ภาวะเครียด สาเหตุการเกิดโรคเบาหวาน

ภาวะเครียดทางออกซิเดชันและโรคเบาหวาน

ภาวะเครียดทางออกซิเดชันและโรคเบาหวาน (Oxidative stress and type2 diabetes mellitus) ซึ่งเกี่ยวข้องกับอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกาย และเป็นต้นเหตุของการเกิดภาวะเครียดทางออกซิเดชัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่อยู่เบื้องหลังของการเกิดโรคหรือการดำเนินโรคเรื้อรังชนิดต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยจะแสดงให้เห็นถึงการดำเนินการของโรคตั้งแต่การเกิดภาวะเครียดทางออกซิเดชัน ภาวะการอักเสบ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ภาวะไขมันสูงผิดปกติในเลือด และโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ภาวะเครียดทางออกซิเดชันและโรคเบาหวาน

การเพิ่มขึ้นของภาวะเครียดทางออกซิเดชัน (oxidative stress) เร่งให้เกิดการพัฒนาภาวะดื้อต่ออินซูลินขึ้นในอวัยวะต่าง ๆ โดยจะมีการยับยั้งการส่งสัญญาณของอินซูลินและการสูญเสียการทำหน้าที่ของสารอะดิโพไคน์ (Adipokines) เกิดการอักเสบและภาวะไขมันสูงผิดปกติในเลือด ภาวะดื้อต่ออินซูลินมักจะเกิดขึ้นมาก่อนเป็นเวลานานอาจเป็นปี และแสดงอาการภาวะก่อนที่จะเป็นโรคเบาหวาน จากนั้นจะตามมาด้วยการลดหรือการสูญเสียหน้าที่ของการหลั่งอินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และจะตามมาด้วยภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

1.สารอนุมูลอิสระตระกูลออกซิเจนที่ว่องไว

ออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีนั้นเป็นโมเลกุลของออกซิเจน (02) หรือ Dioxygen ออกซิเจนที่มีบนพื้นผิวของโลกนั้น จะมีอยู่ในปริมาณที่มี อย่างนัยสำคัญนี้มาเป็นเวลานาน ~2.5 X 10 ปีผ่านมาแล้ว ที่สำคัญ คือ มันจะถูกสร้าง จากการสังเคราะห์แสงของพืช และของจุลินทรีย์ (สาหร่ายพวกน้ำเงินเขียว Blue green) และจะไปเพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจนในชั้นบรรยากาศแอทโมสเฟียร์แล้วเกิดมี การก่อตัวเป็นชั้นโอโซนขึ้น ทั้งออกซิเจน และชั้นโอโซนนี้จะเป็นตัวกรองและต่อต้าน กับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์ไม่ให้มาถึงพื้นผิวของโลกได้ ในเซลล์พวกยูคาริโอต ROS ที่ถูกผลิตขึ้นเป็นผลมาจากการเผาผลาญสารอาหารปกติโดยการใช้ออกซิเจน ทางสรีรวิทยา [1] ซึ่ง ROS เหล่านี้จะถูกปรับให้สมดุลด้วยสารต้านอนุมูลอิสระของเซลล์ ต่างๆ ในสภาวะปกติของร่างกาย ROS ถูกกำหนดว่าเป็นสารเคมีที่มีความหลากหลาย ตามคุณสมบัติของมันที่สามารถทำปฏิกิริยาที่จะเป็นทั้งตัวรับหรือให้อิเล็กตรอน (e-) กับพวกสารชีววิทยาโมเลกุลต่างๆ พวกอนุมูลอิสระที่ว่องไวนี้จะรวมถึงพวกอนุมูลที่ไม่คงที่ ที่เกิดขึ้นจาก Unpaired e- ต่างๆ ด้วย ซึ่งพบว่า สามารถเกิดขึ้นได้ในสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิต อยู่ด้วยการใช้ออกซิเจนบนโลกนี้

2.ภาวะโภชนาการเกินและภาวะเครียดทางออกซิเดชัน

ในกระบวนการเมแทบอลิซึมสารอาหารในร่างกายให้ได้พลังงาน และให้ได้ สารอาหารที่เป็นตัวกลางชนิดต่างๆ ที่จะนำมาใช้เป็นประโยชน์ต่อร่างกายนั้น เกิดจาก การเมแทบอลิซึม น้ำตาลกลูโคสผ่านกระบวนการไกลโคไลซิส (Glycolysis) และวงจรของกรดไตรคาร์บอกไซลิก (Tricarboxylic acid cycle; TCA) เพื่อที่จะสร้าง สารนิโคตินาไมด์อะดีนีนไดนิวคลีโอไทด์ (Nicotinamide adenine dinucleotide; NADH) และสารฟลาวินอะดีนีนไดนิวคลีโอไทด์ (Flavin adenine dinucleotide; FADH2) เพื่อเป็นสารที่จะเป็นตัวให้อิเล็กตรอนแก่สารชนิดอื่นๆ ในภาวะโภชนาการเกินนั้น เราจะพบว่าการมีน้ำตาลกลูโคสมากเกินไปในร่างกาย และพบว่ามีการมีน้ำตาลกลูโคส จำนวนมากจะถูกออกซิไดซ์เกิดขึ้นในกระบวนการไกลโคไลซิสและในวงจรของไตรคาร์ บอกไซลิก (TCA) เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ จะทำให้เกิดมีการเพิ่มขึ้นของระดับ NADH และระดับของ FADH2 มากขึ้นในห่วงโซ่ของการขนส่งอิเล็กตรอนของไมโตคอนเดรีย แล้วจะไปเพิ่มการสร้างซูเปอร์ออกไซด์เพิ่มขึ้น [ 1] และยังพบว่าการมีกรดไขมันอิสระมาก เกินไปในกระแสเลือดทำให้เกิดมีการออกซิเดชันของกรดมันอิสระเพิ่มสูงขึ้นด้วย ซึ่งก็จะทำให้เกิดมีสารอะซีทิลโคเอ (Acety! CoA) เพิ่มสูงขึ้น โดยสารอะชีทิสโคเอนี้ ก็จะถูกส่งเข้าไปออกซิเดชันในวงจรไตรคาร์บอกไซลิกทำให้เกิดการสร้าง NADH และ FADH2 ที่เป็นตัวให้อิเล็กตรอนเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกับการเกิดออกซิเดชันของน้ำตาล แล้วสามารถไปทำให้ไมโตคอนเดรียเกิดการสร้าง ROS มากเกินได้

3.เนื้อเยื่อไขมันทําหน้าที่ดั่งต่อมไร้ท่อ

เนื้อเยื่อไขมันเป็นเนื้อเยื่อที่ซับซ้อน เป็นเนื้อเยื่อที่สำคัญและมีภาวะทาง เมแทบอลิซึมที่มีความว่องไวสูง และยังสามารถทำหน้าที่ของต่อมไร้ท่อได้ด้วย นอกจากนี้ เรายังพบว่า ในเนื้อเยื่อไขมันจะประกอบด้วย เซลล์ไขมัน แมทริกซ์ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อประสาท Stromovascular cells และเซลล์ภูมิคุ้มกัน ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ จะรวมเข้าด้วยกันแล้วทำหน้าที่ร่วมกันแบบหน่วยบูรณาการ เนื้อเยื่อไขมันนอกจาก จะตอบสนองต่อสัญญาณต่างๆ ที่เข้ามาจากระบบฮอร์โมนทั่วไป และจากระบบประสาท ส่วนกลางแล้ว ยังเกิดมีการแสดงออกและเกิดการหลั่งปัจจัยต่างๆ ที่ทำหน้าที่ที่สำคัญของ ต่อมไร้ท่อ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ เช่น เลปติน (Leptin) ไซโตไคน์ชนิดต่างๆ (Cytokines) อะดิโพเนคติน (Adiponectin) สารคอมพลีเมนท์ต่างๆ (Complements) พลาสมิโนเจน อินฮิบิเตอร์-1 (Plasminogen inhibitor-1) โปรตีนของระบบ เรนนิน-แองจิโอเทนซิน (Renin-angiotensin)และรีซิสติน (Resistin)เนื้อเยื่อไขมันยังเป็นบริเวณที่มี การเมแทบอลิซึมของสเตียรอยด์ฮอร์โมน ฮอร์โมนเพศ และฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoids) นอกจากนี้ยังพบว่า การทำหน้าที่ดั่งต่อมไร้ท่อของเนื้อเยื่อไขมันนี้ มีความสำคัญต่อร่างกาย โดยจะเน้นไปที่ผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ต่อภาวะเมแทบอลิซึม ของการมีเนื้อเยื่อไขมันส่วนเกินและการขาดหายไปของปัจจัยบางชนิด

4.ภาวะการอักเสบ (Inflammation)

