ISBN คืออะไร ไขความลับบาร์โค้ดหลังหนังสือและขอได้ที่ไหน

ISBN คือ

ISBN คืออะไร

ISBN คือ เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number) เป็นเลขรหัสสากลที่กำหนดขึ้นใช้สำหรับสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือทั่ว ๆ ไป มีความมุ่งหมายเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของหนังสือแต่ละชื่อเรื่อง เพื่อความสะดวก ถูกต้องในการควบคุมข้อมูลสิ่งพิมพ์ในด้านการสั่งซื้อ การแลกเปลี่ยน การบริการ เมื่อกำหนดให้หนังสือไปแล้ว ห้ามนำกลับมาใช้ซ้ำอีกโดยเด็ดขาด (สำนักหอสมุดแห่งชาติ, 2563) ถูกสร้างขึ้นในสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2509 โดยบริษัทผู้จัดพิมพ์และขายหนังสือ ดับเบิลยู เอช สมิธ และถูกเรียกว่า เลขมาตรฐานหนังสือ (Standard Book Numbering หรือ SBN) ต่อมา มีการนำ SBN มาใช้เป็นมาตรฐานสากล ISO 2108 ในปี พ.ศ. 2513 รหัสมาตรฐานที่คล้ายกัน หมายเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (the International Standard Serial Number หรือ ISSN) ใช้สำหรับนิตยสารที่ออกตามกำหนดเวลา (วิกิพีเดีย สารานุกรรมเสรี, 2563)

ISBN คือ

ส่วนประกอบรหัส ISBN 13

ส่วนประกอบรหัส ISBN 13 หลักนั้นแบ่งออกเป็น 5 ส่วน

ส่วนที่ 1 จะขึ้นต้นด้วยรหัสของ European Article Numbering-Uniform Code Council คือ 978 หรือ 979

ส่วนที่ 2 รหัสประเทศ โดยสำหรับประเทศไทย ในหนังสือเล่มเก่าจะใช้ 974 แต่เนื่อด้วยรหัสส่วนที่ 3 เต็มจำนวนแล้ว จึงได้กำหนดรหัสชุดใหม่เป็น 616 จากการตรวจสอบที่เว็บไซต์ International ISBN Agency พบว่าได้มีรหัสชุด 611 เตรียมไว้ถ้าหากรหัสชุด 616 เต็มคาดการณ์ว่าก็จะมีการเปลี่ยนไปใช้ 611 เป็นรหัสในส่วนที่ 2 สำหรับประเทศไทย

ส่วนที่ 3 รหัสสำนักพิมพ์ เช่นสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร ใช้ 616

ส่วนที่ 4 รหัสชื่อเรื่อง เป็นลำดับของสิ่งพิมพ์ที่ผลิตจากสำนักพิมพ์นั้น ๆ

ส่วนที่ 5 เลขตรวจสอบ ใช้ตรวจในระบบคอมพิวเตอร์จากการคำนวณเลข 12 ตำแหน่ง ของส่วนที่ 1-4

การคำนวณเลขตรวจสอบของ ISBN หลักสุดท้าย

International ISBN Agency ได้มีคู่มืออย่างเป็นทางการ ซึ่งบอกถึงการคำนวณเลขตรวจสอบหลักสุดท้ายของ ISBN 13 หลัก โดยเป็นเลขตัวสุดท้ายของ ISBN จะต้องอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0 ถึง 9 โดยใช้การคำนวณเลขคณิตมอดุลาร์

สูตรการคำนวณ

ISBN บาร์โค้ดหลังหนังสือ

เรามาลองหา ISBN หลักที่ 13 จากสูตรกัน ตัวอย่าง ISBN 12 หลัแรกคือ 978-616-426-161

จากสูตร

9 × 1 + 7 × 3 + 8 × 1 + 6 × 3 + 1 × 1 + 6× 3 + 4 × 1 + 2 × 3 + 6 × 1 + 1 × 3 + 6 × 1 + 1 × 3 = 103

103 ÷ 10 = 10 เศษ 3

r = 10 – 3 = 7

ดังนั้น ISBN หลักที่ 13 คือ 7 นั้นเอกก็จะได้เป็น 978-616-426-161-7

การขอ ISBN

เมื่อเรารู้ที่ไปที่มาของ ISBN กันแล้ว ๆ เราจะไปจอเลข ISBN ได้จากไหนล่ะ และจะต้องมาคำนวณด้วยสูตรด้านบนอีกหรือเปล่าคำตอบคือไม่ต้องคำนวณเอง แลพ ISBN เราไม่สามารถออกเองได้จะต้องขอจากสำนักหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งก็สะดวกสบายครับไม่ต้องขับรถไปขอกรอกเอกสารถึงสำนักงานเพราะเข้าขอผ่านระบบอนไลน์กันจ้า ชื่อว่า ระบบจดแจ้งการพิมพ์ / ISSN / ISBN / CIP สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร http://e-service.nlt.go.th/เพียงสมัครสมาชิกแล้วส่งเอกสารการขอจัดพิมพ์ก็ได้เลขมาเลยไม่ต้องคำนวณให้ปวดหัว

แต่ตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 กำหนดว่า สำนักพิมพ์หรือผู้พิมพ์ สิ่งพิมพ์ซึ่งเป็นหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ที่บันทึกด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องส่งหนังสือหรือสิ่งพิมพ์จำนวน 2 เล่ม ให้หอสมุดแห่งชาติภายใน 30 วัน นับแต่วันเผยแพร่ เพื่อนำไปให้บริการค้นคว้าในหอสมุดแห่งชาติ 1 ฉบับ และอีกฉบับเก็บเข้าสู่คลังสิ่งพิมพ์แห่งชาติ เพื่อเ็ป็นหลักฐานการพิมพ์ของชาติ รวมทั้งใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลกรณีเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), 2550)


เอกสารอ้างอิง

วิกิพีเดีย สารานุกรรมเสรี. (2563). เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ ISBN. สืบค้น 15 มีนาคม 2563,
จาก https://th.wikipedia.org/wiki/เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). (2563). การจดแจ้งการพิมพ์ตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550. สืบค้น 15 มีนาคม 2563, จาก https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/2907-printing-act

สำนักหอสมุดแห่งชาติ.(2563). เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ ISBN. สืบค้น 15 มีนาคม 2563,
จาก https://e-service.nlt.go.th/File/DetailByName?fileName=E%3A%5C_files%5CFolio.Test%5CAdminDownload%5Ca216c7dd-79bd-4fc7-ba70-300dd45e4ead.pdf

International ISBN Agency. (2563). Find an agency. Retrieved 15 March 2020, from
https://www.isbn-international.org/agencies

Paperyard ร้านหนังสือเปเปอร์ ยาร์ด. (2561). ความหมายของ ISBN. Retrieved 15 March 2020, from
https://www.isbn-international.org/agencies

Wikipedia, the free encyclopedia. (2563). International Standard Book Number. Retrieved 15
March 2020, from https://www.facebook.com/paperyardbooks/photos/เป็นความสงสัยที่ไม่น่าสงสัยส่วนตัวของแอดเองตอนเริ่มทำร้านหนังสือ-แล้วมองปกหลังไป/527267804314851/

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน