้นิสิต/นักศึกษาพยาบาล พยาบาลวิชาชีพ อาจารย์พยาบาล และบุคลากรในทีมสุขภาพ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการให้บริการสุขภาพแก่สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน ที่ครอบคลุมสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ เนื้อหาของหนังสือ จะครอบคลุมแนวคิดเกี่ยวกับเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ การตรวจคัดกรองและการตรวจวินิจฉัยเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ ผลกระทบของเบาหวานต่อสตรีตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิด การจัดการรักษาเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ หลักการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด และหลักการพยาบาล สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเลือดเป็นกรดจากสารคีโตนในเลือดสูงจากเบาหวาน เพื่อให้ผู้อ่าน นำความรู้ไปใช้ในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน ให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายของการรักษา และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับสตรีตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิดได้ หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อหาจำนวน 9 บท

การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน

สั่งซื้อหนังสือ

1. แนวคิดเกี่ยวกับ เบาหวานในสตรีตั้งครรภ์

เบาหวานเป็นโรคทางอายุรกรรม ที่เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการ เผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ที่มีสาเหตุมาจากการขาดอินซูลิน (Insulin deficit) หรือเกิดจาก ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin resistance) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในขณะตั้งครรภ์ และเป็นปัญหาสาธารณสุขทางด้านอนามัยแม่และเด็กที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ ปัจจุบันพบว่ามีอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเบาหวานในปัจจุบันพบในกลุ่มคนที่มีอายุน้อยลง และอาจเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม ที่ทำให้เบต้าเซลล์ ในตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ร่วมกับ การมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม และขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วนลงพุง จึงส่งผลทำให้ร่างกายเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน และประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินลดลง จนมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น นอกจากนั้น ยังพบว่าปัจจุบันสตรีมีการแต่งงานและมีบุตรเมื่ออายุมากขึ้น จึงทำให้เกิด ความเสี่ยงที่สตรีตั้งครรภ์จะเป็นโรคเบาหวานมาก่อนการตั้งครรภ์ และยังพบว่าสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีโอกาสเกิดภาวะเบาหวานซ้ำในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป และมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคตมากขึ้น

การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน

2. การตรวจคัดกรองและการตรวจวินิจฉัยเบาหวานใน สตรีตั้งครรภ์

การตรวจคัดกรองและการตรวจวินิจฉัยเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ ถ้าสามารถทำได้โดยเร็วจะเป็นผลดีต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ เพราะจะทำให้ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม และช่วยป้องกันอันตรายและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ แนวทางการตรวจคัดกรอง การตรวจวินิจฉัย และเกณฑ์การวินิจฉัยเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ มีหลายวิธีและมีความแตกต่างกัน ทั้งในระดับสถาบัน ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ1

3. ผลกระทบของเบาหวานต่อสตรีตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ และทารก แรกเกิด

เบาหวานที่ตรวจพบในสตรีตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์หรือภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ล้วนส่งผลกระทบและทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิด ผลกระทบและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และคุณภาพของการดูแลรักษา

การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน

4. การจัดการรักษาเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์

การจัดการรักษาเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ มีเป้าหมายหลัก คือ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับสตรีตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิด เป็นการดูแลรักษาที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรในทีมสุขภาพ ทั้งสูติแพทย์ อายุรแพทย์โรค ต่อมไร้ท่อ เภสัชกร นักโภชนาการ และพยาบาลวิชาชีพ การดูแลรักษาสามารถแบ่งตาม ระยะต่าง ๆ ของการตั้งครรภ์และการคลอด

5. การประเมินภาวะสุขภาพสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน

การประเมินภาวะสุขภาพ จัดเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการพยาบาลใน เรื่องของการรวบรวมข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ปัญหาของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็น เบาหวาน และนำไปสู่การวางแผนการพยาบาล เพื่อให้การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็น เบาหวานได้อย่างถูกต้อง การประเมินภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานอาจใช้แนวทางในการประเมินตามทฤษฏีการพยาบาลที่เลือกสรรตามความเหมาะสม เช่น ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม (Orem’s self-care deficit theory) หรือการใช้แบบแผนสุขภาพ (functional health pattern) ของมาร์จอรีย์ กอร์ดอน (Marjorie Gordon) เป็นแนวทางในการประเมินภาวะสุขภาพสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผน การพยาบาลต่อไป

การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน

6. หลักการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะ ตั้งครรภ์

การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน ที่อาจจะเกิดขึ้นกับสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิด โดยพยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพยาบาล สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ทั้งในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะ หลังคลอด

การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน ที่อาจจะเกิดขึ้นกับสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิด โดยพยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพยาบาล สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ทั้งในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะ หลังคลอด

7. หลักการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์

การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ มีเป้าหมายหลักของการพยาบาล คือ การป้องกันภาวะเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิด โดยพยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ ทั้งในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอ

การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน

8. หลักการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเลือดเป็นกรดจากสารคีโตนในเลือดสูง จากเบาหวาน

ภาวะเลือดเป็นกรดจากสารคีโตนในเลือดสูงจากเบาหวาน จัดเป็นภาวะวิกฤตและฉุกเฉินทางสูติกรรมและอายุรกรรม ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารก ในครรภ์ จะเกิดขึ้นได้บ่อยในสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 แต่ปัจจุบันพบมากขึ้นในสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงปลายไตรมาสที่สองจนกระทั่งถึงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนต่าง ๆ ที่ส่งผลทำให้เกิดการต้านฤทธิ์การทำงานของ อินซูลิน2-4 นอกจากนั้น อาจเกิดขึ้นได้ง่ายในสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน โดยเฉพาะเมื่อร่างกายมีการติดเชื้อหรือมีภาวะเครียดเกิดขึ้น ภาวะเลือดเป็นกรดจาก สารคีโตนในเลือดสูงจากเบาหวาน จะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับมีภาวะเลือดเป็น กรดจากกระบวนการเผาผลาญ (metabolic acidosis) และมีระดับสารคีโตนในเลือดเพิ่ม สูงขึ้น5

9. สถานการณ์ตัวอย่างการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน

การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน

การนำแนวคิดทางทฤษฏี ในเรื่องของการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาทของพยาบาล ในการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็น เบาหวานอย่างเป็นรูปธรรม จึงนำเสนอสถานการณ์ตัวอย่าง การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานที่น่าสนใจ โดยใช้กระบวนการพยาบาล เป็นแนวทางในการวางแผนการพยาบาล ประกอบด้วย สถานการณ์ตัวอย่างการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ สถานการณ์ตัวอย่างการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ สถานการณ์ตัวอย่างการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ และสถานการณ์ตัวอย่างการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเลือด เป็นกรดจากสารคีโตนในเลือดสูงจากเบาหวา

เอกสารอ้างอิง

  1. Tsakiridis, I., Giouleka, S., Mamopoulos, A., Kourtis, A., Athanasiadis, A., Filopoulou, D., & Dagklis, T. (2021). Diagnosis and management of gestational diabetes mellitus: An overview of national and international guidelines. Obstetrical & Gynecological Survey, 76(6), 367-381. https://doi.org/10.1097/OGX.0000000000000899
  2. Bonora, B. M., Avogaro, A., & Fadini, G. P. (2020). Euglycemic ketoacidosis. Current diabetes reports, 20(7), 25. https://doi:10.1007/s11892-020-01307-x
  3. Cunningham, F. G., Leveno, K. J., Dashe, J. S., Hoffman, B. L., Spong, C. Y., & Casey, B. M. (2022). Williams Obstetrics (26th ed.). McGraw Hill.
  4. Kalantzis, C., & Pappa, K. (2019). Diabetic ketoacidosis in pregnancy. An Obstetricsand Gynecology International Journal, 18(1), 21-25. http://hjog.org/wpcontent/pdf/2019/Kalatzis.pdf
  5. Villavicencio, C. A., Franco-Akel, A., & Belokovskaya, R. (2022). Diabetic ketoacidosis complicating gestational diabetes mellitus. American Association of Clinical Endocrinologists Clinical Case Reports, 8(5), 221-223. https://doi:10.1016/j.aace.2022.07.002 

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน