เทคนิคการสรุปความ

การสรุปความ หมายถึง การใช้ภาษารูปแบบหนึ่งที่จำเป็นในการสื่อสารทั้งในฐานะผู้ส่งสารและผู้รับสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบันที่มีความเร่งรีบและการแข่งขัน การสื่อสารด้วยถ้อยคำที่ได้ใจความถูกต้องครบถ้วนในเวลาอันรวดเร็วจึงนับเป็นข้อได้เปรียบ สามารถนำความสำเร็จมาสู่บุคคลและองค์กรได้ตามความประสงค์

การสรุปความ

เทคนิคการสรุปความสารและงานเขียนแต่ละประเภทมีวิธีการที่แตกต่างกันไปในรายละเอียดปลีกย่อย แต่หลักการและขั้นตอนในภาพรวมมีความคล้ายคลึงกันดังนี้

  1. อ่านหรือฟังเรื่องราวให้เข้าใจ
  2. พิจารณาประเภทของสาร/ประเภทของงานเขียน
  3. พิจารณาวัตถุประสงค์ของสาร/งานเขียน เพื่อสร้างกรอบประเด็นเนื้อหา
  4. ค้นหาหัวข้อเรื่องจากชื่อเรื่อง/ย่อหน้า
  5. ค้นหาหัวข้อย่อยจากแต่ละย่อหน้า
  6. ค้นหาใจความสำคัญตามหัวข้อย่อยให้ถูกต้องและครบถ้วน
  7. หากใจความสำคัญยังไม่ชัดเจนอาจจำเป็นต้องสรุปประเด็นจากพลความ
  8. จัดระเบียบประเด็นความคิดและเรื่องราว
  9. เรียบเรียงเป็นภาษาเขียน
  10. อ่านทบทวนและขัดเกลาภาษาให้สละสลวย

การสรุปความ

ภายในเล่มประกอบไปด้วยเนื้อหาอัดแน่น 10 บท รวมถึงบทสรุปเกี่ยวกับเทคนิคการสรุปความที่น่าสนใจ ซึ่งบทที่ 1 กล่าวถึง หลักการทั่วไปในการสรุปความ บทที่ 2 ประเภทของสารกับการสรุปความ บทที่ 3 การสรุปงานเขียนสารคดี บทที่ 4 การสรุปงานเขียนบันเทิงคดี บทที่ 5 การสรุปงานเขียนวิชาการ บทที่ 6 การสรุปงานเขียนแสดงความคิดเห็น บทที่ 7 การสรุปงานเขียนวิเคราะห์ บทที่ 8 การสรุปงานเขียนวิจารณ์ บทที่ 9 การสรุปงานเขียนสัมภาษณ์ บทที่ 10 การสรุปความในการเขียนผลงานวิจัย พร้อมยกตัวอย่างเทคนิค การสรุปความ ที่จะทำให้ผู้อ่านได้เห็นตัวอย่างที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

1. หลักการทั่วไปในการสรุปความ

การสรุปความ

ในชีวิตประจําวันของมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคมย่อมมีทั้งการรับสารและ การส่งสารให้แก่ผู้อื่น ซึ่งการรับสารจากการฟังหรือการอ่านส่วนใหญ่ มักมีรายละเอียด มากจนไม่สามารถจดจําได้ทั้งหมด หากจะจดบันทึกก็อาจเขียนไม่ทัน โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งการรับสารจากบทสนทนาที่บางครั้งผู้ส่งสารพูดวกวนสับสน ใช้คําฟุ่มเฟือย เยิ่นเย้อ หรือไม่ตรงประเด็นตามที่ต้องการ ดังนั้นการจะนําสาระสําคัญจากสารที่ได้รับไปใช้ ประโยชน์ หรือถ่ายทอดให้แก่บุคคลอื่นต่อไปนั้นจึงจําเป็นต้องมีทักษะใน การสรุปความ

2. ประเภทของสารกับ การสรุปความ

การสรุปความ

สาร หมายถึง เรื่องราวอันมีความหมายและแสดงออกมา โดยอาศัยภาษา หรือสิ่งอื่นใดที่สามารถทําให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้ สารประกอบด้วยส่วนสําคัญ 2 ส่วน คือ เนื้อหา และภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร (สวนิต ยมาภัย, 2546, น. 26) สารในชีวิตประจําวันที่ได้รับจากการอ่านหรือการฟังก็ตามสามารถจําแนก ออกอย่างกว้าง ๆ ได้ 3 ประเภท คือ (สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2554, น. 143) บทละคร

  1. สารให้ความรู้ เช่น ข่าวสาร สารคดี บทความเชิงวิชาการ บทบรรยาย
  2. สารโน้มน้าวใจ เช่น โฆษณา คําเชิญชวน คําขวัญ คําปราศรัยหาเสียง
  3. สารจรรโลงใจ เช่น ธรรมะ คําสอน ข้อคิด คติเตือนใจ เพลง คําประพันธ์

3. การสรุปงานเขียนสารคดี

การสรุปความ

งานเขียนสารคดี (Non-fictional Writings) หมายถึง งานเขียนที่มีเนื้อหาเล่าเรื่องหรือบรรยายความรู้อันเป็น ประสบการณ์ของผู้เขียน รวมทั้งข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ผู้เขียนได้ค้นพบหรือประสบด้วย ตนเองมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมให้ข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์และชัดเจนโดยอ่านหนังสือ สัมภาษณ์บุคคล แล้วเรียบเรียงผสมผสานกับประสบการณ์ เขียนเนื้อเรื่องให้มีสาระ สมบูรณ์และเป็นเรื่องแปลกใหม่ น่าสนใจ เป็นงานเขียนที่ใช้กลวิธีทางภาษารูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ความรู้ไปพร้อมกับความสนุกสนานเพลิดเพลิน เช่น บทความท่องเที่ยว บทความให้แง่คิดเกี่ยวกับชีวิต ประวัติบุคคล เกร็ดความรู้ เป็นต้น (ธิดา โมสิกรัตน์, 2553, u. 114)

4. การสรุปงานเขียนบันเทิงคดี

งานเขียนบันเทิงคดี (Fictional Writings) หมายถึง เรื่องที่แต่งขึ้นจากจินตนาการโดยมุ่งให้ความบันเทิง แก่ผู้อ่าน หลายเรื่องมีเค้าโครงจากเรื่องจริง เช่น มีฉากเหตุการณ์จริงหรือตัวละคร บางตัวมีอยู่จริง แต่มีการเสริมแต่งองค์ประกอบอื่น ๆ เข้ามาตามจินตนาการเพื่อให้เกิด ความสนุกสนาน บันเทิงคดีบางประเภทจึงมีความสมจริงด้วยเนื้อเรื่อง แก่นเรื่อง ฉากหรือบรรยากาศ ตัวละคร และบทสนทนา งานเขียนบันเทิงคดีส่วนใหญ่แฝงความรู้ ความคิดที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านนอกเหนือจากความบันเทิง ได้แก่ นิทาน นิยาย นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร บทร้อยกรอง และวรรณคดี (ธิดา โมสิกรัตน์, 2553, น. 110)

การสรุปความ

ในบทนี้ ผู้เขียนจะกล่าวถึงการสรุปงานเขียนบันเทิงคดีประเภทเรื่องสั้น เนื่องจากมีความยาวไม่มากนัก สามารถยกตัวอย่างเรื่องสั้นทั้งเรื่องมาแสดงวิธีการ สรุปความได้ง่ายกว่าบันเทิงคดีขนาดยาวประเภทอื่น ๆ