จากการศึกษาวิจัยพบว่า ภาวะเครียดทางออกซิเดชันนั้นเป็นปัจจัยหลักสำคัญ ที่อยู่เบื้อง หลังของการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ภาวะดื้อต่ออินซูลิน และการเกิด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยพบว่าสาเหตุทั้งหมดนี้อาจจะอธิบายได้จากการเกิดมีภาวะของ การอักเสบนี้ ปัจจุบันเป็นที่ยืนยันแล้วว่าการอักเสบเป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งของ การเกิดภาวะเครียดทางออกซิเดชัน ที่จะสร้างตัวกลางต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ เช่น แอดฮีชั่นโมเลกุล (Achesion molecules) และพวกอินเตอร์ลิวคินต่างๆ (Interleukins) ที่จะไปชักนำให้เกิดภาวะเครียดทางออกซิเดชันขึ้นได้ [1] ทำให้เกิดแนวคิดที่ว่า การเกิด ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวนั้นเป็นโรคของการอักเสบ ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นที่ยอมรับกันแล้ว และยังพบว่าภาวะการอักเสบเรื้อรังนี้อาจจะมีส่วนก่อให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน และการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 [2] จากการวิจัยทางคลินิกที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า ภาวะของการอักเสบในทางคลินิกจะเข้าไปส่งผลกระทบอย่างมากต่อการพัฒนา และการก้าวหน้าของการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน [3, 4] นอกจากนี้ ยังพบว่า กรดไขมันอิสระและระดับน้ำตาลกลูโคสที่มีเพิ่มสูงขึ้นนี้ จะไปชักนำให้เกิด ภาวะการอักเสบขึ้นได้จากการมีภาวะเครียดทางออกซิเดชันเพิ่มมากขึ้น และสารต้าน อนุมูลอิสระลดลง [5] และที่น่าสนใจเราจะพบว่า เกิดมีภาวะอักเสบแบบไม่แสดงอาการนี้ อยู่ซึ่งสามารถตรวจ พบได้ เป็นสภาวะที่สามารถก่อให้เกิดโรคต่างๆ ขึ้นได้ เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว โรคชราภาพ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคมะเข็ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากการสร้าง ROS ที่เพิ่มสูงมากขึ้นที่หลั่งมาจากไมโตคอนเดรีย

5.ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance)

จากการศึกษาในกลุ่มประชากรทั่วไปพบว่า จะเกิดมีภาวะดื้อต่ออินซูลินนำมา ก่อนหน้าเป็นเวลาหลายปีก่อนที่จะเริ่มมีอาการของการเป็นโรคเบาหวาน และยังพบอีกว่า การเกิดขึ้นนี้มาจากสาเหตุหลายปัจจัยร่วมกัน (10, 11] ยกตัวอย่างเช่น องค์ประกอบ ทางพันธุกรรม [10, 12] ภาวะดื้อต่ออินซูลิน และการลดลงของการสร้างอินซูลินนั้น จะเป็นลักษณะที่สำคัญของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 [10, 11, 13-15] การมีวิถี การดำเนินชีวิตที่ทันสมัย ขาดการออกกำลังกาย โรคอ้วนลงพุง และการมีระดับของ อะดิโพไคน์ (Adipokines) มากเกินไปก็อาจทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินขึ้นได้ [10, 14] ในช่วงระยะเริ่มต้น เราจะพบว่า ยังมีความสมดุลต่อความทนทานของระดับน้ำตาลกลูโคส ได้เป็นปกติ ซึ่งจะเกิดจากการชดเชยไว้โดยการเกิดภาวะที่มีการเพิ่มขึ้นของระดับอินซูลิน ในเลือด (Hyperinsulinemia) เราจะพบว่า มีผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคเบา หวานและแต่เกิดมี ภาวะดื้อต่ออึนซูสินอยู่ประมาณร้อยละ 25 และยังพบมีระดับของภาวะดื้อต่ออินซูลินนี้ อยู่ในช่วงเดียวกันกับที่พบในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

