Page 15 - demo-9786164261051
P. 15
CHAPTER 03
บทน�า
สารสื่อประสาทเป็นสารเคมีในระบบประสาท ท�าหน้าที่เป็นตัวควบคุมการส่งสัญญาณประสาท
ระหว่างเซลล์ประสาท (neurons) กับเซลล์ประสาท หรือเซลล์อื่น ๆ ในร่างกาย สารสื่อประสาทถูกหลั่ง
จากบริเวณปลายแอกซอนของเซลล์ประสาท ภายหลังจากเซลล์ประสาทเกิดศักย์ไฟฟ้า (action potential)
สารสื่อประสาทที่หลั่งออกมาที่ช่องว่างระหว่างเซลล์ประสาท (synaptic cleft) จะไปจับกับตัวรับ
(receptor) หรือน�ากลับเข้าสู่เซลล์ (reuptake) หรือถูกเอนไซม์ย่อยเพื่อน�ากลับไปสังเคราะห์ใหม่
ปัจจุบันนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ยืนยันจ�านวนสารสื่อประสาทในสมองว่ามีจ�านวนเท่าใด
การท�างานของสารสื่อประสาทมีความส�าคัญต่อการท�าหน้าที่ของสมอง ความผิดปกติของสารสื่อประสาท
พบว่า มีความสัมพันธ์กับโรคทางระบบประสาทหลายโรคด้วยกัน ตัวอย่างเช่น โรคพาร์คินสัน (Parkinson’s
disease) โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) รวมทั้งโรคทางจิตเวช (Psychiatric disease)
chapter 03 | สารสื่อประสาท ตัวอย่าง
ชนิดของสารสื่อประสาท (Types of Neurotransmitters)
สารสื่อประสาทสามารถแบ่งออกเป็นหลายชนิด โดยแบ่งตามหน้าที่ได้ดังนี้
สารสื่อประสาทในกลุ่มนี้เป็นสารสื่อประสาทชนิดกระตุ้นการท�างานของเซลล์ประสาท
1. สารสื่อประสาทชนิดกระตุ้น หรือ Excitatory neurotransmitters
โดยเพิ่มการส่งสัญญาณประสาท สารสื่อประสาทในกลุ่มนี้ ได้แก่ กลูตาเมท (glutamate) เอพิเนฟรีน
(epinephrine) นอร์เอพิเนฟรีน (norepinephrine)
2. สารสื่อประสาทชนิดยับยั้ง หรือ Inhibitory neurotransmitters
สารสื่อประสาทในกลุ่มนี้เป็นสารสื่อประสาทชนิดยับยั้งการท�างานของเซลล์ประสาท โดยลดการ
ส่งสัญญาณประสาท สารสื่อประสาทกลุ่มนี้ ได้แก่ กาบา (GABA; Gamma aminobutyric acid)
ซีโรโทนิน (serotonin)
นอกจากนั้นแล้วยังพบว่าสารสื่อประสาทบางชนิดท�าหน้าที่เป็นทั้ง excitatory
neurotransmitter และ inhibitory neurotransmitter ขึ้นอยู่กับชนิดของตัวรับ (receptor)
ของสารสื่อประสาทนั้น ๆ
80 สมองและสารสื่อประสาท