Page 21 - demo-9786164261051
P. 21
CHAPTER 06
บทน�า
ยาหรือสารเสพติดนั้นเป็นสารเคมีที่ไปมีผลต่อการท�างานของสมอง ไปรบกวนการส่งสัญญาณ
ประสาท ซึ่งสารเสพติดหลายชนิด เช่น เมทแอมเฟตามีน กัญชา หรือเฮโรอีน นั้น สามารถไปกระตุ้น
เซลล์ประสาท โดยสารบางชนิดอาจมีโครงสร้างที่คล้ายกับสารสื่อประสาท ท�าให้สามารถไปจับกับตัวรับ
สารสื่อประสาท และกระตุ้นการท�างานของตัวรับสารสื่อประสาทได้ ถึงแม้ว่าสารเสพติดบางตัวจะมี
ตัวอย่าง
โครงสร้างที่เหมือนกับสารสื่อประสาท แต่การท�างานก็ไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกับสารสื่อประสาทเสมอไป
ดังนั้น จึงท�าให้มีการส่งสัญญาณประสาทที่ผิดปกติ และน�ามาซึ่งการสื่อสารของระบบประสาทก็ผิดปกติ
ไปด้วย นอกจากนั้นสารเสพติดบางตัวยังไปกระตุ้นให้เกิดการหลั่งของสารสื่อประสาทออกมาภายนอกเซลล์
chapter 06 | ความผิดปกติของสมองที่เกิดจากการติดสารเสพติด
เป็นจ�านวนมาก หรือไปป้องกันการเก็บกลับของสารสื่อประสาท ซึ่งเป็นกลไกตามธรรมชาติที่จะน�าสารสื่อ
ประสาทกลับเข้าสู่เซลล์และน�าไปใช้ใหม่ได้ ดังนั้นการไปท�าให้มีสารสื่อประสาทอยู่ภายนอกเซลล์เป็น
จ�านวนมากก็ท�าให้เกิดการกระตุ้นการท�างานของตัวรับสารสื่อประสาทอย่างต่อเนื่องเกินความจ�าเป็น
ท�าให้ไปรบกวนการส่งสัญญาณประสาทชนิดอื่น ๆ ต่อมา และท�าให้เกิดการแสดงพฤติกรรมที่ผิดปกติไป
สารเสพติดส่วนใหญ่นั้นมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อการท�างานของสมองที่เรียกว่า brain’s
reward system ซึ่งสารสื่อประสาทที่ส�าคัญคือ โดปามีน (dopamine) ดังได้กล่าวมาแล้วในบทที่ 3
โดปามีนเป็นสารสื่อประสาทที่พบในบริเวณของสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหว อารมณ์ แรงขับ แรงจูงใจ
และความรู้สึกเป็นสุข ยินดี ในภาวะปกติ เมื่อ brain’s reward system ถูกกระตุ้น ก็ท�าให้มีพฤติกรรม
ทางด้านบวก แต่เมื่อมีการกระตุ้นที่มากเกินไป (overstimulation) จากยาหรือสารเสพติด ก็ท�าให้เกิด
อาการทางจิต คือมีภาวะเคลิ้มสุข (euphoric effects) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เป็นแรงขับให้กลับมาใช้ยาอีก
เพื่อให้เกิดอาการเคลิ้มสุขแบบนี้อีก และก็ท�าให้ติดยาในที่สุด
212 สมองและสารสื่อประสาท