การเขียนอ้างอิงในเนื้อหาเขียนอย่างไร Parenthetical Citation และ Narrative Citation คืออะไร? ในการอ้างอิงตามรูปแบบ APA (American Psychological Association) 7th edition มี 2 วิธีหลักในการอ้างอิงแหล่งที่มาในเนื้อหา ได้แก่ Parenthetical Citation (การอ้างอิงแบบท้ายประโยค หรือวงเล็บ) Narrative Citation (การอ้างอิงแบบบรรยาย) การเลือกใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับโครงสร้างของประโยคและความไหลลื่นของเนื้อหา
1. Parenthetical Citation (การอ้างอิงแบบท้ายประโยค หรือวงเล็บ)
เป็นการอ้างอิงที่ใส่ข้อมูลของแหล่งที่มาไว้ในวงเล็บภายในหรือท้ายประโยค ข้อมูลที่อยู่ในวงเล็บมักจะประกอบด้วย
- ชื่อผู้เขียน
- ปีที่พิมพ์
- (ถ้ามี) เลขหน้าที่อ้างอิง
เหมาะสำหรับ
- เมื่อต้องการเน้นข้อมูลหรือแนวคิดมากกว่าตัวผู้เขียน
- เมื่อต้องการอ้างอิงหลายแหล่งข้อมูลภายในประโยคเดียวกัน
ลักษณะการเขียน
(ชื่อผู้เขียน, ปีที่พิมพ์)
(ชื่อผู้เขียน, ปีที่พิมพ์, เลขหน้า) (ใช้สำหรับอ้างอิงแบบตรงจากแหล่งที่มา เช่น การอ้างอิงคำพูดโดยตรง)
ตัวอย่าง
- การศึกษาแสดงให้เห็นว่าการอ่านช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ (Smith, 2020)
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลกระทบต่อระบบนิเวศในหลายพื้นที่ (Johnson & Lee, 2018)
กรณีตัวอย่าง “ต้องการเน้นที่เนื้อหาและแนวคิดของงาน“
ดังนั้นหากผู้เขียนบทความเลือกใช้กลวิธีการเขียนเนื้อเรื่องด้วยการวิเคราะห์ จึงต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ทุกประเด็น และต้องเขียนด้วยภาษาที่สื่อสารได้ชัดเจนตรงกับประเด็นที่วางไว้ในเรื่อง เพื่อทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้แจ่มชัดยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างบทความเรื่อง “กระบวนทัศน์เชิงสังคมในนวนิยายเรื่อง ร่มฉัตร และทวิภพ” (กาญจนา วิชญาปกรณ์, 2560) ดังต่อไปนี้
2. Narrative Citation (การอ้างอิงแบบบรรยาย)
เป็นการอ้างอิงที่กล่าวถึงชื่อผู้เขียนในประโยคโดยตรง และใส่ปีไว้ในวงเล็บถัดจากชื่อ
เหมาะสำหรับ
- เมื่อต้องการเน้นผู้เขียนและผลงานของเขา
- เมื่อต้องการใช้การอ้างอิงให้กลมกลืนไปกับเนื้อหา
ลักษณะการเขียน
ชื่อผู้เขียน (ปีที่พิมพ์) อธิบายว่า…
ตามที่ชื่อผู้เขียน (ปีที่พิมพ์) ได้กล่าวไว้…
ตัวอย่าง
- Smith (2020) ระบุว่าการอ่านช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์
- จากการศึกษาของ Johnson และ Lee (2018) พบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ
กรณีตัวอย่าง “ต้องการเน้นผู้เขียนและผลงานของเขา“
ดังนั้นหากผู้เขียนบทความเลือกใช้กลวิธีการเขียนเนื้อเรื่องด้วยการวิเคราะห์ จึงต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ทุกประเด็น และต้องเขียนด้วยภาษาที่สื่อสารได้ชัดเจนตรงกับประเด็นที่วางไว้ในเรื่อง เพื่อทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้แจ่มชัดยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างบทความของ กาญจนา วิชญาปกรณ์ (2560) เรื่อง “กระบวนทัศน์เชิงสังคมในนวนิยายเรื่อง ร่มฉัตร และทวิภพ” ดังต่อไปนี้
เปรียบเทียบตัวอย่าง Parenthetical และ Narrative Citation
ประเภท | ตัวอย่าง |
---|---|
Parenthetical | การอ่านช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ (Smith, 2020). |
Narrative | Smith (2020) ระบุว่าการอ่านช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์. |
กรณีอ้างอิงแบบตรง (Direct Quotation)
- Parenthetical: “การอ่านเป็นวิธีที่ดีในการพัฒนาสมอง” (Smith, 2020, p. 25)
- Narrative: Smith (2020) กล่าวว่า “การอ่านเป็นวิธีที่ดีในการพัฒนาสมอง” (p. 25)
สรุป
Parenthetical Citation (การอ้างอิงแบบท้ายประโยค หรือวงเล็บ) : ใส่ชื่อผู้เขียนและปีไว้ในวงเล็บท้ายประโยค
Narrative Citation (การอ้างอิงแบบบรรยาย) : กล่าวถึงชื่อผู้เขียนในประโยค แล้วใส่ปีในวงเล็บ
การเลือกใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับโครงสร้างของประโยคและความไหลลื่นของเนื้อหา
การเลือกใช้
ต้องการเน้น… | เลือกใช้ |
---|---|
ข้อมูลหรือแนวคิด | Parenthetical Citation |
ผู้เขียนและผลงาน | Narrative Citation |