หาคำตอบมานาน… ตำแหน่งทางวิชาการ ยศ และคำนาม ต้องเขียนคำย่อ และเว้นวรรคอย่างไรกันแน่ บทความนี้มีคำตอบ เราจะต้องมาดูเรื่องของการเขียน การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง หลักเกณฑ์ของการใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ ซึ่งระบุหลักเกณฑ์การใช้ตามข้อดังต่อไปนี้
ตามข้อ 1.2.8 เว้นวรรคเล็กระหว่างยศกับชื่อ หมายถึง ยศของตำรวจและทหาร คำนำหน้าชื่ออื่น ๆ ที่ไม่ใช่ยศไม่ต้องเว้นวรรค
ตัวอย่าง กรณีมียศทางทหาร/ตำรวจ
รองศาสตราจารย์ พันโท ดร.สุชาดา ทำความด
ย่อเป็น : รศ. พ.ท. ดร.สุชาดา ทำความด
รองศาสตราจารย์ ร้อยโทหญิง สุชาดา ทำความดี
ย่อเป็น : รศ. ร.ท.หญิง สุชาดา ทำความดี
ตามข้อ 2.3 ไม่เว้นวรรคระหว่างคำนำหน้าชื่อที่เป็นตำแหน่งหรืออาชีพกับชื่อ เป็นการระบุถึงคำนำหน้าชื่อที่เป็น
ตำแหน่ง เช่น ศาสตราจารย์ ซึ่งเป็นตำแหน่งทางวิชาการ และคำนำหน้าชื่อที่ระบุอาชีพ เช่น นายแพทย์ แพทย์หญิง เภสัชกร เภสัชกรหญิง หากเป็นอักษรย่อ “ให้เว้นวรรคเล็กระหว่างกลุ่ม อักษรย่อ” ตามหลักเกณฑ์ข้อ 1.2.9
ตัวอย่าง
รองศาสตราจารย์ ดร.สมหญิง เป็นคนดี
ย่อเป็น : รศ. ดร.สมหญิง เป็นคนดี
กรณีมีวิชาชีพ
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สุชาติ มหามงคล
ย่อเป็น : ศ. ดร. นพ.สุชาติ มหามงคล
กรณีเป็นพระสงฆ์
พระญาณวโรบัณฑิต, รองศาสตราจารย์ ดร.
ย่อเป็น : พระญาณวโรบัณฑิต, รศ. ดร.
เอกสารอ้างอิง
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2563). การเว้นวรรค. https://www.orst.go.th/iwfm_list.asp?i=0040002104011001%2F63ERK0317031