6.บทบาทของอินซูลินในการควบคุม ระบบรีดอกซ์: ผลกระทบที่สําคัญของอินซูลิน

จากสามทศวรรษที่ผ่านมาปรากฏฎว่า มีการเพิ่มขึ้นของความชุกของผู้ป่วย โรคเบาหวาน อย่างมโหหาร (1, 2] ประเทศไทยมีรายงานความชุกของโรคเบาหวานอยู่ที่ ร้อยละ 15.79 (จากรายงานประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลกปี พ.ศ. 2557) และมีรายงานล่าสุดแสดงให้เห็นว่า 92.4 ล้านคนในผู้ใหญ่ (ร้อยละ 9.7 ของประชากร ที่เป็นผู้ใหญ่ ป่วยเป็นโรคเบาหวานในประเทศจีน [3] จากการประมาณการนี้แสดงให้เห็น ว่าในปี 2030 จะมีผู้ป่วยโรคเบาหวานกว่า 350 ล้านคนทั่วโลก และจะได้รับความทุกข์ ทรมานของโรคนี้ และจะทำให้สุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานนี้เกิดการทรุดโทรมลง อย่างมาก [4] โดยทั่วๆ ไปแล้ว โรคเบาหวานจะประกอบด้วย 2 แบบหลักๆ ที่เรียกว่า โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 diabetes melitus) และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes melitus) และพบว่า มีโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อยู่อย่างน้อยร้อยละ 80-85 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 นี้เกิดจากผลกระทบที่มีต่ออินซูลิน จากหลักฐานที่ว่า เกิดการลดการหลั่งของอินซูลินหรือลดการทำหน้าที่ของอินซูลินลง อันเนื่องจากอินซูลินเป็นเปปไทด์ฮอร์โมนประกอบด้วย 51 กรดอะมิโน และมีน้ำหนัก โมเลกุล 5808 ดาลตัน ถูกสร้างมาจากเบต้าเซลล์ในบริเวณของไอส์เลตออฟแลงเกอร์ ฮานส์ของตับอ่อน

7.ภาวะไขมันในเลือดสูงผิดปกติ (Dyslipidemia)

ในภาวะดื้อต่ออินซูลินในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะทําให้เกิดมี คุณลักษณะเฉพาะของการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงผิดปกติ (dyslipidemia) ซึ่งจะเป็น หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่สําคัญต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยคุณลักษณะเฉพาะนี้ จะเกิดขึ้นกับไขมัน 3 ชนิดทําให้เราเรียกว่า “ไลปิดไตรแอด (Lipid triad)” โดยจะเกิดขึ้น ร่วมกันอย่างซับซ้อนตามสภาพเมแทบอลิซึมที่สัมพันธ์กับการมีภาวะไขมันในเลือดสูง ผิดปกติ [1] ซึ่งจะประกอบด้วย ภาวะที่มีระดับของไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือด (hypertriglyceridemia) มีระดับของไลโปโปรตีน-คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (HDL-C) ต่ํา และพวกไลโปโปรตีนชนิดความหนาแน่นต่ําที่มีขนาดเล็ก และหนาแน่น (sdLDL) โดยจะพบว่ามีระดับที่ผิดปกติไปในแต่ละชนิดมากขึ้น โดยเฉพาะชวงภายหลัง การรับประทานอาหารแล้วสองชั่วโมง [2, 3] ซึ่งภาวะไขมันในเลือดสูงในผู้ป่วย โรคเบาหวานนั้น มีสาเหตุมาจากเกิดมีการขัดขวางในกระบวนการเมแทบอลิซึมของไขมัน ซึ่งจะเกิดขึ้นก่อนเป็นเวลานานพอประมาณ ก่อนที่จะมีการพัฒนาภาวะแทรกซ้อนของ โรคหัวใจและหลอดเลือดขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

8.ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม: ภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน(Metabolic Syndrome: Pre-Diabetes)

ภาวะเมตาบอลิกซินโดรมหรือภาวะที่มีความผิดปกติทางเมแทบอลิซึม เป็นกลุ่มที่ มีความผิด ปกติที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ภาวะความผิดปกติดังกล่าวนี้โดยทั่วๆ ไป เช่น มีการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาล กลูโคสในเลือดสูง (Hyperglycemia) ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) และภาวะที่มีความผิดปกติของระดับไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia) กลุ่มที่มี ความผิดปกติเหล่านี้ถูกนำมากล่าวถึง และทำให้เป็นที่สนใจไปทั่วโลก โดยการบรรยาย ของ Gerald Reaven ในปี ค.ศ. 1988 [1] และเรียกโรคนี้ว่า Syndrome X หรือ Insulin resistance syndrome ตั้งแต่นั้นมา ก็มีชื่อเรียกต่างๆออกมามากมายในที่สุดก็มีการสรุป และเรียกว่า “เมตาบอลิกซินโดรม” (Metabolic syndrome) ซึ่งมีอาการทางคลินิก ที่แสดงให้เห็นถึง ภาวะโรคอ้วน โดยเฉพาะโรคอ้วนลงพุง (Abdominal obesity) ที่จะเป็นตัวแสดงถึงการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งจะเป็นตัวชักนำให้เกิดภาวะต่างๆ เช่น ภาวะการเกิดลิ่มเลือด (Thrombosis) ภาวะการอักเสบ (Inflammation) และภาวะ ไขมันสูงผิดปกติ ซึ่งพวกนี้จะตามมาด้วยอาการทางคลินิก คือ เกิดความดันโลหิตสูง ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว (Artherosclerosis) และสุดท้ายตามมาด้วยภาวะ ความไม่สมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด (Glucose Intolerance) เมื่อเป็นหรือดำเนิน ภาวะในลักษณะนี้ไป ระยะหนึ่งก็จะเกิดการพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานขึ้นได้

9.โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus)

เรามักพบมีภาวะดื้อต่ออินซูลินเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานก่อนเสมอ แต่ก็พบว่า ในภาวะดื้อต่ออินซูลินดังกล่าวนั้นไม่สามารถก่อให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ขึ้นได้ แต่มีการพบว่า เมื่อเกิดการสูญเสียหน้าที่การทำงานของเบต้าเซลล์ในตับอ่อนไปนั้น จะเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญต่อการพัฒนาความก้าวหน้าและเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นี้ขึ้น จากการศึกษาวิจัยพบว่าในระยะแรกๆ ของการมีภาวะดื้อต่ออินซูลินนั้น เบต้าเซลล์ จะเพิ่มการทำหน้าที่ในการหลั่งอินซูลินออกมาเป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะพยายามชดเชย และควบคุมภาวะที่มีน้ำตาลกลูโคสในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น จากการศึกษาในประชากรของ ชาวพิม่าอินเดียน (Pima Indian) พบว่า เกิดมีความผิดปกติของการตอบสนองต่ออินซูสิน เฉียบพลัน หรือมีการลดการตอบสนองของเบต้า-เซลล์ลงในขณะที่ยังคงมีสภาวะที่มี ความสมดุลในการทนทานต่อน้ำตาลกลูโคสเป็นปกติอยู่ จากนั้นก็จะเริ่มก้าวเข้าสู่ภาวะที่มี ความไม่สมดุลต่อความทนทานของน้ำตาลกลูโคส โดยจะเป็นอยู่ในระยะเวลาหนึ่งจากนั้น จึงพัฒนาก้าวเข้าสู่การเกิดเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เมื่อเทียบกับบุคคลที่ยังคงอยู่ใน สภาพปกติของความสมดุลต่อความทนทานน้ำตาลกลูโคส [1] มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ในช่วงระยะแรกการเกิดความบกพร่องในการนำกลูโคสไปใช้นั้น เกิดจากการลดความไว ของอินซูลินลง ก่อนที่จะเกิดการพัฒนาต่อไปเป็นภาวะที่ไม่มีความสมดุลต่อความทนทานของน้ำตาลกลูโคส

10.การให้การดูแลรักษาโรคเบาหวาน (Treatment in Type 2 Diabetes Mellitus)

จากที่กล่าวมาในบทที่แล้วว่า องค์การอนามัยโลกได้ทำการประเมินความชุกของ การเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ไว้โดยมีการประมาณว่าในปี 2025 จะมีเป็นจำนวนมากถึง 30.3 ล้านคนในสหรัฐอเมริกา และมีทั้งหมดทั่วโลกประมาณ 380 ล้านคนที่จะได้รับ การตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน [1] ไปจนถึงปี 2050 จะมีชาวอเมริกันจะได้รับ การตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานถึง 45.6 ล้านคน [2] จากผลการศึกษาวิจัย พบว่า โรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะมีความสัมพันธ์กับโรคอ้วน การดำเนินชีวิตแบบนั่งอยู่ประจำที่ และขาดการออกกำลังกายโดยเฉพาะในประชากรสูงอายุ และยังพบว่าจะมีความผิดปกติ ของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อยู่จำนวนหนึ่งซึ่งสามารถที่จะตรวจ พบได้ในชาวอเมริกัน แอฟริกัน ชาวเอเชีย และชาวยุโรปที่มีภาวะอ้วน โดยจะพบว่า มีความผิดปกติของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แสดงให้เห็น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงใหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน