มาสคอต

มาสคอต สัญลักษณ์นำโชค

มาสคอต สัญลักษณ์นำโชค มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของประเทศไทย ช่วยส่งเสริมและประชาสัมพันธ์สำหรับกลุ่มธุรกิจ กลุ่มสตาร์ตอัป หน่วยงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย ทีมกีฬา หน่วยงานราชการหรือสถาบันต่าง ๆ แบรนด์ที่มีสัญลักษณ์นำโชค (มาสคอต) ที่ได้ทำการออกแบบมาเป็นอย่างดี มีแนวโน้มที่จะสร้างภาพลักษณ์ที่โดดเด่น ไม่เหมือนใครในท้องตลาดและสามารถ ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของยอดขายได้

มาสคอต

บทนำ ความหมายของมาสคอต

มาสคอต หรือแมสคอต (Mascot) เป็นคำเรียกที่มาจากภาษาอังกฤษ แต่ในภาษาญี่ปุ่นจะเรียกมาสคอตว่า ยุรุเคียระ (Yuru-kyara) ส่วนใหญ่จะเห็นกันในงานโปรโมตของแต่ละจังหวัด สำหรับประเทศไทย จะมีการเรียกมาสคอตที่หลากหลายกว่า เช่น ตุ๊กตาสัญลักษณ์ การ์ตูนสัญลักษณ์ ตุ๊กตานำโชค สัญลักษณ์นำโชค ตัวนำโชคหรือสัตว์นำโชค มาสคอตถูกออกแบบมาให้ดูมีชีวิตชีวา อาจเป็นได้ทั้งสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง โดยมักจะสื่อแทนถึงความโชคดี สิ่งนำโชค เครื่องราง เป็นต้น สร้างสรรค์ออกมาให้เป็นตัวการ์ตูน โดยการนำไปเผยแพร่สู่สาธารณชน ซึ่งมีให้เห็นกันบ่อย ๆ ตามงานกีฬาระดับโลก เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก การแข่งขันฟุตบอลโลกหรือแม้แต่ระดับประเทศ เป็นต้น โดยมาสคอตที่ออกแบบมา จะมีความเกี่ยวข้องกับประเทศเจ้าภาพนั้น ๆ มาสคอตประชาสัมพันธ์เมืองหรือประชาสัมพันธ์จังหวัด มาสคอตประจำหน่วยงาน องค์กรหรือบริษัทต่าง ๆ เป็นต้น (ไพโรจน์ ธีระประภา, 2546, น. 11-12)

1. ประเภทและรูปลักษณ์ของมาสคอต

ความสำคัญของมาสคอต การออกแบบสัญลักษณ์ในลักษณะรูปภาพสัตว์หรือตัวการ์ตูน เป็นจุดเริ่มต้นก่อนที่จะมาเป็นมาสคอตอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน เรา มักจะพบเจอมาสคอตได้บ่อยตามงานกีฬาระดับโลก งานกีฬาโรงเรียน มหาวิทยาลัย งานแสดงสินค้าและพบเห็นได้บ่อยจากงานเปิดตัวสินค้าใหม่ หรือใช้สำหรับการสร้างสีสันให้กับงานอีเวนต์ มาสคอตจะช่วยสร้าง ความน่าสนใจให้กับแบรนด์ หน่วยงาน องค์กรและธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็กหรือกลุ่มสตาร์ตอัป ธุรกิจเหล่านี้ ล้วนต้องการให้ธุรกิจของตนเองเป็นที่สนใจ เกิดภาพจดจำของแบรนด์หรือ สินค้า

มาสคอตที่มีรูปร่างเหมือนคน มาสคอต ที่มีรูปร่างเหมือนสัตว์ มาสคอตที่มีรูปร่างเหมือนวัตถุสิ่งของ มาสคอต ที่มีรูปร่างเหมือนพืชผัก อาหาร มาสคอตที่มีรูปร่างเป็นนามธรรมและ มาสคอตที่มีรูปร่างเป็นอมนุษย์ (ประไพพรรณ เปรื่องพงษ์, 2557, น. 85)

มาสคอต คือ สิ่งหนึ่งที่อาจเป็นได้ทั้งสิ่งของ มนุษย์หรือสัตว์ แต่ที่พบเห็นโดยมาก เราจะพบเห็นมาสคอตที่เป็นตัวละครสัตว์หรือมนุษย์ โดยรับบทบาทหน้าที่ในการเป็นตัวแทนเพื่อเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ โดยประเภทและรูปลักษณ์ของมาสคอตที่พบเห็นในปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญ ด้านการออกแบบ ได้แบ่งรูปลักษณ์ของมาสคอตออกมาหลากหลาย เช่น รูปคน รูปพืชผักผลไม้ รูปวัตถุสิ่งของและรูปสัตว์ เป็นต้น (ไพโรจน์ ธีระประภา, 2546, น. 12-13)

ในปัจจุบันมีการนำเสนอมาสคอตออกมาให้เป็นรูปธรรมหลากหลาย รูปแบบ เช่น ทำเป็นหุ่น รูปปั้น ตุ๊กตา อยู่ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อ ออนไลน์ ฯลฯ โดยมาสคอตเกิดจากการออกแบบของนักออกแบบกราฟิก ซึ่งจะทำการออกแบบสัญลักษณ์โลโก้ในลักษณะที่เป็นรูปภาพ สัตว์หรือ ตัวการ์ตูนก่อนที่จะมาเป็นมาสคอตอย่างที่เราเห็นกันในทุกวันนี้ โดย มาสคอตที่เราพบเห็นในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้หลากหลายรูปแบบ เช่น รูปแบบจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Nature and Environment Form) ที่เป็นสิ่งมีชีวิต เช่น บุคคล สัตว์ ผลไม้ ต้นไม้ ดอกไม้


2. หลักการออกแบบมาสคอต

เป็นวิธีการวิเคราะห์ สังเคราะห์จากหลักเกณฑ์ในโครงการประกวดออกแบบมาสคอตที่ได้ถูกกำหนดขึ้นมาจากกลุ่มธุรกิจ กลุ่มสตาร์ตอัป หน่วยงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย ทีมกีฬา หน่วยงานราชการหรือสถาบันต่าง ๆ มาสร้างเป็นหลักการและเป็นแนวทางนำไปสู่ การออกแบบมาสคอต ที่ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

โดยหลักการออกแบบมาสคอตเป็นหลักการที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ เป็นเกณฑ์ ข้อพิจารณา แนวทางหรือหลักในกระบวนการออกแบบ มาสคอต ซึ่งทำให้กระบวนการออกแบบมีการต่อยอดทางความคิด อย่างเป็นระบบระเบียบมากขึ้น ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้ผู้ออกแบบแต่ละท่านสามารถอ้างอิงหลักการเดียวกันอย่างมีมาตรฐานดังต่อไปนี้

ความคิดสร้างสรรค์ ง่ายต่อการจดจำ สามารถนําไปใช้งานได้จริง

3. องค์ประกอบของการออกแบบมาสคอต

องค์ประกอบสำคัญของมาสคอตที่นักออกแบบควรที่จะต้อง เรียนรู้กัน โดยองค์ประกอบทางศิลปะ มีผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ กล่าวถึงสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ สื่อ ได้แก่ สิ่งที่นักออกแบบนำมาใช้เพื่อ ถ่ายทอดการสร้างสรรค์ผลงานของตนเองให้เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้อื่น ส่วนเนื้อหา ได้แก่ เรื่องราวที่ต้องการแสดงออกโดยใช้สื่อที่เหมาะสม และสุนทรียธาตุ คือ ความสวยงาม ความแปลกหูแปลกตาและความน่าทึ่ง (ไพโรจน์ ธีระประภา, 2546, น. 5) ประกอบไปด้วยองค์ประกอบเช่นเดียว กับศิลปะแขนงอื่น ซึ่งมีอยู่ 4 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ 1. รูปร่างและรูปทรง (Shape and Form) 2. วัสดุและพื้นผิว (Material and Texture) 3. สีและความรู้สึก (Color and Mood) 4. ขนาดและสัดส่วน (Size and Proportion)

4. การประเมินคุณภาพของมาสคอต

การออกแบบมาสคอตควรมีเครื่องมือที่จะใช้ในการประเมินคุณภาพของมาสคอตที่ได้ทำการออกแบบมา เครื่องมือประเมินคุณภาพ ในการออกแบบมาสคอตถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งผู้ออกแบบไม่ควรมองข้ามเพราะมาสคอตนั้น ถือได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ หน่วยงาน องค์กร ธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็กหรือ กลุ่มสตาร์ตอัปก็ตาม โดยธุรกิจเหล่านี้ ล้วนต้องการให้ตนเองเป็นที่สนใจ และเพิ่มความน่าสนใจให้ผู้บริโภคสามารถรับรู้และจดจำมากขึ้น ดังนั้นกระบวนการประเมินคุณภาพของมาสคอต จึงถือเป็นกระบวนการที่มี ความสำคัญสูง เมื่อเราต้องการได้ผลงานที่มีคุณภาพสูง จึงมีความจำเป็นต้องใช้การทำงานที่มีประสิทธิภาพ ผู้ออกแบบจำเป็นต้องมีการออกแบบเครื่องมือสำหรับการประเมินคุณภาพที่ดี มีเกณฑ์และหลักการที่ใช้ ในการประเมินที่น่าเชื่อถือ

5. กระบวนการออกแบบมาสคอต

มาสคอตเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถสร้างภาพลักษณ์และ เป็นเครื่องมือที่ไม่ควรมองข้าม ในการช่วยสร้างความน่าสนใจให้กับแบรนด์ หน่วยงาน องค์กร ธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาด เล็กหรือกลุ่มสตาร์ตอัป ธุรกิจเหล่านี้ ล้วนต้องการให้ตนเองเป็นที่สนใจ เพิ่มความน่าสนใจให้แก่กลุ่มผู้บริโภคให้หันมามองมากขึ้น ดังนั้น จึงต้องคำนึงถึงกระบวนการออกแบบ เมื่อเราต้องการได้ผลงานที่มีคุณภาพ ผ่านการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เราจำเป็นจะต้องมีการออกแบบกระบวนการที่ดี กระบวนการที่ดีจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อแบรนด์ต่าง ๆ เช่น การประหยัดเวลา ประหยัดทรัพยากร ประหยัดงบประมาณ เป็นต้น สิ่งที่เราต้องพิจารณามี 3 ข้อใหญ่ ๆ คือ การระดมความคิด การร่างแบบและการสร้างงานจริง (ไพโรจน์ ธีระประภา, 2546, น. 5)

ขั้นตอนการระดมความคิด สิ่งที่นักออกแบบต้องพิจารณาในส่วนของขั้นตอนการระดม ความคิด ประกอบไปด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. การเก็บข้อมูล
2. การค้นหาข้อมูล
3. การจำแนกข้อมูล
4. การสร้างแนวคิดในการออกแบบ
5. การพัฒนาแนวความคิด
6. การคัดเลือกรูปแบบหรือแนวคิดที่เหมาะสม
7. การหยิบแต่ละแนวคิดมาทำตามแนวคิด
8. การเลือกหาสิ่งดลใจในการออกแบบ

6. บุคลิกภาพ สีและอารมณ์ของมาสคอต

มาสคอตช่วยสร้างความสุข ให้ความรู้และช่วยสร้างการรับรู้ ให้กับผู้บริโภคได้หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะอยู่ในงานอีเวนต์ การเปิดตัว สินค้าใหม่ ในโอกาสและเทศกาลต่าง ๆ หรือการนำมาสคอต ไปใช้ในการโฆษณาทางโทรทัศน์ คลิปวิดีโอ ทำเป็นสติ๊กเกอร์ LINE การ์ตูนแอนิเมชัน Applications Games Music VDO ออกรายการ TV รวมไปถึงการผลิตเป็นสินค้า ของที่ระลึก ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ช่วยทำให้สินค้าหรือบริการขององค์กรเป็นที่ยอมรับ สร้างความน่าสนใจและช่วยตอกย้ำภาพลักษณ์ขององค์กรให้กับผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งการออกแบบมาสคอตนั้นควรคำนึงถึงเรื่องของการออกแบบ บุคลิกภาพ สีและอารมณ์ของ มาสคอตด้วย เพื่อเป็นการสื่อสารให้กับผู้บริโภคได้เข้าใจและเข้าถึง กลุ่มธุรกิจ กลุ่มสตาร์ตอัป หน่วยงาน ทีมกีฬา โรงเรียน มหาวิทยาลัย หน่วยงานราชการ องค์กรหรือสถาบันต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างการใช้สี

ความหมายของสีกับการนำไปใช้งาน สื่อถึง พลัง อันตราย ความแข็งแกร่ง อำนาจ พลังขับเคลื่อน ความมุ่งมั่น ความรัก อารมณ์ปรารถนาที่ร้อนรุ่ม ความ หลงใหล ความเร่าร้อน ตื่นเต้นและกระตือรือร้น เป็นต้น

พบได้ใน แบรนด์ธุรกิจฟาสต์ฟู้ด แบรนด์อาหาร แบรนด์เครื่องดื่ม แบรนด์เครื่องประดับ แบรนด์สินค้าหรูหรา แบรนด์ สินค้าขายปลีก แบรนด์โรงเบียร์ แบรนด์ร้านขายยา แบรนด์การออกแบบตกแต่งภายใน การโฆษณาและ การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

7. วัสดุและการผลิตมาสคอต

ในปัจจุบันธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและผลิตมาสคอต มีผู้ประกอบการจำนวนมาก โดยมาสคอตแต่ละตัวนั้นจะมีราคาตั้งแต่ หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสนบาท ซึ่งราคาในการออกแบบและผลิต จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบชิ้นส่วนของมาสคอต โดยในการผลิตมาสคอตแต่ละตัว ต้องใช้เทคโนโลยีในการผลิต วัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ จำนวนมาก ซึ่งวัสดุ ที่เลือกใช้ในการผลิตมาสคอตมีผลต่อความสะดวกสบายของ ผู้สวมใส่ชุด ความทนทาน อายุการใช้งานของชุดแต่งกาย ค่าใช้จ่ายของ ชุดแต่งกาย คุณภาพและความประณีตของงานที่แตกต่างกัน

รวมไปถึงระยะเวลาที่ ลูกค้าต้องการรับงาน ก็ส่งผลให้ชุดแต่งกายจะมีราคา แตกต่างกันออกไป ลูกค้าส่วนใหญ่มักเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ หรือองค์กร ที่มักจะสั่งผลิต คราวละจำนวนมาก เพื่อป้องกันการชำรุดเสียหายหรือการนำไปใช้ได้ ทีละหลายตัวพร้อมกัน (บริษัทไลค์มี จำกัด, 2557, ออนไลน์) โดยการผลิตมาสคอตควรคำนึงถึงน้ำหนัก ส่วนสูงของมาสคอตและผู้สวมชุด เป็นหลักสำคัญ

โดยผู้ผลิตต้องวัดตัวผูสวมใสเพื่อกําหนดขนาดและโครงสรางของผู้สวมใส่ชุดมาสคอต อีกทั้งต้องวัดความสูงของ ผู้สวมชุด ทั้งเพศชายและหญิง โดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 160-175 เซนติเมตร มาสคอต ส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักตั้งแต่ 3-10 กิโลกรัม โดยแต่ละตัวควร จะมีการติดตั้งพัดลมระบายอากาศขนาดเล็กไว้ภายในชุด ซึ่งกระบวนการผลิตต่อชุดแต่งกายมาสคอตจะใช้ระยะเวลาประมาณ 30 วัน (ปณชัย อารีเพิ่มพร, 2560, ออนไลน์)

8. การนำมาสคอตไปใช้ประโยชน์

การนำมาสคอตไปใช้ประชาสัมพันธ์เพื่อสื่อสารเรื่องราวของ หน่วยงานผ่านการแสดงในกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง จากงานเปิดตัวสินค้าใหม่หรือใช้สำหรับการสร้างสีสันให้กับงานอีเวนต์ ในโอกาสและเทศกาลต่าง ๆ ส่งผลต่อการสร้างบรรยากาศที่ดี ช่วยกระตุ้น ให้เกิดความรู้สึกสนุกสนาน ความจดจำ สะดุดตา น่าสนใจ มีเสน่ห์และ เป็นที่ชื่นชอบต่อผู้พบเห็น ช่วยให้กลุ่มผู้บริโภคหันมามองสินค้าได้เด่นชัด มากขึ้นเพราะมาสคอตสามารถเคลื่อนไหวและสร้างปฏิสัมพันธ์ ในลักษณะ การเดินเข้าไปทักทายผู้คนได้ ซึ่งปัจจุบันแทบทุกแวดวงอาชีพนั้นได้มี การนำมาสคอตไปใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย (กะรัตเพชร บุญชูวิทย์และ วรัชญ์ ครุจิต, 2561, น. 45)

โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบได้ให้ ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การมีตัวการ์ตูนที่แสดงตราสินค้าเป็นของตัวเอง จะสามารถช่วยสร้างรายได้มหาศาลให้กับแบรนด์ หน่วยงาน องค์กรและ ธุรกิจ โดยไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็กหรือกลุ่ม สตาร์ตอัปที่ยังช่วยสร้างการรับรู้ให้เกิดขึ้นกับผู้บริโภคได้อย่างยาวนาน ตามเป้าหมายที่ต้องการ โดยเป็นตัวแทนของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความ ทันสมัย เป็นต้น ซึ่งมาสคอตนั้นจะช่วยสร้างเนื้อหาและความบันเทิง เพื่อดึงดูดกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นเป้าหมายและสะท้อนบุคลิกภาพของ องค์กรด้วย ช่องทางการสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ ได้ (จิรศักดิ์ จงศรีรัตนกุล, 2560, น. 7)

9. แนวคิดตัวอย่างในการออกแบบมาสคอ

ส่วนของตัวอย่างที่เป็นผลงานการสร้างสรรค์มาสคอตของ ผู้เขียน โดยบทนี้จะนำเสนอแนวคิดอันเกี่ยวเนื่องกับการออกแบบมาสคอตที่อยู่ในลักษณะของการรวบรวมผลงานมาสคอตและแนวความคิดทางการ ออกแบบเพื่อใช้ในการส่งผลงานเข้าประกวดการออกแบบมาสคอตใน โครงการต่าง ๆ ที่ได้รับรางวัล ซึ่งลักษณะของผลงานนั้นจะเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมและส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยถือเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยประชาสัมพันธ์สำหรับกลุ่มธุรกิจ กลุ่มสตาร์ตอัป หน่วยงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย ทีมกีฬา หน่วยงานราชการ หรือสถาบันของผู้เขียน ซึ่งถือเป็นผลงานที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ ทางด้าน การออกแบบสัญลักษณ์นำโชค (มาสคอต) เป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ของผู้เขียน

มาสคอต
น้องอะหย่อย

น้องอะหย่อย

รางวัล : ชนะเลิศ
ในปี : พ.ศ. 2563
หน่วยงาน : มาสคอตอะยัมบอย ของห้างหุ้นส่วนจำกัด อะยัมบอย ฮาลาลฟู้ด
ผู้ออกแบบ : ดร.วราภรณ์ มามี