5. การสรุปงานเขียนวิชาการ

งานเขียนวิชาการ (Academic Writings) หมายถึง งานเขียนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้ ข้อเท็จจริงหรือ ทฤษฎีทางวิชาการในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ซึ่งเป็นสาระในขอบข่ายของหลักสูตรการเรียน การสอน มีระบบการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ใช้ภาษาบรรยายอย่างตรงไปตรงมา และใช้คําศัพท์ทางวิชาการเฉพาะสาขา เช่น ตํารา เอกสารประกอบการเรียน เอกสาร คําสอน เอกสารประกอบการบรรยาย รายงานวิชาการ บทความในวารสารวิชาการ เป็นต้น (ธิดา โมสิกรัตน์, 2553, น. 109, 112)

6. การสรุปงานเขียนแสดงความคิดเห็น

ความหมายของงานเขียนแสดงความคิดเห็น (Opinion Writings) งานเขียนแสดงความคิดเห็นเป็นงานเขียนที่นําเสนอความคิดเห็นเป็น หลักสําคัญในประเด็นเกี่ยวกับปัญหา หรือเรื่องราวต่าง ๆ โดยความคิดเห็นที่นําเสนอ จะมีลักษณะจุดประเด็นความคิดของผู้อ่าน เป็นความคิดเห็นที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น คอลัมน์บทความแสดงความคิดเห็นในหนังสือพิมพ์ หรือบทบรรณาธิการ (ธิดา โมสิกรัตน์, 2553, น. 113)

7. การสรุปงานเขียนวิเคราะห์

การสรุปความ

ความหมายของงานเขียนวิเคราะห์ (Analytical Writings) งานเขียนวิเคราะห์เป็นงานเขียนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสภาพการณ์ความเป็น มาของปัญหา เหตุการณ์ หรือวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และศิลปวัฒนธรรม แล้วจําแนกแยกแยะตามหลักการทางวิชาการ ชี้ให้เห็นสาเหตุ ความสําคัญ และผลที่เกิดขึ้นในแง่มุมใดแง่มุมหนึ่ง แนวทางการแก้ไข แนวโน้ม แสดงเหตุผลที่เที่ยงตรง และมีน้ําหนักน่าเชื่อถือ ด้วยหลักฐานประกอบในรูปแบบข้อมูล สถิติ แผนภูมิ แผนผัง ฯลฯ (ธิดา โมสิกรัตน์, 2553, น. 113)

8. การสรุปงานเขียนวิจารณ์

ความหมายของงานเขียนวิจารณ์ (Critical Writings) งานเขียนวิจารณ์เป็นงานเขียนที่มีเนื้อหาติชมหรือประเมินคุณค่าเรื่องใดเรื่อง หนึ่ง มักมีรูปแบบเป็นบทความวิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรม ศิลปะ ดนตรี ภาพยนตร์ และ การแสดง โดยใช้ความรู้ตามหลักเกณฑ์หรือทฤษฎีทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง หรือกําหนด เกณฑ์ขึ้นมาตามทรรศนะของผู้เขียน (ธิดา โมสิกรัตน์, 2553, น. 113)

ด้วยเหตุที่การวิจารณ์สามารถเป็นไปตามทรรศนะหรือความคิดเห็นของผู้เขียน จึงอาจทําให้การประเมินคุณค่าสิ่งเดียวกัน มีประเด็นและความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป ตามภูมิหลังและประสบการณ์ของผู้เขียนแต่ละคน เช่น บางคนมองว่าถ้อยคําหยาบคาย ที่นักแสดงใช้สนทนากันในภาพยนตร์เป็นข้อดีเพราะช่วยสร้างอารมณ์ขันได้ แต่บางคน อาจมองว่าเป็นข้อบกพร่องเพราะไม่มีความจําเป็นและไม่เหมาะสมกับผู้ชมบางกลุ่ม เป็นต้น

9. การสรุปงานเขียนสัมภาษณ์

งานเขียนสัมภาษณ์เป็นงานเขียนที่มีเนื้อหาจากการสัมภาษณ์ข้อมูลเรื่องราว ต่าง ๆ ชีวิตของบุคคล ความคิดเห็นของบุคคลหรือกลุ่มคน มีสาระให้ความรู้ความเข้าใจ และแง่คิดเกี่ยวกับการดําเนินชีวิต หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเป็นปัญหาที่สังคมสนใจ ผู้อ่านจะรับรู้ถึงความรู้สึกและทรรศนะของผู้ให้สัมภาษณ์ รวมทั้งเห็นแนวโน้มของ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (ธิดา โมสิกรัตน์, 2553, น. 114)

การสรุปความ

งานเขียนสัมภาษณ์มักนําเสนอในรูปของบทสัมภาษณ์ ซึ่งประกอบด้วยคํานํา เนื้อเรื่อง และสรุป โดยเนื้อเรื่องของบทสัมภาษณ์อาจครอบคลุมทุกประเด็นเกี่ยวกับเรื่อง หรือบุคคลที่ให้สัมภาษณ์ เช่น ประวัติครอบครัว การศึกษา การทํางาน ชีวิตสมรส ความสําเร็จ ฯลฯ หรืออาจเจาะลึกเฉพาะประเด็นใดประเด็นหนึ่งที่โดดเด่นน่าสนใจ เช่น การทํางาน ความรัก ของสะสม มุมมองการใช้ชีวิต เป็นต้น ความยาวของบทสัมภาษณ์ อาจมีตั้งแต่ 1 หน้าไปจนถึง 7-8 หน้าก็ได้

10. การสรุปความ ในการเขียนผลงานวิจัย

การสรุปความ

งานวิจัย หมายถึง งานค้นคว้าอย่างมีระบบและมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล หลักการหรือข้อสรุปรวมที่จะนําไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือเอื้อต่อการนําวิชาการนั้นไปประยุกต์ มีลักษณะเป็นเอกสารที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่ เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชาการ (นภาลัย สุวรรณธาดา, 2553, น. 3)

โดยทั่วไปขั้นตอนการวิจัยเริ่มจากการกําหนดปัญหาและหัวข้อการวิจัย วัตถุประสงค์ สมมติฐาน พื้นที่ ประชากรเป้าหมาย วิธีการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล จนถึงการตีความหมายจากผลการวิเคราะห์ข้อมูล และเสนอผล ซึ่งเหล่านี้เป็นขั้นตอน ของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า การวิจัย เป็นการใช้วิธีการ ทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ (มนัส สุวรรณ, 2544, น. 1-4)

การสรุปความ

หนังสือเรื่อง เทคนิคการสรุปความ เล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสรุปความงานเขียนประเภทต่าง ๆ ที่พบเห็นได้จากสื่อในชีวิตประจำวัน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสรุปความสารประเภทอื่นได้อีกหลากหลายทั้งจากการอ่านและการฟัง นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาการสรุปความในการเขียนผลงานวิจัย เพื่อให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนผลงานวิจัยในบางองค์ประกอบ และเพื่อป้องกันการลักลอกและละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานวรรณกรรม เนื้อหาในแต่ละบทประกอบด้วยทฤษฎี เทคนิควิธีการสรุปความและตัวอย่างประกอบเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จึงเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ นักวิชาการ และผู้สนใจในทุกสาขาอาชีพ

เอกสารอ้างอิง การสรุปความ

ธิดา โมสิกรัตน์. (2553). การเขียนบทความ. ใน ประสิทธิ์ ฤทธาภิรมย์ (บ.ก.), การเขียนผลงานวิชาการและบทความ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

นภาลัย สุวรรณธาดา. (2553). หลักการทั่วไปในการเขียนงานวิชาการ. ใน ประสิทธิ์ ฤทธาภิรมย์ (บ.ก.), การเขียนผลงานวิชาการและบทความ (พิมพ์ครั้งที่ 2) (น. 90-93). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

มนัส สุวรรณ. (2544). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว.

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน