คำอธิบาย
ในประเทศไทยพบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีการแปลวรรณกรรมจาก ต่างภาษาเป็นภาษาไทย นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน “วรรณกรรมแปล” นี้ เป็นงานที่แสดงให้เห็นทัศนคติและค่านิยมของผู้คนในสังคม ทั้งของผู้เขียน ผู้แปล รวมทั้งผู้อ่าน ว่ามีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร วรรณกรรมแปลนี้นอกจากจะสะท้อนภาพของสังคมแล้วยังชี้นำและเปลี่ยนแปลงสังคมได้อีกด้วย ดังเช่น การแปลวรรณกรรมจากภาษาอังกฤษ ที่ส่งผลต่อสำนวนภาษาไทยทั้งด้านคำศัพท์และไวยากรณ์ในปัจจุบัน การศึกษาวรรณกรรมแปลจึงเปรียบเป็นกระจกเงาที่ส่องให้เห็นแง่มุม ต่าง ๆ ภายในสังคม ทั้งอดีตและปัจจุบันให้แจ่มชัด ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งหากเราจะเรียนรู้สังคมมนุษย์ผ่านกระจกเงาใบใหญ่และกว้างที่เรียกว่า “วรรณกรรมแปล”
รพีพรรณ –
💟
หนังสือดีมีคุณค่ารีบหาซื้อ
เชื่อฝีมือท่านนี้เป็นที่ยิ่ง
วิชาการเข้มข้นคนรู้จริง
สื่อสารสิ่งสารพันสำคัญนัก
😍
ธวัชชัย (ผู้ซื้อสินค้า) –
สั่งซื้อสะดวก และส่งถึงรวดเร็วมากครับ
รศ –
ตำราเล่มนี้เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการอย่างยิ่ง