แรงบันดาลใจในการออกแบบ ได้แรงบันดาลใจในการออกแบบจาก เด็กน้อยที่สวมใส่ชุดไก่ เนื่องจาก ไก่ได้ชื่อว่า เป็นสิ่งมีชีวิตติดปีกที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความขยัน ในการทำมาหากิน ความสุข ความฉลาด รอบรู้และโชคดี มีชื่อว่า “น้องอะหย่อย” เพราะ Ayamboy โดดเด่นเรื่องการผลิตอาหารอร่อย ที่ทำจากไก่ มีสีแดงและสีเทาเป็นหลัก ซึ่งเป็นสีอัตลักษณ์ของ Ayamboy สื่อถึง ความฉลาด รอบรู้ แสงสว่าง ปัญญา ความเจริญรุ่งเรือง ความสำเร็จ ความก้าวหน้า ไม่หยุดนิ่ง ความสามัคคี ความรัก ความอดทน ความเชี่ยวชาญ ความร่วมมือกัน ความสุข การมองโลกในแง่ดีทำให้โด่ดเด่นด้วยตราสัญลักษณ์ของ Ayamboy ที่จะมองเห็นมาแต่ไกล น้องอะหย่อย มีหน้าตาน่ารัก เป็นมิตร เฉลียวฉลาด มีสุขภาพกายใจที่แข็งแรง มีความภูมิใจและเต็มใจพร้อมให้ความช่วยเหลือประชาสัมพันธ์ เผยแพร่กิจกรรมต่าง ๆ ที่ “Ayamboy” มอบให้แก่ทุกคน

มาสคอต

หนังสือเล่มนี้จะไม่สอนท่านถึงวิธีการเป็นนักออกแบบสัญลักษณ์ นำโชค (มาสคอต) ที่เก่งกาจ แต่จะให้คำแนะนำถึงวิธีในการวิเคราะห์ เชิงลึกและกรณีศึกษา ซึ่งเป็นตัวอย่างของสัญลักษณ์นำโชค (มาสคอต) จากองค์กรต่าง ๆ ที่ประสบความสำเร็จ ก่อนที่จะได้มาซึ่งการเป็นสัญลักษณ์นำโชค (มาสคอต) ที่มีคุณภาพ ผู้เขียนมีเคล็ดลับเกี่ยวกับการออกแบบสัญลักษณ์นำโชค (มาสคอต) และคำแนะนำที่ถูกต้องจากประสบการณ์ การออกแบบสัญลักษณ์นำโชค (มาสคอต) เป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ของผู้เขียน

หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับผู้สนใจทุกกลุ่มไม่เพียงแต่ นักออกแบบเท่านั้นหรือแม้กระทั่งผู้ที่ออกแบบไม่เป็น ไม่จำเป็นต้องมี พื้นฐานความรู้ด้านการออกแบบ ก็สามารถนำหลักการ รวมถึงวิธีการ ในการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับการออกแบบสัญลักษณ์นำโชค (มาสคอต) ไปประยุกต์ใช้กับงานของท่านได้

เอกสารอ้างอิง

กะรัตเพชร บุญชูวิทย์และวรัชญ์ ครุจิต. (2561). การศึกษาการสื่อสาร แบรนด์ของคุมะมงผ่านสื่อออนไลน์. วารสารการ
///////สื่อสารและ การจัดการ นิด้า, 4(1), 43-61. จาก http://gscm.nida.ac.th/uploads/files/1538453665.pdf.
จิรศักดิ์ จงศรีรัตนกุล. (2560). การเลือกใช้ตัวการ์ตูนเพื่อการสื่อสาร แบรนด์ในธุรกิจบริการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญา
//////มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ไลค์มี จำกัด. (2557). How to ออกแบบ “มาสคอต” ยังไงให้น่ารักและแบรนด์โด่งดัง. สืบค้น 30 เมษายน 2563,
//////จาก http://infographic.in.th/.
ปณชัย อารีเพิ่มพร. (2560). บุกโรงงานผลิตมาสคอตอันดับหนึ่งในญี่ปุ่น ผู้ให้กำเนิด “คุมะมง” ฟันเงิน 60 ล้านต่อปี.
//////สืบค้น 25 เมษายน 2563, จาก https://thestandard.co/kumamon-kigurumibiz/.
ประไพพรรณ เปรื่องพงษ์. (2557). การออกแบบมาสคอตสำหรับงาน อีเว้นท์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่.
//////(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพโรจน์ ธีระประภา. (2546). การออกแบบสัลักษณ์ตัวแทนประจำจังหวัด ภาคเหนือของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์
////////ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน